สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

"บทเรียน" ที่ไม่เหมือนเดิม

"บทเรียน" ที่ไม่เหมือนเดิม
ในสถานการณ์ที่ปกติหรือสถานการณ์ค่อนข้างดีขององค์กรอาจจะไม่มีความจำเป็น เพราะไม่มีเวลา ที่จะ “ปรับ-เปลี่ยนวิธีการบริหารทีมงาน” ก็ในเมื่อทุกอย่างมันดีอยู่แล้วนี่ จะปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารทีมงานให้ยุ่งยากทำไม? (คิดแบบนี้อันตรายนะครับ!)
กรุพเทพธุรกิจ ออนไลน์ :     สิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ องค์กร ที่คิดว่าไม่มีเวลา ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน-พัฒนาวิธีการบริหารทีมงานก็คือ เมื่อเจอสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีมากระทบ ก็มักจะซวนเซ เพราะคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องดีเหมือนที่เคยดีตลอดไป
    สิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ องค์กร ที่คิดว่าไม่มีเวลา ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน-พัฒนาวิธีการบริหารทีมงานก็คือ เมื่อเจอสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีมากระทบ ก็มักจะซวนเซ เพราะคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องดีเหมือนที่เคยดีตลอดไป
     นี่คือบทเรียนที่ 1 สำหรับองค์กรที่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องดีเหมือนเดิม!
     ในสถานการณ์ที่ปรกติ ผู้บริหารหลายๆ คนเคยใช้วิธีการบริหารแบบใด ก็อาจจะโชคดีที่ผลงานออกมาดีหรือพอใช้ได้ ส่วนหนึ่งมาจากฝีมือการบริหาร แต่ส่วนมากเกิดจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่เอื้ออำนวย…เรียกว่าให้ใครมาบริหาร ผลงานก็จะออกมาดีไม่แตกต่างกัน!
     แต่เมื่อสถานการณ์ และ ภาวะเศรษฐกิจเริ่มไม่ปกติ ผู้บริหารหลายคนยังใช้วิธีการบริหารทีมงานแบบเดียวกับภาวะที่สถานการณ์ปรกติ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ แทนที่จะแย่ลงแบบธรรมดาตามภาวะทั่วไป ก็จะแย่ลงหนักกว่าที่ควรจะเป็น
     นี่คือบทเรียนที่ 2. สำหรับองค์กรที่ยังแยกไม่ออกว่าควรจะบริหารให้แตกต่างอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างหรือตรงกันข้ามกัน!
     แค่ 2 บทเรียนนี้…เราได้เรียนรู้อะไรบ้างสำหรับการนำไป ปรับใช้ หรือ ป้องกันปัญหากับองค์กรของท่าน?
     1. ทำไมผู้บริหารจำนวนไม่น้อย ต้องรอให้สถานการณ์ภายนอกที่ไม่ดีมาเป็นตัวบีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารทีมงานทั้งๆ ที่รู้กันอยู่แล้วว่า มาเปลี่ยนตอนนี้มักจะสายเกินไป !
     2. ทำไมผู้บริหารจำนวนไม่น้อย  มักจะ "ยึดติด" และ "เคยชิน" กับวิธีการบริหารแบบเดิมๆ เป็นความคุ้นเคยที่เคยบริหารทีมงานมากี่ปีก็ยังคงบริหารแบบเดิมทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า ความเคยชิน คือบ่อเกิดแห่งความถดถอย
     3. ทำไม ผู้บริหารจำนวนไม่น้อย  มักจะบ่นคล้ายๆ กันว่า เด็กสมัยนี้เรียนรู้เร็วก็จริง แต่ขาดความอดทน  ปราศจากความภักดีต่อหน่วยงาน ต่อองค์กรทั้งๆ ที่น่าจะรู้ว่า เด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ถูกสภาพแวดล้อมและสังคมหล่อหลอมต่างจากรุ่นเดิมๆ ย่อมมีความแตกต่างในเรื่อง ค่านิยม วิธีคิด วิธีปฏิบัติในการใช้ชีวิตและการทำงาน เป็นไปได้หรือไม่ว่า เรากำลังใช้วิธีคิด และวิธีการบริหารคนยุคเก่า มาบริหารคนรุ่นใหม่?
     จากบทเรียนสู่สิ่งที่เราเรียนรู้ใน 3 ประเด็นหลัก เราควรคิดและควรทำอย่างไรต่อ?
     สิ่งที่ควรคิดอันดับแรกก็คือ ทุกวันนี้ เราใช้ความเคยชิน ประสบการณ์เดิมๆ และศาสตร์เดิมๆ บริหารทีมงานในท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนในแต่ละเดือนอยู่หรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ สิ่งที่ควรคิดถัดมาก็คือ เราจะเริ่ม คิดและสร้างวิธีการบริหารทีมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่คาดเดาได้ยากขึ้นได้อย่างไร?
     ถ้าคิดมาถึงตรงนี้แล้วก็ไม่ยาก
     สิ่งที่ควรทำถัดมาคือ เรียนรู้ ค้นคว้า หรือแม้กระทั่งพูดคุยกับทีมงานของเราเองถึงความคาดหวังทั้งของท่านและของทีมงาน ที่จะร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างวิธีการ “นำทีมร่วมกัน” เพื่อทั้ง “รับ” และ “พร้อมรุก” ได้ในทุกสถานการณ์ อย่าได้เผลอหรือหลงตนเองว่า ท่านเก่งหรือรู้ทุกเรื่องในเรื่องการบริหารทีมงาน
     เพราะบ่อยครั้ง สิ่งที่ท่านคิดว่าท่านรู้ดีและทำอยู่ทุกวันนี้อาจจะเป็นวิธีการที่ทีมงานของท่านอยากให้ท่าน “เลิกทำ” ตามความเคยชิน และ “เริ่มทำ” อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว
    ลองดูสิครับแล้วจะเห็นผล!

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
view