สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ

ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
อนุชาติคงมาลัย รองอัยการสูงสุดและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด
30 กรกฎาคม 2551

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 279 ได้กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละประเภทเป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัยซึ่งจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานหรือให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำต้องจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี.โดยที่รัฐธรรมนูญมาตรา 304 ได้กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ(1) ดังนั้นสำนักงานอัยการสูงสุดจึงต้องดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2551แต่งตั้งคณะทำงานและคณะทำงานย่อยอัยการสูงสุดจึงได้มีคำสั่งที่ 640/2550 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการโดยมีรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับ
มอบหมาย (นายอนุชาติคงมาลัย) เป็นหัวหน้าคณะทำงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมายเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
ต่อมาหัวหน้าคณะทำงานยกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการได้มีคำสั่งที่ 1/2551 ลงวันที่ 21 มกราคม 2551 แต่งตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการยกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องโดยมีนายมนัส สุขสวัสด ์ิ อธิบดีอัยการฝ่ายวิชาการเป็นหัวหน้าคณะทำงานย่อย
(1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. วันที่ 24 สิงหาคม 2550
2แนวทางการจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการคณะทำงานได้ดำเนินการยกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการโดยนำหลักการมาจากประมวลจริยธรรมข้าราชการอัยการที่มีอยู่เดิมประกอบกับค่านิยมหลัก (CoreValue) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดนอกจากนี้ยังได้นำประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการประมวลจริยธรรมข้าราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มาตรฐานความรับผิดชอบของวิชาชีพหน้าที่และสิทธิสำคัญของอัยการโดยสมาคมอัยการระหว่างประเทศและแนวทางสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของพนักงานอัยการมาประกอบการพิจารณายกร่างประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการนี้ด้วยค่านิยมหลัก (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 9 ประการ
โดยที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(2) และอำนาจหน้าที่เสนอแนะในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรม
(3)ในการนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้กำหนดให้การจัดทำประมวลจริยธรรมของแต่ละ
หน่วยงานต้องอยู่ในกรอบแห่งค่านิยมหลัก (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ให้ครบถ้วนทั้ง 9 ประการ
ดังนี้
 (1) การยดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(2) การมจิตสำนึกที่ดีซื่อสัตย ์สุจริตและรับผิดชอบ
(3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(4) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็วมีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ
(6) การใหข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วนถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(7) การมงผลสัมฤทธ์ิของงานรักษามาตรฐานมีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบไ้ด้.
(2)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 มาตรา 244
(3)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 มาตรา 2803
(8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ประมวลจริยธรรมอัยการสำหรับบุคลากรอัยการคณะทำงานได้ยกร่าง“ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของ
สำนักงานอัยการสูงสุด” เพื่อใช้บังคับกับข้าราชการฝ่ายอัยการอันได้แก่ข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการรวมทั้งบุคลากรอัยการอื่นเช่นพนักงานราชการเจ้าหน้าที่พนักงานลูกจ้างหรือบุคคลซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประมวลจริยธรรมอัยการ 8 หมวด 37 ข้อประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดมีทั้งสิ้น 37 ข้อ
โดยแบ่งออกเป็น 8 หมวด คือ
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 อุดมการณ์ของข้าราชการ
ฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด
หมวด 3 จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
หมวด 4จริยธรรมข้าราชการอัยการ
หมวด 5 จริยธรรมข้าราชการธุรการ
หมวด 6 จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการ
หมวด 7 การรักษาจริยธรรมจรรยาและการลงโทษ
และหมวด 8 จริยธรรมและจรรยาของบุคลากร
รายละเอียดตามร่างประมวลจริยธรรมแนบท้ายบทความนี้
ฝ่าฝืนจริยธรรมเป็นความผิดทางวินัยจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการในหมวด 3 นั้นเป็นจริยธรรมที่ข้าราชการฝ่ายอัยการ
คือทั้งพนักงานอัยการและข้าราชการธุรการต้องยึดถือปฏิบัติส่วนหมวด 4 เป็นจริยธรรมเฉพาะพนักงานอัยการและหมวด 5 เป็นจริยธรรมเฉพาะข้าราชการธุรการผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมดังกล่าวถือว่าผู้นั้นประพฤติผิดวินัยต้องถูก
ดำเนินการทางวินัยและลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 34ไม่ปฏิบัติตามจรรยายังไม่ถึงขั้นผิดวินัยการไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 6 นั้นมีลักษณะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควรเท่านั้นยังไม่ถึงขั้นผิดจริยธรรมอันเป็นความผิด ทาง วินัยผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้บังคับบัญชามีอำนาจตักเตือนด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือรวมทั้งมีอำนาจออกคำสั่งตามที่เห็นสมควรดังที่กำหนดไว้ในข้อ 35
4จริยธรรมและจรรยาของบุคลากรบุคลากรอัยการอื่นต้องยึดถือปฏิบัติตามความในหมวด 3 จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
หมวด 5 จริยธรรมข้าราชการธุรการและหมวด 6 จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการโดยอนุโลมเนื่องจากบุคลากรอื่นมิใช่ข้าราชการ
จึงไม่มีบทบัญญัติการดำเนินการทางวินัยกับบุคลากรที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาที่กำหนดแต่ให้ถือว่าเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหรือเหตุไม่ทำสัญญาจ้างบุคลากรผู้นั้นในคราวต่อไปอีกก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 37ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมในการสรรหาแต่งตั้งหรือลงโทษบุคคลรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรมและพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็น
อย่างมากโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 279 วรรคท้ายดังนี้“การพิจารณาสรรหากลั่นกรองหรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วน
เกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐรวมทั้งการโยกย้ายการเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือนและการลงโทษบุคคลนั้นจะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย”

จากเวปไซต์อัยการสูงสุด
view