สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

10 บทเรียนจากการล่มสลายของระบบการเงินสหรัฐ (2)

10 บทเรียนจากการล่มสลายของระบบการเงินสหรัฐ (2)
 

ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์

 Fsa@Fpo.go.th

 

 การล่มสลายของระบบการเงินสหรัฐและผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับระบบ
การเงินโลก กำลังทำให้ผู้เกี่ยวข้องในตลาดการเงินและสถาบันการเงินทั่วโลกตื่น
ตระหนก และวิตกกังวลว่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงัน รวมถึงเศรษฐกิจของหลาย
ประเทศในเอเชียที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ของการถดถอยอันเนื่องมาจากการหดหายของสภาพ
คล่องและสินเชื่อ วิกฤตการณ์เงินของสหรัฐครั้งนี้ให้บทเรียนกับเราหลายอย่างว่า

 1. สถาบันการเงินไม่เคยจดจำความผิดพลาด หรือเรียนรู้บทเรียนในอดีต
การปล่อยสินเชื่อที่หละหลวมในเอเชียเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ก็เกิดขึ้นอีกกับประเทศที่ควรจะ
เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศอื่นๆ ความละโมบและการมองภาพแต่ในด้านดีของ
สถาบันการเงินสหรัฐทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ซึ่งแทนที่จะช่วยพัฒนาประเทศ
แต่สถาบันการเงินสหรัฐกับใช้เงินในการเก็งกำไรมากเกินไป

 2. ระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อให้ดีแค่ไหน ก็ไม่เพียงพอต่อการ
ป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน การมองแต่ด้านบวก (Upside) และไม่มองด้าน
เสี่ยงและหามาตรการป้องกัน และแผนรองรับวิกฤตทำให้การล่มสลายเกิดขึ้นอย่าง
รุนแรง

 3. วิธีการแก้ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า
หลักการที่ว่าใหญ่เกินกว่าที่จะล้ม (Too big to fail) อาจจะไม่เกิดขึ้นเสมอไป แต่ว่าเกิด
หลักการใหม่ขึ้นมาควบคู่กันไป คือ ใหญ่เกินกว่าที่จะกอบกู้ (Too big to Save)

 4. วิกฤตการณ์ของระบบการเงินสามารถเกิดได้รวดเร็วและมีขนาดใหญ่ขึ้น
มากกว่าในอดีต เนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินทำให้เกิดตราสารหรือสัญญาทางการเงิน
เช่น Credit Default SWAP ทำให้ความเสี่ยงของระบบการเงินมีมากขึ้นหลายเท่า ซึ่งมี
ตัวอย่างให้เห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Lehman Brothers และ AIG

 5. ควรดูวิธีการแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินของสหรัฐครั้งนี้ว่าจะมี
ประสิทธิภาพเพียงใดและแตกต่างจากของไทยเราอย่างไร เท่าที่ฟังรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังและผู้ว่าธนาคารกลางของสหรัฐพูดกับสภานิติบัญญัติ (Congress) จะ
ขออนุมัติวงเงินพิเศษจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ 1) ซื้อหุ้นของสถาบัน
การเงินที่มีปัญหาเงินทุน 2) ปล่อยกู้ให้กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง 3)
ซื้อสินทรัพย์หรือหนี้เสียของสถาบันการเงิน ซึ่งอันหลังนี้ดูเหมือนจะเป็นอันที่ทางการ
สหรัฐตั้งใจทำมากที่สุด เพื่อให้ราคาของสินทรัพย์หรือหนี้เสียของสถาบันการเงินปรับ
ราคาลงมาเป็นราคาที่แท้จริง ซึ่งทางการสหรัฐตั้งใจจะจ้างผู้เชี่ยวชาญเอกชนในตลาด
การเงินมาช่วยกันกำหนดกติกาและวิธีการ ซื้อสินทรัพย์จากสถาบันการเงินโดยจะเน้น
การใช้วิธีประมูล (Reverse Auction) แต่ปัญหาก็คือความลำบากในกำหนดราคาซื้อ ถ้า
ราคาซื้อต่ำเกินไปก็จะไม่เป็นการช่วยหรือกอบกู้สถาบันการเงิน แต่ถ้าราคาซื้อสูงเกินไป
เงินภาษีอากรของประชาชนที่ให้ในการกอบกู้สถาบันการเงินนี้ก็คงตกเป็นของสถาบัน
การเงินมากเกินไป

 6. ผมดูการชี้แจงของรัฐมนตรีคลังของสหรัฐ Henry Paulson และผู้ว่าการ
ธนาคารกลาง Ben Bernanke ทั้งคู่ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของแผนกอบกู้
(Bailout Plan) ทำให้ Congress ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าแผนจะประสบความสำเร็จและจำนวน
เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ขอเหมาะสมหรือไม่ ของไทยเราหากเกิดวิกฤตการณ์
ในอนาคต มาตรการการแก้ไขปัญหาและเงินที่จะใช้ในการกอบกู้ก็ควรได้รับการอนุมัติ
จากรัฐสภาด้วย

 7. สถานการณ์ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้กำลังแย่ลงเรื่อยๆ และยิ่งทำนาย
ผลลัพธ์ไม่ออกและไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ สิ่งที่โลกต้องการสำหรับวิกฤตการณ์
ครั้งนี้คือ แนวทางการแก้ไขระดับโลก ไม่ใช่แค่มาตรการชั่วคราวของสหรัฐเท่านั้น

 8. วิธีการแก้ปัญหาของสหรัฐครั้งนี้ใช้วิธีเริ่มจากกอบกู้สถาบันการเงิน เพื่อ
กอบกู้ประชาชนเจ้าของบ้าน เพื่อไปสู่การกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐและประชาชน
 กอบกู้สถาบันการเงิน กอบกู้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย  กอบกู้เศรษฐกิจและประชาชน

  9. การแก้ปัญหาวิกฤตมักจะเริ่มด้วยการชี้นิ้วหาคนผิดควบคู่ไปด้วย ซึ่ง
ตอนนี้ตำรวจลับสหรัฐหรือ FBI กำลังตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมาย การโกง หรือ
การหลอกลวงในกรณี Lehman Brothers, Freddie Mae, Fannie Mac และ AIG รวมทั้ง
บริษัทปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 14,000 แห่ง

 10. วิกฤตการณ์ครั้งนี้จะเป็นโอกาสดีของคนที่มีเงินที่จะมาซื้อของถูกใน
สหรัฐอเมริกา ที่ประเทศจีนและสิงคโปร์มีการพูดถึงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เช่น
China Investment Corporation และ Government Investment Corporation of Singapore
ว่าจะมาฉวยโอกาสซื้อสินทรัพย์ราคาถูก (Fire Sale Assets) ในสหรัฐหรือจะมาเป็นผู้
กอบกู้ช่วยลดวิกฤตการณ์ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น (White Knights)

จากเวปไซต์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
view