สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นช.เฉิน บทพิสูจน์คดีการเมือง สะท้อนประชาธิปไตยไต้หวัน

ผู้จัดการออนไลน์       เอเชีย ไทมส์ – วิเคราะห์คดีอดีตประธานาธิบดี เฉิน สุยเปี่ยน สะท้อนภาพการเมืองไต้หวัน นักวิเคราะห์ระบุ เฉินผิด แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการตามขั้นตอน รวบรัดจับเฉินหวังดึงความสนใจ ชี้คนโกงเยอะทำไมจับเฉินคนเดียว
       
       อดีตประธานาธิบดีไต้หวัน เฉิน สุยเปี่ยน กลับมาดังอีกครั้ง หลังถูกทางการใส่กุญแจมือ ควบคุมตัว ภายหลังให้ปากคำกับอัยการในคดียักยอกเงินหลวงและฟอกเงิน อย่างไรก็ตามการจับกุมเฉินครั้งนี้สะท้อนความลักลั่นของกระบวนการยุติธรรม ไต้หวันอย่างชัดเจน และสะท้อนว่าคดีนี้เป็นคดีการเมือง หลังจากถูกควบคุมตัวในวันอังคาร (11 พ.ย.) เช้าวันต่อมาศาลแขวงไทเปก็อนุมัติคำขอคุมขังเฉินที่อัยการยื่นมา ทั้งที่ยังไม่มีการยื่นฟ้องร้องเฉินต่อศาลอย่างเป็นทางการ
       
       คณะสอบสวนกล่าวหาว่าขณะที่เฉินยังดำรงตำแหน่งประธานธิบดี เฉินและภรรยา ได้ยักยอกเงินงบลับจำนวน 14.8 ล้านเหรียญไต้หวัน (480,000 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นงบที่ถูกตั้งไว้สำหรับการดำเนินการทางการทูต ด้วยการนำใบเสร็จปลอมเบิกเงินส่วนดังกล่าวเข้ากระเป๋า อย่างไรก็ตามเฉินปฏิเสธตลอดมาว่า ไม่ได้นำเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง แต่เงินที่เบิกนั้นถูกนำไปใช้ในภารกิจลับทางการทูต ส่วนอู๋ ซู่เจิน ภรรยาของเฉินก็เผชิญข้อกล่าวหาเดียวกันก่อนที่เฉินจะพ้นตำแหน่งไม่นาน
       
       นอกจากข้อกล่าวหาเรื่องการยักยอกเงินแล้ว ทางคณะสอบสวนยังตั้งข้อสงสัยว่าครอบครัวของเฉินได้ทำการฟอกเงิน ถ่ายเทเงินจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯไปยังบัญชีธนาคารในต่างแดน ทั้งภรรยา, ลูกชาย และลูกสะใภ้ของเฉินต่างก็ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการฟอกเงินจำนวนมหาศาล นี้
       
       เฉินยอมรับว่า ภรรยาของเขาได้โอนเงินจำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯซึ่งได้มาจากการบริจาคในการรณรงค์หาเสียงไปยังต่างประเทศ ทว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เขาไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และเฉินเองก็ปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆมาโดยตลอด
       
       หากกระบวน การยุติธรรมไต้หวันสามารถพิสูจน์ได้ว่าเฉินผิดจริง คำตัดสินดังกล่าวย่อมสะท้อนช่องโหว่ในระบบฝ่ายบริหาร ที่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่สามารถนำใบเสร็จปลอมมาเบิกเงินงบลับเข้ากระเป๋า ตัวเองได้อย่างสบายๆ
       

       อย่างไรก็ตามในขั้นต้นคดีครั้งนี้ก็สะท้อนอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการเมืองไต้หวันได้ลางๆ

การชุมนุมประท้วงผู้แทนจีนเมื่อวันที่ 6 พ.ย. - เอเยนซี
       ภาพสะท้อนจากคดีเฉิน สุยเปี่ยน
       
       เฉินไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐคนแรกที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินงบลับ ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว ก็เคยถูกกล่าวหาว่า แอบยักยอกเงินงบลับขณะดำรงตำแหน่งพ่อเมืองไทเป อย่างไรก็ตามหม่าได้รับการตัดสินให้พ้นข้อกล่าวหา ก่อนที่เขาจะลงสู่สนามชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
       
       ข้อกล่าวหาเรื่องยักยอกเงินงบลับนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกพรรคก๊กมิ นตั๋ง (กั๋วหมินตั่ง) และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (หมินจิ้นตั่ง หรือ ดีพีพี) สาดเทใส่กันตลอด และดูเหมือนว่าเอาเข้าจริงแล้ว การยักยอกเงินนี้ก็กระทำกันอย่างโจ๋งครึ่ม จนเป็นเรื่องปกติที่ไม่ว่าพรรคไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็ต้องขอทำบ้าง
       
       แม้ การการปราบปรามคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่ทางไต้หวันให้ความสำคัญ ทว่าเอาเข้าจริงแล้ว การเปิดประเด็นสืบสวนเรื่องทุจริตนี้ กลับกลายเป็นเรื่องการเมืองไป อยู่ที่ว่าพรรคไหนขึ้นมามีอำนาจ ก็จะตามไล่บี้ขุดเรื่องทุจริตของอีกพรรคมาเล่น กระทั่ง เจิ้ง โหย่วอี้ พลเมืองไต้หวันซึ่งประกอบอาชีพขับแท็กซี่แสดงทัศนะด้วยความเซ็งว่า “มันเป็นเรื่องการเมือง กระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง”
       

       หลังจากถูกควบคุมตัว เฉินพยายามเปิดประเด็นว่า คดีนี้เป็นคดีการเมืองด้วยการกล่าวหาประธานาธิบดีหม่าและพรรคกั๋วหมินตั่ง ว่า เป็นผู้วางแผนจุดประเด็นให้มีการจับกุมเฉินในช่วงนี้ เพื่อเอาใจปักกิ่ง เนื่องจากคดีของเฉินมาถูกดำเนินการจริงจัง หลังจากการชุมนุมประท้วงผู้แทนจีนซึ่งเฉินและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าเข้าไป มีส่วนร่วมเป็นแกนนำ ผ่านพ้นไปไม่นาน
       
       ชาว ไต้หวันเชื่อว่า สมาชิกพรรคกั๋วหมินตั่ง และประชาธิปไตยก้าวหน้าต่างก็โกง ยักยอกเงินกันทั้งนั้น ชาวไต้หวันจำนวนหนึ่งจึงตั้งคำถามต่อการจับกุมเฉินครั้งนี้ว่า “ทำไมไม่จับอดีตผู้นำสังกัดพรรคกั๋วหมินตั่งที่โกงบ้าง ทำไมถึงจับแต่เฉิน”
       
       ทั้งนี้ไต้หวันเพิ่งเปิดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 1996 ก่อนหน้านั้นพรรคกั๋วหมินตั่งเป็นพรรคเดียวที่ผูกขาดอำนาจปกครองไต้หวัน
       
       อย่างไรก็ตาม ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประชาธิปไตยไต้หวันอยู่ในภาวะลุ่มๆดอนๆ การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสมาชิกพรรคกั๋วหมินตั่งกับพรรคประชาธิปไตยก้าว หน้าอยู่ในภาวะดุเดือด กระทั่งปะทุออกมาเป็นการเปิดศึกแลกหมัดกันกลางสภา
       
       เมื่อ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขึ้นมามีอำนาจ รอยแผลที่อีกฝ่ายหนึ่งเปิดไว้ก็จะถูกขุดขึ้นมาเล่นงาน บรรยากาสทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาจึงอึมครึมอย่างยิ่ง มีการแบกแยกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน แม้กระทั่งสื่อเองก็ไม่มีความเป็นกลาง

ชาวไต้หวันสนใจชมข่าวการจับกุมอดีตประธานาธิบดี - เอเยนซี
       ชี้ระบบเอื้อต่อการฉ้อฉล
       
       ความฉ้อฉลที่เกิดขึ้นนั้นจะไปโทษ ตัวบุคคลอย่างเดียวก็ไม่ได้ ระบบการเมืองโดยเฉพาะฝ่ายบริหารเองก็มีส่วนอย่างสำคัญที่เปิดช่องให้มีการ โกง เนื่องด้วยฝ่ายบริหารของไต้หวันมีอำนาจอย่างล้นเหลือ กระทั่งการตรวจสอบเป็นไปอย่างยากลำบาก ระหว่างการสอบสวนคดีของเฉิน เย่ เซิ่งเม่า อดีตผู้อำนวยการสำนักสืบสวนในสมัยเฉินยอมรับว่า “แทนที่เขาจะส่งเรื่องไปยังอัยการ เขากลับเตือนเฉินว่าองค์กรนานาชาติที่ตรวจสอบเรื่องการฟอกเงิน กำลังตรวจสอบครอบครัวเฉินอยู่ นอกจากนี้เย่ยังช่วยปกป้องเฉินอีกต่างหาก”
       
       อย่างไรก็ตามในขั้นต้นคดีของเฉินกำลังทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยต่อกระบวนการยุติธรรม
       

       ทั้งที่อัยการยังไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหา ยื่นเรื่องฟ้องร้องเฉินต่อศาลอย่างเป็นทางการ ทว่าเฉินกลับต้องเข้าไปนอนในคุกเสียแล้ว ตามกฎหมายไต้หวันหากยังมิได้มีการตั้งข้อกล่าวหายื่นฟ้อง อัยการสามารถคุมขังเฉินได้เป็นระยะเวลา 2 เดือนโดยต้องได้รับอนุมัติจากศาล นอกจากนี้ระยะเวลาในการคุมขังอาจยื่นออกไปได้อีก 2 เดือนหากได้รับการอนุมัติจากศาล และหากปรากฏมีข้อกล่าวหาใหม่ปรากฏขึ้นระหว่างการสอบสวน อัยการก็สามารถยื่นเรื่องขออนุมัติศาลยื่นระยะเวลาคุมขังออกไปได้อีก ทั้งที่เรื่องยังไม่ไปสู่ศาล
       
       สำหรับเหตุผลในการคุมขัง อัยการระบุว่า คดีของเฉินเป็นอาชญากรรมร้ายแรง และเป็นเรื่องที่อ่อนไหว หากไม่คุมขังเฉิน เฉินอาจออกไปทำลายหลักฐานได้
       
       นักวิเคราะห์ระบุว่า การจับกุมเฉินครั้งนี้อาจนำไปสู่ความแตกแยกในไต้หวัน และการต่อสู้ทางการเมืองจะเข้มข้นขึ้น “การควบคุมตัวเฉินจะนำไปสู่การต่อสู้ภายในพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ากับกั๋วหมินตั่ง” เชน หลี่ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฉางหรงกล่าว
       
       นับแต่กั๋วหมินตั่งชนะการเลือกตั้งส.ส. และประธานาธิบดีอย่างถล่มทลายเมื่อต้นปี จนพรรคกั๋วหมินตั่งกลายมาเป็นพรรครัฐบาล ทางรัฐได้ขุดคุ้ยทำการสืบสวนคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปไตยก้าว หน้าจำนวนมาก กระทั่งมีการจับกุมสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าจำนวนหนึ่ง
       
       ศ.หลี่ตั้งข้อสงสัยว่า “มีคนจำนวนมากที่สมควรถูกจัดการ ทำไมถึงเลือกแต่สมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า”
       
       ทั้งนี้พลพรรคนักวิจารณ์การเมืองตั้งข้อสงสัยว่า รัฐบาลกำลังโหมประเด็นการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เพื่อเบนความสนใจ กลบเกลื่อนการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐ ขณะเดียวกันก็ต้องการดึงคะแนนนิยมที่กำลังตกวูบให้กลับคืนมา
view