สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดคำชี้แจงปลัดคลังหลังถูกป.ป.ช.เชือดไล่ออก

              ศุภ​รัตน์ ค​วัฒน์​กุล

ประชาชาติธุรกิจ


 เรื่อง ขอชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

เรียน ประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ(ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ)
อ้างถึง บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ฉบับลงวันที่ 7 สิงหาคม 2551
สิ่งที่ส่งมาด้วย บัญชีรายชื่อเอกสารแนบคำชี้แจง พร้อมเอกสารแนบ 1-18

 ตาม ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีคำสั่งที่ 196/2550 ลงวันที่ 5 เมษายน 2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในกรณีที่ข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่า เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร และดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่ง ตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) กับพวก กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณีคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ได้มีหนังสือแจ้งเวียนไปยังส่วนราชการ โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการและขั้นตอนการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญที่ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 และกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่ง นักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ได้มีมติประเมินให้ผู้ได้รับคะแนนลำดับที่ 1-4 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรและกระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เสนอดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรโดยมิชอบ เป็นเหตุให้ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกรายอื่นได้รับความเสียหาย ดังรายละเอียดที่ปรากฏในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาฉบับที่อ้างถึง นั้น
 ข้าพเจ้า ได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตลอดจนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหาของคณะ อนุกรรมการไต่สวนฯ ดังกล่าวแล้ว ขอเรียนว่า ข้าพเจ้าขอปฏิเสธตลอดทุกข้อกล่าวหา และใคร่ขอชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งเสนอพยานเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้
 1.สรุปข้อเท็จจริง
 ข้าพเจ้า มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีตามข้อกล่าวหาของคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ในสองฐานะคือในฐานะกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (รองอธิบดีกรมสรรพากร) ตามข้อ 1.2.3 ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เรื่องการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 (หนังสือสำนักงาน ก.พ. : เอกสารแนบ 1) และตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 202/2544 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2544 (คำสั่งกระทรวงการคลัง : เอกสารแนบ 2) และในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งได้มีหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0803/27 ลงวันที่ 21 กันยายน 2544 และที่ กค 0803/371 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544 (หนังสือกรมสรรพากร : เอกสารแนบ 3 และ 4) เสนอชื่อข้าราชการสรรพากร สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร ตำแหน่งละ 1-2 ชื่อไปยังกระทรวงการคลังตามหนังสือแจ้งของกระทรวงการคลังที่ กค 0202/16661 ลงวันที่ 10 กันยายน 2544 (หนังสือกระทรวงการคลัง : เอกสารแนบ 5)
 2.ข้อชี้แจงเกี่ยวกับการเสนอชื่อข้าราชการในส่วนของอธิบดีกรมสรรพากร
 ข้าพเจ้า ขอชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อข้าราชการสมัคร เข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งข้าพเจ้าได้ดำเนินการในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรในครั้งนั้น ดังนี้
 2.1 ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรได้เสนอชื่อข้าราชการสมัครเข้ารับการคัด เลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรตามหนังสือกรมสรรพากร 2 ฉบับดังนี้ ตามหนังสือฉบับแรก (เอกสารแนบ 3) ได้เสนอชื่อ นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ นาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์ และนายวิชัย จึงรักเกียรติ ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร (นักบริหาร 9) ตำแหน่งเลขที่ 2, 4 และ 5 และเสนอให้นายพิชาติ เกษเรือง ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร (นักบริหาร 9) ตำแหน่งเลขที่ 3 และต่อมาได้มีหสนังสือฉบับที่ 2 (เอกสารแนบ 4) เสนอชื่อเพิ่มเติมให้นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา เข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งเลขที่ 3 การเสนอชื่อข้าราชการสมัครเข้ารับการคัดเลือกตามหนังสือทั้ง 2 ฉบับ เป็นไปตามกำหนดเวลา และตามที่กระทรวงการคลังได้มีหนังสือแจ้งมา (เอกสารแนบ 5)
 2.2 การที่ข้าพเจ้าเสนอชื่อบุคคลพร้อมกับตำแหน่งเลขที่ของตำแหน่งรองอธิบดีกรม สรรพากรที่ว่างก็เนื่องจากหนังสือกระทรวงการคลังตามเอกสารแนบ 5 ได้ระบุให้เสนอชื่อข้าราชการสมัครเข้ารับการคัดเลือก ตำแหน่งละ 1-2 ชื่อ ข้าพเจ้าจึงได้ปฏิบัติไปตามที่กระทรวงการคลังได้แจ้งมา ประกอบกับตามประกาศรับสมัครรัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน 2544 (ประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ : เอกสารแนบ 6) ก็ได้ระบุรายละเอียดตำแหน่งที่ว่างเพื่อคัดเลือกแต่งตั้งเป็นรายเลขที่ ตำแหน่ง ซึ่งในส่วนของกรมสรรพากรก็มีอยู่ 4 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งเลขที่ 2, 3, 4 และ 5 ดังนั้นการเสนอชื่อบุคคลโดยระบุเลขที่ตำแหน่งก็เพื่อให้มีความชัดเจนว่าการ เสนอชื่อก็อยู่ในกรอบตำแหน่งละ 1-2 ชื่อ และเมื่อได้มีการเสนอชื่อ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา เพิ่มเติมตามหนังสือฉบับที่ 2 ก็ได้ระบุตำแหน่งเลขที่ 3 ไว้เพื่อแสดงว่าได้มีการเสนอชื่อบุคคลสำหรับตำแหน่งเลขที่ 3 รวม 2 คน มิได้เป็นการเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเปลี่ยนตัวแทนบุคคลเดิมที่ได้รับการเสนอ ชื่อตามหนังสือฉบับแรกแต่อย่างใดทั้งสิ้น
 2.3 ในการเสนอชื่อข้าราชการกรมสรรพากรสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ข้าพเจ้าก็ได้คัดเลือกบุคคลที่เห็นว่ามีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสมกับงานในหน้าที่โดยมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเป็นการเฉพาะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้มีการแสดงไว้ในเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งว่าง ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ การเสนอชื่อมิได้มีความมุ่งหมายที่จะคัดเลือกบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วน ที่จะสมัครได้เอง เพื่อให้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้แต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากรายชื่อที่เสนอ 5 ชื่อนั้น รายนางจันทิมา สิริแสงทักษิณ นายวิชัย จึงรักเกียรติ นายพิชาติ เกษเรือง และนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ด้วยตนเอง มีเฉพาะรายนาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์ ที่มีสิทธิสมัครเนื่องจากการเสนอชื่อตามคุณสมบัติข้อ 4.4 ของประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ
 2.4 ข้าพเจ้าจึงขอเรียนยืนยันว่า การดำเนินการของข้าพเจ้าในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการคัด เลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยสุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ.กำหนดโดยมิได้จงใจหรือมีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรแต่อย่างใดทั้งสิ้น
 3.ข้อชี้แจงตามประเด็นข้อกล่าวหา
 คณะ อนุกรรมการไต่สวนฯ ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อข้าพเจ้าตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ฉบับที่อ้างถึงว่าข้าพเจ้ากับพวกได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการพิจารณา คัดเลือกฯ โดยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกทั้งที่เป็นผู้ กล่าวหาและผู้เข้ารับการพิจารณารายอื่นๆ สร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกและการบริหารงานทรัพยากร บุคคลของกระทรวงการคลังอย่างร้ายแรง ต้องมีการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรในเวลาต่อ มา เป็นการกระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็น การทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 82 วรรคสามและเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยมีประเด็นสรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
 3.1 ประเด็นที่ 1 : ประกาศของคณะกรรมการคัดเลือกฯ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ลงวันที่ 10 กันยายน 2544 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสรร ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯจะพิจารณาจากพฤติกรรมหรือคุณลักษณะใดของผู้สมัคร และจะใช้วิธีการใดในการประเมินเพื่อจะทราบถึงความรู้ความสามารถ และความเหมาะสมของผู้สมัครในตำแหน่งที่จะพิจารณาแต่งตั้ง ตลอดจนมีขั้นตอนดำเนินการในการคัดเลือกอย่างไร ตามข้อ 2.2.2.1, 2.2.2.2 และข้อ 2.2.2.3 ของหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 0701/ ว 9 ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าเพื่อประโยชน์แก่ผู้ สมัครทุกคน ที่จะได้เตรียมความพร้อมและเอกสารข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ประกอบใบสมัคร

 ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า
 3.1.1 ข้าพเจ้าในฐานะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 0701/ ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 (ว.9) ที่เพิ่งนำมาใช้สำหรับการคัดเลือกตำแหน่งนักบริหาร 9 เป็นครั้งแรกของกระทรวงการคลัง และยังไม่มีการดำเนินการในกระทรวงอื่นเป็นตัวอย่างเลย (แนวทาง ว.9นี้ใช้สำหรับการคัดเลือกตำแหน่งนักบริหาร 9 แทนแนวทางเดิมตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540) ในการประชุมครั้งนี้ (รายงานการประชุม : เอกสารแนบ 7) คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาร่างประกาศฯ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ นำเสนอโดยยึดแนวทางตามตัวอย่างประกาศแนบท้าย ว.9 ที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ และความพยายามอย่างดีที่สุดในการพิจารณาให้ครอบคลุมการดำเนินการตามข้อ 2.2.2 และข้ออื่นๆ ของ ว.9 ด้วย
 3.1.2 ในประกาศรับสมัครฯ (เอกสารแนบ 6) ได้กำหนดลักษณะความรู้ ความสามารถที่ต้องการสำหรับนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ไว้แล้วในข้อ 5 ของประกาศฯ โดยได้ระบุลักษณะความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานไว้ในข้อ 4 ของเอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งว่างที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ในกรณีตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร ได้กำหนดไว้ดังนี้
 4.ความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน กรมสรรพากรพิจารณาความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่จำเป็นดังต่อไปนี้
 4.1 สมรรถนะหลักทางการบริหาร
 1.ความรอบรู้ในการบริหาร
 * การบริหารการเปลี่ยนแปลง
 * การมีจิตมุ่งบริการ
 * การวางแผนเชิงกลยุทธ์
 2.การบริหารอย่างมืออาชีพ
 * การตัดสินใจ
 * การคิดเชิงกลยุทธ์
 * ความเป็นผู้นำ
 3.การบริหารคน
 * การยืดหยุ่นและปรับตัว
 * ทักษะในการสื่อสาร
 *การประสานสัมพันธ์
 4.การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
 * การรับผิดชอบตรวจสอบได้
 * การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
 * การบริหารทรัพยากร
 4.2  สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับงานในตำแหน่งที่ต้องการ เป็นความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับงานในหน้าที่
 1) มีความรู้ความเข้าใจในนโยบาย เป้าหมายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีสรรพากร
 2) มีความรู้ความเข้าใจเป็นการเฉพาะในด้านนโยบายและโครงสร้างภาษีสรรพากรหรือ ด้านนโยบายการบิรหารงานจัดเก็บภาษีสรรพากร หรือในด้านการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการปฏิบัติจัดเก็บภาษีสรรพากร หรือในด้านงานกฎหมายภาษีสรรพากร หรือในด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศกรมสรรพากร หรือในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
 4.3 ความประพฤติและค่านิยมสร้างสรรค์ที่จำเป็นนสำหรับนักบริหาร ได้แก่ มีพฤติกรรมเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจของสรรพากร โดยมุ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเที่ยงธรรม
 4.4 ประวัติการรับราชการ
 มีผลงานที่แสดงถึงความ สำเร็จในด้านการบริหารจัดการ และมีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมของการเป็นข้าราชการที่ดี
 4.5 คุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เช่น
 1) มีทัศนะคติที่ดีต่อการทำงาน
 2) มีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสม
 3) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี"
 ฉะนั้น ตามประกาศฯจึงได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม และคุณลักษณะที่จำเป็นในด้านใดบ้างสำหรับตำแหน่งนักบริหาร 9 ที่ประกาศรับสมัคร
 3.1.3 ตามประกาศฯ ได้มีการกำหนดเอกสารที่ต้องส่งในการสมัคร (ข้อ 7 ของประกาศฯ) ซึ่งนอกจากใบสมัครแล้วยังจะมีแบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการ และข้อเสนอเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ความคาดหวัง เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ ของงานในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และได้มีการแจ้งหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ข้อ 8 ของประกาศ) โดยระบุว่าจะดำเนินการคัดเลือกโดยการประเมินจากเอกสาร และข้อมูลต่างๆ ที่ต้องส่งในการสมัครหรือวิธีการอื่นตามที่เห็นสมควร ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นไปตามตัวอย่างประกาศฯ แนบท้าย ว.9 ดังที่กล่าวมาแล้ว
 3.1.4 ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เพื่อออกประกาศฯ ในครั้งนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาดำเนินการโดยมี (1) การกำหนดสมรรถนะ และคุณลักษณะที่จำเป็นไว้แล้วอย่างละเอียดตามที่กล่าวในข้อ 3.1.2 (2) การกำหนดเอกสารและข้อมูลที่ต้องส่งในการสมัคร ได้แก่ ใบสมัคร  แบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการ และข้อเสนอวิสัยทัศน์ตามที่กล่าวในข้อ 3.1.3 ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดทั้งส่วนที่เป็นประวัติการทำงานและการรับราชการ ประวัติส่วนบุคคล ประสบการณ์ และการปฏิบัติงานพิเศษ การฝึกอบรมดูงาน ความสามารถพิเศษ ผลงานด้านการบริหารจัดการในอดีต ข้อเสนอวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร และ (3) การแจ้งว่าจะดำเนินการคัดเลือกโดยการประเมินจากเอกสารและข้อมูลต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ของประกาศฯ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงเข้าใจโดยสุจริตว่าการดำเนินการตามที่กล่าวเป็นการดำเนินการที่สอดคล้อง กับแนวทางตามข้อ 2.2.2 แล้ว
 3.1.5 ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังพบว่า หลังจากสำนักงาน ก.พ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักบริหาร 9 ตาม ว.9 มาใช้แล้วนั้น ส่วนราชการที่ได้ออกประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ในช่วงแรกของการเริ่มใช้ ว.9 อาทิเช่น ประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2544 (เอกสารแนบ 8) ประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2544 (เอกสารแนบ 9) และประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2544 (เอกสารแนบ 10) ก็ล้วนแต่มีข้อความและสาระของการประกาศรับสมัครฯ ทำนองเดียวกับประกาศรับสมัครฯ ของกระทรวงการคลัง ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางตัวอย่างประกาศรับสมัครฯ ที่แนบท้ายเอกสาร ว.9 รวมทั้งในข้อเอกสารที่ต้องส่งในการสมัครก็ระบุไว้เช่นเดียวกัน และในข้อหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งก็ได้ระบุว่าจะดำเนิน การคัดเลือกโดยประเมินจากเอกสาร และข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้สมัครยื่นเป็นสำคัญ โดยในส่วนประกาศรับสมัครฯ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคคลโดยระบุน้ำหนัก คะแนนไว้ด้วย
 ข้อมูลนี้จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ในช่วงแรกของการใช้หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญตาม ว.9 นั้น ส่วนราชการต่างๆ ก็ได้พยายามยึดตัวอย่าง และแนวทางตามที่ปรากฏในหนังสือเวียน และเอกสารแนบท้ายต่างๆ ของ ว.9 เป็นหลัก โดยมีบางประเด็นที่อาจเข้าใจหรือตีความแตกต่างกันอยู่บ้างเพราะเป็นหลัก เกณฑ์ใหม่ที่เพิ่งจะนำออกมาใช้ปฏิบัติ
 3.1.6 กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ออกประกาศรับสมัครฯ โดยได้พยายามอย่างดีที่สุดในการพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ แนวทางของ ว.9 แล้ว แม้มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่ชัดเจนในบางส่วนก้เป็นไปโดยการทำหน้าที่โดยการ ใช้ดุลยพินิจโดยชอบ ดังเช่นวิญญูชนพึงปฏิบัติ มิได้มีเจตนาหรือจงใจให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สมัครรายหนึ่งรายใดหรือแก่ กระบวนการคัดเลือกดังกล่าวแต่อย่างใด
 3.2 ประเด็นที่ 2 : คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ประชุมในวันถัดจากวันปิดรับสมัคร โดยใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 16.00-20.00 น.) ในการพิจารณาผู้สมัครฯ ในสังกัดกระทรวงการคลังถึง 4 ส่วนราชการ มีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก (มีคุณสมบัติครบถ้วน) ที่ต้องพิจารณาเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง จำนวน 22 คน โดยมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกของกรมสรรพากรรวมอยู่ด้วย 9 คน ในการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกฯ กรรมการแต่ละคนมิใช่อยู่ในส่วนราชการเดียวกันทั้งหมด ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะต้องจัดทำเอกสารของผู้สมัครทุกคนส่งให้กรรมการแต่ละคนเพื่อศึกษาราย ละเอียดประกอบการพิจารณาให้น้ำหนักคะแนนผู้สมัคร จึงย่อมขัดต่อความเป็นจริงในการพิจารณาหาผู้เหมาะสมที่กรรมการแต่ละคนจะต้อง พิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ โดยเปรียบเทียบความเหมาะสมของผู้สมัครแต่ละคน

 ข้าพเจ้าขอชี้แจงดังนี้
 3.2.1 ตาม ว.9 และตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 202/2544 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2544 (เอกสารแนบ 2) ข้าพเจ้าซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น เป็นคณะกรรมการคัดเลือกฯเฉพาะในส่วนของตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าง เท่านั้น มิได้ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือกฯในส่วนของนักบริหาร 9 สังกัดอื่นแต่อย่างใด
 3.2.2 ในจำนวนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร 9 คนนั้น มีผู้สมัครที่สังกัดกรมสรรพากร 7 คนด้วยกัน ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นทราบและรู้จักผู้สมัครเป็นอย่างดี ทั้งด้านความรู้ความสามารรถในการบริหารงาน ความประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งทัศนคติและคุณสมบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ข้าพเจ้าในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการทั้ง 7 รายยังได้ให้ความเห็นในแบบแสดงผลงานด้านการบริหารจัดการของผู้สมัครแต่ละราย และลงชื่อกำกับไว้ด้วยทั้งสิ้น
 ในส่วนของผู้สมัครอีก 2 คนที่มิได้สังกัดกรมสรรพากร คือ คุณอัมพร เล็กอุทัย สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และคุณประภาดา สารนุสิต สังกัดกรมบัญชีกลาง (ในอดีตเคยอยู่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) นั้น ข้าพเจ้าก็รู้จักเป็นอย่างดี และได้เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครทั้งสองดังกล่าวมาก่อน ดังกรณีคุณอัมพร เล็กอุทัย ก็เคยได้ร่วมงานกันตั้งแต่เมื่อครั้งข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (พ.ศ.2539) และเมื่อข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ต.ค.2541-ก.ย.2543) และกรณีคุณประภาดา สารนุสิต ก็เคยทำงานร่วมกันมาหลายคราวหลายโอกาสทั้งในสมัยอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการ คลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และกรมบัญชีกลาง
 3.2.3 ในระหว่างการประชุมพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการ ข้าพเจ้าได้ให้ข้อมุลและชี้แจงเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เกี่ยวกับบุคคลผู้สมัครคัดเลือกตามที่กรรมการอื่นสอบถามในทำนองเดียวกัน กรรมการท่านอื่นก็ได้ช่วยกันให้ข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างการประชุมของคณะ กรรมการคัดเลือกฯ ด้วย เช่น นายสมหมาย ภาษี ซึ่งเคยอยู่ในสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นเวลานาน ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณอัมพร เล็กอุทัย และคณะประภาดา สารนุสิต ได้เป็นอย่างดี หรือนายสมใจนึก เองตระกูล ซึ่งผ่านงานกระทรวงการคลังมาหลายด้าน รวมทั้งเคยเป็นอธิบดีกรมสรรพากร ก็รู้จักผู้สมัครรายต่างๆ เป็นอย่างดี ทั้งในส่วนที่สมัครตำแหน่งรองธิบดีกรมสรรพากรและตำแหน่งอื่น
 3.2.4 ในการประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครแต่ละรายจะมีรายการประเมินสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
 1) สมรรถนะหลักทางการบริหาร
 2) สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่
 3) ความประพฤติ
 4) ประวัติการรับราชการ
 5) คุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง
 โดย หัวข้อสมรรถนะหลักทางการบริหารนั้น แม้จะมีรายการย่อยให้พิจารณาประเมินมากรายการก้ตาม (โปรดดูข้อ 3.1.2) แต่ในส่วนนี้สำนักงาน ก.พ.ได้ดำเนินการมาล่วงหน้าแล้ว คะแนนที่ให้ก็เป็นคะแนนจากผลงานประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารจาก ก.พ.ดังนั้นหัวข้อรายการที่ต้องประเมินในส่วนอื่น ซึ่งสามารถพิจารราจากเอกสารและข้อมูลต่างๆ เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการรับราชการ การฝึกอบรมดูงาน ผลงานสำคัญในอดีต ข้อเสนอวิสัยทัศน์ รวมถึงข้อมูลความเห็นจากอธิบดีกรมที่มีตำแหน่งว่าง และกรรมการท่านอื่นๆ จึงสามารถดำเนินการได้โดยรวดเร็ว โดยยังมีความรอบคอบอย่างพอเพียง
 3.2.5 กล่าวโดยสรุปในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกฯ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ข้าพเจ้าได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการพิจารณาเปรียบเทียบและประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครราย ต่างๆ ซึ่งข้าพเจ้ารู้จักเป็นอย่างดีโดยละเอียดรอบคอบ
 มีเวลาพอเพียง และข้าพเจ้าก็ได้ให้คะแนนประเมินไปตามนั้น นอกจากนี้ ข้าพเจ้าก็เชื่อมั่นว่า ด้วยการสนับสนุนข้อมูล และความเห็นต่างๆ จากอธิบดีกรมที่มีตำแหน่งว่าง และจากกรรมการท่านอื่นให้กับที่ประชุมก็ทำให้คณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์สูงทางด้านการบริหารงานบุคคลสามารถใช้เวลาดัง กล่าวพิจารณาเปรียบเทียบความเหมาะสม และประเมินผู้สมัครแต่ละรายได้โดยละเอียดรอบคอบตามสมควรแล้วเช่นกัน
 3.3 ประเด็นที่ 3 : การที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ลงมติเห็นสมควรแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลทันทีให้ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมสรรพากรตามตำแหน่งที่ว่าง แล้วเสนอรายชื่อให้ปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาตามที่จัดลำดับไว้ โดยไม่คำนึงถึงผลของคะแนนในการประเมินบุคคล เป็นการกระทำเพื่อให้สอดรับกับการเสนอรายชื่อบุคคลของกรมสรรพากรที่เสนอต่อ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดตัวบุคคลไว้ล่วงหน้าอันเป็นการไม่ถูกต้อง
 ข้าพเจ้าขอชี้แจง ดังนี้
 3.3.1 ในส่วนของการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสนอชื่อข้าราชการสมัครเข้ารับ การคัดเลือกในตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ข้าพเจ้าได้ชี้แจงเหตุผลของการเสนอชื่อ โดยมีการระบุเลขที่ตำแหน่งตามหนังสือสองฉบับไว้แล้วตามข้อ 2.1-2.4
 3.3.2 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัคร โดยมีการกำหนดรายการประเมินบุคคลพร้อมน้ำหนักคะแนนของแต่ละรายการ กรรมการแต่ละคนได้พิจารณาความเหมาะสมของผู้สมัครแต่ละราย และได้ให้คะแนนตามหัวข้อการประเมินเป็นรายผู้สมัคร หลังจากนั้นก็ได้มีการรวมคะแนนของกรรมการทุกคนที่ให้กับผู้สมัครแต่ละคนแล้ว จึงเรียงลำดับตามผลการประเมิน โดยคณะกรรมการฯ ได้จัดทำบันทึกเสนอต่อปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งในกรณีนี้โดยทันทีหลังเสร็จสิ้นการประชุม โดยกรรมการทุกคนได้ลงนามในบันทึกดังกล่าว (บันทึกคณะกรรมการคัดเลือก : เอกสารแนบ 11) และมีเอกสารผลการประเมินของผู้สมัครรายบุคคลแนบไว้ด้วย ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวลงวันที่ 25 กันยายน 2544 นั้นได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติเห็นสมควรคัดเลือกข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรม สรรพากรเรียงตามผลการประเมินบุคคลตามลำดับ 1-9 คณะกรรมการคัดเลือกฯ มิได้เสนอโดยระบุตัวบุคคลโดยทันที หรือโดยเจาะจง 1 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่งแต่อย่างใด
 3.3.3 อย่างไรก้ดี สำหรับกรณีที่มีการเรียงลำดับรายชื่อบุคคลในบันทึกเสนอผลการคัดเลือกต่อปลัด กระทรวงการคลังคลาดเคลื่อนไป จากผลคะแนนที่ปรากฏโดยได้เรียงรายชื่อ นาย ช.นันท์ เพ็ชญ ไพศิษฏ์ ซึ่งได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 ข้ามมาเป็นลำดับที่ 2 และนายพิชาติ เกษเรือง ซึ่งได้ลำดับที่ 8 ข้ามมา เป็นลำดับที่ 7 นั้น ก็เป็นข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับที่ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดเรียงขึ้นมา โดยคณะกรรมการฯ ไม่ได้ตรวจโดยละเอียด ในประเด็นนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ และคณะกรรมการฯ มิได้มีเจตนาหรือประสงค์ให้เกิดผลให้สอดรับกับการเสนอรายชื่อของกรมสรรพากร แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้ว่าข้อผิดพลาดนี้มีทั้งกรณีลำดับที่ 2 และกรณีลำดับที่ 7 ตามที่กล่าวมาแล้ว
 3.3.4 สำหรับเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 (รายงานการประชุม : เอกสารแนบ 12) ที่บันทึกในข้อ 2.2.4 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้แต่งตั้ง 1) นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ 2) นาย ช.นันท์ เพ็ชญ ไพศิษฏ์ 3) นายวิชัย จึงรักเกียรติ และ 4) นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรตามผลการประเมินที่แนบนั้น ข้าพเจ้าขอเรียนว่าเอกสารการประชุมดังกล่าว เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นหลังจากการประชุมได้ผ่านพ้นไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าแตกต่างในสาระสำคัญอย่างสิ้นเชิงจากที่ปรากฏในบันทึกคณะ กรรมการคัดเลือกฯ (เอกสารแนบ 11) ที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ลงนามเสนอปลัดกระทรวงการคลังในทันทีหลังเสร็จสิ้นการประชุมในวันที่ 25 กันยายน 2544 ดังนั้น รายงานการประชุมดังกล่าวซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้บันทึกการประชุมอย่างย่อ จึงเป็นความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับสิ่งที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ประชุมและได้ดำเนินการไปโดยครบถ้วนแล้ว
 3.3.5 จากข้อเท็จจริงที่ชี้แจงข้างต้นจึงสรุปได้ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ มิได้มีมติเห็นสมควรให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลทันทีให้ดำรงตำแหน่งรอง อธิบดีกรมสรรพากรตามที่มีตำแหน่งว่าง โดยไม่คำนึงถึงผลของคะแนนในการประเมินบุคคล และมิได้กระทำการให้สอดรับกับการเสนอรายชื่อบุคคลอันเป็นการกำหนดตัวบุคคล ไว้เป็นการล่วงหน้าตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด
 3.4 ประเด็นที่ 4 : คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติให้เสนอรายชื่อบุคคลทั้งสี่ที่กรมสรรพากรเสนอรายชื่อต่อปลัดกระทรวงการ คลัง พิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรโดยเจาะจง 1 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง อันเป็นการไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้อ 2.6 ของ ว.9 ที่ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาคัดเลือกผู้เหมาะสมจำนวนไม่เกิน 3 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง พร้อมระบุความเหมาะสมของบุคคลในแต่ละตำแหน่งต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งพิจารณา ต่อไปถือเป็นการดำเนินการโดยมิชอบและไม่โปร่งใส ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะต้องดำเนินการโดยไม่อาจใช้ดุลพินิจที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติในบาง ตำแหน่งนี้ได้
 ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า
 3.4.1 ตามที่ได้ชี้แจงในข้อ 3.3.2 แล้วนั้น ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกเสนอผลการประเมิน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยเรียงตามลำดับคะแนนประเมินผลคณะกรรมการคัดเลือกฯ มิได้เสนอรายชื่อบุคคลทั้งสี่ที่กรมสรรพากรเสนอรายชื่อต่อปลัดกระทรวงเพื่อ พิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรโดยเจาะจง 1 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่งแต่อย่างใด
 3.4.2 เนื่องจากมีผู้สมัครตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจำนวน 9 ราย สำหรับตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรที่รับสมัคร 4 ตำแหน่ง คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้ประเมินความเหมาะสม และเรียงลำดับเสนอชื่อผู้เหมาะสมทั้ง 9 คน สำหรับตำแหน่งที่ว่าง 4 ตำแหน่ง โดยไม่ได้จำแนกไม่เกิน 3 ชื่อ ต่อ 1 ตำแหน่งให้เป็นการเจาะจงแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยเข้าใจว่าการเสนอชื่อผู้เหมาะสมโดยเรียงลำดับในจำนวนดังกล่าวสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ข้อ 2.6 ของ ว.9 แล้ว

3.4.3 ในประเด็นที่ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่ได้ระบุความเหมาะสมของบุคคลในแต่ละตำแหน่งในการเสนอต่อผู้มีอำนาจสั่ง บรรจุแต่งตั้งนั้น ขอเรียนว่า ในบันทึกเสนอผลการประเมินของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งได้แนบผลการประเมินความเหมาะสมผู้สมัครแต่ละ ราย ซึ่งมีการให้คะแนนความเหมาะสมในแต่ละด้านไว้แล้วด้วย นอกจากนี้ ในแบบการประเมินบุคคลดังกล่าว ก็มีข้อที่ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ สรุปผลการประเมินของผู้สมัครแต่ละรายว่าเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวใน ระดับที่ สูงมาก สูง หรือ ปานกลาง หรือยังไม่เหมาะสม โดยคณะกรรมการใช้ลงลายมือชื่อในแบบการประเมินผู้สมัครแต่ละรายไว้ด้วย (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 11) ประกอบกับข้อ 2.6 ใน ว.9 ก็มีข้อความในวงเล็บกล่าวถึงแบบการประเมินบุคคลไว้ดังนี้ "2.6 ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 3 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง (ตัวอย่างแบบการประเมินบุคคลในการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 5) พร้อมทั้งระบเหตุผลของความเหมาะสมของบุคคล..." ข้าพเจ้าและกรรมการท่านอื่น ตลอดจนฝ่ายเลขานุการจึงเข้าใจโดยสุจริตว่า การระบุความเหมาะสมตามแบบการประเมินตามที่กล่าวมาข้างต้นมีความพอเพียงและ สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 2.6 นี้แล้ว
 อนึ่ง ในการเสนอชื่อบุคคลผู้เหมาะสมสำหรับตำแหน่งนักบริหาร 9 ตำแหน่งอื่น ซึ่งมีการพิจารณาและเสนอปลัดกระทรวงการคลังในวันเดียวกันนั้น ก็ได้มีการนำเสนอในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น (บันทึกคณะกรรมการคัดเลือก : เอกสารแนบ 13, 14 และ 15)
 3.4.4 จากข้อเท็จจริงข้างต้น ข้าพเจ้าและคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมิได้มีเจตนา หรือจงใจในการดำเนินการประเมิน หรือมีมติให้ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามข้อ 2.6 ของ ว.9 แต่อย่างใด รวมทิ้งมิได้มีเจตนา หรือจงใจ หรือเลือกปฏิบัติในการเสนอรายชื่อบุคคลทั้งสี่ที่กรมสรรพากรเสนอเพื่อแต่ง ตั้งให้เป็นรองอธิบดี โดยเจาะจง 1 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่งแต่อย่างใด
 3.5 ประเด็นที่ 5 : กรณีไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ได้รับใบสมัครและเอกสารต่างๆ ประกอบด้วย ใบสมัคร แบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการ (ถ้ามี) และข้อเสนอเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเมื่อใด โดยเฉพาะรายนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา ซึ่งลงชื่อในใบสมัครวันที่ 24 กันยายน 2544 อธิบดีกรมสรรพากรผู้บังคับบัญชา ลงชื่อให้ความเห็นในแบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2544 เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ลงชื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรายนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2544 หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณามีมติให้นายบุญศักดิ์ฯได้รับการคัดเลือกเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร แล้ว ซึ่งนอกจากจะเป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติโดยข้ามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของการพิจารณาอีกด้วย
 ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า
 3.5.1 ในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร ข้าพเจ้าได้มีหนังสือลงวันที่ 24 กันยายน 2544 (เอกสารแนบ 3) เสนอชื่อนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าง ในตำแหน่งเลขที่ 3 เป็นการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเสนอต่อกระทรวงการคลังภายในกำหนดเวลาที่กระทรวงการคลังได้แจ้ง ไว้ นอกจากนี้ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 กันยายน 2544 (หนังสือกรมสรรพากร : เอกสารแนบ 16) เสนอชื่อนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชาา และข้าราชการกรมสรรพากรอื่นอีก 2 ราย เข้ารับการฝีกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารสำหรับนักบริหาร ระดับสูง
 3.5.2 ในข้อเท็จจริงนั้น การรับใบสมัครพร้อมเอกสารต่างๆ และการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ด้วย ในคราวการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 นั้น ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้นำเสนอที่ประชุมว่ามีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งรองอธิบดีกรม สรรพากรจำนวน 10 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วน 9 ราย และขาดคุณสมบัติ 1 ราย โดยในกรณีนายบุญศักดิ์ฯ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เสนอว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน นอกจากนี้ ในส่วนของคะแนนผลการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้สมัครแต่ละราย รวมถึงรายนายบุญศักดิ์ฯ กรรมการผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ. ก็ได้นำมาเสนอต่อที่ประชุมโดยครบถ้วนเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าและคณะกรรมการจึงเชื่อมั่นว่าฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครทุกรายเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าและกรรมการคัดเลือกฯ ท่านอื่น จึงได้พิจารณาใบสมัครและเอกสารประกอบต่างๆ ของผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 9 รายดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
 3.5.3 ในภายหลังเมื่อข้าพเจ้าได้ตรวจสอบและรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อชี้แจงข้อ กล่าวหาต่ออนุกรรมการไต่สวนฯ ข้าพเจ้าได้รับทราบว่ากองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลัง ได้มีทะเบียนรับใบสมัครของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก ในตำแหน่งต่างๆ ตามประกาศคัดเลือกฯ (ทะเบียนรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกฯ : เอกสารแนบ 17) โดยปรากฏชื่อนายบุญศักดิ์ฯ เป็นผู้ยื่นใบสมัครลำดับที่ 22 โดยยื่นใบสมัครในวันที่ 24 กันยายน 2544 พร้อมลงลายมือชื่อไว้ด้วยตนเอง และยังมีผู้สมัครต่อจากนั้นอีก 10 รายจนถึงลำดับที่ 32 และมีผู้สมัครในวันเดียวกันก่อนหน้านายบุญศักดิ์ฯ อีก 9 ราย รวมเป็นผู้ยื่นใบสมัครในวันที่ 24 กันยายน 2544 ทั้งสิ้น 20 ราย และในจำนวนผู้สมัคร 20 รายนี้ เป็นผู้สมัครตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร รวม 4 ราย คือ  1.นายไพรัช สหเมธาพัฒน์ (ลำดับที่ 20) 2.นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา (ลำดับที่ 22) 3.นางอัมพร เล็กอุทัย (ลำดับที่ 26) และ 4.นางประภาดา สารนุสิต (ลำดับที่ 27) จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นใบสมัครในวันที่ 24 มิถุนายน 2544 ทั้ง 20 ราย ได้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยการยื่นใบสมัครของนายบุญศักดิ์ฯ ต่อกองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลังนั้น ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าเป็นการยื่นโดยใช้สำเนา โดยมีเอกสารหลักฐานครบถ้วน
 3.5.4 จากข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าและคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงเชื่อว่าได้มีการดำเนินการรับสมัคร มีการตรวจสอบคุณสมบัติ มีการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้สมัครรายต่างๆ เป็นที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตามขั้นตอนและตามกำหนดเวลาสำหรับผู้สมัครทุกรายแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้พิจารณาดำเนินการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไปตามปกติโดยใช้เอกสารและ ข้อมูลต่างๆ ตามที่ปรากฏในขณะนั้น โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ มิได้ดำเนินการข้ามขั้นตอนในการพิจารณา หรือดำเนินการอันเป็นการเลือกปฏิบัติหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครราย หนึ่งรายใดแต่อย่างใด

4.ประวัติการศึกษาและการทำงานของข้าพเจ้า (ประวัติส่วนตัว : เอกสารแนบ 18)
 ข้าพเจ้า ได้เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2520 โดยก่อนหน้านี้ก็ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ได้เข้ารับราชการที่กรมสรรพากรทันที โดยได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งและขั้นเงินเดือนจากผู้บังคับบัญชามาโดย สม่ำเสมอเป็นลำดับจนดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน
 นอกจากงาน ในตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้ว ก็ได้มีโอกาสปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของทางราชการในองค์กรของราชการและรัฐ วิสาหกิจหลายๆ แห่ง รวมตลอดถึงการได้เป็นผู้บรรยายพิเศษ ณ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศอีกหลายสถาบัน
 ข้าพเจ้าเชื่อมั่น ว่า ข้าพเจ้าได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของราชการและบ้านเมืองด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด และในช่วงที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ดังนี้ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) ซึ่งนับเป็นเกียรติสูงสุดแก่ข้าพเจ้าและวงศ์ตระกูล

5.สรุป
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้กล่าวหาว่า ข้าพเจ้ากับพวกปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ทั้งที่เป็นผู้กล่าวหา และผู้เข้ารับการพิจารณารายอื่นๆ สร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกและการบริหารงานทรัพยากร บุคคลของกระทรวงการคลังอย่างร้ายแรง ต้องมีการยกเลิก เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรในเวลาต่อมา เป็นการกระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 82 วรรคสาม และเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
 ข้าพเจ้า ขอเรียนว่า ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร ที่มีตำแหน่งรองอธิบดีว่างอยู่ขณะนั้นก็ได้เสนอชื่อข้าราชการเข้ารับการคัด เลือกตามหลักเกณฑ์ในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0701/ว9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 (ว.9) ตามที่กระทรวงการคลังได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้ปฏิบัติ โดยไม่อาจทราบได้ว่า หนังสือเวียนดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยมติคณะรัฐมนตรีในส่วนใดหรือไม่แต่อย่างใด และโดยมิได้มีเจตนา หรือจงใจ ปฏิบัติหน้าที่ที่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดแต่อย่างใด และข้าพเจ้าในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ในส่วนของตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ก็ได้พิจารณาดำเนินการไปตามความรู้ ความเข้าใจ และตามระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนด โดยเข้าใจโดยสุจริตว่า ได้ดำเนินการในประเด็นต่างๆ โดยครบถ้วนถูกต้องแล้ว หากมีความไม่สมบูรณ์ หรือมีข้อบกพร่องในส่วนใด ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่มีความเข้าใจหรือแปลความหมายของหลักเกณฑ์ วิธีการตามแนวทาง ว.9 ของสำนักงาน ก.พ. คลาดเคลื่อนไป ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลังเป็นส่วนราชการแห่งแรกที่ได้นำหลักเกณฑ์ ว.9 มาปฏิบัติ ความบกพร่องคลาดเคลื่อนนี้ มิได้เกิดจากการมีเจตนา หรือจงใจ หรือเลือกปฏิบัติเเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่งแต่อย่างใด
 หลัก เกณฑ์และวิธีการคัดเลือกตาม ว.9 ของสำนักงาน ก.พ.เป็นแนวทางใหม่ที่เพิ่งจะนำออกมาใช้ในขณะนั้น การออกประกาศรับสมัครรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกของกระทรวง ต่างๆ จึงอาจมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับที่ได้ใช้ปฏิบัติในกรณีของกระทรวงการคลัง
 ประกาศ รับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 นั้น เป็นประกาศรับสมัครนักบริหาร 9 รวม 8 ตำแหน่ง ของ 4 ส่วนราชการในกระทรวงการคลัง จึงมีอธิบดีกรมที่มีตำแหน่งว่างทุกกรมร่วมเป็นกรรมการพิจารณาดำเนินการด้วย มิได้มีเฉพาะอธิบดีกรมสรรพากรเท่านั้น ประกาศนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ สำหรับใช้ในการคัดเลือกกับผู้สมัครทุกรายและทุกตำแหน่งที่เปิดรับสมัครโดย เสมอเหมือนกัน กระบวนการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ได้ดำเนินไปตามขั้นตอน โดยใช้รูปแบบวิธีกาเรดียวกันสำหรับผู้สมัครทุกราย และทุกตำแหน่ง จึงเห็นได้ว่า การดำเนินการทั้งหมดนั้น มิได้เป็นการปฏิบัติที่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ หรือมีเจตนา หรือจงใจให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สมัครายใด หรือข้ามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของการคัดเลือกแต่อย่างใด
 โดยที่สำนัก งาน ก.พ. เป็นองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนของข้าราชการพลเรือนเมื่อ กำหนดแนวทางปฏิบัติมาเช่นไร ก็เป็นหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้กระทรวงการคลัง กรมสรรพากร และคณะกรรมการคัดเลือกฯ รวมทั้งข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรและในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น โดยมิอาจทราบได้ว่าหลักเกณฑ์และแนวทางที่ ก.พ.กำหนด จะมีส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ชอบด้วยมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ รวมทั้งจะมีข้อกำหนดไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายในการคัดเลือกแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับสูงหรือไม่
 ประกาศรับสมัครและกระบวนการคัดเลือกข้าราชการ พลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 กรณีรองอธิบดีกรมสรรพากรตามข้อกล่าวหานี้ แม้จะมีความไม่สมบูรณ์คลาดเคลื่อนอยู่บ้างในบางด้าน แต่โดยภาพรวมก็เป็นไปตามแนวทาง และหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนดเช่นเดียวกับกรณีของกระทรวงอื่น ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรและในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความสุจริตใจ มิได้เอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครรายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง มิได้มีเจตนา หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ทั้งที่เป็นผุ้กล่าวหา และผู้เข้ารับการพิจารณารายอื่นๆ รวมทั้งมิได้มีเจตนา หรือจงใจสร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก และการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของกระทรวงการคลังตามที่กล่าวหาแต่อย่างใดทั้ง สิ้น
 ด้วยเหตุที่ข้าพเจ้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือกระทำความผิดใดๆ ตามข้อกล่าวหาไม่ว่าทั้งในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร และในฐานะกรรมการคัดเลือกฯ ประกอบกับได้รับราชการอย่างซื่อสัตย์สุจริตตลอดมารวม 30 ปี และยังคงตั้งมั่นที่จะทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติต่อไป จึงขอความกรุณาต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อโปรดพิจารราคำชี้แจงของข้าพเจ้าและมีมติว่าการกระทำของข้าพเจ้าในส่วน ที่เกี่ยวข้องไม่มีมูลความผิด โดยให้ข้อกล่าวหาทั้งหลายเป็นอันตกไป
 อนึ่ง ข้าพเจ้ายินดีที่จะชี้แจงเพิ่มเติมไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ตามที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นสมควร โดยข้าพเจ้ายังคงสงวนสิทธิที่จะชี้แจงเพิ่มเติมและส่งมอบเอกสารพยานหลักฐาน ต่างๆ เพื่อแก้ข้อกล่าวหาในโอกาสต่อไปด้วย


 (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)

 ปลัดกระทรวงการคลัง
view