สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สังคมผู้สูงอายุ: เราจะเตรียมรับมือกันอย่า่งไร?

สังคมผู้สูงอายุ: เราจะเตรียมรับมือกันอย่า่งไร?

ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
จากจุลสารธนาคารกรุงเทพ 2551

มื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของ
ประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ
โดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และร้อยละ 14 ตามลำดับ
• ประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6,705 ล้านคน ในปี 2551 เป็น 8,000 ล้านคนในปี 2568 และ 9,352 ล้านคนในปี
2593 โลกโดยรวมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2583
• ประชากรของประเทศไทยจะเพิ่มจาก 66.48 ล้านคนในปี 2551 เป็น 70.65 ล้านคนในปี 2568 แล้วจะเริ่ม
ลดลงเป็น 70.63 ล้านคนในปี 2573 ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) จะลดลงจาก 15.95 ล้านคนในปี 2533
เป็น 9.54 ล้านคนในปี 2573 ขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นจาก 4.02 ล้านคน
เป็น 17.74 ล้านคน ในช่วงเดียวกัน
• ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ป  2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในป  2567 หรือ
อีก 15 ปีข้างหน้า
• การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับมหภาค
ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาลและการคลัง
ผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ
• ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้
- ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย
- สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล
- สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล
- สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ
- ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนดการเกษียณอายุ
- สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน

อ่านบทสรุปผู้บริหาร

อ่านฉบับเต็ม
view