สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การหลบหลีก หรือหลบเลี่ยงภาษี ควรทำหรือไม่ (ตอน 1)

กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
โพสต์ทูเดย์



ผู้เขียนได้เคยเขียนบทความหัวข้อเรื่อง “การวางแผนภาษี vs การหลบหลีกภาษี ความเหมือนที่แตกต่าง” ไว้นานพอสมควร

ปัจจุบัน มีคำถามมากมายตั้งแต่มีปัญหาเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปว่า เป็นการหลบหลีกหรือหนีภาษี ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือว่า การวางแผนภาษีก็คือ การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การดำเนินการของผู้ประกอบการ หรือผู้มีเงินได้ให้เสียภาษีให้น้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลยโดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการหลบหลีกภาษีหรือการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การดำเนินการเพื่อให้เสียภาษีให้น้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย หรือการใช้ช่องว่างทางกฎหมายโดยอาศัยจากความไม่ชัดเจนทางกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ ซึ่งต่างจากการหนีภาษี (Tax Evasion) ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีให้น้อยโดยผิดกฎหมายและต้องรับโทษปรับหรือจำคุก

ที่ยากมากคือ ประชาชนธรรมดายังไม่สามารถจะแยกได้ว่า การวางแผนภาษี การหลบหลีกภาษี การหนีภาษี ต่างกันอย่างไร และประชาชนส่วนใหญ่เมื่อใช้คำว่า “หลบหลีก” หรือหลีกเลี่ยง ก็มักจะเหมาเอาว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย ซึ่งน่าจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ช่องว่างทางกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่เลือกใช้ ซึ่งโดยหลักเมื่อรัฐพบว่ามีช่องว่างทางกฎหมาย รัฐก็ควรต้องแก้ไขกฎหมายโดยเร็ว แต่ที่ผ่านมารัฐมักไม่อยากจะแก้ไข เพราะหากรัฐจะเก็บภาษีเพิ่มก็ต้องตราเป็นกฎหมายในรูปพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด ซึ่งอาจมีผลทำให้รัฐบาลต้องลาออกได้ หากกฎหมายไม่ผ่านสภา ที่ผ่านมาเราจึงไม่เห็นกฎหมายภาษีที่ผ่านรัฐสภามานาน เว้นแต่กรณีเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535

ผู้ เขียนจึงคิดว่า สิ่งที่สำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจก็คือ การที่จะต้องประกอบธุรกิจโดยถูกกฎหมายและเสียภาษีให้ถูกต้อง และอาจต้องนำหลักการวางแผนภาษีหรือการหลบหลีกภาษีมาใช้ ปัจจุบันในยุค CSR หรือ Corporate Social Responsibility มีคำถามเกิดขึ้นว่า เมื่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน เมื่อพบช่องว่างทางกฎหมายเพื่อจะเลี่ยง หรือหลบภาษีให้สามารถเสียภาษีน้อยลงหรือไม่เสียเลยนั้น ผู้ประกอบการพึงกระทำหรือไม่ กระแสเรื่อง CSR เป็นกระแสหลักที่ว่า ทุกคนต้องปฏิบัติการตามกฎหมาย ทุกคนจะต้องเสียภาษีให้ครบถ้วนแก่ภาครัฐ ปัญหาที่ผู้เขียนพบจากประสบการณ์ก็คือว่า ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจไม่รู้จักใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือไม่รู้จักช่องว่างทางกฎหมาย (ซึ่งปกติแล้วเมื่อรัฐพบช่องว่างทางกฎหมายก็ควรจะแก้ไขกฎหมายเสีย) ผู้ ประกอบการธุรกิจที่ไม่เลือกหาช่องทางกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีให้ต่ำ ก็จะไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการที่สามารถใช้ช่องว่างทางกฎหมายได้ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เคยเขียนไว้ในหนังสือหลักวิชาชีพทางกฎหมายว่า นักกฎหมายไม่พึงหาช่องว่างหลบเลี่ยงกฎหมาย แต่สามารถกระทำได้เรื่องเดียวคือ ภาษีอากร เพราะถือเป็นต้นทุนในการประกอบธุรกิจ หลายคนอาจนึกว่า ทำไมนักกฎหมายถึงพยายามหาช่องว่างทางกฎหมาย ซึ่งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ จะผิดจริยธรรมทางกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้ท่านปรมาจารย์ทางกฎหมายที่มีชื่อเสียงในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต และผู้เขียนหลักวิชาชีพ นักกฎหมายคือ ท่าน

นอกจากนี้ ปัจจุบันกฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติในการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษี (Anti-avoidance Rule) ที่รัฐบาลน่าจะมีการปรับปรุงมานานแล้ว ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะสามารถหลบหลีกกฎหมายภาษีได้โดยถูกกฎหมาย หลักที่สำคัญประการหนึ่งของการหลบหลีกภาษีโดยการใช้ช่องว่างกฎหมายนั้น ก็คือว่า การใช้หลักดังกล่าวจะต้องเป็นไปในเรื่องสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) กล่าวคือ ต้องมีเหตุผลทางธุรกิจที่จะกระทำเช่นว่านั้น และเป็นการกระทำในเชิงธุรกิจที่จริงจัง ไม่ใช่เพื่อเป็นการกระทำอันเป็นนิติกรรมอำพราง หรือไม่มีเจตนาที่แท้จริงที่จะทำธุรกรรมดังกล่าว ตัวอย่างเช่นการตั้งคณะบุคคลที่เป็นข่าว

สัปดาห์หน้ามาว่ากันต่อครับว่า การจัดตั้งคณะบุคคลเป็นการวางแผนภาษีอย่างหนึ่งหรือไม่
view