สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รวม ข่าว / บทความ ม๊อบเสื้อแดง (4)

มุสลิมฉุน จี้ ปท.อิสลามต่อต้าน "แม้ว"

โพสต์ทูเดย์
มุสลิมไทยเตรียมทำหนังสือ ทูลเกล้าถวาย เจ้าผู้ครองนครดูไบ เลิกให้ที่พักพิง"ทักษิณ" หลังหนุน ม็อบเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมชนเพชรบุรี 7 -เผามัสยิด

นาย สมัย เจริญช่าง กรรมการอิสลามประจำกทม. เปิดเผยว่า  ทางกรรมการอิสลามเตรียมยื่นหนังสือต่อเอกอัคราชชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประจำประเทศไทย เพื่อนำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายเจ้าผู้ครองนครดูไบ ขอความร่วมมือในการต่อต้านและงดการต้อนรับรวมถึงให้ที่พักพิงแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ให้เข้าประเทศ ในเครือศาสนาอิสลาม เนื่องจากทำตัวเป็นศัตรูกับพระเจ้า หลังจากสนับสนุนคนเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมนุมเพชรบุรีซอย7 รวมถึงเผามัสยิดด้วย นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นต้นเหตุในการสั่งการให้มีการยิงถล่มมัสยิดกรือเซะ จนทำให้คนมุสลิมเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก


วุฒิเสนอ 7 ข้อแก้วิกฤตชาติ ดันแก้ รธน.

โพสต์ทูเดย์
วุฒิสภา ประชุม เสนอ 7 ข้อแก้วิกฤตชาติ ดันแก้รัฐธรรมนูญ

เมื่อ เวลา 10.00 น. นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เรียกประชุมสมาชิกวุฒิสภาเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาสถานการณ์ทางการเมือง ที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อให้ทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ โดยมี ส.ว.จากทุกกลุ่มเข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน

ภายหลังจากการหารือร่วมกันนานกว่า4ชั่วโมง เมื่อเวลา 14.40น.นายประสพสุข แถลงผลการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการหารือร่วมกันของส.ว.เป็นกรณีพิเศษโดยมีผู้เข้า ร่วมประชุมจำนวน  77คน โดยส.ว.ได้มีข้อสรุปเสนอทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้ 1.การชุมนุมของประชาชนทำได้ตามรัฐธรรมนูญแต่ขอให้สุขุมรอบคอบอยู่ในกฎของ กฎหมาย เคารพสิทธิผู้อื่นยึดประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมโดยไม่มีสิทธิทำลาย ทรัพย์สินของผู้อื่น 2.รัฐบาลต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการควบคุมการชุมนุมและต้องใช้กฎหมายอย่าง ยุติธรรม 3.ขอให้ทุกฝ่ายยุติและหันหน้ามาหารือร่วมกันเพื่อหาสาเหตุและทางออกร่วมกัน

4.รัฐบาลควรแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือด้วยการประกาศให้ชัดในการแก้ไข รัฐธรรมนูญบางมาตราที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยโดยเร็วโดยให้มีส่วนร่วมจากทุกภาค ส่วน 5.เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วรัฐบาลควรยกเลิกพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉินโดยเร็วเพื่อเยียวยาด้านเศรษฐกิจ 6.ควรเร่งรัดพิจารณาร่างพ.ร.บ.การจัดระเบียบการชุมนุมเพื่อให้นำมาบังคับใช้ ในระยะยาว และ 7.ให้รัฐบาลรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อรัฐสภา

 มีรายงานว่าในที่ประชุมมีทั้งส.ว.เลือกตั้งและส.ว.สรรหา ซึ่งได้มีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาวว่าตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องพิจารณาและทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะการยุติปัญหาในครั้งนี้เป็นการ ยุติปัญหาเฉพาะหน้าแต่เชื่อว่าปัญหาทางการเมืองยังคงคุกกรุ่นต่อไป

ทั้งนี้ในช่วงแรกของการประชุมซึ่งสถานการณ์การชุมนุมยังไม่ยุติ ส.ว.เลือกตั้ง ได้หยิบยกขอเสนอให้นายกฯตัดสินใจว่าจะยุบสภาเลือกตั้งใหม่หรือลาออกจาก ตำแหน่งและควรให้โหวตเพื่อเป็นจุดยืนของวุฒิสภา แต่กลุ่ม40ส.ว.เห็นแย้งว่าไม่วุฒิสภาไม่ควรนำเสนอในประเด็นนี้ออกไปสู่ สาธารณะเพราะจะดูได้ว่าวุฒิสภากำลังเข้าไปก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของฝ่าย บริหาร รวมทั้งจะทำให้ดูว่าเกิดความแตกแยกมากขึ้น แต่ใครจะลงชื่อสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นเอกสิทธิ์ส่วนตัว ไม่ขัดขวาง ซึ่งมีการถกเถียงพอสมควร แต่เมื่อที่ประชุมทราบว่า การชุมนุมยุติแล้ว ประเด็นดังกล่าวจึงตกไป

ที่ประชุมยังหารือเรื่องการปฏิรูปการเมือง ที่ยังไม่มีกรอบเวลาชัดเจน และกรอบที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอ อาจไม่ทำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมมากนัก อยากให้ห้วงเวลาการปฏิรูปกระชับขึ้น จึงมองว่า ควรให้สมาชิกรัฐสภาหารือร่วมกัน โดยอาจเสนอโมเดลที่ต้องเปิดให้ทุกฝ่ายในสังคมได้มีส่วนร่วม นอกจากนี้ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ส.ว.ส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยมีการคุยกันถึงมาตรา 237 วรรคสอง เรื่องการยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ซึ่งส.ว.ทั้งสายเลือกตั้ง กลุ่ม 40 ส.ว. กลุ่มข้าราชการ และกลุ่ม พล.อ.เลิศรัตน์ เห็นว่า ควรแยกคนไม่ได้กระทำผิดออกมา โดยอาจแก้ให้เปิดช่องทางให้ผู้ไม่ได้กระทำผิด อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เช่นเดียวกับร่างพ.ร.บ.ชมนุมในที่สาธารณะ ที่มีส.ว.กว่า 50 คน เห็นด้วย เพื่อให้มีความรับผิดชอบที่ชัดเจนนากแกนนำ และอำนาจการปฏิบัติที่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อแยกผู้ชุมนุมโดยสงบออกจากผู้ชุมนุมที่มาเพื่อก่อความรุนแรง  นอกจากนี้ ยังมีส.ว.สรรหารายหนึ่งเสนอว่า ควรแก้มาตรา 171 เปิดช่องให้คนนอกเป็นนายกฯจากนั้นให้นายอภิสิทธิ์ ลาออก มีรัฐบาลจากทุกพรรค และปฏิรูปการเมือง 18 เดือน แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ซึ่งที่ประชุมให้ความสนใจแต่ได้มีมติอย่างใด

 ส่วนเรื่องการเปิดประชุมวุฒิสภาเป็นการทั่วไปโดยไม่มีการลงมติที่กำลัง จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้านั้นยังคงมีต่อไปเพื่อให้ส.ว.ได้แสดงความเห็นและเสนอ แนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป
มุสลิมใต้ชมนายกฯ แก้ปมม็อบถูกต้อง

โพสต์ทูเดย์
ผู้นำศาสนาใต้ชม"อภิสิทธิ์"แก้ปัญหาเสื้อแดงได้ถูกต้อง
นายนิมุ  มะกาเจ  อดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ยะลา  เปิดเผยว่า สำหรับเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เกิดขึ้นนั้นรู้สึกเป็นห่วงชาติ บ้านเมือง เป็นห่วงสถาบันทั้ง 3 อันสูงยิ่งตามรัฐธรรมนูญ  แต่เหตุการณ์ก็ลุล่วงมาด้วยดี ก็ต้องชื่นชมรัฐบาล ที่สามารถใช้กระบวนการและขั้นตอนทั้งหลาย รวมถึงอำนาจที่ไปจัดการ   แต่สิ่งที่สำคัญหลังจากนี้ก็คงจะเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ ระดับของความเสียหาย กระทบไปอย่างมากมาย รัฐบาลควรจะรวบรวมให้สื่อไปขยายความในสิ่งที่ถูกต้อง  ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีความชัดเจน  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 4-5 วันนี้ ก็เป็นตัวอย่างให้กับลูกหลานของเราในอนาคต ที่จะให้รับรู้ไว้ว่า เหตุการณ์เหล่านี้ควรที่จะเกิดขึ้นหรือไม่   ถ้ารัฐบาลสามารถสร้างระบบให้คนในประเทศไทยยอมรับได้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะจูงใจให้คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับมาให้ความร่วมมือกับรัฐในการแก้ปัญหามากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ไม่ใช้ความรุนแรงในการดำเนินการ

 "ขอชื่นชมสื่อ ที่นำเสนอภาพที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง ประชาชนรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง ทำให้คนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ มีความรู้สึกที่อยากจะให้ความช่วยเหลือกับภาครัฐ  ถึงแม้ในพื้นที่ จ.ยะลา ในเวลานี้ยังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น อยู่ทุกวัน  แต่เมื่อชาวบ้านให้ความร่วมมือกับภาครัฐดีขึ้น  และภาครัฐแสดงศักยภาพว่าสามารถดูแลให้ความปลอดภัยแก่ชาวบ้านที่ให้ความร่วม มือ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ ถ้ามองกันจริงๆ คงจะพูดกันได้ว่า เรายังไม่เข้าใจประชาธิปไตยกันจริงๆ ยังมีการใช้สิทธิ์ใช้เสียงในระบบการซื้อ ระบบพรรคพวก ยังมีความเอนเอียง ยังมองว่ากลุ่มของตัวเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ ถ้าเราตัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้ ให้มาร่วมด้วยช่วยกัน ทำงานร่วมกันแก้ปัญหา ยึดกฎหมายเป็นบรรทัดฐาน เอาความถูกต้อง ให้สิทธิเสรี ซึ่งที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้ยังมีไม่เพียงพอ" นายนิมุ  กล่าว


ทักษิณจ้อสื่อต่างประเทศโจมตีรัฐปราบม็อบตาย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวสกายนิวส์ ของประเทศอังกฤษ ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยุติปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศไทย เนื่องจากเกรงว่าทหารและรัฐบาลจะฆ่าประชาชนมากกว่านี้

แต่มีการปกปิดข่าวสารทุกอย่าง รัฐบาลอ้างว่าใช้กระสุนปลอม กระสุนเปล่า แต่ในที่สุดก็ยิงเข้าไปในหัวใจของประชาชน

วันเดียวกัน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเทเลกราฟ ของประเทศอังกฤษ ในล็อบบี้ในโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองดูไบ ว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมทั้งหมด มิฉะนั้นจะเกิดความรุนแรงตามมามากกว่านี้ รัฐบาลไทยควรหาทางสมานฉันท์กับกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ใช่จับขังเช่นนี้ ต้องพูดคุยกัน ไม่ใช่จับขังเข้าคุก

"รุนแรงมาก็จะเกิดความรุนแรงตามมาแน่นอน หากคุณคิดว่าจะใช้อำนาจกดขี่ประชาชนก็อย่าคิดว่าพวกเขาจะเงียบ" อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวและว่า ตนไม่ได้สั่งการให้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามอบตัว เพียงแต่เตือนให้แกนนำระวังตัวหลังเกิดเหตุปะทะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า การประท้วงที่ยุติลง ไม่ได้เป็นการพ่ายแพ้ ยืนยันว่า ตนเองไม่ได้ปลุกปั่น บงการผู้ประท้วง แค่ให้การสนับสนุน เท่านั้น เพราะหากตนจะต่อสู้จริงๆ ก็จะไม่ใช้วิธีการต่อสู้เช่นนี้ เนื่องจาก มีกลยุทธ์มากกว่านี้

"ตำรวจบอกผู้ประท้วงว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ศพ และทหารนำศพไป เป็นความโหดร้ายมาก แต่ก็สบายใจขึ้นที่จะไม่มีการตายเกิดขึ้นอีก ยอมรับว่าเสียใจมากต่อสิ่งที่เกิดขึ้น" อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวและว่า หากคิดว่าการเล่นงานกลุ่มเสื้อแดง เป็นการเล่นงานตนเองได้ แต่หากไม่มีความสมานฉันท์ประเทศจะแตกหักมากกว่านี้


เตรียมปรับลดกำลังทหารใน กทม.

โพสต์ทูเดย์
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ภายหลังกลุ่มเสื้อแดงสลายการชุมนุม ทางทหารได้มีการปรับกำลังทหารและพื้นที่ใหม่ เพื่อให้มีความเหมาะสมในเรื่องการดุแลความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเฉพาะเขตกรุงเทพ และปริมณฑล โดยการแบ่งเขตรับผิดชอบตามเขตการปกครองของกรุงเทพฯ ทั้งหมด 50 เขต และให้หน่วยทหารลงไป ซึ่งหน่วยทหารแต่ละหน่วยจะรับผิดชอบ 1 หน่วยต่อ 1 เขต ซึ่งจะใช้กำลังทหารไม่ถึง 1 กองพัน แต่คงไม่ต่ำกว่า 2 กองร้อย ทั้งนั้ขึ้นอยู่กับว่า เขตไหนเป็นเขตใหญ่หรือเล็ก ซึ่งกำลังทหารยังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ลดจุดในแต่ละเขตลงเพื่อให้ทหารไปฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้ได้ปฏิบัติ ภารกิจอย่างเข้มข้นในช่วงกลางคืน


สรุปผู้บาดเจ็บเหตุปะทะ135ราย เสียชีวิต2

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สาธารณสุขสรุปยอดผู้บาดเจ็บเหตุปะทะล่าสุด มี 135 ราย เสียชีวิต 2 ราย นอนรักษาโรงพยายบาล12แห่ง 45 ราย

นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าการดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุปะทะ ว่า ข้อมูลล่าสุด ณ เวลา 12.00 น. วันนี้ (15 เม.ย.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ รายงานผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ทั้งหมด 135 ราย เสียชีวิต 2 ราย ขณะนี้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 45 ราย ในโรงพยาบาล 12 แห่ง เป็นชาย 44 ราย หญิง 1 ราย ยังอยู่ในไอซียู 4 ราย โดยอยู่ที่ รพ.ราชวิถีและรามาธิบดีแห่งละ 2 ราย เป็นชายทั้งหมด

นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ที่รพ.ราชวิถี ในวันนี้ยังเหลือผู้บาดเจ็บนอนรักษาตัว 5 ราย โดย 2 ราย ยังอยู่ในไอซียู วันนี้อาการพ้นขีดอันตราย ส่วนรายอื่นอาการดีขึ้นรอกลับบ้าน สำหรับนายไสว ทองอ้ม อายุ 40 ปี ที่มีข่าวลือว่าถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ขอยืนยันว่าผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ ขณะนี้นอนพักรักษาตัวที่ห้องไอซียู รพ.ราชวิถี โดยผู้บาดเจ็บรายนี้ มาโรงพยาบาล วันที่ 13 เมษายน 2552 เวลาประมาณ 05.15 น. ด้วยอาการช็อค หมดสติ จากการเสียเลือด แพทย์ปั๊มหัวใจ ห้ามเลือด ให้เลือดและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ จนผู้ป่วยพ้นภาวะช็อค จึงนำเข้าห้องผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยมีแผลถูกยิงที่แขนซ้ายบริเวณรักแร้ กระสุนปืนตัดเส้นเลือด เส้นประสาทบางส่วนขาด แพทย์ต่อเส้นเลือดด้วยเส้นเลือดเทียม

หลังผ่าตัดผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ให้นอนพักรักษาตัวต่อที่ห้องไอซียู และวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา แพทย์ได้นำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด เพื่อเปลี่ยนเส้นเลือดเทียมที่ต่อไว้เป็นเส้นเลือดดำ หลังผ่าตัดผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ยังใช้เครื่องช่วยหายใจ และในวันนี้  แพทย์นำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อดูเส้นเลือดที่ต่อไว้ พบว่าดีขึ้น ให้สังเกตอาการต่อที่ห้องไอซียู

ทั้งนี้ โรงพยาบาล 12 แห่ง ที่รับผู้บาดเจ็บ 45 รายไว้ดูแล ได้แก่ รพ.ราชวิถี 5 ราย รพ.รามาธิบดี 9 ราย รพ. ทหารผ่านศึก 13 ราย รพ.หัวเฉียว 3 ราย รพ.กลาง 4 ราย รพ.พระมงกุฎฯ 6 ราย วชิระพยาบาล 2 ราย รพ.ตำรวจ 1 ราย รพ.คามิลเลียน 1 ราย รพ.บางกอก 9 อินเตอร์ 1 ราย สถาบันประสาทวิทยา 1 ราย และ รพ.เดชา 1 ราย

view