สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กบข.พุ่งเป้าวิสิฐ เล่นหุ้น8ตัวไม่โปร่งใส คลังจ้องรื้อบอร์ดส่งชุดใหม่เสียบ

เปิด ผลสอบบอร์ดเฉพาะกิจกบข. ชี้ชัดมีข้อมูล60รายการเทรดผ่าน8หุ้นฉาวไม่โปร่งใส ′วิสิฐ′โยนฝ่ายธรรมาภิบาลบกพร่องในหน้าที่ คลังเตรียมรื้อบอร์ดส่งชุดใหม่เสียบ

จากการที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ได้ขอให้มีการตรวจสอบการบริหารของนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่อัตราผลตอบแทนส่วนของสมาชิก กบข.ติดลบ 5.12% หรือขาดทุน 16,832 ล้านบาท พร้อมระบุถึงมีการใช้ข้อมูลการซื้อขายหุ้นบางส่วนล่วงหน้าในบัญชีตนเอง ก่อนที่ กบข.จะซื้อหรือขาย สร้างความตื่นตระหนกให้กับข้าราชการทั่วประเทศที่เงินออมเกษียณหดหายไป
คณะ กรรมการ กบข.ตัดสินใจตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ โดยมีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งตรวจสอบ 3 ประเด็นใหญ่ 1.การลงทุนและการดำเนินงานของ กบข. ปี 2551 ถึงปัจจุบัน 2.กบข.ได้บริหารเงินลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลเงินออมเพื่อเกษียณอายุของสมาชิกหรือไม่ และ 3.ให้ตรวจสอบการประชาสัมพันธ์และการชี้แจงสมาชิกว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่
@ เปิดผลสอบคณะกรรมเฉพาะกิจ กบข.
สำหรับ ผลการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. ที่รายงานถึงประธานกรรมการ กบข. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 พบว่า กรณีที่ 1) คณะกรรมการเฉพาะกิจฯพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการบริหารจัดการกองทุน กบข.เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายที่กำหนดไว้แล้ว
สำหรับ ผลประกอบการของ กบข.ที่ขาดทุนในปี 2551 จำนวนทั้งสิ้น 16,832 ล้านบาท เกิดจากผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกเมื่อปี 2551 ส่งผลให้การลงทุนในตราสารทุนทั่วโลกตกอยู่ในภาวะตกต่ำต่อเนื่อง และตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน เป็นต้น
กรณีนี้ กบข.ทราบและตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงได้ปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนเพื่อลดผลกระทบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และลดความเสี่ยงการลงทุนให้มากที่สุด เช่น ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนไทย, ลดสัดส่วนในหุ้นกู้เอกชนและสถาบันการเงิน, ชะลอการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เป็นต้น 
กรณีที่ 2) เรื่องการตรวจสอบการลงทุนของ กบข. จากรายงานเบื้องต้นกรณีการลงทุนในหลักทรัพย์ของ กบข.จำนวน 60 รายการ มีหลักทรัพย์ 8 รายการที่อยู่ในข่ายที่สมควรเข้าไปตรวจสอบ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย, กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์, บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
กรณีที่ 3) การตรวจสอบว่าพนักงาน กบข.มีพฤติการณ์ที่อาจเข้าข่ายการซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อขายหลัก ทรัพย์ของ กบข. (front running) หรือมีพฤติการณ์หาประโยชน์จากข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง ของราคาหลักทรัพย์อันเป็นการเอาเปรียบบุคคลภายนอก (insider trading) หรือไม่นั้น โดยพิจารณาจากข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์จำนวน 8 หลักทรัพย์ข้างต้น
ปรากฏว่ามีพนักงาน กบข.จำนวน 7 รายที่ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งคณะกรรมการเฉพาะกิจฯได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน มูลค่า และความถี่ พบว่าพนักงาน กบข.จำนวน 6 ใน 7 รายไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ กบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน พ.ศ.2546 แต่ลักษณะการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ไม่มีนัยสำคัญ เพราะบางรายมีการขออนุญาตจากฝ่ายธรรมาภิบาล
แต่มีเพียงผู้บริหารระดับสูง ของ กบข. 1 ราย คือ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. ที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเฉพาะกิจฯให้ตรวจสอบ โดยมีจำนวน มูลค่า และความถี่ในการซื้อขายมาก นอกจากนี้ นายวิสิฐมีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ต้องจำกัดการทำธุรก รรม (restricted list) ด้วย
กรณีที่ 4) ประเด็น conflict of interest นั้น คณะกรรมการเฉพาะกิจฯได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัทในหลักทรัพย์ จำนวน 60 รายการที่ กบข.ลงทุนเปรียบเทียบกับรายชื่อของพนักงาน กบข.ทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่เป็นการลงทุนทางเลือก เนื่องจาก กบข.จะต้องส่งผู้แทนเข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทที่ กบข.ลงทุนด้วย ปรากฏว่าไม่พบพนักงาน กบข.มี conflict of interest ในหลักทรัพย์ที่ กบข.ลงทุนแต่ประการใด
เรื่องนี้นายวิสิฐชี้แจงว่า ตนเองเข้าใจว่าไม่ได้เป็นพนักงานจึงไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการซื้อ ขายหลักทรัพย์ เพื่อบัญชีพนักงาน กบข. โดยเข้าใจเพียงว่าจะต้องมีการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อสิ้นไตรมาส เท่านั้น และที่ผ่านมาฝ่ายธรรมาภิบาล กบข.ไม่ได้มีการตรวจสอบติดตามในเรื่องดังกล่าว จึงไม่มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาปิดบังข้อมูลแต่ประการใด และไม่ได้ใช้ข้อมูลภายในของ กบข.ไปแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
@ พีระพันธุ์ย้ำมีข้อสงสัยหลายเรื่อง
นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีการตรวจสอบ กบข.ว่า เรื่องนี้ตนเองไม่ได้สั่ง แต่ปรากฏว่าเลขาฯ ปปท. (ธาริต เพ็งดิษฐ์) เป็นสมาชิก กบข. เมื่อตรวจงานในภูมิภาคหลายแห่งก็มีข้าราชการ มีคนที่เป็นสมาชิกมาร้องเรียนท่านอยู่เรื่อยๆ จนคิดว่าไม่ชอบมาพากลหรือเปล่า จากนั้นจึงเข้าไปสอบโดยที่ไม่ได้มาบอกตน
" พอเข้าไปสอบก็เป็นข่าว ผมก็เห็นว่าดีแล้ว เพราะผมตรวจสอบ กบข.มานาน แล้วเรื่อง กบข.ผมเห็นผิดพลาดหลายเรื่อง และเคยเตือนไปแล้วด้วย ฉะนั้น เมื่อเขาทำ เราก็คอยเป็นผู้ดูแลอยู่ข้างหลังให้เดินถูกทาง เพราะไม่เช่นนั้นจะถูกครหา เนื่องจาก กบข.เป็นองค์กรที่รวมผู้รู้มากมายในเชิงการลงทุน ซึ่งเราอาจถูกมองว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเรื่องการลงทุนหรอก ผมก็คอยเป็นพี่เลี้ยงบอกให้เขาเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง อยู่กับที่บ้าง"
ส่วนการประชุมวันที่ 3 มิถุนายนนี้ เชื่อในการทำงานของ ปปท. ซึ่งพยายามทำอย่างตรงไปตรงมา จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
" ผมพยายามกำชับทุกหน่วยงานที่อยู่ในการดูแลของผม ให้ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ สงสัยถามมา ต้องตอบได้ และตอบได้หมด ไม่มีการกลั่นแกล้ง และไม่มีเหตุจะไปกลั่นแกล้งด้วย โดยเฉพาะกรณี กบข. แต่กรณีนี้เป็นข้อที่สงสัยกันหลายเรื่อง" รมว.ยุติธรรมกล่าว 
@ กบข.ยอมรับวิสิฐ-ทีมกว่า 100 คนไม่โปร่งใส
แหล่ง ข่าวจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ กบข. (บอร์ด) ได้ประชุมวาระพิเศษ เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจ กรณีผลประกอบการในปี 2551 ประสบปัญหาขาดทุน 16,832 ล้านบาท ผลตอบแทนของสมาชิกติดลบถึง 5.12% นั้น ทางคณะกรรมการได้ข้อสรุปผลว่าเกิดจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำ ให้ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นไทยอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำ ในประเด็นนี้จึงไม่พบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น
ส่วนเรื่องจรรยาบรรณของ พนักงาน กบข. ทางฝ่ายธรรมาภิบาลได้ตรวจสอบบัญชีการซื้อขายหุ้นของพนักงาน 153 คน พบว่านายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.และพนักงานอีก 6 คน ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของ กบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน พ.ศ.2546 เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น 8 บริษัท ได้แก่ BBL, PTT, IRPC, QH, LH, SPF, QHPF และ YNP โดยคณะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่ามีพนักงานบางส่วนไม่ปฏิบัติตามระเบียบและ จรรยาบรรณในการซื้อขายหลักทรัพย์
ดังนั้นที่ประชุมบอร์ดของ กบข.ในวันนั้น จึงมีมติให้ตั้งกรรมการสอบวินัยนายวิสิฐ โดยมีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วยนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด, นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ ก.พ., น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, นางทิพยสุดา ถาวรามร ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.เป็นกรรมการ และให้สรุปสำนวนการสอบสวนเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดภายใน 30 วัน ส่วนพนักงานอีก 6 คน ตามกฎหมายแรงงานจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารของ กบข.ที่จะเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน

.........................

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ลั่น
"กบข.มีข้อสงสัยหลายเรื่อง"
นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีการตรวจสอบ กบข.ในหลายประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
@ รัฐมนตรีสั่งให้ตรวจสอบ กบข.โดยตรงใช่ไหม
กรณี กบข.ผมไม่ได้สั่ง (นะ) แต่ปรากฏว่าท่านเลขาฯ ปปท. (ธาริต เพ็งดิษฐ์) ท่านเป็นสมาชิก กบข. ท่านไปตรวจงานของท่านในภูมิภาคหลายแห่ง ก็มีข้าราชการ มีคนที่เป็นสมาชิกมาร้องเรียนท่านอยู่เรื่อยๆ จนท่านคิดว่าไม่ชอบมาพากลหรือเปล่า ท่านก็เลยเข้าไปสอบโดยที่ไม่ได้มาบอกผม
พอเข้าไปสอบก็เป็นข่าว ผมก็เห็นว่าดีแล้ว เพราะผมตรวจสอบ กบข.มานาน แล้วเรื่อง กบข.ผมเห็นผิดพลาดหลายเรื่อง และเคยเตือนไปแล้วด้วย ฉะนั้น เมื่อเขาทำ เราก็คอยเป็นผู้ดูแลอยู่ข้างหลังให้เดินถูกทาง เพราะไม่เช่นนั้นจะถูกครหา เนื่องจาก กบข.เป็นองค์กรที่รวมผู้รู้มากมายในเชิงการลงทุน ซึ่งเราอาจถูกมองว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเรื่องการลงทุนหรอก ผมก็คอยเป็นพี่เลี้ยงบอกให้เขาเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง อยู่กับที่บ้าง ไม่งั้นก็อาจจะเสียเชิง
@ รอบล่าสุดมั่นใจแค่ไหนว่ามีการดักซื้อหุ้น
จะ ประชุมวันที่ 3 มิถุนายน แต่ผมก็เชื่อในการทำงานขององค์กรนี้ว่าเขาพยายามทำอย่างตรงไปตรงมา และผมก็พยายามกำชับทุกหน่วยงานที่อยู่ในการดูแลของผม ให้ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ สงสัยถามมา ต้องตอบได้ และตอบได้หมด ไม่มีการกลั่นแกล้ง และไม่มีเหตุจะไปกลั่นแกล้งด้วย โดยเฉพาะกรณี กบข. แต่กรณีนี้เป็นข้อที่สงสัยกันหลายเรื่อง
@ ตรวจสอบรอบแรกเป็นเรื่องการลงทุน รอบล่าสุด ผู้บริหาร กบข.มีพฤติกรรมส่อทุจริต
ต้อง เข้าใจว่า การบริหารผิดพลาดบกพร่อง ไม่ใช่หน้าที่ที่เราจะไปตรวจสอบ เพราะเป็นเชิงบริหาร แต่อำนาจหน้าที่ของ ปปท.เป็นเชิงทุจริตหรือใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ไม่ชอบ ไม่ใช่บริหารบกพร่อง แม้ไม่บกพร่องแต่มีพฤติกรรมแบบนี้ก็ผิด ไม่ใช่เรื่องการบริหารบกพร่อง การบริหารบกพร่องเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นที่เป็นต้นสังกัดเขา หรือระบบตรวจสอบภายในที่เขาจะไปว่ากันเอง
@ แต่รอบนี้ดูเหมือนจะทุจริตค่อนข้างชัด
ต้องรอผลประชุมวันที่ 3 มิถุนายน (ครับ)


ชงปปช.สอบเลขาธิการกบข.

โพสต์ทูเดย์ — ป.ป.ท.จ่อคิวเสนอเรื่องป.ป.ช. สอบ “วิสิฐ” ด้านประธานบอร์ดกองทุนกบข. ตั้งกรรมการสอบเอาผิดการซื้อขายหุ้นดักหน้าดักหลัง

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ป.ป.ท.มีความเห็นว่าการซื้อหุ้นดักหน้าดักหลังการลงทุนของนายวิสิฐ ตันติ

ธาริต

สุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นความผิด ทั้งจรรยาบรรณ วินัย และอาญา โดยความผิดทางอาญานั้นเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย 2 ฉบับ

ฉบับแรก เป็นพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฐานนำข้อมูลวงในไปซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้อื่น และยังเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยเจ้าพนักงานรัฐทำให้เกิดความ เสียหายต่อองค์กร

ทั้งนี้ หากผลการประชุมร่วมกับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ ไม่มีความเห็นคัดค้าน ก็จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการสอบสวนต่อไป

นายธาริต กล่าวถึงกรณีที่กบข.อ้างว่าป.ป.ท.ไม่มีอำนาจตรวจสอบว่า ทางป.ป.ท.มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ก่อนส่งเรื่องให้ป.ป.ช. ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อ้างว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบกบข.นั้น เห็นว่าความผิดในเรื่องการซื้อหุ้นนั้นเป็นความผิดเฉพาะตัวของเจ้าหน้าที่ กลต.จึงมีอำนาจที่จะดำเนินการ

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รักษาการปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกบข. กล่าวว่า คณะกรรมการกบข.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ เพื่อตรวจสอบการกระทำของนายวิสิฐ เลขาธิการกบข. ในการซื้อขายหุ้นและไม่ปฏิบัติตามระเบียบของกบข. และเสนอผลการสอบต่อคณะกรรมการกบข. ภายใน 30 วัน

สำหรับพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กบข.ดำเนินการตามข้อบังคับคณะกรรมการกบข.ว่าด้วยการพนักงานปี 2545 และรายงานคณะกรรมการ กบข.เพื่อทราบต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรม

“ที่ต้องสอบสวน เพราะมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการที่พนักงานซึ่งรวมถึงเลขาธิการกบข.ว่า ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงานปี 2546” นายวิสุทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบการดำเนินงานของกบข. ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานนั้น พบว่าการลงทุนและการบริหารจัดการในปี 2551 เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่กำหนดไว้

สำหรับผลประกอบการที่ขาดทุนทั้งสิ้น 1.68 หมื่นล้านบาท เกิดจากผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกครั้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์

โพสต์ทูเดย์พยายามติดต่อนายวิสิฐแต่ไม่สามารถติดต่อได้


สาวปม “วิสิฐ” รวยผิดปกติ “กรณ์” สั่งล้างคราบ กบข.ยันลาออกหนีผิดไม่พ้น

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
“พีระพันธุ์” สรุปผลที่ประชุมวันนี้ ยังไม่ไล่บี้ “อดีตบิ๊ก กบข.” เผยผลตรวจสอบเชิงลึก โยงใยผู้บริหาร-เจ้าหน้าที่ รวมหัวทำธุรกรรมอำพรางในตำแหน่งหน้าที่ และได้ประโยชน์จากการซื้อขายหุ้น “บิ๊ก ป.ป.ท.” เตรียมงัด พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตรวจสอบเอาผิดประเด็นร่ำรวยผิดปกติ “ขุนคลัง” ยันเลขาฯ กบข.ผิดวินัยต้องรับโทษถึงแม้จะลาออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม แนะให้ ก.ล.ต.เป็นเจ้าภาพล้อมคอก โดยเป็นผู้จัดระเบียบภายใน กบข.ให้โปร่งใส แย้มได้เลขาคนใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้

       
       นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวภายหลังประชุมสรุปผลตรวจสอบการบริหารขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ (กบข.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นำเสนอ โดยนายพีระพันธุ์ ยืนยันอำนาจการเข้าตรวจสอบของ ป.ป.ท.ที่พบว่า คณะกรรมการ หรือบอร์ด กบข.และอนุกรรมการไม่ชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่และผิดธรรมาภิบาล จึงเกิดปัญหา ทำให้เกิดประโยชน์ได้เสีย
       
       สำหรับการประชุมในวันนี้ (3 มิ.ย.) จะยังไม่ส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ช.เพราะ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.ได้ทำหนังสือมายัง ป.ป.ท.เพื่อขอเข้าชี้แจง ดังนั้น จึงได้สั่งการให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบเชิงลึกในเรื่องนี้ต่อไป และทำหนังสือเชิญบอร์ด กบข.ทั้งชุดปัจจุบันและที่ผ่านมาเข้ามาให้ข้อมูลด้วย เนื่องจากมีหลายประเด็นที่ยังสงสัย เช่น มีการตรวจพบเจ้าหน้าที่ กบข.หลายระดับใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำงาน ซื้อขายหุ้นผิดหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลของ กบข.มีการออกกฎกระทรวงเรื่องการลงทุนซึ่งไม่น่าทำได้และมีผลกระทบกับการลง ทุนหลายเรื่อง
       
       ***พบปมใหม่ รวยผิดปกติ ตั้งแก๊งฟันกำไรหุ้น
       นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาฯ ป.ป.ท.กล่าวว่า ประเด็นที่จะต้องตรวจสอบเชิงลึกต่อไป คือ เรื่องการซื้อหุ้นบางตัวของ กบข.โดยเฉพาะการซื้อหุ้นยานภัณฑ์ ที่มีการเข้าซื้อเป็นมูลค่า 200 ล้านบาทแบบไม่ปกติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อไปก่อน แล้วค่อยกลับมาลงสัตยาบัน จึงอาจมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
       
       ส่วนบอร์ด กบข.ตามกฎหมายกำหนดอำนาจในการตัดสินใจลงทุนให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่ มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเป็นผู้ตัดสินใจลงทุน แต่บอร์ดกลับไปมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนแทนในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท กลายเป็นการบริหารจัดการไม่ตรงตามกฎหมาย และ นายวิสิฐ ก็เป็นประธานในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว
       
       ดังนั้น จึงต้องเชิญบอร์ดมาชี้แจงว่า ทำไมจึงมอบอำนาจให้อนุกรรมการ หากการดำเนินการพบว่า ไม่มีเจตนาที่จะทุจริตก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดทางอาญา เพราะการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีโทษทางอาญาเสมอ ไปแต่ให้ดูที่เจตนา
       
       นายธาริต กล่าวว่า กฎหมาย กบข.ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท กำหนดว่า ถ้า กบข.จะลงทุนต้องออกกฎกระทรวงว่าจะลงทุนอย่างไร การที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ เพราะวางหลักเกณฑ์ที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่วมพิจารณากฎกระทรวงในหลักเกณฑ์การลงทุนในภาพรวม แต่ กบข.กลับเสนอออกกฎกระทรวงตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา วางหลักเกณฑ์การลงทุนให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการ กบข.ซึ่งก็ชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย กบข. สำหรับการดำเนินการภายหลังออกกฎกระทรวงโดยไม่ชอบ ผู้ออกกฎกระทรวงจะมีความผิดหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าขณะนั้นใครเป็นบอร์ดบ้าง
       
       ส่วนผลของการใช้จะเป็นโมฆะหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ตนเห็นว่า เมื่อกฎกระทรวงออกโดยไม่ชอบ ผลที่ตามมาก็ต้องผิดด้วย ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในเรื่องดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีทั้งระดับ บอร์ด ผู้ปฏิบัติการ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการลงทุน อีกประมาณ 7 คน
       
       เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีหลักฐานอะไรที่ว่ามีการนำข้อมูลภายในไปใช้ในการซื้อหุ้น นายธาริต กล่าวว่า ป.ป.ท.จะประสานไปยัง ก.ล.ต.เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตาม หากผลสอบสรุปว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่ว่าระดับใดเข้าไปเกี่ยวข้อง จะแยกส่วนในการดำเนินการโดยพิจารณาทางวินัย หากต้นสังกัดไม่ดำเนินการ ป.ป.ท.จะส่งข้อมูลเพื่อชี้มูลความผิดไปให้ ส่วนการดำเนินคดีทางอาญา ป.ป.ท.จะส่งให้อัยการพิจารณา และหากพบว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องมีความร่ำรวยผิดปกติ จะเข้าไปตรวจสอบด้วยตาม พ.ร.บ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
       
       ***กรณ์ ชี้ลาออกแต่ต้องรับโทษ แย้มได้เลขาใหม่
       นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ถึงแม้ นายวิสิฐ จะยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ กบข.ไปแล้ว เมื่อวานนี้ แต่ยังต้องรับโทษทางวินัย เนื่องจากผลการตรวจสอบของคณะกรรมการชี้ชัดว่า มีความผิดทางวินัยเกิดขึ้นส่วนบทลงโทษเป็นอย่างไรนั้น ขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบทางวินัยอยู่ระหว่างการพิจารณาบทลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องนำกลับมาเสนอภายใน 30 วัน
       
       ส่วนการบริหารจัดการองค์กรภายในของ กบข.นั้นได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการ กบข.ไปทบทวนขั้นตอนการกำกับดูแลภายในโดยเห็นว่า ควรขอความร่วมมือจากทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามาเปรียบเทียบระบบกำกับดูแลภายในและเรื่องของธรรมาภิบาลให้เป็นไปในทิศ ทางเดียวกับบริษัทที่มีธุรกรรมคล้ายคลึงกับ กบข. และให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของสมาชิก กบข.
       
       ส่วนการจัดหาเลขาธิการ กบข.คนใหม่นั้น รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรรหา ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 1-2 เดือนนี้


view