สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อันตรายจากการนอน..ฝันร้ายของจริง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย : บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด


มีการประเมินว่า 80-90% ของผู้ที่มีภาวะการนอนที่ผิดปกติไม่ได้รับการวินิจฉัยแม้ว่าอาการปรากฏ ชัดเจน อาจจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคร้ายแรง

บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอให้มีการศึกษาอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ(Obstructive Sleep Apnea: OSA) นับเป็นความผิดปกติด้านการนอนชนิดหนึ่งที่พบเห็นมากที่สุดทั่วโลก คาดว่าประมาณ 4% ของประชากรในโลกกำลังเผชิญหน้ากับโรคนี้อยู่  

อาการของโรคนี้คือการหยุดหายใจเป็นพักๆ ในช่วงระหว่างนอนหลับ  โรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานผลงานการวิจัยพบว่า ภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง   เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง และอื่นๆ มากยิ่งขึ้น

คนส่วนใหญ่ไม่ได้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากภาวะการนอนที่ผิดปกติ  ผู้ที่มีอาการโรคการ หยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) ระดับปานกลางและรุนแรงบ่อยครั้งแสดงอาการหลายอย่าง เช่น มีเสียงกรนที่ดัง หายใจเฮือกหรือสำลักกรนระหว่างนอนหลับ และง่วงนอนมากเกินไปในช่วงกลางวัน

อย่างไรก็ตามมีเพียงผู้ป่วยบางส่วนเท่านั้นที่เข้ารับการตรวจรักษาอย่าง ถูกวิธี   ในภูมิภาคเอเชีย ผู้ชายวัยกลางคน 4.1 - 7.5% และผู้หญิงวัยกลางคน  2.1 - 3.2%  ที่มีโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) ดังนั้น การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อก่อให้เกิดการรักษาอย่างถูกวิธีและ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA)

นายปีเตอร์ ไวท์ รองประธาน ฟิลิปส์ เรสไพรอนิกส์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว การเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิต     ในปัจจุบันส่งผลให้คุณภาพการนอนของคนถดถอยตามไปด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดจากการทำงาน    ความกังวลด้านการเงิน หรือการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

นอกจากนั้น มีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 7 คนที่มีโรคการหยุดหายใจ จากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) ที่เข้ารับการรักษา ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว     เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการนอนหลับอย่างจริงจัง

"การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์   มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมาจากการ  นอนหลับไม่เพียงพออย่างมาก การอดนอนเรื้อรัง ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจอย่างมหาศาล  นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมหรือบนท้องถนนอีกด้วย       การอดนอนยังอาจมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น  และอาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง และแม้กระทั่งโรคหัวใจวาย” ไวท์ กล่าว

จากผลวิจัยโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) ในกลุ่มพนักงาน   ขับรถของโรงพยาบาลพบว่า ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ

ผู้ที่มีโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ (OSA) มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น โรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 2 - 3 เท่าของคนปกติ   และมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่า    ผู้ที่ไม่มีภาวะดังกล่าว  การศึกษาเพิ่มเติมพบว่าโรคเบาหวานชนิด 2 ถูกพบมากขึ้นในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะ  นอนหลับจากการอุดกั้นแม้ว่าบุคคลนั้นไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น

ศาสตราจารย์  นายแพทย์ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ หัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิก วิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ในประเทศไทย การที่ประชากรมีอายุมากขึ้น มีโรคอ้วน สูบบุหรี่ และใช้ยานอนหลับ มีผลเกี่ยวเนื่องทำให้เกิดการกรนจนเป็นนิสัย ซึ่งการกรนนี้เป็นอาการหนึ่งของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น

การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฟิลิปส์ใน 5 ประเทศทั่วโลก  พบว่า มีการตระหนักถึงภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นค่อนข้างดีว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่มีสถิติแสดงให้เห็นว่า หนึ่งในสาม   ของคนเหล่านี้คิดเพียงว่าเป็นแค่อาการกรน ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการกรนเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักก่อให้เกิดโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ

ขณะที่เกือบ 2 ใน 3 รู้สึกว่าการกรนเป็นเพียงแค่ความไม่สะดวกสบายเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องจัดการอะไร   การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นและความผิดปกติอื่นๆ ด้านการนอนซึ่งไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจากผู้ที่มีภาวะเหล่านี้

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นสามารถวินิจฉัยได้ง่ายแค่เพียงประเมินจากคำบอกเล่าอาการและตัวบ่งชี้อาการจากผู้ป่วย  หากสงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยโรคด้วยการศึกษาการนอนหรือที่เรียกกันว่า Polysomnogram หรือ PSG เพื่อยืนยันชนิดและความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะ นอนหลับรวมถึงวิธีการบำบัดรักษาที่เหมาะสม

เมื่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วย   โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคนี้คือ เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นวิธีที่ไม่ต้องต่อท่อช่วยหายใจ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นหนึ่งวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

 ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องจะปล่อยแรงดันลมแบบเบาผ่านหน้ากากเข้าสู่จมูกเพื่อป้องกันการตีบของทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจอย่างเต็มที่ระหว่างนอนหลับ    เครื่อง CPAP นี้ ได้รับการออกแบบมาให้สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยระหว่างการรักษามากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์  นพ.ชัยรัตน์  กล่าวว่า เรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาด้านสุขภาพอย่างร้ายแรง ถ้าเราไม่ได้มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นจะตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจบ่อยครั้งในระหว่างการนอนหลับ ทำให้ไม่สามารถมีเวลานอนหลับได้อย่างเพียงพอ

ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจ  ตื่นขึ้นมาประมาณ 30 นาทีใน 1 ชั่วโมงเนื่องจากเกิดการหยุดหายใจชั่วคราว เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง (CPAP) จะสามารถช่วยลดผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นได้อย่างมาก         ซึ่งยังส่งผลให้ผู้ใช้มีพลังงานเพิ่มขึ้น ลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองและโรคหัวใจวาย
 
 “ในฐานะที่เป็นผู้นำในตลาดการจัดการด้านการนอนหลับและการรักษาโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ ฟิลิปส์มุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์รักษาโรคเกี่ยวกับการนอนที่สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยยอมเข้ารับการรักษาโรคการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ ฟิลิปส์เสนอความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นเพื่อให้การนอนและคุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น” นายเวน สปีทเติล รองประธานและประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพฟิลิปส์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าว

หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ ของกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพฟิลิปส์คือ การเป็นผู้นำในตลาดดูแลสุขภาพที่บ้านซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง

ฟิลิปส์ได้ผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์อย่างลึกซึ้งเข้ากับความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภค จนทำให้ฟิลิปส์สามารถนำเสนอบทสรุป เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านการแพทย์ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ ฟิลิปส์ได้นำเสนอบริการครบวงจรของการดูแลสุขภาพ เรากำลังเชื่อมโยงการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

view