สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธปท.ตรวจความเสี่ยง ธอส. บี้ธุรกรรม3แสนล.-ขรรค์โต้เกมเลื่อยขา

จาก ประชาชาติธุรกิจ
ตะลึง ! ผลสอบ ธปท. ปี 2551 พบ ธอส.ทำธุรกรรมผิดปกติ ซ้ำรอยเอสเอ็มอีแบงก์ จี้คลังล้วงลึกรายละเอียด ระบุทำธุรกรรมบริหารความเสี่ยง 94 รายการ ในช่วง 4 ปี วงเงิน 335,000 ล้านบาท แนะทำบันทึกกำไรขาดทุนตามราคาตลาด แต่ ธอส.อ้างทำแล้วกระทบฐานะแบงก์จึงต้องเปลี่ยนสัญญาต่อเนื่องเพราะขาดทุนน้อย กว่า ด้าน "กรณ์" ยอมรับ ทราบเรื่องแล้ว "ขรรค์" โต้ถูกเลื่อยขาเก้าอี้ชี้เรื่องจบไปนานแล้ว

ใน ประเด็นหลังนี้หาก ป.ป.ช.หรือศาลแพ่งตัดสินออกมาว่า กฎหมายแม่ไม่อนุญาตให้ ธพว.ไปทำธุรกรรมดังกล่าว เป็นการกระทำที่เกินขอบเขตของกฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีผลทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ ทาง ธพว.ไม่ต้องจ่ายค่าปรับให้คู่สัญญาเป็นวงเงินรวมถึง 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่ไปทำธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทนี้ และได้มีการจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ไปให้กับธนาคาร คู่สัญญาไปแล้วจะต้องเรียกคืนหรือไม่


แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงกรณีการตรวจสอบกิจการและสินทรัพย์ของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตั้งแต่ 2546-2549 ว่า ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังได้รับรายงานจากฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการ เงินของ ธปท. (ปี 2551) ได้ตรวจสอบพบว่าฝ่ายบริหารของ ธอส.ได้มีการทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่จำกัดขอบเขตความเสี่ยง (plain vanilla) และการทำอนุพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง (exotic) บนตราสารทางการเงินของ ธอส. โดยนับการเข้าไปทำสัญญาอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (interest rate swap : IRS) ในครั้งแรกและการปรับธุรกรรมรวมทั้งหมด 94 รายการ มูลค่ารวม 335,000 ล้านบาท ซึ่งทางฝ่ายบริหารของ ธอส.ได้ชี้แจงว่าเป็นการบริหารความเสี่ยง

ขณะที่รายงานผลการตรวจ สอบของ ธปท.พบว่าในปี 2549 ธอส.ได้เข้าไปทำ IRS เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ซึ่งมิใช่ธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง และปี 2550 ธุรกรรมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทำเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน แต่ยังเปิดความเสี่ยงเอาไว้ ส่วนในปี 2551 พบว่ามีผลขาดทุนที่เกิดจากการทำธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารสแตนดาร์ดชา ร์เตอร์ด (ประเทศไทย) ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท

หลังจากที่ ธปท.ตรวจพบได้เสนอแนะให้ ธอส.บันทึกบัญชีรับรู้กำไรขาดทุนตามราคาตลาด (mark to market) ธุรกรรมอนุพันธ์ IRS ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยทุกเดือนตามที่ได้รับแจ้งจากคู่ค้า แต่ ธอส.ได้ทำหนังสือถึงนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังในขณะนั้นในช่วงปลายเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้พิจารณาว่าควรทำตามข้อเสนอแนะของ ธปท.หรือไม่ เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและงบดุลของธนาคาร

นอกจากนี้ ในการทำธุรกรรมดังกล่าวที่เป็น plain vanilla และ exotic บนตราสารทางการเงินของ ธอส.ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2546-2549 เป็นไปตามขอบเขตอำนาจการดำเนินการตามกรอบของ พ.ร.บ.ของ ธอส.หรือไม่ รวมทั้งปริมาณธุรกรรมที่ทำไปมีมูลค่ารวมถึง 335,000 ล้านบาทมีความเหมาะสมเพียงใด

แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีนี้คล้ายกับกรณีธปท.เข้าไปตรวจสอบพบว่าธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้มีการทำสัญญาอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยกับธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เมื่อเดือน ต.ค.2549 ภายใต้โครงการออกบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ฝ่ายบริหาร ธพว.ไม่กล้าตัดสินใจ ทำให้ ธพว.ถูกคู่สัญญาคิดค่าปรับในอัตรา 8.5% แต่กรณีของ ธอส.มีการปรับแก้ไขสัญญาเกือบ 100 ครั้ง ทำให้ ธอส.ได้รับความเสียหายหรือผลขาดทุนน้อยกว่า

"ขรรค์" โต้ถูกเลื่อยขาเก้าอี้

นาย ขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. ชี้แจงว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นนานแล้ว ตนเคยเข้าไปชี้แจงรายละเอียดในช่วงที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลังในขณะนั้นทราบแล้วว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งในการ ระดมทุนของ ธอส. และ ธอส.จำเป็นต้องทำสวอปเพื่อประกันความเสี่ยงให้อัตราดอกเบี้ยจากการระดม ทุนอยู่ในอัตราที่คงที่ ปัจจุบันไม่มีการทำธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ยังต้องผูกพันกับธุรกรรมที่ทำไว้ช่วงก่อนหน้านี้ ปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 1-2 หมื่นล้านบาท จะครบกำหนดทั้งหมดภายในปี 2553 นี้

"กรณีนี้มัน จบไปแล้ว แต่มีคนพยายามหยิบยกขึ้นมาอีกเรื่อยๆ เพราะต้องการจะเลื่อยขาเก้าอี้ และจ้องจะเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้อยู่ บอกได้เลยว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สูญเสียผลประโยชน์" นายขรรค์กล่าว

คลังเตรียมกรอบกู้เงิน

ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กรณีของ ธอส.ทางกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาอยู่ และได้รับรายงานว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐไประดมทุน โดยการออก FRCD โดยที่ไม่รายงานให้ทราบ และได้สั่งการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เร่งยกร่างกฎระเบียบเพื่อให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งส่งข้อมูลแผนการกู้ เงินในตลาดเงินตลาดทุนมาให้ สบน.พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะไปดำเนินการว่าจ้างธนาคารผู้ให้บริการ

แจงค่าคอมมิสชั่นไม่ชัด

ขณะ ที่แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ ธอส. เปิดเผยถึงสาเหตุการเปลี่ยนสัญญาธุรกรรมอนุพันธ์มากถึง 94 ครั้งนั้น ทางฝ่ายจัดการได้ชี้แจงว่าหากไม่เปลี่ยนสัญญาจะต้องเสียค่าปรับเป็นวงเงิน สูงมาก การเปลี่ยนสัญญาจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการเสียค่าปรับ

" การเปลี่ยนสัญญาไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นทุนทางการเงินของ ธอส.สูงขึ้น แต่ยอดตรงนี้ก็จะไม่ปรากฏชัดในต้นทุนทางการเงินของ ธอส. ซึ่งปัญหานี้คณะกรรมการตรวจสอบก็รับรู้และได้มีการให้ฝ่ายจัดการรายงานรายละ เอียดของธุรกรรมที่เกิดขึ้น จากนั้นก็ส่งต่อให้คณะกรรมการ ธอส.พิจารณา ซึ่งก็มีการซักถามถึงจำนวนครั้งที่เปลี่ยนสัญญาสูงถึง 94 ครั้ง จนโยงไปถึงการกินค่าคอมมิสชั่นการเปลี่ยนสัญญา แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบชี้แจงที่ชัดเจน ประกอบกับมีอดีตผู้บริหาร ธอส.เป็นที่ปรึกษาและดูแลการแก้ปัญหานี้ แต่ได้มีการเลิกจ้างเมื่อปีที่แล้ว"

ในช่วงที่ผ่านมา ทาง ธอส.พยายามแก้ปัญหาอย่างเงียบๆ เพราะไม่อยากให้เกิดคำถามว่าเหตุใด ธอส.ที่มีการทำธุรกรรมความเสี่ยงเหมือนเอสเอ็มอีแบงก์ จึงไม่ถูกตรวจสอบและถูกดำเนินการ แต่ทาง ธปท. ได้ทำหนังสือส่งมาทุกปีว่า ธอส.ไม่ได้มีการบันทึกมาร์เก็ตทูมาร์เก็ต ซึ่งทำให้ ธอส.มีความเสี่ยงสูง

ชี้คลังต้องจัดการ

ส่วน นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวถึงการตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่งว่า รัฐมนตรีคลังในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้มอบหมายให้ ธปท.เป็นผู้ตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง เพราะฉะนั้นเมื่อ ธปท.ตรวจสอบแล้วเจอปัญหาหรือประเด็นอะไรก็ตาม ต้องรายงานกลับให้รัฐมนตรีคลังทราบ ส่วนการจะดำเนินการแก้ปัญหาหรือกำกับดูแลตามผลการตรวจสอบของ ธปท.หรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีคลังเป็นผู้ตัดสินใจในฐานะผู้รักษาการตาม กฎหมายสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นๆ

เตรียมสรุปความผิดเอสเอ็มอีแบงก์

อนึ่ง กรณีของ ธพว. ทางกระทรวงการคลังได้ส่งผลสอบข้อเท็จจริงไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.และศาลแพ่งดำเนินคดีตามกฎหมาย ล่าสุดทาง ป.ป.ช.ได้เรียกพนักงานของ ธพว.ไปสอบปากคำแล้ว คาดว่าจะสรุปผลการสอบสวนในเร็วๆ นี้ ซึ่งทาง ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบว่ามีการสม ประโยชน์หรือฮั้ว โดยเปิดให้รายใดรายหนึ่งเข้ามาทำธุรกรรมดังกล่าวกับธนาคารหรือไม่ ประเด็นที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. จัดตั้ง ธพว.อนุญาตให้ไปทำธุรกรรมอนุพันธ์ ที่มีความเสี่ยงได้หรือไม่

view