สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เมื่อสหภาพรถไฟฯโดนฟ้อง/คอลัมน์ส่องความคิด

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :ทีมข่าวคมนาคม:


จากเหตุการณ์ที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการ รถไฟแห่งประเทศไทย(สร.ร.ฟ.ท.) ได้หยุดเดินรถไฟทุกเส้นทางทั่วประเทศระหว่างวันที่ 2223 มิ.ย. 2552 โดยไม่ได้มีการแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ทำให้ประชาชนผู้ใช้รถไฟเป็นทางสัญจรเข้าออกเมืองลำบาก เกิดปัญหารถติดมากกว่าปกติ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนที่ใช้รถใช้ถนนโดยทั่วไป

ที่สำคัญ ยังเป็นสาเหตุให้นายวรัญชัย โชคชนะ อดีตผู้ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แจ้งความกับกอง บังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือ บก.ปปป. เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายสาวิตต์ แก้วหวาน ประธานสร.ร.ฟ.ท. กับพวก เพราะไม่สามารถเดินทางไปต่างจังหวัดได้ และยังต้องการเอาผิดเพราะสร.ร.ฟ.ท. โทษฐานไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้อง เสียหายเป็นวงเงิน 36 ล้านบาทด้วย

จากสถิติที่ผ่านมา สร.ร.ฟ.ท.ได้หยุดเดินรถประท้วงฝ่ายบริหารเช่นนี้เฉลี่ยปีละครั้ง แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนแรงกระเพื่อมของน้ำที่กระจายออกเป็นวงกว้าง เพราะกว่าผู้คนจะมั่นใจและกลับมาใช้บริการร.ฟ.ท. อย่างเดิม ร.ฟ.ท.ก็เสียหายมากพอดู

แต่สร.ร.ฟ.ท. ก็ยังไม่มีจิตสำนึก ยังใช้ประชาชนเป็นเดิมพันในการประท้วงหยุดงานซ้ำๆ เช่นนี้ตลอด

หากเปรียบเทียบกับประเทศฝรั่งเศส สิทธิการนัดหยุดงานเปิดโอกาสให้เฉพาะ ผู้ใช้แรงงานภาคเอกชนเท่านั้น ข้าราชการหรือผู้ทำงานในภาครัฐไม่มีสิทธินัดหยุดงาน ข้อมูลในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสยืนยันว่า หากการนัดหยุดงานเป็นผลมาจากการร่วมมือกันของข้าราชการในการปฏิเสธไม่ยอมทำ งาน การนัดหยุดงานนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนี้ ศาลยังมองว่าการนัดหยุดงานเป็นการกระทำผิดทางอาญาอีกด้วย ซึ่งนี่เป็นหลายๆ คดีในกรณีศึกษากฎหมายฝรั่งเศส แต่ไทยไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องนี้มากนัก เพราะบ้านเราเป็นเมืองพุทธ ในระบอบประชาธิปไตย ใครมีปัญหาก็ออกมาเรียกร้อง ประท้วงๆ เสร็จแล้วก็จบกันไป (เรื่องนี้การเมืองไม่เกี่ยว) สร้างภาพลักษณ์ที่ ไม่เหมาะสมแก่สร.ร.ฟ.ท. เพราะไม่มีมติ สร.ร.ฟ.ท.ล่วงหน้า และมีการนัดหยุดงานแบบอาศัยช่องโหว่ของร.ฟ.ท.เอง ประชาชนที่ไม่รู้เรื่องก็ต้องมารับทุกข์กับสร.ร.ฟ.ท.ด้วย ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การกระทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง

ส่วนข้ออ้างที่นำมากล่าวว่า สร.ร.ฟ.ท.เดือดร้อน เนื่องจากครม.อนุมัติให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของร.ฟ.ท. เป็นเพียงการบิดเบือนความจริงที่ไม่ต้องการเปิดเผยในหลายๆ เรื่อง เช่น กลัวตกงาน กลัวเอกชนเข้ามาดำเนินงานแข่งขันกับร.ฟ.ท. รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ที่มองไม่เห็นอีกจำนวนมาก

เหล่านี้เองเป็นที่มาของการหยุดเดินรถไฟ คาดว่าเมื่อมีผู้ร้องเรียนถึงความเดือดร้อนที่ได้รับจากการกระทำของสร.ร.ฟ. ท.แล้ว คำตัดสินดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยว ข้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน หากจะดำเนินการใดๆ ก็ตามจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรือส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ที่ไม่เกี่ยว ข้องให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทยเห็นว่า ทางร.ฟ.ท. สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสร.ร.ฟ.ท.ได้ แต่หากฝ่ายการเมืองยังประนีประนอมต่อไปเรื่อยๆ เมื่อสร.ร.ฟ.ท. ไม่พอใจก็จะหยุดงานตามอำเภอใจอีก ดังนั้นการฟ้องร้องของนายวรัญชัยถือเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้สร.ร.ฟ.ท. หันมาให้ความสำคัญในการทำหน้าที่ของตนเองในฐานะพนักงานร.ฟ.ท.ด้วย

view