สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การจัดสรรหุ้นในบริษัท ให้กับสมาชิกในครอบครัว(จบ)/คอลัมน์หน้าต่างบานแรก

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์

ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่



โดยทั่วไปการที่จะจัดสรรหุ้นให้กับสมาชิก ในครอบครัวใครคนใด คนหนึ่งถือหุ้นข้างมากหรือข้างน้อยนั้น ก็คงเป็นเรื่องของเจตนารมณ์ของหัวหน้าครอบครัวหรือกิจการนั้น บางครอบครัวก็อาจจะมีการจัดสรรหุ้นแต่ละครอบครัวให้มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าลูกหลานจะเป็น ผู้หญิงหรือผู้ชาย

บางครอบครัวอาจจะใช้หลักเกณฑ์ที่ว่า พี่ใหญ่ที่เป็นผู้ชายก็อาจจะเป็นคนดูแลหมด อาจจะถือครองหมด เมื่อพี่ใหญ่มีลูกชาย ลูกหลานก็อาจจะแบ่งหุ้นดังกล่าวส่งไปให้ลูกหลาน ซึ่งอาจจะมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัวผู้อื่นเช่นกัน

ปัญหาความยุ่งยากในการจัดสรรผลประโยชน์ในการถือหุ้นนั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเกิดในรุ่นที่ 1 เพราะว่าเจ้าของซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 เป็นเจ้าของซึ่งก่อร่างสร้างตัวมาย่อมจะมีอำนาจในการบริหารจัดการ กำหนดกฎเกณฑ์ได้ จะมีปัญหาก็คือรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3

เพราะเมื่อจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย ผลประโยชน์ก็จะเริ่มขัดแย้งกัน ดังนั้น การจัดสรรในเรื่องนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบอย่างยิ่ง

ข้อดีของการจัดสรรหุ้นในบริษัทครอบครัวก็คือว่า การที่ธุรกิจได้มีการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน มิได้เอาทรัพย์สินในครอบครัวไปใช้ชื่อคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของในฐานะส่วนตัว อันจะทำให้มีปัญหาในภายหลัง

นอกจากนี้ การจัดสรรหุ้นถ้าหากจัดสรรหุ้นด้วยความเป็นธรรมและถูกต้องแล้ว ก็ย่อมจะส่งผลกระทบให้เจ้าของมีส่วนรับรู้ตั้งแต่ต้น ข้อพิพาทในอนาคตก็อาจจะมีน้อยลง

จากการศึกษาก็พบว่า สำหรับบริษัทโฮลดิงของครอบครัวนั้น โดยหลักเจ้าของหรือหัวหน้าครอบครัวก็ควรจะต้องแบ่งปันหุ้นในธุรกิจครอบครัว นั้น ให้อยู่ในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน และเมื่อกำหนดอัตราส่วนนั้นแล้ว หากสมาชิกในครอบครัวจะมีทายาทรุ่นต่อมา ก็ควรจะให้ทายาทรุ่นที่ต่อมานั้นมีสิทธิรับเฉพาะส่วนของหัวหน้าครอบครัวของ ตนเอง เช่น...

เมื่อแบ่งให้ลูกในอัตราหุ้นเท่าๆ กัน ถ้าหากลูกคนดังกล่าวแต่งงานมีครอบครัวหรือไม่มีครอบครัว ก็ไม่ควรจะมีการเอากองกลางมาแบ่งกัน ควรให้แต่ละคนมีสิทธิในส่วนของตน

เพราะถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ครอบครัวหนึ่งมีลูกหลายคนและเอาหุ้นกระจายเพิ่มให้กับสมาชิกครอบครัวนั้น เพิ่มขึ้นก็จะเกิดผลกระทบกับครอบครัวซึ่งมีลูกน้อยหรือไม่มีลูกอันส่งผล เกี่ยวกับการบริหารจัดการ

ดังนั้น การจัดสรรหุ้นของบริษัทครอบครัวให้อยู่ในบุคคลในวงจำกัดและเท่าเทียมกัน จะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เพราะว่าเป็นการแบ่งทรัพย์สินให้เท่าเทียมกัน

ข้อพิจารณา : การถือหุ้นในบริษัทประกอบการ

เมื่อธุรกิจเติบโตจนมีบริษัทโฮลดิงและการที่บริษัทโฮลดิงครอบครัว เข้าไปถือหุ้นในธุรกิจที่ประกอบธุรกิจหลายๆ บริษัทนั้น ก็ควรมีการพิจารณาว่าการจัดสรรหุ้นในบริษัทประกอบการควรทำอย่างไร

ถ้าหากสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้บริหารจัดการในบริษัทที่ประกอบ การแล้ว ก็น่าที่จะมีการพิจารณาให้สมาชิกในครอบครัวคนที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ บริษัทที่ประกอบการได้รับสิทธิหรือถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินกิจการเพิ่มเติม อีกด้วย เพื่อจะเป็นกำลังใจให้ผลประโยชน์ให้สมาชิกในครอบครัวนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เมื่อสมาชิกในครอบครัวไปเป็นกรรมการหรือไปเป็นผู้บริหารในบริษัทประกอบการ ถือหุ้นนั้น การจัดสรรผลประโยชน์ การใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เงินเดือน ค่ารับรองหรือค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทที่ประกอบการ ควรจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่ามีสิทธิได้รับแค่ไหนเพียงใด โดยเฉพาะการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ควรจะมีหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน โดยอาจจะอยู่ในธรรมนูญและข้อพึงปฏิบัติของบริษัทครอบครัว

เพราะมิฉะนั้นแล้ว อาจเกิดข้อพิพาทกันเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ของสมาชิกครอบครัวที่บริหาร จัดการกับสมาชิกในครอบครัว ซึ่งไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดการแต่ไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นใดได้ เพราะสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดการ ก็อาจจะคาดหวังได้จากเงินปันผล

แต่หากสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการใช้จ่ายเงินโดยไม่ ระมัดระวังแล้ว โอกาสที่เขาจะได้รับเงินปันผลน้อยลง หรือสมาชิกใดไม่ได้ถือหุ้นแต่บริหารจัดการ ก็อาจจะก่อปัญหาได้ ก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

view