สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วัดใจ กรณ์ จาติกวณิช ผลักดัน ภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ระวัง ! ทุนจับมือทหารล้มกระดาน

จาก ประชาชาติธุรกิจ


เสมือน สัญญาปากเปล่าของ นาย กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าจะนำร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังสภา ผู้แทนราษฎรพิจารณา แน่นอนว่าต้องมีทั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนและคัดค้านอย่างกว้างขวาง

และจะว่าไป ร่างกฎหมายฉบับนี้มีอาถรรพ์ยิ่งนัก เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มักจะมีอันเป็นไป ก่อนชงกฎหมายภาษีที่ดินเข้าสภา

ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ เปิดเผยโครงการวิจัยเรื่อง นโยบายและมาตรการการคลัง เพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้พบว่า

กฎหมายและมาตรการว่าด้วย การถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะการถือครองที่ดินที่มีการกระจุกตัวสูง กฎหมายและมาตรการทางภาษีที่ไม่ส่งเสริมให้มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก และภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มีผลให้คนที่รวยอยู่แล้วก็ยิ่งรวยขึ้น ขณะที่รายได้ของคนจนมีแต่ทรงกับทรุด

"จาก การศึกษาพบว่า ผู้ถือครองจำนวนที่ดินในกรุงเทพฯมากที่สุดนั้น โดยส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล การถือครองที่ดินในเขตกรุงเทพฯชั้นในมีการกระจุกตัวมาก โดยเฉพาะบริเวณที่เป็น commercialize (การใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์) อาทิ เยาวราช ปทุมวัน ซึ่งเป็นที่ดินของทรัพย์สินฯอยู่มาก แต่การใช้งานของทรัพย์สินฯนั้นมีความยืดหยุ่นมาก ส่วนไหนที่จำเป็นให้คนยากคนจนอาศัย ก็จะมีการยืดหยุ่นทั้งค่าเช่าและระยะเวลา โดยที่หากที่ดินเหล่านี้ไปอยู่ในมือของเอกชนก็จะถูกนำไปใช้ทางด้านการค้า เป็นหลัก ที่ดินอยู่ในความ ครอบครองของทรัพย์สินฯ จะเป็นมิตรกับคนยากคนจนมากกว่า"




ใน ขณะที่การถือครองที่ดินในต่างจังหวัด งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เริ่มที่จะมีการกระจุกตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ จ.ชลบุรี หรือ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพื้นที่ที่พบว่าการถือครองที่ดินกระจุกสูงตัวเหล่านี้ คือพื้นที่ซึ่งได้ถูกพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรม

"ข้อสังเกตก็คือว่า พื้นที่ไหนก็ตามที่เข้าสู่ภาวะการค้า เป็นที่ดินเชิงพาณิชย์ หรือที่ดินเชิงอุตสาหกรรม การกระจุกตัวจะสูงมาก ซึ่งมีแนวโน้มที่น่ากลัว จากงานวิจัยและจากการคาดการณ์ของผมเองว่า ที่ไหนก็ตามที่มีการพัฒนาเป็นเขตพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมการกระจุกตัวจะสูงมาก แล้วคนจำนวนมากที่อยู่ในเขตเหล่านั้นไม่มีที่ดินเลย ซึ่งพบได้เยอะ ประการต่อมาก็คือว่า การขยายตัวของเมือง มันพัฒนาเร็วมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อบต.จำนวนมากกลายเป็นเทศบาล ตำบล เริ่มเป็นเขตเมือง การกระจุกตัวก็เริ่มเกิดขึ้นทันที แล้วเมื่อเขตเมืองเริ่มขยายตัว มันก็ไปสอดคล้องกับภาวะที่ดินทางด้านเกษตร ที่ชาวนาส่วนใหญ่ชราภาพ แล้วชาวนารุ่นใหม่อายุ 15-30 ปีไม่มีแล้ว จึงเกิดสภาพที่ว่าชาวนารุ่นเก่าเริ่มหมดอายุขัย ไม่มีคนมาสานต่อ ที่ดินจึงหลุดมือ เพราะแก่แล้วก็ไม่อยากเก็บ"

"เพราะฉะนั้น อีก 10 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มว่าการกระจุกตัวของที่ดินจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากสถานการณ์ที่ผมบอกนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บภาษีที่ดิน คนที่มีที่ดินในเขตการค้าอุตสาหกรรมราคาจะสูง ซึ่งถือว่าเป็นคนส่วนน้อย ดังนั้นการเก็บภาษีจากคนส่วนน้อยเหล่านี้ที่มีที่ดินมากๆ มันสมควร เพื่อเอารายได้ตรงนี้มาใช้จ่าย ถ้าเรามองว่ารัฐกำลังเดินหน้าประชานิยม ลดแลกแจกแถมอยู่ คำถามคือว่าแล้วรัฐจะเอาเงินมาจากไหน การลดแลกแจกแถมในบางสถานการณ์มันจำเป็น ของเราอีกประมาณไม่เกิน 12 ปีข้างหน้า เราจะเข้าสู่สังคมชราภาพ"

"หมายความว่า สังคมใดก็ตามที่มีตัวเลขผู้เกษียณอายุ 14 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ขณะนี้เรามี 10 เปอร์เซ็นต์แล้ว ณ วันนั้นค่าใช้จ่ายคนแก่จะสูงมาก คุณจะเอาเงินที่ไหนมาดูแลคนแก่ ในฐานะที่เขาทำประโยชน์ให้กับสังคมมายาวนาน เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องมีช่องทางที่จะหารายได้ จะกู้เงินอย่างนี้ตลอดไปได้อย่างไร ช่องทางที่สภาที่ปรึกษาฯเสนอก็คือตัวเลขจำนวนที่ดิน แค่คุณเก็บภาษีแค่ 0.3 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามีที่ดิน 100 ไร่ คุณเก็บได้แค่ 60 ไร่ เราก็จะมีรายได้ถึงปีละ 1.5 พันล้านบาท ถ้าเก็บได้เต็มที่ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์จะมี รายได้ 2 พันกว่าล้านบาท"

ดร.ณรงค์ให้ความเห็นว่า ภาษีที่ดินตอบโจทย์ได้ 2 อย่าง คือ 1.รัฐสามารถหา รายได้มาใช้จ่ายให้กับสังคมในเชิงสวัสดิการ อาทิ คนพิการ ชรา ที่รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลคนกลุ่มนี้ โดยไม่ต้องไปดูว่าเป็นธรรมหรือไม่ เนื่องจากอัตราภาษีที่จะเก็บนั้นอยู่ในขั้นต่ำมากเพียง 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 2.เมื่อมีการเก็บภาษีคนที่มีที่ดินมากๆ ก็จะไม่กล้าเก็บที่ดินเหล่านั้นให้ว่างเปล่าไร้ ประโยชน์เป็นเวลานาน

"ถูก ต้องที่ว่า การเก็บภาษีในอัตราเพียง 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ เป็นการประนี ประนอมกับแลนด์ลอร์ดอย่างแน่นอน ที่เราเสนอนี้ยังไม่ถึง 0.5 เปอร์เซ็นต์เลย ถ้าจะให้ได้ผลจริงๆ อย่างน้อยต้องเก็บในอัตรา 1 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์เราถือว่าขอเงินบริจาคมาช่วยคนแก่ช่วยเด็ก"

ทั้งนี้ ดร.ณรงค์ให้ความเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ โอกาสที่จะผ่านการพิจารณาจากการประชุมสภาในอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เนื่องจากนักการเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นแลนด์ลอร์ด นิยมกว้านซื้อถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก

"คือถ้าฟังทาง รมว.คลัง (นายกรณ์) ก็พอมีความหวังอยู่ แต่ถ้าไปฟังพรรคพวกแล้วก็เหนื่อยเหมือนกัน ในพรรคประชาธิปัตย์เองบางคนก็ไม่เห็นด้วย คุณจะเห็นว่านักการเมืองสายใต้ไม่เห็นด้วย นักการเมืองส่วนหนึ่งเอา อีกส่วนหนึ่งไม่เอา คำถามคือส่วนไหนมากกว่า"

"หลักการเองก็มีผลกระทบ กับผลประโยชน์ของนักการเมือง แล้วนักการเมืองเป็นคนออกพระราชบัญญัติ มันก็เลยลำบาก แถมเจ้ากระทรวงต่างๆ มีที่ดินมหาศาล แล้วนักธุรกิจใหญ่ๆ ก็อยู่เบื้องหลังนักการเมือง ในรัฐบาลมีบางส่วนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อย่าลืมว่ารัฐบาลเป็นพรรคร่วม แล้วเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณเข้าใจระบบการเมืองไทยมันยังไม่ข้ามผ่าน การเมืองธนามาตยาธิปไตย หมายความว่า ปืนกับเงินมาจับมือกัน ที่เห็นบางพวกลุกขึ้นมา คัดค้านอมาตยาธิปไตย

แต่ลึกๆ จับมือกันตลอดเวลา ถ้ากลุ่มทุนรู้สึกว่าเขากำลังสูญเสียมากเกินไป เขาก็พร้อมจะให้ทหารยึดอำนาจ เพราะวิธีการยึดอำนาจมันมีหลายรูปแบบ ถ้าทหารรู้สึกว่าเขาอยากได้ประโยชน์มากๆ เขาก็ไปดึงกลุ่มทุนมา เพราะฉะนั้นลึกๆ เป็นอย่างนี้ตลอดมา ผมไม่เคยเชื่อว่าฝ่ายหนึ่งต่อต้านทหาร ฝ่ายหนึ่งหนุนทหาร มันไม่ใช่ เพราะทหารกลุ่มหนึ่งจับมือทุนกลุ่มหนึ่ง แล้วทุนอีกกลุ่มหนึ่งก็จับมือกับทหารอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้ามันมีจุดที่ประนีประนอมกันได้ ฝ่ายหนึ่งอยากจะเห็นสังคมเป็นธรรมกับผู้ที่สูญเสียประโยชน์จับมือกันได้ กฎหมายฉบับนี้ก็ผ่าน ถ้ามีฝ่ายที่เสียดุลเกินไป แล้วไม่ยอม มันก็ล้ม ซึ่งผมว่ากฎหมายนี้ จะผ่านยากมาก"

view