สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คิดแบบ บรูซ แมคเคนซี เจ้าของทฤษฎี Systemic Thinking

จาก ประชาชาติธุรกิจ


ตาม ที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 27-วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2552 ลงสัมภาษณ์ "บรูซ แมคเคนซี" เรื่องเปิดโลกการคิด systemic thinking กำลังท้าทายโลกเดิมๆ ในเซ็กชั่นสเปเชี่ยล สชู อย่างละเอียดไปแล้วนั้น

ฉบับ นี้จึงขออนุญาตนำวิธีคิด หลักคิดของ "บรูซ แมคเคนซี" ต่อเรื่อง systemic thinking หรือวิธีคิดแบบองค์รวมมานำเสนออย่างนำไปปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง

systemic thinking หรือวิธีคิดแบบองค์รวมนั้น จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ช่วงผ่านมา systemic thinking อาจถูกรับรู้อยู่ในประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นบ้านเกิดของ "บรูซ แมคเคนซี"

หรือ ถูกรับรู้ผ่านสถาบัน Systemic Development Institute (SDI) ที่เขาเป็น ผู้อำนวยการ ขณะเดียวกัน systemic thinking ก็ถูกรับรู้ผ่าน "บารัก โอบามา" ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และทีมที่ปรึกษา เนื่องจากครั้งหนึ่งทีมที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเคยลงไปศึกษา แนวคิดต่อการทำ systemic thinking ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

ยิ่งเฉพาะ ต่อเรื่องการแก้ปัญหาภาวะสภาพอากาศแปรปรวนด้วยการทำ แผนที่สนทนา (conversation map) และ "บรูซ แมคเคนซี" ก็เป็นที่ปรึกษาอยู่ในทีมนั้นด้วย

"บรูซ แมคเคนซี" บอกว่า systemic thinking คือการนำปัญหาทุกปัญหาต่อเรื่องหนึ่งๆ มาเขียนลงบนกระดานแผ่นใหญ่หรือกระดาษแผ่นใหญ่

ซึ่ง ปัญหาอาจมีมากถึงร้อยปัญหาหรือพันปัญหา จากนั้นจึงระดมสมองจากเพื่อนร่วมทีมถกเถียง พูดคุยถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อหาต้นตอของปัญหาให้ได้

ปัญหาที่เหลืออาจมีมากถึง 20 ปัญหา หรือ 50 ปัญหา แต่อย่างน้อย ทำให้เห็นว่า จากปัญหาที่มีมากถึงร้อยปัญหาหรือพันปัญหา แต่สุดท้ายจะเหลือเพียงไม่กี่ปัญหาที่เป็นปัญหาที่แท้จริง

การระดม สมองเพื่อหาปัญหาที่แท้จริงนั่นเอง "บรูซ แมคเคนซี" บอกว่า จะเป็นการแก้ปัญหาแบบเชื่อมโยง เปรียบไป ก็เหมือนกับการแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวงหลายแห่ง

ที่รถยนต์มักจะติดในเวลาเร่งด่วน และติดจากถนนสายหนึ่งไปสู่ถนนอีกสายหนึ่งอย่างเชื่อมโยงกันทั้งเมืองหลวง

ดังนั้นการนำ systemic thinking เข้ามาแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวงจึงต้องมองว่าต้นตอของปัญหาการจราจรอยู่ตรงไหนของถนน

บาง คนอาจมองว่า การแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวงนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ก็แค่ทำอุโมงค์ข้ามแยก หรือทำสะพานเชื่อมโยงกันให้เป็นระบบ หรือการสร้างระบบขนส่งมวลชนให้มีจำนวนมาก ก็จะแก้ปัญหาได้

แต่ในความ คิดของ "บรูซ แมคเคนซี" เปรียบเทียบบอกว่า การแก้ปัญหาอย่างนี้ไม่ถูกจุด แต่จะต้องแก้ปัญหาที่ต้นตอ คือออกกฎหมายควบคุมการซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคที่จะต้องจำกัดจำนวนรถยนต์ หรือออกกฎหมายการจ่ายค่าจอดรถในราคาค่อนข้างแพง สำหรับถนนสายสำคัญต่างๆ

ซึ่งแนวความคิดแบบนี้จะไปสอดคล้องกับแนวความคิดของภาครัฐในประเทศสิงคโปร์และอีกหลายเมืองของประเทศในแถบยุโรป

อันจะทำให้ลดจำนวนรถยนต์ลงไปได้มาก

จาก นั้นจึงใช้วิธีการวางผังเมืองอย่างมีคุณภาพเข้ามาร่วมวางแผนกับหน่วยงานที่ รับผิดชอบการควบคุมจราจร ซึ่งจะทำให้เห็นอย่างเชื่อมโยงว่าควรจะต้องตัดถนนเส้นไหน

หรือถนนเส้นไหนควรที่จะสร้างอุโมงค์ หรือควรที่จะสร้างทางด่วน หรือสร้างสะพานข้ามแยกต่างๆ

"บรู ซ แมคเคนซี" บอกว่า การนำ systemic thinking ไม่เพียงแก้ปัญหาต่อเรื่องการจราจรเท่านั้น หากในเรื่องเกี่ยวกับระบบการศึกษา การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

หรือในเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น

ฉะนั้น การที่ "บรูซ แมคเคนซี" มีโอกาสเดินทางมาเมืองไทย ด้วยการเชิญจากบริษัท เอพีเอ็มกรุ๊ป จำกัด เขาจึงไม่เพียงมาสอนและให้ความรู้ต่อผู้บริหารของบริษัท เอพีเอ็มกรุ๊ป เท่านั้น

หากเขายังมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อการนำ systemic thinking กับหน่วยงานราชการไทยหลายแห่งด้วย อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงพาณิชย์, สภาพัฒน์, ธนาคาร แห่งประเทศไทย และอื่นๆ

ทั้งนั้นเพราะการจะแก้ปัญหาให้เชื่อมโยงอย่างเห็นภาพ หน่วยงานต่างๆ จะต้องเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกัน

ซึ่ง เขามองว่า ปัญหาหลักๆ อันนำไปสู่ปัญหาสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น ไม่ได้อยู่ไกลตัวเลย หากอยู่ใกล้ๆ ยิ่งเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างองค์กร หรือหน่วยราชการต่างๆ เนื่องจากมีความทับซ้อนกันค่อนข้างมาก

ดังนั้น ทางแก้ในวิธีการของ "บรูซ แมคเคนซี" จึงมองว่าหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทยจะต้องเริ่มจากการจัดระบบโครงสร้างการทำงานก่อนเป็นอันดับแรก หน่วยงานไหนที่มีความทับซ้อนควรยุบให้เหลือเพียงไม่กี่หน่วยงาน

จากนั้นจึงมาจัดระบบโครงสร้างการทำงานอันเกี่ยวเนื่องกับบุคลากร

"บรู ซ แมคเคนซี" ยอมรับว่า จากการพูดคุยกับหน่วยงานต่างๆ พอจะมองภาพออกว่าเห็นทีคงทำได้ค่อนข้างยาก เพราะหน่วยงานราชการต่างๆ ยังเป็นระบบอุปถัมภ์ และมีฝ่ายการเมืองเข้ามาข้องเกี่ยว

แต่สำหรับ ประเทศสหรัฐอเมริกา "บรูซ แมคเคนซี" บอกว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา สามารถหลอมรวมให้บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งที่อยู่ใน ฝ่ายเดโมแครตและรีพับริกันหลอมรวมทำงานกันได้

เพราะเขาขอร้องให้ทุกคนมองประเทศชาติเป็นหลัก

ที่สำคัญเมื่อ "บารัก โอบามา" เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เขาไม่โยกย้ายคนของรีพับริกันเลยแม้แต่ คนเดียว

ด้วย เหตุนี้เองแนวความคิดของ systemic thinking หรือวิธีคิดแบบองค์รวม จึงค่อนข้างได้รับความนิยมอยู่ใน ขณะนี้ และไม่เฉพาะแต่ประเทศออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

หากวิธีคิด แบบ systemic thinking ยังได้รับความนิยมไปยังยุโรปหลายประเทศด้วย ทั้งนั้นเพราะเขามองว่าวิธีคิดแบบ systemic thinking ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราเลย

หากอยู่ในตัวของคนทุกคน

ขอให้เปิดใจกว้างรับฟัง นำเสนอปัญหาอย่างยุติธรรม และร่วมกันทำงาน หรือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ปัญหาทุกอย่างจะผ่านได้อย่างสบาย

แต่ กระนั้น "บรูซ แมคเคนซี" ก็ยอมรับว่า systemic thinking อาจเป็นเรื่องนามธรรมไปหน่อย เพราะในธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเห็นปัญหาแล้วชอบหนีปัญหา

หรือไม่พูดถึงปัญหาอย่างจริงจัง

ดัง นั้นวิธีในการแก้ปัญหาให้เป็นระบบและเชื่อมโยงจึงไม่ประสบความสำเร็จ เหตุนี้เองจึงทำให้ "บรูซ แมคเคนซี" มีความเชื่อว่า วิธีการนำ systemic thinking มาใช้อย่างได้ผล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดใจกว้างเสียก่อน

จากนั้นจึงค่อยพูดถึงปัญหาอย่างจริงจัง แล้วจะทำให้การแก้ปัญหานั้นสัมฤทธิผล

ที่ สำคัญแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการนำ systemic thinking ไม่เพียง ใช้ได้อย่างยั่งยืน แต่ในอนาคต "บรูซ แมคเคนซี" มีความเชื่อว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นด้วย

เพราะที่ผ่านมา ทฤษฎีผู้นำต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นในโลกมักจะไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะนี้ จะเห็นได้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมต่างล้มพังพาบไปจำนวนมาก

ทั้ง นั้นเพราะทฤษฎีผู้นำต่างๆ มักสอนแต่เรื่องการมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ โดยลืมไปว่า ระหว่างเส้นทางที่จะเดินไปสู่ความเป็นเลิศโดยแท้จริงนั้น ต่างมีปัญหาซุกซ่อนอยู่มากมาย

ดังนั้นทางเดียวที่จะทำให้องค์กรต่างๆ ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน จึงจำต้องแก้ปัญหาที่คั่งค้างไปพร้อมๆ กันด้วย ถึงจะทำให้องค์กรนั้นๆ ประสบความสำเร็จ

ซึ่งเหมือนกับ "บรูซ แมคเคนซี" ที่เชื่อว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ และไม่เฉพาะแต่องค์กรเท่านั้น หากในหน่วยงานต่างๆ ก็สามารถนำวิธีคิดแบบ systemic thinking ไปแก้ปัญหาได้ทั้งสิ้น

ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย ?

view