สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เอกสารทางกฎหมายกับ บริษัทธุรกิจครอบครัว/คอลัมน์หน้าต่างบานแรก

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์

ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่:


บริษัทธุรกิจครอบครัวเหตุผลหลักใหญ่ที่ ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถเจริญได้อย่างยั่งยืน ส่วนใหญ่ก็คือเรื่องข้อพิพาทกันและก็มักจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์และการ บริหารจัดการและการถ่ายโอนอำนาจของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น เอกสารกฎหมายที่สำคัญของธุรกิจครอบครัวจึงจะต้องได้รับการพิจารณาอย่าง ละเอียดครบถ้วน ตั้งแต่การจัดตั้งธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะข้อบังคับ หากใครจดทะเบียนตั้งไปแล้วก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ผู้เขียนเห็นว่าเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญมี 4 ประเภท คือ 

(1) ข้อบังคับของบริษัท ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ข้อบังคับของบริษัทที่ดีจะขจัดปัญหาข้อพิพาทได้ โดยข้อบังคับนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับครอบครัวแต่ละครอบครัวไป ไม่ควรใช้ข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานปกติของกระทรวงพาณิชย์หรือตามกฎหมายแพ่ง ว่าด้วยบริษัท

(2) สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) แต่บางครอบครัวอาจไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดบางอย่าง เช่น สิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งไม่อาจจะให้กำหนดไว้ในข้อบังคับ หรือไม่ต้องการเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก รวมทั้งขั้นตอนการระงับข้อพิพาทที่ไม่อยากเปิดเผยก็ควรมีสัญญาระหว่างผู้ถือ หุ้น แต่ให้ผู้ถือหุ้นมีการลงนามรับทราบเงื่อนไขทุกคนและบทบาทของสมาชิกในครอบ ครัวที่ไม่ได้ลงนามก็ไม่ผูกพัน

(3) พินัยกรรม เจ้าของธุรกิจครอบครัวจะต้องมีการจัดทำพินัยกรรมกันให้เรียบร้อยว่า ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะตกเป็นของทายาทคนใดเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาท อย่าถือว่าเป็นการแช่งเพราะเป็นกรณีการแบ่งสรรความเป็นเจ้าของและทุกคนก็รู้ ล่วงหน้า (ซึ่งผู้เขียนจะได้เขียนถึงแนวทางการทำพินัยกรรมให้ทราบต่อไป)

(4) ธรรมนูญครอบครัวหรือข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct) สำหรับสมาชิกในครอบครัวนั้น ส่วนใหญ่ใช้กับครอบครัวขนาดใหญ่และเป็นที่นิยมในต่างประเทศ โดยเอกสารจะกำหนดว่าควรจะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร มีเจตนารมณ์ เป้าประสงค์ ปรัชญา ผลประโยชน์ที่จะจัดสรรในสมาชิกในครอบครัวจะจัดสรรอย่างไร ข้อกำหนดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อจะได้ให้สมาชิกในครอบครัวเป็นแนว ทางปฏิบัติที่ถูกต้องและเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ

ผู้เขียนเคยเขียนไว้ว่า ข้อบังคับของบริษัทครอบครัวหรือบริษัทโฮลดิ้งมีความสำคัญในการกำหนดเรื่อง ผู้ถือหุ้น ประเภทของหุ้น ข้อกำหนดในการโอนหุ้น การกำหนดเรื่องคุณสมบัติกรรมการ การกำหนดวิธีการลงคะแนนเสียงในข้อบังคับว่า มีเรื่องใดๆ ที่มีความสำคัญ เรื่องใดๆ ที่จะต้องมีการผ่านมติกรรมการหรือผู้ถือหุ้น

รวมทั้งอาจจะต้องมีสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นในระหว่างสมาชิกในครอบ ครัวทุกคน เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในกิจการใดที่ต้องผ่านโดยความเห็นชอบของสมาชิกในครอบครัว ทุกคน เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในกิจการใดที่ต้องผ่านโดยความเห็นชอบของสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ถือหุ้น เช่น การกู้ยืมเงิน การจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท การกำหนดประเภทของหุ้นเป็นหุ้นสามัญหรือบุริมสิทธิ ก็มีส่วนสำคัญอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว

ดังนั้น ผู้เขียนได้เคยค้นหาตัวอย่างข้อบังคับของประเทศไทย ก็หาข้อบังคับมาตรฐานที่สามารถใช้กับธุรกิจครอบครัวทุกครอบครัวก็ใช้ไม่ได้ เพราะแต่ละครอบครัวก็มีปัญหาที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ข้อบังคับของบริษัททั่วไปมักจะใช้แบบมาตรฐาน ส่วนใหญ่ก็อาจจะมีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้น ที่ต้องได้รับความยินยอมจากสมาชิกในครอบครัว ผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการด้วย

ดังนั้น การร่างข้อบังคับของบริษัทธุรกิจครอบครัวจึงต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ทาง กฎหมาย เช่นเดียวกับสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น โดยแต่ละ ครอบครัวกับเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ไม่อาจนำมาใช้แทนได้กันทั้งหมด

ความแตกต่างระหว่างข้อบังคับ : พินัยกรรม : สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น

สำหรับข้อบังคับสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นและพินัยกรรม จะสามารถมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ส่วนธรรมนูญครอบครัวก็เป็นเพียงแนวปฏิบัติไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย เมื่อพิจารณาทั้ง 4 แบบแล้วที่จะเป็นปัญหามากที่สุดในธุรกิจครอบครัวก็คือ พินัยกรรม และกรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ยิ่งมีปัญหามาก ความแตกต่างพอแยกได้ดังนี้

(1) พินัยกรรม ไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก แต่ข้อบังคับจะเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกได้

(2) พินัยกรรมระบุไว้เป็นเงื่อนไขไม่ได้ เช่น กำหนดว่า ห้ามขายทรัพย์สินที่ยกมรดกให้ เว้นแต่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ แต่การเขียนข้อบังคับก็สามารถตกลงไว้ไม่ให้กระทำได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น        

(3) พินัยกรรมมักจะมีการโต้แย้งเรื่องความถูกต้องตามพินัยกรรมว่า ใครเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก ใครเป็นผู้มีอำนาจ พินัยกรรมปลอมหรือไม่

(4) ข้อบังคับเป็นข้อมูลมหาชนที่จดทะเบียนซึ่งทุกคน ซึ่งการโต้แย้งก็คงทำได้ลำบาก ส่วนสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นอาจตกลงไว้ในข้อบังคับ แต่บางเรื่องอาจไม่ต้องการเปิดเผยต่อสาธารณชน ก็เขียนไว้ในเฉพาะสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นก็ได้

ดังนั้น ผู้บริหารวางแผนจัดการธุรกิจครอบครัวและเจ้าของธุรกิจครอบครัว จะต้องให้ความเข้าใจและศึกษาความสำคัญของเอกสารทางกฎหมายดังกล่าวว่า จะมีความแตกต่างกันอย่างไร และจะสามารถทำให้การบริหารจัดการโดยไม่เกิดปัญหา และข้อพิพาทฟ้องร้องกันดังที่เกิดเป็นข่าวในปัจจุบัน เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

view