สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปปช.เตรียมขยายกม.ตรวจสอบผู้บริหารขรก.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ป.ป.ช.เตรียมขยายกฎหมายม.100 คลุม ตรวจสอบ 70 กว่าตำแหน่ง อาทิ ผบ.เหล่าทัพ-ปลัดกระทรวง-บอร์ดรัฐวิสาหกิจ-ผู้ว่าราชการจังหวัด

โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น - สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าฯ จัดโครงการสัมมนากำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามดำเนินกิจการตาม มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ . ศ . 2542 โดยมีนักวิชาการ และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นายกำชัย จงจักรพันธ์ อดีตคณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เดิมกฎหมาย ป.ป.ช . มาตรา 100 กำหนดเอาบทลงโทษเอาไว้แค่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่ต่อมาได้มีการขยายรวมไปถึง 55 ตำแหน่ง อาทิ ส.ส.ส.ว. ที่ปรึกษารัฐมนตรี นายกเทศมนตรี และ อบจ . หรือสรุปเป็นฝ่ายการเมืองทั้งสิ้น รวม 2 แสนตำแหน่งทั่วประเทศ ทั้งนี้จากการสอบถามความคิดเห็นของคนทั้งประเทศ พบว่า 90 % เห็นด้วยกับการขยายให้ครอบคลุม 55 ตำแหน่ง โดยกลุ่มที่มากที่สุดคือ ส.ส.97% ขณะที่น้อยที่สุดคือที่ปรึกษารัฐมนตรี 90 % ซึ่งก็ถือว่าเป็นความต้องการที่มากพอสมควร

ด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป . ป . ช . กล่าวว่า สำหรับการนำมาตรา 100 มาใช้ในช่วงแรก ผู้ร่าง พ.ร.บ . ได้ให้เกียรตินายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเข้ามาบรรจุไว้ใน พ . ร . บ . นี้ หากมีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องผลประโยชน์ แต่ในช่วงที่ผ่านมาทางป.ป.ช . ได้มีการออกสำรวจความคิดเห็น และอาจจะเพิ่มตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญเข้าไปอีก 55 ตำแหน่ง แต่ปัญหาในการที่จะเพิ่มข้อบัญญัติในส่วนนี้ลงไป คือ จะควบคุมดูแลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดได้หรือไม่

อย่างไรก็ตามจากการรับฟังความคิดเห็นจากทั่วประเทศ มีความต้องการให้เพิ่มตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของหน่วยราชการต่างๆ ลงไปด้วย ซึ่งเราก็ได้เพิ่มจาก 55 ตำแหน่ง เป็น 70 กว่าตำแหน่งอาทิ ตำแหน่ง ผบ . เหล่าทัพ อธิการบดีในมหาวิทยาลัยต่างๆ กรรมการป.ป.ช . และองค์กรอิสระอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งต้องถูกตรวจสอบด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องนำไปกลั่นกรองและสังเคราะห์อีกครั้งว่าจะมีตำแหน่งใดบ้าง และคาดว่าจะสามารถประกาศบังคับใช้ได้ในปี 2553
 นายวิชา กล่าวว่า การที่บุคคลจะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องอุทิศตนให้กับส่วนรวม มากกว่าส่วนตัว รวมถึงต้องสละความสุขส่วนตัว ดังนั้นก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองจึงต้องมีการพิสูจน์ความ บริสุทธิ์ของตัวเองด้วยการยื่นบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน และหุ้นที่ถือครอง รวมทั้งที่มาของทรัพย์สินทั้งหมดให้กับ ป.ป.ช. ได้ตรวจสอบ ซึ่งหากมีการกระทำและได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยมิชอบก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญา

ด้านนายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เสนอให้ระเบียบของมาตรา 100 ครอบคลุมไปถึงข้าราชการระดับสูงที่สวมหมวกในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง และผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจกำหนดบทบาทใครได้ใครเสีย และคนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าบุคคลทั่วไปจะต้องเข้าสู่หลักเกณฑ์ ของมาตรา 100 ด้วย นอกจากนี้ขอเสนอว่าจะต้องให้มีการจัดลำดับหน่วยงานที่มีการทุจริตไว้ โดยจะรับข้อมูลจากไปใช้บริการหน่วยงานนั้น ตนเชื่อว่าหากมีการจัดลำดับดังกล่าวแล้วจะทำให้หน่วยงานนั้นอยู่ไม่ได้ต้อง ปรับปรุงให้มีความสุจริตและโปร่งใสมากขึ้น

เผยนักการเมืองไม่ขัดให้มาตรา 100 ตรวจสอบ

ขณะที่ นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการ พ.ร.บ.ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นักการเมืองไม่ขัดข้องที่จะให้มาตรา 100 เข้ามาตรวจสอบ แต่เห็นว่าป.ป.ช . และองค์กรอิสระอื่นๆ ก็ต้องถูกตรวจสอบด้วย รวมทั้งปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการทั้ง 76 จังหวัด รวมทั้งบุคคลระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ควรได้รับการตรวจสอบ เพราะจากการทำงานกรรมาธิการฯ เคยตรวจสอบพบว่าปลัดกระทรวงและอธิบดีบางคนเข้าไปถือหุ้นในบริษัทและเข้าไป เป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง บางคนเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจถึง 3 แห่ง ได้รับเบี้ยประชุมพร้อมเงินเดือนมากถึง 5-10 ล้านบาท อย่าคิดว่านายกรัฐมนตรีเงินเดือนสูงสุด คนพวกนี้สังคมจึงต้องตรวจสอบ ที่ผ่านมาเรารู้สึกอึดอัดใจเพราะว่ากฎหมายมาตรา 100 ไม่ได้ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ ตนเคยตรวจสอบรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งปรากฏว่ารองผู้ว่าฯ หน่วยงานแห่งนั้นถือหุ้นอยู่ในหน่วยงานที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ ซึ่งตนก็ทำอะไรไม่ได้และอัดอั้นตันใจมากเพราะมาตรา 100 ครอบคลุมไปไม่ถึง

view