สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดกลยุทธ์บริหารค่าจ้าง องค์กรต่างชาติดูผลประกอบการคู่ผลงาน

จาก ประชาชาติธุรกิจ


วันนี้ ต้องยอมรับว่าวิกฤตต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ทุกองค์กรต้องเดินยุทธศาสตร์ตั้งรับใน ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายหลักใน หลายองค์กร ตรงนี้จะมีวิธีการจ่ายอย่างไรให้องค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขัน ได้ในตลาด

ในงานสัมมนารายงานผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 2552/2553 ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ "วิธพล เจาะจิตต์" กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้หยิบผลสำรวจองค์กรข้ามชาติ มาฉายภาพให้เห็นว่า เขาบริหารจัดการค่าตอบแทนพนักงานกันอย่างไร หลายเรื่ององค์กรไทยสามารถหยิบไปประยุกต์ใช้ได้

ที่น่าสนใจในเรื่องการดึงดูดและดูแล talent ให้อยู่กับองค์กร จากการสำรวจของเมอร์เซอร์ พบว่ามี 5 ปัจจัย




เรื่อง แรก คนเก่งจะมองว่าบริษัทมีค่าตอบแทนที่จูงใจและมีค่าตอบแทนอื่น เช่น โบนัส สวัสดิการต่างๆ รวมเป็นแพ็กเกจจูงใจไหม แต่โดยทั่วไปเรื่องเงิน จะมาเป็นอันดับหนึ่ง

เรื่องที่สอง คนเก่งจะดูว่าเขาสามารถเติบโตในองค์กรได้หรือไม่

เรื่องที่สาม งานที่ทำนั้นมีความหมาย หรือว่าสร้างสรรค์หรือไม่

เรื่องที่สี่ วัฒนธรรมองค์กรเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนเจเนอเรชั่น Y หรือไม่

เรื่องที่ห้า สถานที่ตั้งของบริษัทสามารถเดินทางได้สะดวกหรือไม่

คำว่าผลตอบแทนที่ดีนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร "วิธพล" บอกว่า ต้องมองทั้งฝั่งลูกจ้าง และฝั่งนายจ้าง

ใน ส่วนของลูกจ้างหรือผู้รับ ค่าตอบแทนที่ให้ไปนั้นผู้รับจะต้องรู้สึกว่าสอดคล้องกับทิศทางของบริษัท ตัวพนักงานโอกาสเติบโตต่อไปได้ และที่สำคัญเมื่อพนักงานทำสิ่งที่ดีแล้วต้องได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน เพราะบางครั้งหลายบริษัท เลือกที่จะดูแลคนส่วนใหญ่ แต่ไปทำร้าย คนดีโดยไม่รู้ตัว



ที่มากกว่านั้น ลูกจ้างจะต้องมีความรู้สึกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับนั้น แข่งขันได้ในตลาด

ฝั่งของผู้ให้ คือ นายจ้าง เมื่อจ่าย ค่าตอบแทนไปแล้ว ก็ต้องรู้สึกว่าต้นทุน ที่จ่ายไปนั้น องค์กรสามารถอยู่ได้ในระยะยาว

แล้ว บริษัทต่างชาติจัดการเรื่องค่าจ้างแรงงานอย่างไร "วิธพล" บอกว่า ในประเทศไทยการจ่ายผลตอบแทนจะให้ น้ำหนักกับเรื่องเงินเดือนสูงมาก แต่ในบริษัทต่างชาติจะใช้ลักษณะการจ่ายแบบ pay mix แต่ละอุตสาหกรรมก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่องค์กรต่างๆ เน้นคือจะต้องสามารถแข่งขันได้ในตลาด

โดยเฉพาะในตำแหน่งที่สรรหา บุคลากรได้ยากที่สุด อย่างผู้บริหารด้านเซล รองลงมาเป็นผู้บริหารด้านการตลาด ผู้บริหารด้านวิศวกร องค์กรจะต้องดูแลคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

กล่าวโดยสรุป การกำหนดทิศทาง ค่าตอบแทนขององค์กรจะต้องดู 3 เรื่องหลักๆ 1.ความรู้สึกของลูกจ้างและนายจ้าง 2.สามารถแข่งขันได้ในตลาด 3.ความยั่งยืนขององค์กร

สำหรับเงื่อนไขในการขึ้นเงินเดือนของ บริษัทข้ามชาติ จะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ 1.ผลประกอบการของบริษัท 2.ผลการดำเนินงานของบุคคล ซึ่งในหลายบริษัทจะมีเรื่องผลการดำเนินงานของทีมเข้ามาประกอบด้วย เพราะผู้บริหารต้องการให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน องค์กร

ผลการสำรวจของเมอร์เซอร์แม้จะเป็นภาพรวมระดับประเทศ แต่ก็ทำให้ มองเห็นทิศทางในการจัดการกับ โครงสร้างการดูแลพนักงานที่น่าสนใจ ไม่ใช่น้อย

view