สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จี-20 โหมความมั่นคงอาหาร บูมกระแสซื้อ-เช่าพื้นที่เกษตร

จาก ประชาชาติธุรกิจ


นอกเหนือจากความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งประเทศต่างๆ พยายามผลักดัน เพื่อสร้าง หลักประกันในยามที่ราคาพลังงานพุ่งสูง

ความ มั่นคงทางอาหาร เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายประเทศให้ความสนใจ หลังจากที่ราคาอาหารแพงขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะเจอพิษเศรษฐกิจทำให้ราคาปรับลดลงมา แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงกว่าราคาเฉลี่ยในรอบหลายปี

นี่ทำให้ประเทศต่างๆ พยายามสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการเข้าไปลงทุนทำการเกษตรในต่างประเทศมากขึ้น

รอย เตอร์ส รายงานว่า นักลงทุนจากซาอุดีอาระเบีย เพิ่งเดินหน้าแผนลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 7 ปี ในแอฟริกา เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ และเพื่อผลิตข้าวป้อนให้แก่ประเทศในแถบตะวันออกกลาง

"ซาลิม ลาลานี" หัวหน้าฝ่ายลงทุนของฟอราส อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสต์เมนต์ คอมปะนี หนึ่งในหุ้นส่วนของโครงการนี้ กล่าวว่า เราตั้งเป้าที่จะพัฒนาและทำเกษตรกรรมบนพื้นที่ 700,000 เฮกตาร์ เพื่อผลิตข้าว 7 ล้านตัน ภายใน 7 ปี

นอกจากนี้ยังมองหาประเทศอื่นๆ อีก 3-4 แห่ง ที่จะลงทุนในลักษณะนี้ อาทิ มาลี เซเนกัล รวมถึงซูดาน และยูกันดา

ความ มั่นคงทางอาหารถือเป็นวาระหลักของประเทศแถบอ่าวที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหาร จึงต้องการลงทุนในต่างประเทศเพื่อสร้างหลักประกันด้านอุปทานในสินค้าวัตถุ ดิบสำคัญ เช่น ข้าว และข้าวสาลี

น่าสนใจว่า แนวคิดสร้างหลักประกันด้านการเกษตรยังแพร่ไปในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (จี-20) ซึ่งมีมูลค่า การค้ารวมกันคิดเป็น 80% ของทั้งโลก และมีประชากรราว 2 ใน 3 ของโลกด้วย

www.workers.org ระบุว่า หลายชาติในกลุ่มจี-20 ก็เข้าไปลงทุนพื้นที่การเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา ไม่เฉพาะแต่สหรัฐ อังกฤษ และประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งใช้ประโยชน์จากที่ดินในประเทศเหล่านี้ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ทว่าเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่าง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย ต่างก็พาเหรดกันซื้อที่ดินเพื่อทำเกษตรด้วย

ปัจจุบันอาหารกลายเป็น คู่แข่งกับน้ำมัน ในแง่อำนาจและหลักประกันทางเศรษฐกิจ ที่ดินเพื่อการเกษตรจึงกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของเหล่านักลงทุน เพราะอีก 40 ปีประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6 พันล้านคน เป็น 9 พันล้านคน ความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่ที่ดินเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำจะขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

ขณะ นี้มีกองทุนกว่า 90 แห่งที่ลงทุนโดยตรงในที่ดินเพื่อการเกษตร ขณะที่วิกฤตทำให้บริษัทขนาดใหญ่หันมาลงทุนในที่ดินด้านเกษตรกรรมเช่นกัน เพราะนี่เป็นวิธีที่จะควบคุมการผลิตอาหารในอนาคต

ในการประชุมการลง ทุนด้านเกษตรในเดือนมิถุนายน พบว่าบริษัทที่มาร่วมประชุมเป็นเจ้าของ และ/หรือมีสิทธิบริหารพื้นที่เกษตรทั่วโลกรวมกันกว่า 11 ล้านเอเคอร์

ข้อมูล จากสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศระบุว่า พื้นที่ราว 37-49 ล้านเอเคอร์ในประเทศยากจน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 20-30 พันล้านดอลลาร์ ถูกขายหรือกำลังอยู่ระหว่างเจรจาขอซื้อจากบริษัทต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2549

แม้ การลงทุนในด้านการเกษตรจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะเน้นยุทธศาสตร์มากกว่าเน้นเชิงพาณิชย์เหมือนก่อน โดยหลายๆ ดีลเป็นการสร้างหลักประกันไม่ให้ประเทศของผู้ลงทุนต้องเสี่ยงกับการขาดแคลน อาหาร

บริษัทเพื่อการลงทุน "แบล็คร็อค" ตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อลงทุนเรื่องที่ดิน "ดาว เคมิคอล" ลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ลงทุนในที่ดินเพื่อการเกษตร ส่วน "มอร์แกน สแตนเลย์" ก็ซื้อที่ดินการเกษตรเกือบ 100,000 เอเคอร์ในบราซิล แม้แต่มหาเศรษฐีอย่าง "จอร์จ โซรอส" ก็ร่วมเทรนด์นี้เช่นกัน

โดยเป้า หมายอยู่ที่เอเชีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา ซึ่งอุดมด้วยแร่ธาตุและทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พบว่า พื้นที่เกษตร 6.2 ล้านเอเคอร์ ซึ่งมีมูลค่า 920 ล้านดอลลาร์ ถูกขายหรือถูกเช่าโดยนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ปี 2547

view