สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุมิท คอนเน็กชั่น กากี่นั้ง โถที่แท้ก็เด็ก โกตั๊บ ไออีซี - ตึกฉาวบอย.-กรุงไทยและชุมชนพอเพียง ?

จาก ประชาชาติธุรกิจ


เปิดตัวตน สุมิท แช่มประสิทธิ์ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ผอ.สพช.)ใช้เครือข่ายศศินทร์ คอนเน็กชั่น เล่นบทไอ้แมงมุม อยู่ได้ทุกรัฐบาล ชื่อโผล่สมัยซื้อตึก บอย.แพงกว่าปกติ มักคุ้น มท.1 โภคิน พลกุล เคยเป็นที่ปรึกษา"วิโรจน์ นวลแข" บิ๊กกรุงไทย เคยเป็นมือทำงานให้ สนธิ ลิ้มทองกุล ล่าสุด โครงการชุมนุมพอเพียง อื้อฉาวอีกรอบ

เรื่องอื้อฉาวในโครงการ ชุมชนพอเพียง  จากสิ่งที่ปรากฎเป็นข่าว เป็นเพียงแค่ ยอดภูเขาน้ำแข็ง  เท่านั้น 
กระบวนการดับเรื่องอื้อฉาวก็เป็นเพียงการ เชือดแพะ !!! และกลบหลักฐาน
ถ้าจะเจาะข่าว โครงการชุมชนพอเพียง แล้วไม่ค้นหาตัวตนที่แท้ของ สุมิท แช่มประสิทธิ์ ย่อมเหมือนกับคนตาบอดคลำช้าง
ตัว ตนที่แท้ของ "สุมิท แช่มประสิทธิ์ " ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ผอ.สพช.)  จะว่าไปก็เหมือน 2 คนยลตามช่อง
บางคนที่รู้จัก บอกว่า "คล่อง" แต่บางคนที่รู้จักยิ่งกว่า บอกว่า "คล่อก"  แปลว่า คล่องมากเกินไป
หลายๆ คนที่เคยดีลกับสุมิท  จะรู้ว่า เขาผู้นี้ไม่ธรรมดา  คนในบ้านท่าพระอาทิตย์ บอกว่า   สุมิท  คือ เด็กสร้างของ สนธิ  ลิ้มทองกุล 


อีกมิติหนึ่ง  สุมิท  คือ นักลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน ในเครือข่าย ศศินทร์ คอนเน็กชั่น ระดับตัวจริงเสียงจริง   ที่มีอาจารย์ใหญ่ชื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สุมิท เคยทำงานให้เป็นกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี บริษัทในเครือข่าย เอ็ม กรุ๊ป

ไออีซี   เคยอยู่ใน แบล็คลิสต์ของ กลต. ในฐานะหุ้นปั่นที่คนในวงการรู้ดีว่า  หุ้นตัวนี้ มีทีเด็ด 
ใคร หลายคนอาจลืมเลือนไปแล้วว่า  สุมิท คนเดียวกันนี้ เคยนั่งเป็นที่ปรึกษา วิโรจน์ นวลแข หรือ เสี่ยช้อย กรรมการผู้จัดการใหญ่ แบงก์กรุงไทย   แบงก์ที่มีอุปการะคุณกับบริษัทในเครือ เอ็ม กรุ๊ป ของโกตั๊บ แบบสุด ๆ  
วัน ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ต่ออายุ ให้เสี่ยช้อย  นั่งเก้าอี้เบอร์หนึ่งในแบงก์กรุงไทยต่ออีกสมัย คือวันที่สายสัมพันธ์ระหว่าง ทักษิณกับโกตั๊บ เข้าขั้นวิกฤต

จิ๊กซอร์อีกชิ้นที่ใครหลายคนลืมไปแล้ว แต่ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบแบล็กกราวน์ของ สุมิท ได้ชัดเจน ดีขึ้น
ในสมัยที่ระบบทักษิณ ยังเรืองอำนาจ  ยุคนั้นมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นั่งเป็น รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม
ครั้งนั้น มีข่าวไม่ค่อยโปร่งใส   กรณีบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)  ฮั้วซื้อตึกฉาวราคาเกินจริง  เฉียด  900 ล้านบาท

เรื่องราว เริ่มต้นขึ้นเมื่อ  มีการชงโครงการซื้อตึกเอกศาสตร์ เพื่อใช้เป็นที่ทำการใหม่ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)  
แต่ ทำไมทำมา การซื้อตึก ทำท่าบานปลายออกไป   จนมีข่าวว่า นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บอย.

เนื่องเพราะ นายมนุ ตรวจพบความไม่โปร่งใสในการซื้อตึกดังกล่าวของคณะกรรมการสรรหาตึก
เพราะราคาตึกสูงถึง 895 ล้านบาท ขณะที่ราคาจริงที่นายมนู  สืบราคาแค่ 550 ล้านบาทเท่านั้น
เมื่อปัญหาบานปลาย นายสุริยะ   รีบออกมา ระงับการลาออกของนายมนู

จากนั้น ได้สั่งการให้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ตั้งกรรมการสอบสวน ความไม่โปร่งใส กระบวนการซื้อตึก เพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของ บอย.ให้เสร็จโดยเร็ว
ต่อมา นายมนู ได้แต่งตั้งผู้ที่จะเป็นกรรมการตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการซื้อตึกที่ทำการ ใหม่ของ บอย.จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บอย. และอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจ

เรื่องเล่าที่เป็นตำนานคือ ในประชุมคณะกรรมการ บอย.  ที่มีการประชุมวาระพิเศษและเร่งด่วน เพื่อพิจารณาการซื้อตึกเอกศาสตร์  ก่อนการประชุมปรากฏว่า ได้มีผู้ส่งเอกสารใส่ซองสีน้ำตาลมาถึง มือนายมนู
เอกสารดังกล่าวได้ ระบุรายละเอียดแผ่นพับการประกาศขายตึกดังกล่าวที่ส่งให้แก่ผู้ที่สนใจของ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ทำให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมถึงกับตกใจ

เพราะปรากฏว่า ราคาขายตึกที่แจ้งไว้ในแผ่นพับนั้น มีราคาแค่ 550 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คณะกรรมการสรรหาตึก
เมื่อย้อนกลับไปดู   รายชื่อ กรรมการสรรหาตึก   พบว่า  มีชื่อ นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ กรรมการ บอย.  นั่งเป็นประธานสรรหา

ประธานสรรหาตึก เสนอให้คณะกรรมการ บอย.พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่สูงถึง 895 ล้านบาท หรือมีส่วนต่างกันกว่า 300 ล้านบาท

ดังนั้น นายมนู จึงได้นำเอกสารดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ บอย.โดยได้สอบถามเพื่อขอความชัดเจนและทราบเหตุผลเกี่ยวกับราคาตึกที่สูงกว่า ราคาที่ธนาคารดีบีเอสไทยทนุประกาศขายจากนายสุมิทกลางที่ประชุม
คนใน บอย.  กล่าวว่า ตึกเอกศาสตร์ที่จะซื้อนั้น ปรากฏว่า ได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่า มีคนกลางเข้าไปซื้อมาจากธนาคารดีบีเอสไทยทนุไปก่อน จึงเท่ากับว่า ตึกดังกล่าวผ่านมือแรกมาแล้ว และหาก บอย.ซื้อจะต้องต่อจากคนที่ซื้อจากธนาคารดีบีเอสไทยทนุมาแล้ว

นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดกรรมการสรรหาจึงเร่งรัดให้คณะกรรมการ บอย.พิจารณาอนุมัติ แสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของเรื่องนี้
รวมทั้งราคาตึกยังสูงกว่า ราคาประกาศขาย ซึ่งหากเป็นราคาตามที่ธนาคารดีบีเอสไทยทนุประกาศขายที่ 550 ล้านบาท ก็ยังสามารถต่อรองราคาลงได้อีก และราคาน่าจะไม่เกิน 350 ล้านบาทเท่านั้น
  นี่คือ  ปฎิบัติการของนายสุมิท ในยุคระบบทักษิณ เรืองอำนาจ  
หลังจากทักษิณ ตกกระป๋อง   การเมืองเปลี่ยนขั้ว หลัง 19 กันยายน 2549    จนมาถึงวันที่  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ก้าวเข้าทำเนียบรัฐบาล

มีคนเห็น สุมิท  เดินขึ้นตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล   นับว่า เขา รวดเร็วปานกามนิต
ชื่อของ สุมิท มาปรากฏใน โครงการชุมชนพอเพียง นโยบายที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชูเป็นผลงาน ชิ้นโบว์แดง ของรัฐบาล

แต่โครงการนี้ กลายเป็นนโยบายที่บรรดา ส.ส.พรรคเพื่อไทย "ล่อเป้า" ถลกเบื้องหลัง จนทำให้เก้าอี้ของนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ร้อนๆ หนาวๆ
โดย เฉพาะประเด็นที่บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ โปร เทคโนโลยี จำกัด ผู้จำหน่ายตู้ผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์, บริษัท คาร์เทล เทคโนโลยี จำกัด ผู้จำหน่ายเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ และบริษัท อีซี่ไลน์ จำกัด ผู้จำหน่ายเครื่องผลิตไบโอดีเซล
 
ซื้อสินค้าจากบริษัท บีเอ็นบี อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของนายภาสกร พุทธิชีวิน ในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริง 2 เท่า

นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ผอ.สพช.)  ผู้บริหาร โครงการ ที่ใช้เงินไปแล้ว 8,432 ล้านบาท

โดยมีชื่อบริษัท บีเอ็นบีฯ กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซีฯ ที่นายสุมิทเคยเป็นประธานกรรมการบริหาร ถูกโยงว่าเกี่ยวพันกัน
เนื่อง จากในปี 2549 บริษัท ไออีซีฯ เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท บีเอ็นบีฯ แต่ภายหลังขายคืนให้กับนายภาสกร ซึ่งทำให้นายภาสกรกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปัจจุบัน

ซึ่งนายสุมิทได้ทำการแถลงข่าวที่ ทำเนียบรัฐบาล ชี้แจงว่าเป็นกรรมการของบริษัท ไออีซีฯ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 แล้วก็ลาออกอย่างเป็นทางการคือ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 โดยได้หยุดปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 และขณะนี้ก็ไม่ได้ถือหุ้นไออีซีฯแล้ว

"บริษัท ไออีซีฯ ได้ลงทุนในบริษัท บีเอ็นบีฯ 23.8 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกรกฎาคม 2549 แล้วก็ขายหุ้นออกไปหมดในเดือนธันวาคม 2550 และในการลงทุนขณะนั้นก็เพราะไออีซีฯมีแผนจะลงทุนเรื่องพลังงานทดแทน แต่เมื่อแผนธุรกิจไม่ได้รวมกลุ่มจึงมีการขายหุ้นคืน ซึ่งผมรู้จักกับบริษัท บีเอ็นบีฯ เพียงแค่นั้น"
"เมื่อผมลาออกจากไออีซีฯแล้ว ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบีเอ็นบีฯอีก"  สุมิท ยืนยันแล้วกล่าวว่า
"บริษัทบีเอ็นบีฯได้ขายสินค้าสำหรับ ชุมชนตั้งแต่โครงการเอสเอ็มแอล เมื่อ 4-5 ปีมาแล้ว ไม่ได้เพิ่งจำหน่ายสินค้าให้กับโครงการชุมชนพอเพียงฯ ส่วนสินค้าพลังงานทดแทนที่เกี่ยวกับแสงอาทิตย์ ซึ่งมีผู้ผลิตน้อยรายทำให้มีราคาสูง เพื่อตัดข้อครหาก็ให้ยกเลิกการอนุมัติสินค้าประเภทนี้ไปเลย โดยโครงการที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีโครงการที่เป็นน้ำดื่มกับโคม ไฟ ประมาณ 170 ชุมชน รวมเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนน้อย จึงไม่คิดว่าจะกระทบอะไรกับโครงการ"

จะว่าไป บริษัทไออีซีฯ กับบริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็มีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด เพราะเอ็มกรุ๊ปเป็นเสมือนบริษัทแม่ของไออีซีฯ โดยเอ็มกรุ๊ปถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 1.1200 มูลค่าหุ้น 20,386,000 บาท 
13 ปีที่แล้ว ไออีซีฯค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท เดอะ เอ็มกรุ๊ป จำกัด ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล
วัน หนึ่ง เอ็มกรุ๊ปของนายสนธิ กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย 1,198 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 แต่ทางไออีซีฯไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวให้แก่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ

ความปรากฏเป็นคดีภายหลังว่า มีการปลอมหรือยินยอมให้มีการปลอมสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทไออี ซีฯ เพื่อลวงให้ธนาคารกรุงไทยหลงเชื่อว่า คณะกรรมการบริษัทไออีซีฯมีมติให้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ในนามบริษัทไออีซีฯ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์มาตรา 312 ระหว่างโทษจำคุก 5-10 ปี และยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารด้วย

คดีนี้ นายสนธิตกเป็นหนึ่งในจำเลยในศาลอาญา

จะว่าไป นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ก็มักคุ้นกับ สนธิ ลิ้มทองกุล  และยังแนบแน่นกับเจ้าพ่อบ้านฉาง นายไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ อีกด้วย

เรื่องเล่าอีกเรื่องที่ คนในกระทรวงมหาดไทย ไม่เคยลืม  ต้องย้อนไปในสมัยที่ ดร.โภคิน พลกุล เป็น รมว.กระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีคนเห็น สุมิท เข้าออกห้อง มท.1 วันละหลายรอบ
ในช่วงเกิดภัยพิบัติ "สึนามิ" กล่าวกันว่า นายสุมิทเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ได้อย่างน่าทึ่ง
นี่เป็นเพียงตัวตนบางเสี้ยวของ สุมิท แช่มประสิทธิ์ !!!  

view