สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บัณฑูร กระตุกต่อม SMEs วิกฤตผ่านจุดต่ำสุด เถ้าแก่ต้องเร่งคิดของใหม่

จาก ประชาชาติธุรกิจ


"รัฐบาล แต่ละประเทศต่างมีโจทย์ของตัวเอง สหรัฐเป็นตัวอย่างการ แก้ปัญหาที่ไม่เสียเวลาเลย เพราะเขารู้ว่าถ้าตัวเองพัง ทั้งโลกก็พังไปด้วย ตอนนี้ ก็ได้มีการประเมินตรงกันว่าเศรษฐกิจโลกได้ผ่านช่วงต่ำสุดไปแล้ว แต่ก็คงไม่ขึ้นเร็ว เศรษฐกิจไทยเองใน 1-2 ปีนี้ก็คงไม่โตเหมือนอย่างที่เคยเห็น เพราะหาคนซื้อของยาก"

คำ กล่าวนี้เป็นมุมมองของ "บัณฑูร ล่ำซำ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งกล่าวในโอกาสปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการจัดการที่ ยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งธนาคารกสิกรไทยจัดติดต่อกันมาเป็นรุ่นที่ 10 นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้

แม้มุมมองดังกล่าว จะไม่ได้เห็น แตกต่างไปจาก "เทรนด์" เศรษฐกิจที่กำลังดำเนินไป แต่ที่ "บัณฑูร" มองต่างและ ย้ำให้คนทำธุรกิจตระหนัก คือการไม่หยุดคิดพัฒนาสินค้าและกระบวนการทำงานในทุกภาวะเศรษฐกิจ

บัณฑูร เริ่มต้นด้วยความเห็นจากมุม ของคนทำธุรกิจธนาคารว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ การปล่อยกู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ เห็นจากตัวอย่างของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ทั้งสหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่น มีเอสเอ็มอีที่มีความแข็งแกร่งมาตลอด โดยธุรกิจยักษ์ใหญ่ก็เติบโตมาจากเอสเอ็มอีที่มีความคิดริเริ่ม

"เศรษฐกิจ ที่เจริญแล้วจะต้องมาจากคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็คือเอสเอ็มอีที่อยากทำนั่นทำนี่จากความคิดสร้างสรรค์ จะรอให้รัฐบาลหรือองค์กรขนาดใหญ่ทำไม่ได้ เพราะขนาดไม่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่เหมือนเอสเอ็มอีที่คิดอะไรได้แล้วก็สั่งการได้ทันที"

การมีความ คิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ในมุมมองของบัณฑูรเห็นว่า "จิตวิญญาณ" ในการทำธุรกิจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ

บัณฑูร เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีจะต้องมีจิตวิญญาณในการทำธุรกิจ โจทย์จึงอยู่ที่ว่าจะทำสิ่งนี้ให้เกิดกับประเทศได้อย่างไร เช่น คนจีนชอบค้าขาย ซึ่งกว่าจะมาเป็นอย่างนี้ได้ ต้องมาจากลักษณะทางวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ มาจากการศึกษา เช่น ในญี่ปุ่น ธุรกิจยักษ์ใหญ่ก็มาจากกลุ่มวิศวกรที่มีความรู้ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มาร่วมกันทำธุรกิจ

"เงินทุนก็ สำคัญ แต่แค่ใส่เงินเข้าไปไม่ได้ช่วยให้เกิดความสำเร็จ เพราะถ้าคนทำธุรกิจไม่ใส่ความตั้งใจเข้าไปก็ไม่สร้างประโยชน์อะไรให้ประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญที่สุดต้องทำสังคมที่เอื้อต่อความถูกต้องพากเพียร พยายามที่จะทำในสิ่งสุจริต ไม่ใช่สังคมที่เป็นคนขี้โกง เช่น ประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีระบบกฎหมาย การเมืองที่เอื้อให้เกิดความเพียรพยายามจนประสบความสำเร็จ"

หากมีสังคมที่มีความเป็นธรรมอยู่พอสมควร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคนทำธุรกิจ

โดย จุดเริ่มต้นของ "เถ้าแก่" ต้องคิด ให้ชัดและต้องคิดตลอดเวลา โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะมีคู่แข่งเข้ามาผลิตของที่เหมือนกันในคุณภาพที่ดีและต้นทุนที่ถูกกว่า ดังนั้นโจทย์ใหญ่จึงอยู่ที่การทายใจลูกค้าและตีโจทย์ให้แตกว่าสิ่งที่ลูกค้า ต้องการคืออะไร

คิดชัดแล้วต้องเร็วด้วย เพราะมิติของเวลานับวันจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ ผลิตภัณฑ์ของธนาคารจึงได้ เปลี่ยนทุกวัน โดยตัวอย่างของธุรกิจที่คิดไม่ทันก็มีให้เห็น เช่น บริษัทรถยนต์ในสหรัฐที่แต่เดิมเป็นที่ยอมรับ แต่ทุกวันนี้ก็ตามไม่ทันบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น

มุมมองของ "บัณฑูร" ข้างต้น หากนำเสนอไปในช่วงที่วิกฤตเศรษฐกิจหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ อาจจะไม่มีใครสนใจฟัง แต่ในภาวะที่มองเห็นจุดต่ำสุดและไม่มี ความเลวร้ายมากกว่านี้แล้ว ต่อไปก็เหลือแต่โอกาสที่คนธุรกิจจะมองหา และหาก ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ได้ ก็คงสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจได้ไม่น้อย

view