สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การสร้างคนบนวิถีสู่คุณภาพ ด้วยเครื่องมือ Total Quality Management

จาก ประชาชาติธุรกิจ



ใน งานสัมมนา The 10 th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand ที่ทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นอกจากจะมีหลากหัวข้อที่น่าสนใจ

หากยังมีอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ ไม่แพ้กันคือ "Quality Journey Through People : Through People" ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง "พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการใหญ่โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย และ "ประสิทธิ์ ตันสุวรรณ" ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการจัดการคุณภาพ มาร่วมพูดคุย

โดย เบื้องต้น "พารณ" ชี้ประเด็นหนึ่งต่อเรื่องระบบการศึกษาทั่วไปให้ฟังว่า ระบบการศึกษามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาประเทศ

ซึ่ง เรื่องนี้ ถ้ามองเปรียบเทียบระหว่างการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก เพราะผู้นำของประเทศสิงคโปร์มีความชัดเจนว่าประเทศของเขาเป็นประเทศเล็ก มีประชากรไม่มากนัก ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำให้องค์กรต่างๆ เกิดการพัฒนาและประเทศพัฒนาได้ การศึกษาจึงเป็นสิ่งแรกที่จะต้องบริหารการศึกษาอย่างเป็นระบบ

เพราะเมื่อฐานทางการศึกษากว้างและครอบคลุมไปในทุกตลาดแรงงาน จะทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าไปสู่ตลาดแรงงานได้ไม่ยาก

"พารณ" บอกว่า การวางรากฐานทางการศึกษา เหมือนกับการปรุงอาหาร ที่จะต้องสร้างเมนูเด็ดออกมา และเมนูเด็ดนี่เอง ต้องเป็นอาหารจานหลัก หรือเมนูหลัก ที่พร้อมจะเสิร์ฟขายให้กับประเทศอื่นๆ

แต่กระนั้น ในมุมมองของ "พารณ" ก็มองว่า นอกจากเมนูเด็ด ที่เป็นอาหารจานหลักแล้ว เราควรสร้างเมนูอื่นๆ ประกอบกันด้วย

ถามว่า เพื่ออะไร ?

เพื่อ ให้เกิดทางเลือกในการบริโภค ฉะนั้น ในมุมมองของ "พารณ" จึงมองว่า ประเทศสิงคโปร์ล้วนมีเมนูเด็ดหลากหลาย และความหลากหลายนี่เอง ที่ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ จึงสามารถรองรับตลาดแรงงานได้จำนวนมาก



ทั้งนี้ เพราะผู้นำเขามีการพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการได้ดี หรือที่เราเรียกภาษาอังกฤษว่า Total Quality Management - TQM

การ พัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ ในมุมมองของ "พารณ" นั้น ไม่ได้มองแต่เรื่องการศึกษาอย่างเดียว แต่หมายความว่า การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการนั้น จะต้องถูกสร้างตั้งแต่เรียนหนังสือในระดับชั้นประถม

ดังนั้น เมื่อเขาและเธอเรียนจบมหาวิทยาลัย การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ จะซึมซับอยู่ในตัว จนเมื่อเขาและเธอเหล่านั้นมีโอกาสทำงานในองค์กรต่างๆ เขาจะนำความรู้ความสามารถเหล่านั้นไปปรับใช้กับการทำงานในองค์กรด้วย

ซึ่งตรงนี้ "พารณ" มองว่า เป็นศาสตร์และศิลป์ที่สามารถสร้างกันได้

ทั้งนี้ เพราะเขาเชื่อว่า คนเป็นสิ่งมีค่า อันสูงสุดขององค์กร และคนอีกเช่นกัน ที่ทำให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ

เหตุ นี้เอง ทำให้ "ประสิทธิ์" ถาม "พารณ" ต่อการสร้างคนในโรงเรียน ดรุณสิกขาลัย ซึ่งเขาบอกว่า หลังจากที่เกษียณอายุจากการทำงานที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เขาได้ไปศึกษาและดูงานจากสถานศึกษาในประเทศต่างๆ จนพบว่า การที่จะสร้างคนให้เป็น คนคุณภาพ

จะต้องสร้างให้ครูและผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ซึ่งกันละกัน อันหมายความว่า ครูเองก็ต้องอยากสอน หรือมีความรักในการสอนวิชานั้นๆ ขณะที่นักเรียนเอง ก็จะต้องเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองอยากเรียน จึงจะทำให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน

ที่ สำคัญ ครูจะต้องสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างสอดรับกับ ผู้เรียนด้วย จึงจะทำให้เกิด กระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์



โดย มุมมองตรงนี้ "ประสิทธิ์" จึงเสริมขึ้นว่า เมื่อตอนที่อยู่ปูนซิเมนต์ ได้มีโอกาสไปประเทศญี่ปุ่น ไปอบรมสัมมนา เคยมีความรู้สึกว่า เรามาประชุมเรื่องอะไร ฟังตั้งแต่เช้าจนเย็น

หรือจะต้องมาฟังปรัชญาการบริหารทำไม ?

เพราะ ความคิดเราต้องการวิธีการเพื่อนำไปปรับใช้ และกลวิธีในการบริหารเชิงฮาวทูมากกว่า จนเมื่อมีโอกาสพูดคุยกับ "พารณ" ความคิดเช่นนี้จึงเปลี่ยนไป

เพราะ "พารณ" บอกว่า การจะทำอะไรสักอย่าง หากเราไม่มีความศรัทธาเสียแต่แรก กระบวนการเรียนรู้จะไม่เกิดผล แต่ถ้าเรามีความศรัทธา ทั้งต่อผู้นำองค์กร องค์กร เพื่อนร่วมงาน และสิ่งที่ตัวเองประพฤติปฏิบัติในงาน ศรัทธานั้นจะสร้างให้เราเกิดการยอมรับ

เหมือนอย่างการสร้างโรงเรียน ดรุณสิกขาลัยก็เช่นกัน เราก็ต้องสร้างให้ครู ผู้สอนเกิดความศรัทธาต่อวิธีการเรียนการสอนแบบนี้เสียก่อน ต่อจากนั้น ครูผู้สอน จะต้องมีความเชื่อและศรัทธาในวิชาชีพของตัวเอง จึงจะทำให้ความศรัทธานั้นส่งผลไปยังผู้เรียน

ถ้าพูดชัดๆ เพื่อให้เข้ากับหัวข้อสัมมนา ต้องบอกว่า โรงเรียนดรุณสิกขาลัยนำ การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ หรือ TQM มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะอย่างที่บอก TQM เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาและการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ กระนั้น คงขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำองค์กรด้วย ว่าจะกำหนดกรอบการทำงานอย่างไร เพราะ "พารณ" เชื่อว่า นักเรียนในระดับประถม มัธยม หรือในระดับ ปวช.-ปวส.เขาล้วนต่าง มีปัญญา มีความรู้ คิดให้เป็น และจะต้องทำให้เป็นด้วย

ที่เหลือจากนั้น คือการเสริมสร้าง ศีลธรรมและจริยธรรม เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับโลก แห่งความเป็นจริง

ซึ่ง เรื่องการสร้างคนให้เป็นคนคุณภาพนั้น "พารณ" เชื่อว่า เราสามารถสร้างกันได้ แต่สร้างกันวันเดียวไม่ได้ ต้องสร้างกันทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี

และจะหยุดนิ่งไม่ได้เลย

เพราะการสร้างคน ให้เป็นคนคุณภาพนั้น เป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่หน้าที่ของ "พารณ" แต่เพียงผู้เดียว เพราะถ้าทุกคนช่วยกันทำ ช่วยกันสร้าง และผลิตบุคลากรออกมารับใช้สังคมมากๆ

ประเทศจักเกิดการพัฒนา

ซึ่งเหมือนกับหลายๆ ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือบางประเทศในเอเชีย

ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารประเทศเขาเห็นความสำคัญ

แต่ สำหรับประเทศไทย แม้อาจจะเป็นเรื่องยากอยู่บ้าง เพราะกรอบการทำงานบางอย่าง มันซับซ้อนเกินไป แต่เชื่อแน่ว่า อีกไม่นาน แนวทางในการสร้างคนคุณภาพ คงอาจชัดเจนขึ้น

มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ถามว่า เพราะอะไร ?

เพราะ องค์กรต่างๆ ล้วนต้องการคนดี คนเก่ง มีความสามารถไปอยู่กับองค์กร ของตัวเอง ดังนั้น เขาจึงต้องเลือกเฟ้น พนักงานที่ดีๆ ไปอยู่กับองค์กรของตัวเอง

ถ้าพนักงานเหล่านั้นไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถอย่างเต็มที่ ถามว่า ใครเล่าจะต้องการพนักงานเหล่านั้นไปอยู่กับองค์กรของตัวเอง

ดัง นั้น โรงเรียน, มหาวิทยาลัยจึงต้องเร่งผลิตคนคุณภาพเข้ามายังสถานศึกษาของตนมากๆ เพื่อที่จะส่งออกเขาเหล่านั้นให้ไปอยู่กับองค์กรชั้นนำต่างๆ

จึงจะทำให้กระบวนการเรียนการสอนและแนวทางในการสร้างคนบนวิถีสู่คุณภาพสัมฤทธิผล

ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย ?

view