สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา แชร์ประสบการณ์แสนล้านเทคนิคทำธุรกิจสหพัฒน์

จาก ประชาชาติธุรกิจ



บอสใหญ่เครือสหพัฒน์ "บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา"ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือ เผยทุกธูรกิจกว่าจะก้าวมายืนอยู่แถวหน้าวันนี้ล้วนเริ่มจากเอ็สเอ็มอีทั้ง นั้น ทั้งไอ.ซี.ซี. วาโก้ ไลอ้อน ฯลฯ เริ่มจากทุนไม่มาก เงินสดน้อย แต่ใช้เทคนิค"หมุนเงิน" พร้อมเคล็ดลับความเป็นเถ้าแก่ของคนตระกูล"โชควัฒนา"ที่ได้รับการปลูกฝังมา ตั้งแต่เล็ก

 เครือสหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจเมืองไทย ที่มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 300 บริษัท ในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นจริงๆ แล้วย้อนกลับไปเมื่อกว่า 65 ปีก่อน หลายคนไม่คาดคิดว่ายักษ์ใหญ่รายนี้เริ่มต้นจากเพียงร้านขายของชำในย่านสำ เพ็ง แต่ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้ก่อตั้ง อย่างนายห้างเทียม โชควัฒนา จนมาสู่การสร้างธุรกิจเล็กๆ ในนามบริษัท "สหพัฒนพิบูล"
 ด้วย ความกล้าบวกกับการสไตล์การทำงานที่ทำทุกสิ่งด้วยความระมัดระวังแบบพอเพียง ส่งให้สหพัฒน์ก้าวจากบริษัทหนึ่งสู่อีกบริษัทหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ตามวิสัยทัศน์ของ "เทียม โชควัฒนา" จนมาสู่ทายาทซึ่งเป็นผู้สืบทอดธุรกิจแสนล้านในปัจจุบัน อย่าง "บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" ที่ยังคงยึดนโยบายนี้อย่างเหนียวแน่น
 ในโอกาสเปิดตัวหนังสือ "จากธุรกิจ SMEs สู่อาณาจักรแสนล้าน" ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "พีเพิล มีเดีย" ประธานเครือสหพัฒน์ "บุณยสิทธิ์" ได้เล่าที่มาที่ไป และจุดเริ่มต้นของอาณาจักรที่เขาเป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบันไว้อย่าง น่าสนใจ โดยเฉพาะประโยคออกตัวที่ว่า เครือสหพัฒน์จากมุมมองคนข้างนอกที่มองเข้ามาจะรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่โต แต่จริงๆ แล้วสำหรับตัวเขาแล้วยังรู้สึกว่าเล็กมาก
 "ที่ ทุกคนมองว่าใหญ่ก็เพราะว่า ผมเอาบริษัทหลายๆ บริษัทมารวมพลังเข้าด้วยกัน แต่ละบริษัทที่ผมก่อตั้งขึ้นมาก็เป็นเอสเอ็มอีมาก่อนทั้งนั้น อย่าง ไอ.ซี.ซี.ที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯเดี๋ยวนี้ ย้อนไปช่วง 40 ปีก่อน ผมตั้งขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 1 แสน แต่เราไม่ใช่บริษัทที่มีเงินมากมายก็ต้องพยายามหมุน ช่วงเวลานั้นการทำธุรกิจยิ่งยากกว่าเอสเอ็มอีปัจจุบันเสียอีก เพราะทำธุรกิจแบบ "นายหมุน" เอาเงินหมุนให้เร็วที่สุด ต้องรู้จักเทคนิคในการหมุนเงิน ไม่มีเงินสดก็ต้องกู้บ้าง"
 ดัง นั้นเอง เครือสหพัฒน์ที่ "บุณยสิทธิ์" ก่อตั้งขึ้นมาจึงไม่มีบริษัทใหญ่ และแม้ช่วงนั้นจะมี "บีโอไอ" ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว แต่ทางสหพัฒน์ก็ไม่เคยได้ใช้บริการสำนักงานนี้แม้แต่น้อย ด้วยยึดนโยบายจากเล็กไปสู่ใหญ่ ทำให้บริษัทที่จดทะเบียนต่างเป็นองค์กรขนาดเล็กทั้งสิ้น
 เขายกตัวอย่าง "วาโก้" ที่เกิดจากการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น ด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท ในสัดส่วน 50:50 เช่นเดียวกับไลอ้อน บริษัทผลิตผงซักฟอกจากญี่ปุ่น ก็จดทะเบียนอยู่ที่ 4 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุนทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ที่ 50:50 เช่นเดียวกัน และแม้จะเริ่มต้นด้วยทุนที่ไม่มากนัก แต่ปัจจุบันทั้ง 2 บริษัทได้กลายเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่
 "ผมไม่มีเงินสดมากมาย ด้วยความที่ยังเป็นบริษัทเล็ก ก็ใช้วิธีจดทะเบียนแล้วก็กู้เงิน แล้วก็ค่อยๆ สร้างธุรกิจ ตามนโยบายมีเยอะทำเยอะ มีน้อยทำน้อย สิ่งที่ผ่านมาทำให้ผมมีความเข้าใจเอสเอ็มอีมาก ผมเคยบอกว่าเอสเอ็มอีเมืองไทย หากต้องการทำใหญ่ก็ต้องรู้จักทำเล็กๆ มาก่อน เพราะว่าเราไม่เหมือนกับต่างชาติที่มีอุตสาหกรรมมาเป็น 100 ปี เขามีพื้นฐาน มีคนที่มีความรู้ในการบริหาร สามารถที่จะทำให้ใหญ่โตได้ แต่เมืองไทยบุคลากรไม่มี เทคนิคก็ไม่มี ถ้าเราคิดจะทำใหญ่โดยไม่มีองค์ความรู้ โอกาสที่จะผิดพลาดจะมีสูง สู้เราตั้งเล็กๆ แล้วทดลอง ทำสำเร็จค่อยขยายตัว เช่นนี้จะมีความสำเร็จมากกว่า เพราะฉะนั้นผมเห็นใจเอสเอ็มอีไทยในปัจจุบันที่ขาดทั้งคนและเงิน ความรู้สึกอันนี้ผมผ่านมาแล้ว ผมสามารถที่จะหาวิธีหมุนเงิน กู้เงิน และทำให้เกิดขึ้นได้จริง"
  ประธานเครือสหพัฒน์ฉายภาพถึงการดำเนินธุรกิจในสมัยก่อนว่า ปัญหาหนึ่งที่องค์กรขนาดเอสเอ็มอีต้องประสบคือ เวลาที่ค้าขายแล้วต้องปล่อยบัญชีเพื่อไปเก็บเงิน ด้วยความที่เป็นคนจีนด้วยกัน ทำให้ร้านค้าต่างๆ ที่มาซื้อของจากบริษัทจะขอผ่อนผัน ยืดเวลาการจ่าย ส่งผลให้เป็นภาระกับสหพัฒน์ที่ต้องไปกู้เงินธนาคารเพื่อนำมาหมุนเวียนใน บริษัท หากเทียบกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยสมัยนั้นจะมีกฎเกณฑ์ ที่ตายตัว คือลูกค้าหรือทางร้านค้าต่างๆ ต้องจ่ายเงินตามบัญชีให้ตรงเวลา ไม่กล้ายืดเยื้อ
 "สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องกู้เงินอยู่ตลอดเวลา ลงทุนก็กู้เงิน ปล่อยบัญชีก็กู้เงิน กลายเป็นว่า "นายหมุน" กับอุตสาหกรรม จนกระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ช่วงนั้นทุกคนกู้เงินต่างประเทศเยอะก็ได้รับความเสียหาย ในเครือก็เสียหาย ผมก็วิเคราะห์แล้วประกาศเป็นนโยบายว่า ต่อไปนี้ทำธุรกิจอย่ากู้เงินนอก หลังจากนั้นเรารีบคืนเงินกู้ต่างประเทศให้หมด สิ่งที่ผมเรียนรู้ขณะนั้นคือหากใช้ความอดทนอีกนิด ตลาดจะใหญ่ขึ้น ถ้าเราอดทนผ่านพ้นวิกฤต ในที่สุดเราก็รอดจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นได้"
 ความ เป็นเถ้าแก่ของคนตระกูลโชควัฒนาที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก โดยเฉพาะ "บุณยสิทธิ์" บุตรชายคนที่ 3 ที่ถูกฝึกฝนในการบริหารจัดการ การค้าขาย มาตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านประสบการณ์การติดต่อค้าขายกับคนญี่ปุ่น เมื่อครั้งที่ถูกนายห้างเทียมส่งไปดูแลการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาจำหน่ายในไทยเป็นเวลาถึง 6 ปี ทำให้เขาได้สั่งสมประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย นอกจากสไตล์คนจีนที่ขยันขันแข็ง การทำงานค้าขายแบบไทย ยังผสมผสานความเป็นสไตล์ญี่ปุ่น ที่สามารถนำมาผนึกกันได้อย่างลงตัว
 "ผม มีความรู้น้อย ผมไม่ได้เรียนหนังสือต่างประเทศ ผมไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เข้าโรงเรียนชั้นสูงในเมืองไทยด้วย ภาษาจีนก็ครึ่งๆ กลางๆ ภาษาไทยก็ครึ่งๆ กลางๆ ไปญี่ปุ่น 6 ปี ภาษาญี่ปุ่นก็ครึ่งๆ กลางๆ แต่อาศัยหลายๆ ภาษามิกซ์กัน เพราะฉะนั้นแนวคิดของผม อเมริกาก็ไม่ใช่ ญี่ปุ่นก็ไม่มี คนไทยก็ไม่มี สไตล์ของผมดูที่ไหนที่ดี ผมเอามาใช้หมด ไม่ใช่ว่ามีเรียนจากโรงเรียนชั้นสูงมา มีสไตล์การทำงานแบบนี้ ผมไม่มี ผมเอาประสิทธิภาพกับความรวดเร็ว และวิเคราะห์เหตุการณ์ว่าช่วงนั้นเหมาะสมหรือเปล่า"
 เขาสรุป สไตล์การบริหารของตัวเองอย่างสั้นๆ ง่ายๆ ว่าเป็นคนที่ไม่เคยอยากเด่นดัง แต่อยากจะทำอะไรจากเล็กๆ แล้วค่อยๆ โต เรียนรู้จากประสบการณ์ไปเรื่อยๆ
 และคำคำหนึ่งที่เขาจำขึ้นใจจากคำสอนของนายห้างเทียม คือการทำงานต้องรู้จัก "เร็ว ช้า หนัก เบา" ดูเหมือนเป็น 4 คำง่ายๆ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา ถึงขณะนี้เขาเองก็ไม่กล้ากล่าวได้อย่างเต็มปากว่ารู้ซึ้งถึงคำสอนนี้ ด้วยทั้ง 4 คำนี้ไดนามิกมาก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องใช้การวิเคราะห์ทุกอย่าง จะเร็ว ช้า หนัก หรือเบา
 "บังเอิญ ผมไม่ได้เรียนหนังสือ ก็เลยพยายามหัดวิธีทำธุรกิจโดยไม่อาศัยหนังสือเป็นหลัก ผมอยู่ญี่ปุ่น ได้ไปเรียนรู้การเล่นโกะ ซึ่งสอนเรื่องความเป็นระบบ หากจะเรียนรู้เรื่องการบริหารต้องเรียนโกะ ขณะนั้นกว่าผมจะรู้ว่าโกะคืออะไร ต้องใช้เวลา 2 ปี สิ่งที่ผมจำขึ้นใจคือทฤษฎีการเล่นโกะ ที่ไม่ได้สอนให้คนเอาชนะอย่างเดียว แต่ต้องรู้จักแพ้ รู้จักชนะ"
 สิ่งที่หัวเรือใหญ่สหพัฒน์นำมาเป็นข้อคิดจนถึงทุกวันนี้ คือคำที่ว่า "แพ้คือชนะ ชนะคือแพ้" ที่สำคัญทำให้เขาเข้าใจว่า เวลาเราชนะไม่ได้ถือว่าสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นจะวัดได้ก็ต่อเมื่อเกมจบแล้ว และไม่ได้หมายความว่าได้แต้มเยอะจะชนะ แต่แพ้ชนะวัดกันเพียง 1 เม็ดก็เพียงพอ นั่นคือตาสุดท้ายเราเป็นฝ่ายชนะหรือไม่
 ข้อคิดจากโกะ นี้ เขาได้นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ก็คือปัจจุบันในอายุ 72 ปี ด้วยจำนวนธุรกิจที่มากมาย ข้างนอกดูว่าสำเร็จ แต่ "บุณยสิทธิ์" กลับมองว่ายังไม่ถึงเกมสุดท้าย จะวัดกันจริงๆ จะต้องดูว่าถ้าเม็ดสุดท้ายที่วางลงไปแล้วเป็นอย่างไร จากนั้นทุกคนจึงมาวิเคราะห์สิ่งที่ผมเล่นมาใช้ได้หรือไม่ "ชนะหรือแพ้"
 "ถึง ในช่วงเวลานี้ ถึงแม้ผม 72 ก็จริง แต่ผมไม่ได้นึกว่าผมทำธุรกิจสำเร็จ ผมยังคิดว่าผมต้องระมัดระวัง และยังต้องพยุงธุรกิจของเครือสหพัฒน์ต่อๆ ไป"
 นั่นเป็นสิ่งที่เขาเน้นย้ำเสมอ


เครือสหพัฒน์ โตแบบเอสเอ็มอี สร้างธุรกิจด้วย 2 มือ "จากเล็กสู่ใหญ่"

จาก ประชาชาติธุรกิจ



เครือ สหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจเมืองไทย ที่มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 300 บริษัท ในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นจริงๆ แล้วย้อนกลับไปเมื่อกว่า 65 ปีก่อน หลายคนไม่คาดคิดว่ายักษ์ใหญ่รายนี้เริ่มต้นจากเพียงร้านขายของชำในย่านสำ เพ็งแต่ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้ก่อตั้ง อย่าง นายห้างเทียม โชควัฒนา จนมาสู่การสร้างธุรกิจเล็กๆ ในนามบริษัท

"สหพัฒนพิบูล"

ด้วย ความกล้าบวกกับการสไตล์การทำงานที่ทำทุกสิ่งด้วยความระมัดระวังแบบพอเพียง ส่งให้สหพัฒน์ก้าวจากบริษัทหนึ่งสู่อีกบริษัทหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ตามวิสัยทัศน์ของ "เทียม โชควัฒนา" จนมาสู่ทายาทซึ่งเป็นผู้สืบทอดธุรกิจแสนล้านในปัจจุบัน อย่าง "บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" ที่ยังคงยึดนโยบายนี้อย่างเหนียวแน่น

ในโอกาสเปิดตัว หนังสือ "จากธุรกิจ SMEs สู่อาณาจักร แสนล้าน" ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "พีเพิล มีเดีย" ประธานเครือสหพัฒน์ "บุณยสิทธิ์" ได้เล่าที่มาที่ไป และจุดเริ่มต้นของอาณาจักรที่เขาเป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบันไว้อย่าง น่าสนใจ โดยเฉพาะประโยคออกตัวที่ว่า เครือสหพัฒน์จากมุมมองคนข้างนอกที่มอง เข้ามาจะรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่โต แต่จริงๆ แล้วสำหรับตัวเขาแล้วยังรู้สึกว่าเล็กมาก

"ที่ทุกคนมองว่าใหญ่ก็ เพราะว่า ผมเอาบริษัทหลายๆ บริษัทมารวมพลังเข้าด้วยกัน แต่ละบริษัทที่ผมก่อตั้งขึ้นมาก็เป็น เอสเอ็มอีมาก่อนทั้งนั้น อย่าง ไอ.ซี.ซี.ที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดี๋ยวนี้ ย้อนไปช่วง 40 ปีก่อน ผมตั้งขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน เพียง 1 แสน แต่เราไม่ใช่บริษัทที่มีเงินมากมายก็ต้องพยายามหมุน ช่วงเวลานั้นการทำธุรกิจยิ่งยากกว่าเอสเอ็มอีปัจจุบันเสียอีก เพราะทำธุรกิจแบบ "นายหมุน" เอาเงินหมุนให้เร็วที่สุด ต้องรู้จักเทคนิคในการหมุนเงิน ไม่มีเงินสดก็ต้องกู้บ้าง"

ดังนั้น เอง เครือสหพัฒน์ที่ "บุณยสิทธิ์" ก่อตั้งขึ้นมาจึงไม่มีบริษัทใหญ่ และแม้ช่วงนั้นจะมี "บีโอไอ" ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว แต่ทางสหพัฒน์ก็ไม่เคยได้ใช้บริการสำนักงานนี้แม้แต่น้อย ด้วยยึดนโยบายจากเล็กไปสู่ใหญ่ ทำให้บริษัทที่จดทะเบียนต่างเป็นองค์กรขนาดเล็กทั้งสิ้น

เขายก ตัวอย่าง "วาโก้" ที่เกิดจากการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น ด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท ในสัดส่วน 50:50 เช่นเดียวกับ ไลอ้อน บริษัทผลิตผงซักฟอกจากญี่ปุ่น ก็จดทะเบียนอยู่ที่ 4 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุนทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ที่ 50:50 เช่นเดียวกัน และแม้จะเริ่มต้นด้วยทุนที่ไม่มากนัก แต่ปัจจุบันทั้ง 2 บริษัทได้กลายเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่

"ผมไม่มีเงินสดมากมาย ด้วยความที่ยังเป็นบริษัทเล็ก

ก็ใช้วิธีจดทะเบียนแล้วก็กู้เงิน แล้วก็ค่อยๆ สร้างธุรกิจ ตามนโยบายมีเยอะทำเยอะ มีน้อยทำน้อย สิ่งที่ผ่านมาทำให้ผมมีความเข้าใจ

เอส เอ็มอีมาก ผมเคยบอกว่าเอสเอ็มอีเมืองไทย หากต้องการทำใหญ่ก็ต้องรู้จักทำเล็กๆ มาก่อน เพราะว่าเราไม่เหมือนกับต่างชาติที่มีอุตสาหกรรมมาเป็น 100 ปี เขามีพื้นฐาน มีคนที่มีความรู้ในการบริหาร สามารถที่จะทำให้ใหญ่โตได้ แต่เมืองไทยบุคลากรไม่มี เทคนิคก็ไม่มี ถ้าเราคิดจะทำใหญ่โดยไม่มีองค์ความรู้ โอกาสที่จะผิดพลาดจะมีสูง สู้เราตั้งเล็กๆ แล้วทดลอง ทำสำเร็จค่อยขยายตัว เช่นนี้จะมีความสำเร็จมากกว่า เพราะฉะนั้นผมเห็นใจเอสเอ็มอี ไทยในปัจจุบันที่ขาดทั้งคนและเงิน ความรู้สึกอันนี้ผมผ่านมาแล้ว ผมสามารถที่จะหาวิธีหมุนเงิน กู้เงิน และทำให้เกิดขึ้นได้จริง"

ประธาน เครือสหพัฒน์ฉายภาพถึงการดำเนินธุรกิจในสมัยก่อนว่า ปัญหาหนึ่งที่องค์กรขนาดเอสเอ็มอีต้องประสบคือ เวลาที่ค้าขายแล้วต้องปล่อยบัญชีเพื่อไปเก็บเงิน ด้วยความที่เป็นคนจีนด้วยกัน ทำให้ร้านค้าต่างๆ ที่มาซื้อของจากบริษัทจะขอผ่อนผัน ยืดเวลาการจ่าย ส่งผลให้เป็นภาระกับสหพัฒน์ที่ต้องไปกู้เงินธนาคารเพื่อนำมาหมุนเวียนใน บริษัท หากเทียบกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยสมัยนั้นจะมีกฎเกณฑ์ ที่ตายตัว คือลูกค้าหรือทางร้านค้าต่างๆ ต้องจ่ายเงินตามบัญชีให้ตรงเวลา ไม่กล้ายืดเยื้อ

"สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องกู้เงินอยู่ตลอดเวลา ลงทุนก็กู้เงิน ปล่อยบัญชีก็กู้เงิน กลายเป็นว่า "นายหมุน" กับอุตสาหกรรม จนกระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ช่วงนั้นทุกคนกู้เงินต่างประเทศเยอะก็ได้รับความเสียหาย ในเครือก็เสียหาย ผมก็วิเคราะห์แล้วประกาศเป็นนโยบายว่า ต่อไปนี้ทำธุรกิจอย่ากู้เงินนอก หลังจากนั้นเรารีบคืนเงินกู้ต่างประเทศให้หมด สิ่งที่ผมเรียนรู้ขณะนั้นคือหากใช้ความอดทนอีกนิด ตลาดจะใหญ่ขึ้น ถ้าเราอดทนผ่านพ้นวิกฤตในที่สุดเราก็รอดจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นได้"

ความ เป็นเถ้าแก่ของคนตระกูลโชควัฒนาที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก โดยเฉพาะ "บุณยสิทธิ์" บุตรชายคนที่ 3 ที่ถูกฝึกฝนในการบริหารจัดการ การค้าขาย มาตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านประสบการณ์การติดต่อค้าขายกับคนญี่ปุ่น เมื่อครั้งที่ถูกนายห้างเทียมส่งไปดูแลการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาจำหน่ายในไทยเป็นเวลาถึง 6 ปี ทำให้เขาได้สั่งสมประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย นอกจากสไตล์คนจีนที่ขยันขันแข็ง การทำงานค้าขายแบบไทย ยังผสมผสานความเป็นสไตล์ญี่ปุ่น ที่สามารถนำมาผนึกกันได้อย่างลงตัว

"ผมมีความรู้น้อย ผมไม่ได้เรียนหนังสือต่างประเทศ

ผม ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เข้าโรงเรียนชั้นสูงในเมืองไทยด้วย ภาษาจีนก็ครึ่งๆ กลางๆ ภาษาไทยก็ครึ่งๆ กลางๆ ไปญี่ปุ่น 6 ปี ภาษาญี่ปุ่นก็ครึ่งๆ กลางๆ แต่อาศัยหลายๆ ภาษามิกซ์กัน เพราะฉะนั้นแนวคิดของผม อเมริกาก็ไม่ใช่ ญี่ปุ่นก็ไม่มี คนไทยก็ไม่มี สไตล์ของผมดูที่ไหนที่ดี ผมเอามาใช้หมด ไม่ใช่ว่ามีเรียนจากโรงเรียนชั้นสูงมา มีสไตล์การทำงานแบบนี้ ผมไม่มี ผมเอาประสิทธิภาพกับความรวดเร็ว และวิเคราะห์เหตุการณ์ว่าช่วงนั้นเหมาะสมหรือเปล่า"

เขาสรุปสไตล์ การบริหารของตัวเองอย่างสั้นๆ ง่ายๆ ว่าเป็น คนที่ไม่เคยอยากเด่นดัง แต่อยากจะทำอะไรจากเล็กๆ แล้วค่อยๆ โต เรียนรู้จากประสบการณ์ไปเรื่อยๆ

และคำคำหนึ่งที่เขาจำขึ้นใจจากคำสอนของนายห้างเทียม

คือการทำงานต้องรู้จัก "เร็ว ช้า หนัก เบา" ดูเหมือนเป็น

4 คำง่ายๆ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา ถึงขณะนี้เขาเองก็ไม่กล้ากล่าว

ได้ อย่างเต็มปากว่ารู้ซึ้งถึงคำสอนนี้ ด้วยทั้ง 4 คำนี้ไดนามิกมาก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องใช้การวิเคราะห์ทุกอย่าง จะเร็ว ช้า หนัก หรือเบา

"บังเอิญ ผมไม่ได้เรียนหนังสือ ก็เลยพยายามหัดวิธีทำธุรกิจโดยไม่อาศัยหนังสือเป็นหลัก ผมอยู่ญี่ปุ่น ได้ไปเรียนรู้การเล่นโกะ ซึ่งสอนเรื่องความเป็นระบบ หากจะเรียนรู้เรื่องการบริหารต้องเรียนโกะ ขณะนั้นกว่าผมจะรู้ว่าโกะคืออะไร ต้องใช้เวลา 2 ปี สิ่งที่ผม จำขึ้นใจคือทฤษฎีการเล่นโกะ ที่ไม่ได้สอนให้คนเอาชนะอย่างเดียว แต่ต้องรู้จักแพ้ รู้จักชนะ"

สิ่งที่หัวเรือใหญ่สหพัฒน์นำมาเป็น ข้อคิดจนถึงทุกวันนี้ คือคำที่ว่า "แพ้คือชนะ ชนะคือแพ้" ที่สำคัญทำให้เขาเข้าใจว่า เวลาเราชนะ ไม่ได้ถือว่าสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นจะวัดได้ก็ต่อเมื่อเกมจบแล้ว และไม่ได้หมายความว่าได้แต้มเยอะจะชนะ แต่แพ้ชนะวัดกันเพียง 1 เม็ดก็เพียงพอ นั่นคือตาสุดท้ายเราเป็นฝ่ายชนะหรือไม่

ข้อคิดจาก โกะนี้ เขาได้นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ก็คือปัจจุบันในอายุ 72 ปี ด้วยจำนวนธุรกิจที่มากมาย ข้างนอกดูว่าสำเร็จ แต่ "บุณยสิทธิ์" กลับมองว่ายังไม่ถึงเกมสุดท้าย จะวัดกันจริงๆ จะต้องดูว่าถ้าเม็ดสุดท้ายที่วางลงไปแล้วเป็นอย่างไร จากนั้นทุกคนจึงมาวิเคราะห์สิ่งที่ผมเล่นมาใช้ได้หรือไม่ "ชนะหรือแพ้"

"ถึง ในช่วงเวลานี้ ถึงแม้ผม 72 ก็จริง แต่ผมไม่ได้นึกว่าผมทำธุรกิจสำเร็จ ผมยังคิดว่าผมต้องระมัดระวัง และยังต้องพยุงธุรกิจของเครือสหพัฒน์ต่อๆ ไป"

นั่นเป็นสิ่งที่เขาเน้นย้ำเสมอ

view