สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รัฐบาลแจงทุกขั้นตอนฎีกา-ฮิวแมนไรท์ฯชี้ทั่วโลกรู้ทันทักษิณ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



"ปณิธาน"แจกเอกสารแจงทุกขั้นตอนถวายฎีา ต้องผ่านรัฐบาลเพื่อถวายความเห็น "ฮิวแมนไรท์วอชท์"ระบุทั่วโลกรู้ทัน"ทักษิณ"นักโทษหนีคดี ไม่ใช่วีรบุรุษ

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงขั้นตอนหลังจากที่กลุ่มเสื้อแดงยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษพ .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้นำเอกสารแผนผังขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.259 , ม.261 และ ม.261 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับ ที่ 23) พ.ศ.2548 มาแจกจ่ายกับสื่อมวลชน

โดย ม.259 เป็นการยื่นโดยผู้ต้องโทษเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วหรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยว ข้อง ม.261 กรมราชทัณฑ์เป็นฝ่ายรวบรวมข้อมูลของผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดที่สมควรจะ ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอให้พระราชทานอภัยโทษกรณีไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว และม.261 ทวิ เป็นกรณีที่รัฐบาลเห็นเป็นการสมควรให้มีการพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมงคลและวาระสำคัญของบ้านเมืองในโอกาสต่างๆ ตามที่กระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ เสนอให้มีโครงการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องหาราชทัณฑ์

นายปณิธาน กล่าวว่า ขั้นตอนตาม ม.259 ระบุว่า ผู้ต้องโทษเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วหรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่น ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่าน 4 ช่องทางประกอบด้วย 1.เรือนจำ 2.กระทรวงยุติธรรม 3.สำนักราชเลขาธิการ และ 4.กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกรณีจะเป็นชาวต่างชาติ โดยเรื่องราวที่ทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษทุกเรื่องไม่ว่าจะยื่น ผ่านหน่วยงานใดจะต้องส่งเรื่องให้เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้อง โทษดำเนินการสอบสวนและรวบรวมเอกสารทุกกรณี จากนั้นกรมราชทัณฑ์จะส่งต่อให้กระทรวงยุติธรรม แล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายลงนามแล้วส่งต่อไป ยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย จากนั้นจะแจ้งผลฎีกาไปยังสำนักเลขาธิการครม. โดยนายกฯหรือรองนายกฯลงนาม แล้วจึงส่งต่อไปยังกระทรวงยุติธรรมหรือกรมราชทัณฑ์ ก่อนที่จะเชิญพระราชหัตถเลขาพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวหรือลดโทษหรือคำสั่งยก ฎีกาให้เรือนจำหรือทัณฑสถาน แจ้งผู้ฎีกาทราบและดำเนินการตามพระราชหัตถเลขาหรือคำสั่งยกฎีกา

"แต่เดิมกฎหมายกำหนดให้ยื่นถวายฎีกา ผ่านกรมราชทัณฑ์เพียงแห่งเดียว แต่ต่อมาในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ได้โอนกรมราชทัณฑ์ ให้เป็นหน่วยงานที่ขึ้นกับกระทรวงยุติธรรม รัฐบาลขณะนั้นจึงแก้ไขกฎหมายให้ยื่นถวายฎีกาผ่านรมว.กระทรวงยุติธรรมโดยตรง ได้อีกทางหนึ่ง สำหรับหน้าที่ของรัฐบาลคือ 1.ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าฎีกาที่ยื่นมานั้นเป็นฎีกาประเภทไหน 2.รวบรวมเอกสาร และ 3.ถวายความเห็น ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ก็จะถวายความเห็นไปตามนั้น ระหว่างนี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนไม่ให้เกิดความ สับสน” โฆษกรัฐบาล กล่าว

ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เรียกร้องให้พิจารณาโดยใช้หลักรัฐศาสตร์ ไม่ใช่หลักนิติศาสตร์ เพียงอย่างเดียว โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นฎีกาฉบับจริง แต่การถวายฎีกาครั้งนี้มีเรื่องที่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ดังนั้นต้องว่ากันตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่าต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างเรื่องทางกฎหมายกับเรื่องที่เกี่ยวกับ การบริหาร จะต้องไม่ให้สองสิ่งผสมปนเปกันเพราะจะทำให้เกิดความสับสน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเมินหรือไม่ว่าการที่สำนักราชเลขาฯส่งเรื่องกลับมายังรัฐบาลจะเข้าเกมของ เสื้อแดงที่ต้องการกดดันรัฐบาล นายปณิธาน กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นขั้นตอนทางกฎหมายรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมก็ชี้แจงแล้วว่าการ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษมีกฎหมายควบคุม ซึ่งรัฐบาลก็ปฏิบัติโดยใช้มาตรฐานเดียว

ตัวแทนฮิวแมนไรท์วอชท์ฯ ระบุรัฐบาลทั่วโลกรู้แกว"ทักษิณ"

นายสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอชประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับสากล กล่าวถึงมุมมองของฮิวแทนไรท์วอชในการจับตาดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อ แดงที่ชุมนุมเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้อดีตนายกฯเมื่อวานนี้ ว่า เป็นโชคดีที่ไม่มีการขยายตัวไปเป็นความรุนแรง เพราะยังมีความกังวลอยู่จากนานาชาติเพราะจากเหตุการณ์เดือนเมษายน รวมทั้งเหตุการณ์ของปี 51 ทั้งปี และเมื่อไม่เกิดความรุนแรงขึ้นก็เป็นเรื่องดี

"และถ้ามองจากจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนก็ ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของการตรวจสอบตามกระบวนการตามกฎระเบียบที่มีอยู่ ทางฝ่ายผู้ที่จะยื่นก็ให้เขายื่น และให้กระบวนการตรวจสอบทางซีกรัฐบาลตรวจสอบว่าเขายื่นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องชี้แจงว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และฝ่ายผู้ยื่นก็คงต้องยอมรับกติกา ซึ่งรัฐบาลก็มีเวลาอยู่อย่างน้อยก็ 2 เดือนในการพิจารณาเรื่องนี้" นายสุณัย กล่าว

นายสุณัย กล่าวอีกว่า ตนขอเสนอให้มีคนกลางของสังคมในการที่จะออกมาเป็นกรรมการให้สังคมในการให้ ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องของขั้นตอนการถวายฎีกา ที่ไม่ใช่คนของเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งตนมองว่าราชบัณฑิตเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางและมีคนที่มีความรู้ ความสามารถจำนวนมาก ดังนั้นตนจึงขอเสนอให้ราชบัณฑิตช่วยเป็นอนุกรรมการเล็กๆในสังคมเพื่อให้ความ รู้กับสังคมด้วย

เมื่อถามว่าถ้ามองในมิติของกติกาสากล กลุ่มคนเสื้อแดงทำถูกต้องหรือไม่ นายสุณัย กล่าวว่า ถ้าไม่ได้มองในกรอบกฎหมายไทยแต่มองแบบสากลก็จะเป็นเรื่องของการชุมนุมทางการ เมือง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างสันติ เพราะเขาสามารถคุมตัวเองได้ และนี่เป็นการปรับตัวของเสื้อแดงจากช่วงเดือนเดือนเมษายนที่มีการใช้ความ รุนแรงซึ่งส่วนของการชุมนุมก็ผ่านไป แต่เรื่องของการยื่นฎีกาได้ผ่านพ้นมาอยู่ในมือของรัฐบาล และก็เป็นภาระของรัฐบาลว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร แต่อย่างไรก็ตามมีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ที่พรรคภูมิใจไทยจะมีการจัด ตั้งมวลชนมาเผชิญหน้า คัดค้านกัน นานาชาติกลัวว่าจะมีการนำม๊อบมาชนม๊อบแต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไร

เมื่อถามถึงความชอบธรรมในการยื่นฎีกา ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯในสายตานักสิทธิมนุษยชนนานาชาติมองอย่างไร ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอช กล่าวว่า สถานะของพ.ต.ท.ทักษิณ ตอนนี้เป็นนักโทษหนีคดี และในสายตานานาชาติเขาไม่ได้เป็นวีรบุรุษ แต่เป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษชนอย่างร้ายแรง ซึ่งตอนนี้ประเทศตะวันตกแทบจะทุกประเทศมองพ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นคนที่ละเมิด สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จากรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด จากกรณีการละเมิดสิทธิ์ในภาคใต้ จากการคุกคามสื่อ ซึ่งคุณทักษิณมีบัญชีติดตัวอยู่ในเรื่องนั้น

"ฉะนั้นตั้งข้อสังเกตได้เลยว่าคุณ ทักษิณทำไมถึงเคลื่อนไหวในประเทศตะวันตกไม่ได้แล้ว ถึงต้องไปในประเทศที่เขาไม่แคร์เรื่องสิทธิมนุษยชน อย่างดูไบเขาไม่แคร์เรื่องสิทธิมนุษยชน สื่อดูไบก็ไม่วิจารณ์คุณทักษิณ แต่ลองถ้าคุณทักษิณไปอยู่ประเทศอังกฤษเหมือนที่เคยอยู่สิ ดังนั้นอันนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งว่าทำไมต้องอยู่ในดูไบ หรือขุดทองที่ไลบีเรีย ที่มีอดีตประธานาธิบดีฆ่าคนเป็นอาหารเช้า ดังนั้นคุณทักษิณจึงเคลื่อนตัวอยู่ในประเทศเหล่านี้ที่มีการปกครองยังไม่ โปร่งใส ไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นประเทศที่รัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนตรวจ สอบอย่างเต็มที่ คุณทักษิณจึงมีเกราะคุ้มกันในการเป็นฐานเคลื่อนทางการเมืองได้ แต่ถ้าคุณทักษิณไปอยู่ประเทศแถบตะวันตกแล้วเป็นคนที่มีหมายจับแบบนี้เขาก็คง จะต้องตรวจสอบว่าเข้ามาอยู่ประเทศเข้าได้อย่างไร" นายสุณัย กล่าว

เมื่อถามว่าแต่มีอีกมิติหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มักจะอ้างคือถูกยึดอำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ถูกละเมิดสิทธิ์ นายสุณัย กล่าวว่า เรื่องของการถูกยึดอำนาจก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นการสูญเสียอำนาจด้วยความไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนประเภทไหน ตอนนี้ประเทศตะวันตกเขารู้ทันแล้ว ว่าเป็นคนที่ได้อำนาจมาจากเลือกตั้งก็จริง แต่หลังจากนั้นก็ละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดจนถึงวันสุดท้ายที่ตกจากอำนาจ ก็ยังไม่รับผิดว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัดตอนประชาชนในประเทศ ทั้งที่นานาชาติมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จนทำให้ประเทศไทยถูกเพ่งเล็ง ถูกเข้มงวดในการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมทหาร -ตำรวจ และเรื่องของการซื้อขายอาวุธ ซึ่งถูกจำกัดเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ

เมื่อถามว่ามองเรื่องของการละเมิดสิทธิ มนุษยชนของรัฐบาลนี้ในรอบ 8 เดือนอย่างไร นายสุณัย กล่าวว่า รัฐบาลนี้เปิดตัวด้วยการพูดในแง่ของนโยบาย สัญญาประชาคมด้านสิทธิมนุษยชน แต่เนื่องจากสภาพที่แกว่งจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองทำให้งานด้านนี้ยัง ไม่เห็นการติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม

"คนที่มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนชัดเจน ที่สุดกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว ขณะที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหมที่ดูแลงานด้านสิทธิมนุษยชนทางภาคใต้หายไปเลย" นายสุณัย กล่าว

view