สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด ๑๕ลักษณะต้องห้ามของคนทำงานธุรกิจหลักทรัพย์ แค่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ไม่สุจริตหรือฉ้อฉล อาจจบเห่?

จากประชาชาติธุรกิจ



ประชาชาติออนไลน์ เปิดลักษณะต้องห้าม ๑๕ ประการ ของคนงานธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด ใช้บังคับ วันพรุ่งนี้ เพื่อความโปร่งใส และขจัดผลประโยชน์ทับซ่อนระหว่างประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตัว แค่มีเหตุอันควรเชื่อว่า"ไม่สุจริตหรือฉ้อฉล" อาจถูก เพิกถอน ทะเบียนได้

ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ รายงานว่า วันที่  ๑ กันยายน  ศกนี้  ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว   ประกาศฉบับนี้   ออกตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นการปรับปรุงประกาศเดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว   @   บุคคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์หมายถึงใครบ้าง ?
ประกาศฉบับนี้ ใช้บังคับ กับ  "บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์" ซึ่ง หมายความถึง  


(ก) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจ หลักทรัพย์ในตำแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การชักชวนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การบริหารจัดการธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตำแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงาน หรือขึ้นทะเบียน กับสำนักงาน หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด


(ข) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ ในการรับฝากทรัพย์สินหรือดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตำแหน่งหรือลักษณะงานอื่น ในทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่ มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
นอกจากนี้ ยังรวมถึง  "บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า"  ที่หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตำแหน่งหรือลักษณะงานที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การวิเคราะห์สัญญา ซื้อขายล่วงหน้า การชักชวนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตำแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทำนองเดียวกันซึ่งเป็นตำแหน่งหรือลักษณะงาน ที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน หรือขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด


@ ลักษณะต้องห้าม ๑๕ ประการ
ลักษณะ ต้อง ห้าม ๑๕ ประการของ บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ มีดังนี้ 


(๑) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ


(๒) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน


(๓) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต


(๔) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน


(๕) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของสำนักงานให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการ ปฏิบัติงานในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็น บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้า
 

(๖) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของสำนักงานให้ถอนรายชื่อจากระบบ ข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม


(๗) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งขององค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่าง ประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงาน ใด ซึ่งเทียบได้กับการเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้าหรือสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า


(๘) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินโดยมีส่วนก่อให้เกิดความ เสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดัง กล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดำเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน ไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่ม ทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน หรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการกำกับตลาดทุน


(๙) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตาม (๓) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับ เนื่องจากการกระทำความผิดตาม (๓)


(๑๐) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ ต้องปฏิบัติงาน หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ต่อผู้ใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจบริการ ทางการเงินอื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น


(๑๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐาน ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานหรือสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น


(๑๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉล ต่อผู้อื่นหรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือ

สนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคล อื่น


(๑๓) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือ การเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น


(๑๔) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็น เท็จในสาระสำคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ควรบอกให้แจ้งใน เอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับตลาดทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต.หรือต่อองค์กรที่มีอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำ ดังกล่าวของบุคคลอื่น


(๑๕) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตาม สมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอำนาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้ การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทำการใดหรืองดเว้นกระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะการดำเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น


@ ใครมีลักษณะต้องห้าม... ห้ามขึ้นทะเบียน
ทั้ง นี้  ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์คนใดมีลักษณะต้อง ห้าม  สำนักงานจะไม่ให้ความเห็นชอบ หรือไม่ขึ้นทะเบียน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตำแหน่ง นั้น   เว้นแต่กรณีที่ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่ สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ยื่นคำขอรับ ความเห็นชอบ หรือคำขอขึ้นทะเบียนต่อสำนักงาน หรือนับถึงวันที่เริ่มปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น สำนักงานจะใช้ ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้ บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ก็ได้ ในการนี้ สำนักงานจะกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้


@  15 ปี ชำระล้างความผิด
แต่ หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์คนใดมีลักษณะต้อง ห้ามตาม  ให้สำนักงานสั่งพัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว
เป็นระยะเวลาตามที่กำหนด แต่ไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สำนักงานมีคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) หรือ (๑๕) ให้สำนักงานมีอำนาจ ดำเนินการดังนี้
(๑) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว เกินกว่า สิบห้าปีนับถึงวันที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสำนักงาน สำนักงานจะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุ ในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจ หลักทรัพย์ก็ได้ หรือ
(๒) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลในกรณีนั้นมิได้มีลักษณะร้ายแรง ถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลัก ทรัพย์ สำนักงานจะกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังสามารถปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจ หลักทรัพย์ต่อไปก็ได้ ในกรณี เช่นว่านี้ สำนักงานจะสั่งภาคทัณฑ์บุคคลดังกล่าว หรือกำหนดให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เรื่องหนึ่งเรื่องใดด้วยก็ได้


@ แจ้งข้อมูลการสั่งพักงาน เพิกถอน ต่อสาธารณะ
และ ในกรณีมีเหตุสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณชน และประสิทธิภาพในการป้องปรามมิให้บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์กระทำการใดหรือ งดเว้นกระทำการใดอันจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในการปฏิบัติ งานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานจะดำเนินการแจ้งข่าวข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งพัก เพิกถอน หรือภาคทัณฑ์บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ต่อสาธารณชน หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้


@ ก่อนใช้ดุลยพินิจ ควรพิจารณา ๘ ประเด็น
ทั้ง นี้ การใช้ดุลพินิจสั่งการของสำนักงานคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สำนักงานสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาให้รวมถึง


(๑) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น


(๒) นัยสำคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


(๓) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม


(๔) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น


(๕) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทำหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำ เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอำพราง เป็นต้น


(๖) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ำ หรือต่อเนื่อง เป็นต้น


(๗) ความตระหนักของผู้กระทำในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น


(๘) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือดำเนิน การ การปิดบังอำพรางหรือทำลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ   เป็นต้น


และ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจสั่งการของสำนักงานตามประกาศนี้มีความชัดเจนและ ผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงใดที่อาจนำไปสู่การสั่งการที่ไม่เป็นคุณต่อบุคลากรใน ธุรกิจหลักทรัพย์คนใด ก่อนที่สำนักงานจะมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว สำนักงานต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและ เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงาน


ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานดังกล่าวอย่าง น้อยต้องกำหนดให้มีการแจ้งให้บุคคลที่อาจเป็นผู้รับการสั่งการนั้นได้ทราบ ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับข้อสงสัยถึงการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าว และแจ้งสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการชี้แจงและนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้าง ข้อสงสัยนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีข้อเท็จจริงที่แสดง ถึงการมีลักษณะต้องห้าม(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) หรือกรณีอื่นใดที่สำนักงานเห็นว่าได้ผ่านกระบวนวิธี พิจารณามาเพียงพอแล้ว

view