สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สัมปทานโทรคมนาคม เอกชนลงทุน โครงการรัฐที่เป็นจริง : นักกฎหมายโครงการ

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :วิโรจน์ พูนสุวรรณ:


เอกชน ลงทุน โครงการรัฐที่เป็นจริงใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสำหรับเทคโนโลยีรุ่นที่ 3 บนโทรศัพท์มือถือ และใบอนุญาตอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายไวแมกซ์ น่าที่จะเกิดขึ้นได้ในต้นปี 2553 หลังจากที่ได้มีการแก้ไขพ.ร.บ.ร่วมกิจการงาน พ.ศ. 2535 แล้ว หรือถ้าประเทศไทยโชคดีพออาจมีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นได้ เพื่อให้การลงทุนของเอกชนในโครงการรัฐทำได้โดยไม่ติดขัด ซึ่งรวมถึงใบอนุญาตโทรคมนาคมที่ยังออกไม่ได้เพราะติดบ่วงของกฎหมายร่วม กิจการงานอยู่

การให้ใบอนุญาตหรือสัมปทานการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ภายใต้พ.ร.บ.การ ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังพ.ร.บ.ร่วมกิจการงานนานมาก กฎหมายโทรคมนาคมฉบับนี้น่าจะระบุให้สัมปทานโทรคมนาคมเป็นอิสระตามกฎหมายของ ตนเองตั้งแต่แรก โดยยกเว้นไว้แจ้งชัดไม่ให้ไปขึ้นอยู่กับพ.ร.บ.ร่วมกิจการงาน

แต่ด้วยสาเหตุประการใดไม่ปรากฏ พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม ไม่ได้ดึงสัมปทานกลับมาไว้ในปกครองของตนเอง ก็เลยทำให้การปฏิบัติการตามพ.ร.บ.เกือบจะทำแทบไม่ได้ ต้องรอแก้กฎหมายร่วมกิจการงานก่อน ระหว่างรอปฏิรูปกฎหมาย สถานการณ์ก็เลยล่าช้าอีนุงตุงนังอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับนโยบายหุ้นส่วนระหว่างรัฐกับเอกชน ที่โหมโฆษณาคึกคักตื่นเต้นกันมาตั้งแต่ต้นปี อยู่ๆ ก็วูบลงไปเหลือมูลค่าโครงการเพียง 2.7 หมื่นล้านบาท ตาม ที่ประกาศลดขนาดโครงการไปเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ทำให้แฟนๆ ทั้งชาวไทย และต่างชาติผิดหวังไปตามๆ กัน

จึงเข้าใจกันว่าโครงการอภิมหาโปรเจกต์ เดินต่อไปไม่ได้ เพราะติดขัดที่พ.ร.บ.ร่วมกิจการงานที่ยังไม่มีใครกล้าไปแตะต้อง ภาคเอกชนจึงลดความคาดหมายลงมาตามสัดส่วน เหลือความหวังอยู่เพียงสัมปทาน 3จี กับไวแมกซ์ ซึ่งประเมินดูแล้วน่าจะเป็นการลงทุนของเอกชนในโครงการของรัฐที่เป็นจริงเป็น จังได้มากที่สุด และ น่าจะเกิดขึ้นก่อนโครงการรัฐ-เอกชนอื่นๆ

โชคดีที่ร่างพ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายร่วมกิจการงานฉบับล่าสุด มีบทบัญญัติแยกสัมปทานโทรคมนาคมออกไป ให้ไปขึ้นกับพ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคมโดยตรง ก็เลยคาดการณ์ได้ว่าการแก้กฎหมายจะเสร็จสมบูรณ์ไม่เกินต้นปีหน้า

หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของกฎหมายสองฉบับ ที่จะรับช่วงต่อไป คือพ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม กับพ.ร.บ.องค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2543

อำนาจของกทช. : กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ทับซ้อนกันอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปพ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคมจะเป็นเรื่องการดำเนินกิจการโทรคมนาคมของ ผู้ได้รับใบอนุญาต ส่วนพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่จะเน้นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งมีทั้งอำนาจในการกำกับดูแลและอำนาจในการออกใบอนุญาตและกฎระเบียบต่างๆ ระเบียบที่ออกโดยกทช.มีผลเป็นกฎหมาย มีบทกำหนดโทษจำคุกแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนโดย ที่ไม่ต้องผ่านรัฐสภา

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมตามพ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ก่อน คลื่นความถี่เป็นทรัพย์สินของชาติตามรัฐธรรมนูญ

การพิจารณาออกใบอนุญาตทั้งสองประเภท กทช.ใช้หลักประโยชน์สาธารณะเพื่อให้คนไทยจำนวนมากที่สุดได้ใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีการสื่อสารที่ ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเสียค่าบริการที่เป็นธรรม

หน้าที่อื่นของกทช.มีทั้งการส่งเสริมการแข่งขัน ป้องกันการผูกขาด และ การกระทำที่มีลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขัน หรือเอาเปรียบทางการค้า

หน้าที่ของกทช.อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือการสร้างโอกาสในทางเศรษฐกิจให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ๆ โดยการกำหนดมาตรการสนับสนุนและส่งเสริม ให้ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่มีโอกาสแข่งขันกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นได้อย่างมี ประสิทธิ ภาพและเท่าเทียม

การเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นสิ่งจำเป็น : การลงทุนสร้างโครง ข่ายโทรคมนาคมต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่เมื่อผู้รับใบอนุญาตสร้างโครงข่ายเสร็จแล้ว ต้องให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่นเชื่อมต่อโครงข่ายเข้ากับของตนได้ด้วย เพื่อให้การใช้บริการเป็นไปอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ การเรียกเก็บค่าตอบแทนการใช้และการเชื่อมต่อโครงข่ายต้องเป็นไปอย่างสมเหตุ สมผล

เงื่อนไขในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม อาจทำให้ผู้ลงทุน ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในโครงการทางสังคมที่ให้ผลตอบแทนต่ำ เพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือแก่ผู้ด้อย โอกาส แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้นกฎหมายก็กำหนดหลักไว้ว่า เงื่อนไขดังกล่าวต้องไม่ทำให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจแก่ผู้รับใบอนุญาตจนเกิน สมควร

โครงข่ายและอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงข่ายก็ต้องมีมาตรฐานทางเทคนิคตาม ที่กทช.กำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคมชัด ความสมบูรณ์ของเสียงและภาพ หรือในเรื่องอื่นๆ

สัญญาใดๆ ระหว่างผู้รับใบอนุญาตกับประชาชนผู้ใช้บริการทั่วไปต้องได้รับความเห็นชอบจา กกทช.ก่อน และระบุคำรับรองว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะไม่เรียกเก็บค่า ใช้จ่าย นอกเหนือจากค่าบริการที่ระบุในสัญญา ซึ่งจะสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่กทช.กำหนดไม่ได้

ข้อจำกัดการถือหุ้นของคนต่างด้าว : กิจการโทรคมนาคมถือเป็น ธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ที่บริษัทไทย เท่านั้นมีสิทธิประกอบกิจการนี้ คนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทของผู้ขอรับใบอนุญาตได้ แต่จะต้องไม่เกินร้อยละ 49 ตามเพดานที่กำหนดไว้ในกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

มีประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติว่า รู้ได้อย่างไรว่าคนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นแทนคนต่างชาติ และอย่างไรจึงจะถือว่าคนไทยเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริง ถามอย่างนี้ก็เหมือนแกล้งถาม ถ้าจะสืบสวนสอบสวนกันจริงๆ เดินตามรอยการเดินทางของเงินก็จะทราบโดยไม่ยาก

แต่ที่จะซับซ้อนขึ้นมาหน่อย ก็ในกรณีที่คนไทยที่ถือหุ้นนั้นมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี ซึ่งหากจะสืบสาวราวเรื่องกันอย่างจริงจังก็ไม่น่าจะเหลือบ่ากว่าแรง

เมื่อปี 2550 รัฐบาลชุดก่อนพยายามที่จะทำความกระจ่างในประเด็นที่ถกเถียงกัน โดยการแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่ก็กระทำไม่สำเร็จ เนื่องมาจากความกดดันที่ได้รับจากกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจ อยู่ในประเทศ

การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องข้อจำกัดการถือหุ้นของคนต่างด้าวก็ทำ ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากความกังวลว่า จะไปกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนของชาวต่างชาติในยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ประเด็นที่โต้แย้งกันดังกล่าว ยังไม่เคยเป็นข่าวว่าเป็นคดีเข้าสู่การตัดสินของศาล

รายละเอียดของแผนการลงทุน : ผู้ขอรับใบอนุญาตที่จะสร้างโครง ข่าย ขึ้นใหม่ ต้องยื่นแผนการลงทุนในรายละเอียดด้วย ว่ามูลค่าของโครงการทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าใด จะหาเงินทุนจากไหน จำนวนเท่าใด มาเป็นค่าหุ้น ส่วนที่เป็นเงินกู้มีเท่าใดจากแหล่งไหน กำหนดระยะเวลาและแผนการก่อสร้างเป็นเช่นไร พร้อมทั้งแนบรายการของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งโครงข่ายด้วย

กำหนดระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นจะจ่าย ค่าหุ้นในแต่ละงวดก็ควรระบุไว้ด้วย ตลอดจนวันที่คิดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินกู้สินเชื่อโครงการงวดแรก นอกจากนี้ ผู้ขอรับ ใบอนุญาตยังต้องยื่นแผนธุรกิจที่แสดงถึงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพด้วย

คำขอรับใบอนุญาตต้องระบุชัดเจนว่าขอรับใบอนุญาตชนิดไหน และต้องแจ้งลักษณะและประเภทกิจการโทรคมนาคม ที่ประสงค์จะดำเนินการด้วย

ถ้าจะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือ ก็ควรระบุว่า เป็นบริการโทรคมนาคมที่มีการสื่อสาร ทั้งทางเดียวและสองทางในพื้นที่ที่กำหนด ระหว่างโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องกับสถานีโครงข่ายภาคพื้นดินและจากการส่ง แพร่ หรือรับสัญญาณวิทยุโทรคมนาคม เป็นเสียง ภาพ ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นโดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตแล้ว

view