สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาลฎีกานักการเมืองฯยกฟ้องคดีทุจริตกล้ายาง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง พิพากษาจำเลย 44 คนทุจริตกล้ายาง ไม่มีความผิด

ศาล ฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาในคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ยื่นฟ้องจำเลย ประกอบด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ ในฐานะประธาน คชก., นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะ คชก., นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตร ฯ นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ, และนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกรวม 44 คน

ภายหลังจากที่องค์คณะผู้พิพากษาใช้เวลา อ่านคำพิพากษา 2 ชั่วโมง 30 นาที องค์คณะได้มีคำพิพากษายกฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการปลูกยางพารา ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกร ในแหล่งปลูกยางใหม่ภาคอีสานและภาคเหนือ และพวกรวม 44 คน ซึ่งประกอบกลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชนในความผิดที่ปปช.ยื่นฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 วรรค 157 เว้นวรรค 341 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล 2542) และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 กรณีที่มีการนำเงินของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไปใช้ในการจัดซื้อต้น กล้ายางพาราคา 1,440 ล้านบาท

ศาลวิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีความเป็นมา จากการที่รัฐบาลในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการที่จะพัฒนาการปลูกพืชผลด้านการเกษตร โดยการเสนอโครงการนั้นก็มิได้ เนินการโดยลำพังของนายเนวินจำเลยที่ 4  หรืออธิบดีกรมวิชาการเกษตรจำเลยที่ 19 แต่ยังได้มีหน่วยงานอื่น ร่วมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในครั้งนั้นด้วย ส่วนการประกวดราคากลุ่มเอกชน ก็ไม่ได้ทำการฝ่าฝืน เกี่ยวกับระเบียบการประกวดราคา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างใด

สำหรับคดีดังกล่าวนี้ได้มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษา อ้างว่ากำลังเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา


เนวิน-อดีตรมต.-บิ๊กขรก.-ซีพี รวม 44 รายรอด ศาลอาญาฯยกฟ้องคดีทุจริตกล้ายาง

จากประชาชาติธุรกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 21 กันยายน 2552 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดอ่านคำพิพากษา คดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้นมูลค่า 1,440 ล้านบาท เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษาจากวันที่ 17 สิงหาคมนั้น ปรากฏว่า จำเลย รวม 44 คน ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้บริหารบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ขาดเพียง นายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่ได้เดินทางมาร่วมฟังคำพิพาษา ในครั้งแรก และในครั้งนี้ด้วย   ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ16.45 น.ศาลได้อ่านคำพิพากษาโดยยกฟ้องจำเลยทั้ง 44 คน และไม่ต้องชดใช้เงินค่าเสียหายกรณีจัดโครงการประมูลกล้ายาง 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท  ส่วน นายอดิศัยไม่มาศาล ถือว่ารับทราบคำพิพากษาแล้ว

สำหรับจำเลยทั้ง 44 คนประกอบไปด้วย

กลุ่มที่ 1 (กลุ่มอดีตคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตร (คชก.) 1.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการการกลั่นกรอง และประธาน คชก.,
2.นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการ คชก.,
3.นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกรรมการ คชก. ,
4.นายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะกรรมการ คชก. ,
5.นายพิศิษฐ เศรษฐวงศ์ อดีตรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ,6. นายปริญญา อุดมทรัพย์ อดีตรองอธิบดีกรมการปกครอง , 7.นายราเชนทร์ พจนสุนทร อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ,8. น.ส.บุญมี เลิศพิเชษฐ ผู้อำนวยการกลุ่มงานเงินนอกงบประมาณ , 9.นางเสริมสุข ชลวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, 10.นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน , 11.นายกรณรงค์ ฤทธิ์ฤาชัย อดีตรองอธิบดีกรมการค้าภายใน , 12.นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อดีตอธิบดีกรมประมง ,13.น.ส.สุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทั้งหมดถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 151และ 157
   ส่วน14. น.ส.สุกัญญา โตวิวิชญ์ ผู้บริหารส่วนวิเคราะห์ สาขาเศรษฐกิจและ15.นายพิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ถูกฟ้องกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 83 ตามประมวลกฎหมายอาญา
 

กลุ่มที่ 2 16.นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11
 

กลุ่มที่ 3 (กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา)17.นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ,18. นายจิรากร โกศัยเสวี, 19.นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ,20. นายจำนง คงศิลป์ , 21.นายสุจินต์ แม้นเหมือน, 22.นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ,23.นายสมบัติ ยิ่งยืน ,24.นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11, 12 และมาตรา 83, 157 และ 341 ตามประมวลกฎหมายอาญา
 

กลุ่มที่ 4 (กลุ่มบริษัทเอกชน)
25.นายสกล บุญชูดวง ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด, 26.นายญาณกร สิงห์ชุม ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด, 27.นายสำราญ ชัยชนะ ผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด,28.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา ,29.บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด ,30.บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ในฐานะผู้เสนอราคา ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 4, 10, 11, 12, 13 และประมวลกฎหมายอาญา 86, 157, 341  

กลุ่มที่ 5 (กลุ่มกรรมการบริษัทเอกชน) 31.นายวัลลภ เจียรวนนท์ ,32.นายมิน เธียรวร, 33.นายประเสริฐ พุ่งกุมาร, 34.นายธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล,35.นายพงษ์เทพ เจียรวนนท์, 36.นายเอี่ยม งามดำรง ,37.นายบุญเลิศ ประภากมล, 38.นายวรวิทย์ เจนธนากุล,39.นางวิไลลักขณ์ รัตนสวัสดิ์ ,40.น.ส.พัชรี ชินรักษ์,41.นางอนงนุช ภรณวลัย,42.นางเจริญศรี ลือพัฒนสุข , ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐมาตรา 4, 9, 10, 11, 12, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86, 157, 341

กลุ่มที่ 6 43.นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้ริเริ่มโครงการ ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10, 11, 12 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83, 84, 157, 341

กลุ่มที่ 7
44. นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ถูกตั้งข้อกล่าวหากระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83, 157, 341


 

น้ำตาคลอ!

จาก โพสต์ทูเดย์
(อัพเดต) ด่วน! ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องจำเลยในคดีทุจริตกล้ายาง ทั้ง 44 คน -ไม่ต้องชดใช้ 1,440 ล้าน เนวินถึงกับน้ำตาคลอ

ศาล ฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 44 คนทั้งนักการเมือง ข้าราชการพลเรือน และ บริษัทเอกชน ในคดีทุจริตการจัดซื้อกล้ายางพาราในโครงการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางในพื้นที่ภาค อีสานและภาคเหนือ จึงไม่ต้องชดใช้เงิน 1,440 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ทำหน้าที่แทน คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)ยื่นฟ้องไว้

"องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยทั้ง 44 กระทำความผิดตามฟ้อง ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางยังไม่ได้เสียเงินไปในโครงการ นี้แต่อย่างใด จำเลยทั้ง 44 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินให้แก่สำนักงานฯ ตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้อง"ศาลฯ อ่านคำพิพากษา

ผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ เริ่มอ่านพิพากษาตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น.โดยระบุว่าการที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) พิจารณาอนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบในการใช้เงินกองทุนช่วยเหลือ เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือและ ภาคอีสานในวงเงิน 1,440 ล้านบาทเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล 

ดังนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คชก.ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 รวมทั้ง กรรมการ คชก.ที่ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 2, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 3 และ นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 รวมทั้ง กรรมการ คชก.ไม่มีความผิดในประเด็นการอนุมัติใช้เงิน คชก.ผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 

รวมทั้งการขอให้ใช้เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพาราในอนาคตเพื่อนำมา ทยอยชำระคืนกองทุน คชก.เป็นเวลา 15 ปีนั้น ศาลเห็นว่าไม่ใช่การขอใช้เงินที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการระบุถึงการใช้เงินในอนาคต จึงไม่ถือว่าขัดกับกฎหมาย  

นอกจากนั้น ศาลฯ ยังเห็นว่านายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 4 และนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นโครงการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราตามนโยบายรัฐบาล และผู้เสนอโครงการและขออนุมัติการใช้เงินในโครงการ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงในประเด็นการเสนอขอใช้เงินจากกองทุน คชก.

ส่วนกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 19-26 ซึ่งเป็นข้าราชการที่รับผิดชอบในการประกวดราคาจัดซื้อกล้ายางกำหนดเงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคาพันธุ์ยางชำถุงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ ผู้เข้าประกวดราคารายหนึ่งรายใดมีสิทธิได้เข้าทำสัญญากับรัฐนั้น ศาลเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการประกวดราคาครั้งนี้มีการเปิดกว้างให้แก่ผู้ที่เสนอราคาทุกรายอย่างเป็น ธรรม ทั้งในส่วนของคุณสมบัติของผู้เสนอราคา และการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ยางชำถุง ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อจำกัดให้มีการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรม  และ ไม่มีการช่วยเหลือผู้เสนอราคา หรือเอื้อเฟื้อให้แก่ผู้เสนอราคารายใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเอื้อ ประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 30-32 ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เข้าประมูลตามที่โจทก์กล่าวหา 

ส่วนกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 20-22 และจำเลยที่ 25-26 ละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทผู้เข้าประกวดราคากล้ายางพารานั้น หลังจากพิจารณาหลักฐานต่างๆ แล้วศาลฯ เห็นว่าจำเลยที่ 20-22 และ 25-26 ไม่ได้มีเจตนาจะร่วมกันละเลยในการตรวจสอบคุณสมบัติของจำเลยที่ 30-32 ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามคำฟ้องของโจทก์

ด้านประเด็นความผิดที่โจทก์ระบุของจำเลย 30-32 นั้น ศาลฯ เห็นว่ามีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของการประกวดราคา และไม่ได้มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันตามที่กำหนดไว้ รวมทั้งการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนที่ดินที่ใช้ในการเพาะกล้ายางก็ไม่พบว่า มีการแจ้งเกินกว่าจำนวนที่ใช้จริง แต่จำนวนที่ดินที่ใช้จริงก็ยังเกินกว่าคุณสมบัติที่ทางการกำหนด ดังนั้น จำเลยที่เหลือ ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้รับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองแล้ว นายเนวิน ชิดชอบ กล่าวด้วยน้ำตาคลอว่า สำหรับเรื่องของคดีทั้งหมดเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล และนับจากวันนี้ไปไม่เกิน 2 ปี น้ำยางจากต้นกล้ายางทั้ง 90 ล้านต้น จะสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และเชื่อว่าผลผลิตของยางพาราจากโครงการนี้ จะทำรายได้ให้กับประเทศชาติ ส่วนตนเองนั้น นับจากวันนี้ไปจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จนกว่าจะ สิ้นลมหายใจ

view