สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ทหารประชาธิปไตย ชูอนุสัญญา หลักฐานทวงคืนดินแดนเขาพระวิหาร

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

พลโท ประสิทธิ์ นววัตน์



ข้อความต่อไปนี้คัดลอกจากอนุสัญญา สันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อ ๕ ก.ค.๒๔๘๔ ซึ่งเผยแพร่โดยกลุ่มทหารประชาธิปไตย โดยเชื่อว่าจะเป็นหลักฐานสำคัญ ยืนยันการครอบครองดินแดนที่มาเป็นข้อพิพาทในปัจจุบัน

อนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ลงนาม ณ กรุงโตกิโอ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔

 สมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยและประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศส
 โดย ที่ได้สนองรับให้รัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย เพื่อยังขัดกันด้วยอาวุธซึ่งได้มีขึ้น ณะ เขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสให้ระงับถึงที่สุด
 ยอมรับ นับถือว่า จำเป็นดำเนินการปรับปรุงเขตต์แดนปัจจุบันระหว่างประเทศไทย กับอินโดจีนฝรั่งเศส เพื่อป้องกันมิให้มีการขัดกันเกิดขึ้นอีก ณะ เขตต์แดนนั้น และจำเป็นทำความตกลงกันในวิธีการรักษาความสงบในเขตต์แดน
 มีความปรารถนาที่จะกลับสถาปนาสัมพันธ์ไมตรี ซึ่งมีสืบเนื่องมาระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสโดยบริบูรณ์
จึงได้ตกลงทำอนุสัญญาเพื่อการนี้ และได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็มของแต่ละฝ่าย คือ
 ฝ่ายสมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงต่างประเทศ
 พระยาศรีเสนาอัครราชทูตของสมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตรีย์แห่งประเทศไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น
 นายนาวาอากาศเอก พระศิลป์ศัสตราคม เสนาธิการทหารแห่งประเทศไทย
นายวนิช ปานะนนท์ อธิบดีกรมพาณิชย์
และ ฝ่ายประมุขแห่งฝรั่งเศส
ม.ชาร์ลส์ อาร์แซน - ฮังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศญี่ปุ่น
ม.เรอเน โรแบง  ผู้สำเร็จราชการอาณานิคมกิตติมศักดิ์
ผู้ ซึ่งเมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่กันและกัน และตรวจเห็นว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้วได้ทำความตกลงกันเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
 ข้อ ๑ สัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเป็นอันกลับสถาปนาตามมูลฐานสารัตถสำคัญ แห่งสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์ และการเดินเรือ ฉบับวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐)
 ฉะนั้น จะได้มีการเจรจากันทางทูตโดยตรง ณะ กรุงเทพฯ โดยเร็วที่สุด เพื่อระงับบันดาปัญหาที่ค้างอยู่เนื่องจากการขัดกันให้เสร็จสิ้นไป
 ข้อ ๒ เขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส จะได้ปรับปรุงดังต่อไปนี้
 จาก เหนือลงมาเขตต์แดนจะได้เป็นไปตามแม่น้ำโขง ตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตต์แดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศสและพะม่า จนถึงที่จุดแม่น้ำโขงตัดเส้นขนานขีดที่สิบห้า (แผนที่ทบวงการภูมิศาสตร์แห่งอินโดจีน มาตราส่วน 1 ต่อ 500,000 )
 ในตอน นี้โดยตลอด เขตต์แดนได้แก่เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่ง แต่ทว่าเป็นที่ตกลงกันชัดแจ้งว่า  เกาะโขงยังคงเป็นอาณาเขตต์อินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขงตกเป็นของประเทศไทย
 ต่อ จากนั้นไปทางตะวันตก เขตต์แดนจะได้เป็นไปตามเส้นขนานขีดที่สิบห้า แล้วต่อไปทางใต้ จะได้เป็นไปตามเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดเสียม ราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึกกมบต)
 ในตอนนี้โดยตลอด หากว่ามีกรณีคณะกรรมการปักปันที่บัญญัติไว้ในข้อ ๔ จะได้พยายามประสานเขตต์แดนเข้ากับเส้นธรรมชาติ หรือพรมแดนปกครองที่ใกล้เคียงกับเส้นเขตต์แดนตามที่นิยามไว้ข้างบนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความยากลำบากในทางปฏิบัติต่อไปเท่าที่จะทำได้
ในทะเลสาบ เขตต์แดนได้แก่เส้นโค้ง วงกลมรัศมียี่สิบกิโลเมตร จากจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิ์สัตว์จด ทะเลสาบ(ปากน้ำสตึงดนตรี)
ตลอดทั่วทะเลสาบ การเดินเรือและการจับสัตว์น้ำเป็นอันเสรีสำหรับคนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำ สัญญาทั้งสองฝ่าย  แต่ให้คุ้มเกรงเครื่องจับสัตว์น้ำคงที่ซึ่งตั้งอยู่ตามชายฝั่ง เป็นที่เข้าใจกันว่าตามเจตนารมณ์นี้ อัครภาคีผู้ทำสัญญาจะได้จัดทำข้อบังคับร่วมกันว่าด้วยการตำรวจ การเดินเรือ และการจับสัตว์น้ำ ในน่านน้ำทะเลสาบโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้
ต่อจากปาก น้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตต์แดนใหม่จะได้เป็นไปตามพรมแดนปัจจุบัน ระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิ์สัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้ประสบกับ เขตต์แดนปัจจุบันระหว่าง ประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส(เขากูป) แล้วให้เป็นไปตามเขตต์แดนปัจจุบันนี้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงทะเล
 ข้อ ๓ อาณาเขตต์ที่รวมอยู่ระหว่างเขตต์แดนปัจจุบันแห่งประเทศไทยและอินโดจีน ฝรั่งเศสกับเส้นเขตต์แดนใหม่ตามที่นิยามไว้ในข้อ ๒ จะได้มีการถอนตัวออกไป และโอนกันตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้ (ภาคผนวก ๑)
 ข้อ ๔ การงานปักปันเขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสตามที่นิยามไว้ใน ข้อ ๒ นั้น ให้คณะกรรมการปักปัน ซึ่งจะได้จัดตั้งขึ้นภายในสัปดาห์หลังจากการใช้อนุสัญญานี้เป็นผู้กระทำ ทั้งในส่วนทางบกและส่วนทางน้ำ แห่งเขตต์แดนดังกล่าวแล้ว และให้ดำเนินการงานให้เสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งปี
 การจัดตั้งและการดำเนินงานแห่งคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว มีบัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้  (ภาคผนวก ๒)
 ข้อ ๕ บันดาอาณาเขตต์ที่โอนให้ จะได้รวมเข้าเป็นส่วนแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ :-
  ๑.ให้ปลอดการทหารโดยตลอด เว้นแต่อาณาเขตต์ชายแดนแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นส่วนแห่งแคว้นลาวของฝรั่งเศสอยู่แต่ก่อน
  ๒.ใน ส่วนเกี่ยวกับการเข้ามาการตั้งถิ่นฐาน และบันดาการธุระคนชาติฝรั่งเศส (พลเมืองคนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศส) จะได้รับผลประติบัติ ตลอดทั่วอาณาเขตต์ดังกล่าวแล้ว เท่าเทียมกันทีเดียวกับผลประติบัติ   ตลอดทั่วอาณาเขตต์ดังกล่าวแล้ว เท่าเทียมกันทีเดียวกับผลการประติบัติที่ให้แก่คนชาติไทย
  เป็นที่เข้า ใจกันว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับคนชาติฝรั่งเศส สิทธิ์ที่ได้มาเนื่องจากสัมปทานผูกขาด และใบอนุญาต  ซึ่งมีอยู่ ณะ วันที่ ๑๑ มีนาคม ค.ศ.๑๙๔๑ จะได้รับความคุ้มเกรงตลอดทั่วอาณาเขตต์ที่โอนให้
  ๓.รัฐบาล ไทยจะอำนวยความคุ้มเกรงเต็มที่ให้แก่บันดาที่บรรจุราชอัฎฐิ ซึ่งมีอยู่ณะฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และจะให้ความสะดวกทุกประการแก่ราชวงศ์หลวงพระบาง และพนักงานราชสำนักในอันจะรักษาและเยายมเยือนที่บรรจุอัฎฐิดังกล่าวแล้ว
  ข้อ ๖ ภายในเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้ (ภาคผนวก ๓) ให้ใช้หลักต่อไปนี้บังคับแก่เขตต์ปลอดการทหารที่ตั้งขึ้นตามความในอนุ ๑ แห่งข้อก่อนคือ
   ๑.ในเขตต์ปลอดการทหาร ประเทศไทยจะบำรุงกำลังพลถืออาวุธได้ก็แต่กำลังตำรวจที่จำเป็นสำหรับรักษา ความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ทว่า ประเทศไทยสงวนสิทธิที่จะเพิ่มกำลังตำรวจขึ้นได้ชั่วคราวเท่าทีจักจำเป็น สำหรับดำเนินการตำรวจพิเศษ และทั้งสงวนอำนาจที่จะกระทำการขนส่งกองทหาร และเครื่องสัมภาระในอาณาเขตต์ของตน ข้ามเขตต์ปลอดการทหารตามที่ต้องการสำหรับดำเนินการตำรวจในเขตต์แขวงใกล้ เคียง หรือดำเนินการทหารต่อประเทศภายนอกอนุสัญญานี้
 ในที่สุด ในเขตต์ปลอดการทหาร ประเทศไทยจะได้รับอำนาจให้พักอากาศยานมหารที่ไม่มีเครื่องอาวุธได้ทุกเมื่อ
   ๒.ใน เขตต์ปลอดการทหาร ห้ามมิให้มีค่ายมั่น หรือสถานการทหาร หรือสนามบินสำหรับใช้เฉพาะประโยชน์กองทัพ หรือมีคลังเก็บอาวุธหรือกระสุนปืนหรือยุทธภัณฑ์ เว้นแต่คลังเก็บเครื่องสัมภาระที่ใช้อยู่เสมอกับเชื้อเพลิงอันจำเป็นสำหรับ อากาศยานทหารที่ไม่มีอาวุธ จึ่งจะมีได้
  บันดาสถานที่พักอาศัยของกำลังตำรวจ จะมีองค์กรป้องกันซึ่งโดยปกติจำเป็นสำหรับความมั่นคงแห่งสถานที่นั้นๆ ก็ได้
  ข้อ ๗ อัครภาคีผู้ทำสัญญาตกลงกันยกเลิกเขตต์ปลอดการทหารที่มีอยู่ทั้งสองฝั่งแม่ น้ำโขง ในตอนที่ลำแม่น้ำนี้เป็นเขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับแคว้นลาวของฝรั่งเศส
  ข้อ ๘ ในขณะที่การโอนอธิปไตยเหนืออาณาเขตต์ ซึ่งโอนให้แก่ประเทศไทยสำเร็จเด็ดขาดลง คนชาติฝรั่งเศสซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตต์นั้นๆ จะได้สัญชาติไทยทีเดียว แต่ว่าภายในเวลาหนึ่งปีหลังจากการโอนอธิปไตยที่ สำเร็จเด็ดขาดลงนั้น คนชาติฝรั่งเศสอาจเลือกเอาสัญชาติได้
 การเลือกเช่นว่านี้ ให้กระทำโดนวิธีต่อไปนี้
 ๑. ส่วนพลเมืองฝรั่งเศส ให้ทำคำแถลงต่อเจ้าหน้าที่ปกครองผู้มีอำนาจ
 ๒. ส่วนคนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศส  ให้โอนภูมิลำเนาไปอยู่ในอาณาเขตต์ฝรั่งเศส
 ประเทศ ไทยจะไม่ทำการขัดขวางด้วยประการใดๆ  โดยมีเหตุผลประการใดก็ตามต่อการที่คนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศสดัง กล่าวแล้วจะถอนตัวออกไปนั้น หรือจะกลับเข้ามาหากว่ามีกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะออกไปนั้น จะจำหน่ายสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ได้โดยเสรี และจะขนสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด ปสุสัตว์  ผลิตผลเกษตรกรรม เงินตราหรือธนาคารบัตร์ของตนไปกับตัว หรือให้ขนส่งไปก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าศุลกากร ถึงอย่างไรก็ดี จะรักษาสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของตนในอาณาเขตต์ที่รวมเข้ากับประเทศไทยไว้ ก็ได้
ข้อ ๙ ประเทศไทยและฝรั่งเศสตกลงกันสละเด็ดขาดการเรียกร้องใดๆ ในเรื่องการเงินระหว่างรัฐต่อรัฐ เนื่องจากการโอนอาณาเขตต์ดั่งที่บัญญัติไว้ใน ข้อ ๒ ทั้งนี้โดยประเทศไทยใช้เงินให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนหกล้านเปียสตรอินโดจีน การใช้เงินจำนวนนี้ให้แบ่งใช้เป็นส่วนเท่าๆ กัน มีกำหนดหกปี นับแต่วันใช้อนุสัญญานี้
เพื่อให้การเป็นไปตามความในวรรคก่อน และเพื่อตกลงบันดาปัญหาเรื่องเงินและเรื่องการโอนมูลค่าต่างๆ ซึ่งอาจมีขึ้นเนื่องจากการโอนอาณาเขตต์ตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญานี้ ทบวงการที่มีอำนาจฝ่ายไทยและฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส จะได้เริ่มเจรจากันโดยเร็วที่สุด
ข้อ ๑๐ การขัดกันใดๆ ซึ่งหากจะเกิดขึ้นระหว่างอัครภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายในเรื่องการตีความ หรือการใช้บทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ จะได้ทำความตกลงกันด้วยดีโดยทางทูต ถ้าการขัดกันนั้น ทำความตกลงกันเช่นนี้ไม่ได้ ก็จะได้เสนอให้รัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย
ข้อ ๑๑ บันดาบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญา และความตกลงที่มีอยู่ระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้เป็นอันยังคงใช้อยู่ต่อไป
ข้อ ๑๒ อนุสัญญานี้ จะได้รับสัตยาบัน และจะได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน ณะ โตกิโอ ภายในสองเดือนหลังจากวันลงนาม หากว่ามีกรณี รัฐบาลฝรั่งเศสจะใช้หนังสือแจ้งการสัตยาบันแทนสัตยาบันสารก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐบาลฝรั่งเศสจะได้ส่งสัตยาบันสารสัตยาบันกัน ณะ โตกิโอ  ภายในสองเดือนหลังจากวันลงนาม  หากว่ามีกรณี  รัฐบาลฝรั่งเศสจะใช้หนังสือแจ้งการสัตยาบันแทนสัตยาบันสารก็ไไปยังรัฐบาลไทย โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้
อนุสัญญานี้ จะได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันแลกเปลี่ยนสัตยาบันเป็นต้นไป
เพื่อ เป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มแต่ละฝ่ายได้ลงนามและประทับตราไว้เป็นสำคัญ ทำควบกันเป็นสามฉบับ  เป็นภาษาไทย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ณะ โตกิโอ เมื่อวันที่เก้าเดือนที่ห้าพุทธศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบสี่ ตรงกับวันที่เก้าพฤษภาคม คริสตศักราชพันเก้าร้อยสี่สิบเอ็ด และวันที่เก้าเดือนที่ห้าปีสโยวาที่สิบหก

(ประทับตรา)            วรรณไวทยากร
(ประทับตรา)            ศรีเสนา
น.อ.ศิลปศัสตราคม    (ประทับตรา)
วนิช  ปานะนนท์        (ประทับตรา)
(ประทับตรา)             CHARLES  ARSENE  HENRY
(ประทับตรา)             RENE  ROBIN

*โปรดติดตามตอนต่อไป วิเคราะห์ประวัติศาสตร์และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทไทย-กัมพูชา นำเสนอโดย พลโท ประสิทธิ์ นววัตน์ กลุ่มทหารประชาธิปไตย

view