สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ด่วน ! กทช. ประกาศหลักเกณฑ์กำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม

 ผู้ สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ รายงานว่า วันนี้(1ต.ค.2552)  ราชกิจจานุเบกษา ได้ตีพิมพ์ ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. ๒๕๕๒

ประกาศ ระบุว่า  โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรการกำกับพฤติกรรมที่มีลักษณะต่อต้านการแข่งขัน ในตลาดโทรคมนาคมให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และวางแนวทางในการกำหนดมาตรการการกำกับดูแลล่วงหน้าที่จะป้องกันผู้มีอำนาจ เหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญมิให้ใช้อำนาจในการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขันใน ตลาด

ทั้ง นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีและอย่างเป็นธรรมใน กิจการโทรคมนาคม และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันและการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๕๑ (๔) (๑๒) (๑๓) และ (๑๔) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖

มาตรา ๔๗ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนด ผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคมไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ บรรดาประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

ใน กรณีใดที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้นำประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม

ข้อ ๓ ในประกาศนี้

“ตลาด ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ขอบเขตของตลาดบริการโทรคมนาคม โดยการพิจารณาตามหลักวิชาการโดยทั่วไป ซึ่งพิจารณาโดยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ว่าประกอบด้วยบริการโทรคมนาคมที่ทด แทนกันซึ่งต้องพิจารณาทั้งทางด้านประเภทบริการโทรคมนาคม ภูมิศาสตร์และสภาพการแข่งขัน เพื่อจะใช้ในการประกอบในการพิจารณากำหนดผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทร คมนาคมที่มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญและกำหนดมาตรการกำกับดูแลล่วงหน้า

“ผู้ รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทร คมนาคม และให้หมายความรวมถึงผู้ได้รับอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. ๒๕๔๔ ใช้บังคับ

“อำนาจ เหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” หมายความว่า ความสามารถของผู้รับใบอนุญาตที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจตลาด (Market Power) ในลักษณะสามารถกีดกันการแข่งขันที่มีประสิทธิผล(Effective Competition) โดยใช้อำนาจของตนในเชิงพฤติกรรมในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตที่คณะกรรมการกิจการทรคมนาคมแห่งชาติพิจารณากำหนดให้เป็นผู้ มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมตามประกาศนี้

“ผู้ ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมจากการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทร คมนาคม แต่ไม่รวมถึงผู้ใช้บริการที่เป็นผู้รับใบอนุญาตซึ่งนำบริการโทรคมนาคมที่ได้ รับในฐานะผู้ใช้บริการไปประกอบกิจการอีกทอดหนึ่ง

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ข้อ ๔ คณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละ ตลาดที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลล่วงหน้า (Ex Ante Regulation) ตามประกาศนี้ หรือเพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ข้อ ๕ ในการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดตลาดที่เกี่ยวข้อง

(๒) วิเคราะห์ระดับการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้อง

(๓) ระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๖ การกำ หนดตลาดที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง นิยามของตลาด และขอบเขตตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๗ ในการวิเคราะห์ระดับการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาว่าในตลาดที่ เกี่ยวข้องตามข้อ ๖ แต่ละตลาดมีระดับความมีประสิทธิภาพของการแข่งขันในตลาดมากน้อยเพียงใดให้ใช้ หลักเกณฑ์และวิธีการตามหลักวิชาทางเศรษฐศาสตร์ ดังต่อไปนี้

(๑) วิเคราะห์อัตราส่วนการกระจุกตัวของตลาด โดยใช้การวัดค่าดัชนี Herfindahl - Hirschman -Index (HHI) ซึ่งใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์ ดังนี้

(ก) หากค่า HHI ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ถือว่าตลาดมีการกระจุกตัวน้อยหรือไม่มีการกระจุกตัว

(ข) หากค่า HHI มีค่าระหว่าง ๑,๐๐๐ ถึง ๑,๘๐๐ ถือว่าตลาดมีการกระจุกตัวปานกลาง

(ค) หากค่า HHI มีค่ามากกว่า ๑,๘๐๐ ถือว่าตลาดมีการกระจุกตัวสูงและอาจมีผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และ

(๒) พิจารณาปัจจัยด้านโครงสร้างตลาดและอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดในตลาดที่เกี่ยวข้องประกอบ

หาก พิจารณาว่าตลาดที่เกี่ยวข้องใดมีระดับความมีประสิทธิภาพของการแข่งขันต่ำ หรือจำเป็นต้องมีการกำกับดูแล ให้ถือว่าต้องมีการดำเนินการพิจารณาระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ในตลาดที่เกี่ยวข้องนั้นต่อไป แต่หากตลาดที่เกี่ยวข้องตลาดใดมีประสิทธิภาพการแข่งขันเพียงพอก็ไม่จำเป็น ต้องมีการกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องนั้น

ข้อ ๘ ในการพิจารณาระบุผู้รับใบอนุญาตรายใดเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัย สำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้เกณฑ์ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในการพิจารณา ดังนี้

(๑) ผู้รับใบอนุญาตรายใดที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ ถือว่าไม่มีแนวโน้มเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

(๒) ผู้รับใบอนุญาตรายใดที่มีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ถึงร้อยละ ๔๐ ถือว่าอาจมีแนวโน้มเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

(๓) ผู้รับใบอนุญาตรายใดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละ ๔๐ ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

view