สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ใกล้ปลายปีได้เวลา วางแผนภาษีกันแล้ว

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :วริศรา เตชะกุลวิโรจน์:


นับถึงตอนนี้ อีกประมาณ 3 เดือน ปี 2552 ก็จะผ่านไปแล้ว ผู้อ่านท่านใดที่วางแผนจะทำอะไรไว้ตอนต้นปีแล้วยังไม่ได้ลงมือ จะเริ่มลงมือวันนี้ก็ยังไม่สายนะคะ
มีเรื่องหนึ่งที่อยากจะย้ำกันตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นคือ การวางแผน ภาษี!!!

การ เสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ แต่อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ทุกๆ คนที่เสียภาษีก็ได้รับสิทธิที่จะลดหย่อนภาษีที่จะต้องเสียด้วยเช่นกัน ทีนี้มาดูกันว่าสิทธิลดหย่อนดังกล่าวมีอะไรกันบ้าง

-  สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นสามารถนำมาลดหย่อนได้ตาม เงื่อนไข และมากสุดถึง 5 แสนบาทต่อปี

-  เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) : สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนกบข. (ถ้ามี) ที่จ่ายเข้ากองทุนในปีนั้นแล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาท

-  เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) : สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 5 แสนบาท

-  เบี้ยประกันชีวิต : เบี้ยประกันชีวิตหักได้ 1 หมื่นบาท ส่วนที่เกิน 1 หมื่นบาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 9 หมื่นบาท ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามเงื่อนไขและการประกัน ชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันที่ประกอบกิจการใน ราชอาณาจักร

-  เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม : ตามจำนวนที่จ่ายจริง

-  การลดหย่อนกรณีมีบุตร : ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็ตาม สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 1.5 หมื่นบาท แต่ได้ไม่เกิน 3 คน และอายุไม่เกิน 25 ปี หากยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศก็สามารถลด หย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

-  ค่าลดหย่อนบิดามารดา : บิดามารดาจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ลูกสามารถใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีได้ 3 หมื่นบาท ทั้งนี้ บิดามารดาจะต้องออกหนังสือรับรองด้วยว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะ เลี้ยงดูเพียงคนเดียว

-  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม : ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นตามจำนวนที่ได้จ่ายไป จริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท

-  เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา : สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

-  เงินบริจาค : สามารถนำเงินบริจาคที่ให้แก่การกุศลสาธารณะมาหักลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว

ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกรณีใดๆ ข้างต้น ก็อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขในการใช้สิทธิลดหย่อนกรณีต่างๆ เพิ่มเติมด้วยนะคะ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ทำงานอยู่ในแวดวงกองทุนรวม ก็ขอสรุปเงื่อนไขหลักๆ ในการใช้สิทธิลดหย่อนจากเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF มาฝากกันค่ะ

ก่อนจากกันไป อยากฝากวิธีการลงทุนที่ท่านอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการลงทุน RMF และ LTF นั่นคือการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) วิธีการนี้จะช่วยสร้างวินัยในการลงทุน ให้แก่ท่านผู้อ่าน และยังช่วยลดความเสี่ยงของตลาดจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ด้วย

โดยท่านจะต้องตั้งเป้าหมายจำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก จากนั้นก็กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนในการซื้อหน่วยลงทุน เช่น ทุกเดือน ทุกไตรมาส ซึ่งคาดว่าวิธีนี้น่าจะช่วยลดต้นทุนของหน่วยลงทุนในราคาที่ถูกลงกว่าที่ซื้อ ครั้งเดียวเมื่อตอนสิ้นปี

view