สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดคำตัดสิน 5 คดีสิ่งแวดล้อมศาลปกครองสูงสุด วางบรรทัดฐาน คุ้มครองป้องกันสิ่งแวดล้อม ชัดแจ้ง !!!

จากประชาชาติธุรกิจ



ประชาชาติออนไลน์ ตรวจค้น คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีสิ่งแวดล้อม 5 คดีสำคัญ คดีชาวประมง คดีบ่อขยะราชาเทวะ คดีสารตะกั่วปนเปื้อน ห้วยคลิตี้ คดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทุกคดี ฟันธงชัดเจน วางแนวบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันสิ่งแวดล้อมชัดแจ้ง ราวกับแสงตะวัน

   เร็ว ๆนี้ ศาลปกครองสูงสุด จะมีคำตัดสินคดีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับ 76 โครงการมาบตาพุด  ภาคเอกชนต่าง จับจ้องคดีนี้ อย่างไม่กระพริบตา ภาคประชาชนก็เคลื่อนไหวอย่างคึกคัก  เพื่อต้องการแนวปฎิบัติที่ชัดเจน   ขณะที่ภาครัฐ  ล่าสุด "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ " นายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ออกมาเช่นไร รัฐบาลก็พร้อมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างเต็มที่
    " ประชาชาติออนไลน์" ตรวจค้น หาแนวบรรทัดฐานของศาลปกครอง ตลอด 8 ปีมานำเสนอดังนี้  
     ศาลปกครองได้เปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 จนถึงปัจจุบันมีคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การพิจารณาของ ศาลปกครองกว่า 4,000 คดี ดำเนินการเสร็จแล้วกว่าร้อยละ 80 ของคดีทั้งหมด
    ประเด็นก็คือ ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาวางบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐและเจ้า หน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันสิ่งแวดล้อมไว้อย่าง ชัดแจ้งหลายคดี
 
    @  คดีชาวประมงฟ้องก.เกษตรฯ
    คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.51/2547 คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นชาวประมงฟ้องว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2542 ซึ่งออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่กำหนดห้ามมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงดังต่อไปนี้
  (1) เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่มีขนาดความยาวเรือ ไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน (ตั้งแต่เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น)
  (2) เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีการล้อมติดตาปลาทู หรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
  (3) เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล
  (4) เครื่องมืออวนครอบ อวนซ้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก
  (5) เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า 15 เมตรขึ้นไป ทำการประมงในทะเลในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปีเป็นประกาศที่มิชอบด้วยกฎหมาย
   ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การออกประกาศดังกล่าวก็เพื่อป้องกันมิให้มีการจับสัตว์น้ำในฤดูที่ปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติประเภทสัตว์น้ำให้ยั่งยืนซึ่ง เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะกระทบต่อการประกอบอาชีพและรายได้ของผู้ฟ้องคดีอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลา 3 เดือน
   ทั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงประกอบอาชีพประมงในท้องที่อื่นได้ หรือใช้เครื่องมือทำการประมงอื่นที่ไม่ต้องห้าม ประกาศดังกล่าวจึงก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะมากกว่าเมื่อเทียบกับความเสีย หายของผู้ฟ้องคดี ประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
   @ คดีบ่อขยะที่ตำบลราชาเทวะ
      คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.79/2547 คดีบ่อขยะที่ตำบลราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวางบรรทัดฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องกับการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ควบคุมดูแลเอกชนผู้ได้รับอนุญาต ให้นำขยะมูลฝอยมาทำลายโดยวิธีฝังกลบ ให้ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายใบประกาศ รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมมลพิษโดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืนให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขโดย เคร่งครัด
     @ คดีสารตะกั่วปนเปื้อน ห้วยคลิตี้
     สำหรับคดีที่โรงงานปล่อยน้ำเสียจากการแต่งแร่ที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนลงสู่ลำ ห้วยคลิตี้ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 637/2551 ให้กรมควบคุมมลพิษ ผู้ถูกฟ้องคดี รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นราษฎรในพื้นที่ เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการเรียกค่าเสียหายหรือค่า สินไหมทดแทนจากบริษัทเจ้าของโรงงาน
  @ คดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
       คดีที่ราษฎรในท้องที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถูกฟ้องคดี กล่าวหาว่าปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อผู้ฟ้องคดีหายใจเอาอากาสที่มีก๊าซดังกล่าวเข้าไปทำให้เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 64/2548 และที่ 60-77/2552 ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดและให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ผู้ฟ้องคดีนั้น แม้ทั้งสามคดีดังกล่าวข้างต้นจะยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากมีการอุทธรณ์ต่อศาล ปกครองสูงสุดก็ตาม แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ประชาชนตื่นตัวให้ความสนใจปัญหามลพิษและมีส่วน ร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในไม่ช้าศาลปกครองสูงสุดคงจะได้วินิจฉัยวางบรรทัดฐานในเรื่องดังกล่าว ต่อไป
    @ คดีมลพิษมาบตาพุด
    คดีที่ราษฎรในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง ฟ้องกล่าวหาว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศให้พื้นที่ตำบลมาบตาพุดฯเป็นเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งศาลปกครองระยองได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 32/2552 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดทั้งหมด รวมทั้งตำบลเนินพระ ตำบลมาบข่า และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยองทั้งหมด ตลอดจนท้องที่ตำบลบ้านฉางอำเภอบ้านฉางทั้งตำบล เป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่อไป
     อย่างไรก็ดี การพึ่งพากระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นการแก้ไขที่ปลาย เหตุ การกำหนดมาตรการที่เชิงป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสิ่งแวด ล้อม ซึ่งคงต้องอาศัยประชาชนทุกคน องค์กรทุกองค์กรทั้งภารรัฐและภาคเอกชน
       รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมแรงร่วมใจกันพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันและในอนาคต

view