สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด 6 ข้อเสนอใหม่ล่าสุด ปรับปรุงกฎหมายฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

จากประชาชาติธุรกิจ



กระบวน พิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หมวด 3/1 มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว มีลูกหนี้ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยมีการยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลางเป็นจำนวนมาก

แต่กระนั้น กระบวนการฟื้นฟูกิจการก็ยังมีปัญหาอีกเป็นจำนวนมาก ที่รอการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อไม่นานมา นี้ นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ อธิบดีผู้พิพากษา ศาลล้มละลายกลาง ได้จัดระดมสมองครั้งใหญ่ เรื่องการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก จากทั้งฝ่ายลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ณ ห้องประชุมศาลล้มละลายกลาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาสำคัญ ประกอบด้วย นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ บริษัท ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด นายวิศิษฬ์ วิศิษฬ์สรอรรถ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายเอื้อน ขุนแก้ว ผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง ตลอดจนนักกฎหมายจากหลายสำนัก

ประชาชาติธุรกิจรวบรวม 2 ประเด็นหลักและข้อเสนอล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มานำเสนอ ดังนี้

1.ข้อพิจารณาว่าด้วยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

ตาม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/3 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขอฟื้นฟูกิจการไว้ว่า เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

การที่กำหนดไว้ว่าลูกหนี้ จะต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น จึงมีข้อพิจารณาตั้งแต่แรกแล้วว่า ลูกหนี้มีสินทรัพย์กับหนี้สินเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเข้าลักษณะของการมี หนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหากับลูกหนี้ตั้งแต่แรกที่จะต้องแสดงให้เห็นว่ามี สินทรัพย์เมื่อเทียบกับหนี้สินแล้วมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ของการมีหนี้สินล้นพ้นตัว

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็มี ข้อพิจารณาต่อไปว่า เมื่อลูกหนี้มีหนี้สิน ล้น พ้นตัว การที่จะฟื้นฟูกิจการให้กลับมาสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นั้นจะสามารถทำได้ หรือไม่ โอกาสและช่องทางในการที่จะสามารถกลับมาดำเนินกิจการดังเดิมมีมากน้อยเพียงใด

เนื่อง จากในขณะที่มีการขอฟื้นฟูกิจการนั้น ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ ประหนึ่งว่ากิจการของลูกหนี้นั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ที่อาจล้มละลายแล้วได้ จึงมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการเป็นจำนวนมากกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่า ลูกหนี้จะต้องมีหนี้สินล้น พ้นตัวนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพราะเป็นการเข้าไปดูแลช่วยเหลือแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่อง ให้กับลูกหนี้ช้าเกินไป

และมีข้อเสนอว่าหากก่อนที่ลูกหนี้จะมี หนี้สินล้นพ้นตัวลูกหนี้หรือเจ้าหนี้สามารถที่จะร้องขอฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้ที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน หรือการประกอบธุรกิจ หรือมีปัญหา เรื่องการชำระหนี้ น่าจะเป็นช่องทางที่เหมาะสมกว่าน่าจะเป็นช่องทางที่จะสามารถทำให้มีการ ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กลับมาดำเนิน กิจการต่อไปได้

นอกจากนี้ ตามบทกฎหมายในปัจจุบัน การที่จะขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นจะต้องเป็นกิจการของลูกหนี้รายใดราย หนึ่งเท่านั้น แต่ในสภาพความเป็นจริง การดำเนินกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ ต่าง ๆ มีหลายกรณีที่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะของกิจการ ร่วมค้า หรือกิจการแบบกลุ่ม ซึ่งผู้ที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว หากมีการขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือหากมีปัญหาในเรื่องของการประกอบธุรกิจ หรือหากมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบัน การที่จะขอฟื้นฟูกิจการที่จะต้องแยกร้องขอเป็นรายกิจการของลูกหนี้ จะทำให้เกิดข้อขัดข้องในการพิจารณาว่าจะสามารถให้ฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ เพราะกิจการของลูกหนี้แต่ละรายมีความเกี่ยวพันกัน จึงได้มีการเสนอในเชิงวิชาการว่า กิจการในลักษณะของกิจการร่วมค้า หรือกิจการแบบกลุ่ม ควรจะมีบทบัญญัติของกฎหมายมารองรับให้สามารถร้องขอฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่

2.ข้อพิจารณาว่าด้วยการดำเนินการในระหว่างฟื้นฟูกิจการ

สืบ เนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ได้กำหนดขั้นตอนการร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้ นับตั้งแต่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตั้งผู้ทำแทน เสนอแผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติว่าจะยอมรับแผนหรือไม่ แล้วเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากศาลให้ความ เห็นชอบ จะต้องมีการดำเนินการตามแผน

หากดำเนินการสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ จะมีการเข้าสู่การพิจารณาเพื่อยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ซึ่งในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายดังกล่าวนั้นมีบทบัญญัติของ กฎหมายที่เป็นข้อพิจารณาว่ามีข้อขัดข้อง หรือควรจะมีการปรับปรุงพัฒนา แก้ไขอย่างไรให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ประสบความสำเร็จบางประการดังต่อไป นี้

กรณีเงินลงทุนใหม่ที่ลูกหนี้ต้องการมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการ ควรมีบุริมสิทธิในการขอรับชำระหนี้หรือไม่อย่างไร และหากเป็นเงินลงทุนใหม่ก่อนที่แผนฟื้นฟูกิจการจะผ่านการพิจารณานั้นควรได้ รับการพิจารณาในการขอรับชำระหนี้อย่างไร

กรณีเจ้าหนี้มีประกัน ควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แตกต่างจากเจ้าหนี้อื่นหรือไม่อย่างไร

กรณี ของการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในระหว่างเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ควรจะมีการกำหนดสัดส่วน ในการได้รับชำระหนี้ที่แตกต่างกันหรือไม่

กรณีที่มีหนี้เกิดขึ้นในระหว่างฟื้นฟูกิจการ ควรได้รับการคุ้มครองเพียงใด

กรณีการ ออกเสียงเลือกผู้ทำแผน ที่ให้เจ้าหนี้ทุกรายมีสิทธิ ออกเสียง ไม่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ในเครือเดียวกัน หรือกิจการเดียวกัน หรือกรณีที่ให้อำนาจให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งในการออกเสียงของ เจ้าหนี้ให้เป็นที่สุดนั้นและมีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่

จากข้อ พิจารณาดังกล่าวข้างต้นได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการและมีข้อเสนอที่ จะให้มีการปรับปรุงแก้ไขพัฒนากฎหมายฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อที่จะให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้รับการดูแลเยียวยาให้สามารถกลับ ฟื้นคืนมาดำเนินกิจการต่อไปได้ อันจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์และปรัชญาแนวคิดของกฎหมาย ฟื้นฟูกิจการ

สรุปข้อเสนอแนะ 6 ประการ

จากการระดมสมองได้ข้อคิดในประเด็นทางวิชาการและปัญหา ที่เกิดขึ้น 6 ประเด็น ดังนี้

1.ควร มีการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามมาตรา 90/3 ที่กำหนดไว้เดิมว่าเมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้คน เดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หากยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ตามข้อเสนอของวิทยากร กล่าวคือ การที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นไม่จำเป็นต้องรอไว้จนกระทั่งลูกหนี้มี หนี้สินล้นพ้นตัว แต่กรณีที่ลูกหนี้ขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ เช่น สภาพคล่องทางการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ แม้จะยังไม่ถึงขั้นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็สามารถที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ เพราะการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการก่อนที่จะมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีมากกว่าที่จะรอให้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

2.ควรมีการพิจารณาให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นลักษณะของกิจการร่วมค้าหรือแบบกลุ่มได้

3.กระบวน การพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการควรที่จะมีความรวดเร็ว เพราะหากเลื่อนช้าไปกิจการของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาอยู่แล้วอาจจะทำให้ได้รับ การแก้ไขเยียวยาและกลับฟื้นคืนมาเป็นไปได้ยาก

4.กรณีเงินลงทุนใหม่ นั้นควรพิจารณาให้เงินลงทุนใหม่ที่มีการสนับสนุนก่อนที่แผนฟื้นฟูกิจการผ่าน การพิจารณาได้รับความคุ้มครองด้วย เนื่องจากว่าไม่ได้รับความคุ้มครองแล้วจะเป็นอุปสรรคต่อการที่ผู้ให้การสนับ สนุนเงินลงทุนแก่ลูกหนี้ และจะเป็นผลทำให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้

5.การ จัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันระหว่างเจ้าหนี้สถาบันการ เงินกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้ควรกำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วนที่แตก ต่างกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ

6.การออก เสียงของเจ้าหนี้ในการเลือกผู้ทำแผน กรณีนี้ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือของลูกหนี้ไม่ควรให้มีสิทธิออก เสียงในการเลือกผู้ทำแผน

view