สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฟังเสียงร่างกาย... โรคร้ายก็ถอยห่าง

จากประชาชาติธุรกิจ
จรัญ ยั่งยืน



จะมีใครคิดกันบ้างว่า การขาดความสมดุลของร่างกายก่อโรคภัยต่าง ๆ มากมาย หากเผลอคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก มันอาจจะนำพาอันตรายใหญ่หลวงมาสู่ตัวเรา ไม่เชื่อก็ลองฟังทางนี้ !  

รศ.พ.ญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชกรรมฝังเข็ม แนวทางดุลยภาพบำบัด ชี้ว่า ′หลักดุลยภาพศาสตร์นั้นไม่เพียงแค่เราควรเรียนรู้ แต่ทุกคนจำเป็นต้องรู้′  

เราต้องรู้ว่าโครงสร้างของมนุษย์สมดุลอย่างไร แล้วจะเสียสมดุลเมื่อไร เพราะว่าโครงสร้างของร่างกายอาจเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่อยู่ในท้อง คลอด สิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพ หลายคนคิดว่าต้องประสบอุบัติเหตุเท่านั้น โครงสร้างถึงจะเสียสมดุล แต่ว่ามันอาจไม่ใช่  

"ใครที่เคยข้อเท้าแพลง หากสังเกตให้ดี ว่าเคยแพลงเท้าไหนก็จะเป็น   ซ้ำ ๆ ที่เท้านั้น แสดงว่าตรงนั้นคือจุดอ่อนของเรา บางคนไม่สนใจปล่อยให้หายไปเอง จากแพลงที่ข้อเท้า ก็จะไปปวดที่หัวเข่า สะโพก ลามไปถึงหลัง หัวไหล่โดยไม่รู้ตัว"หากอาการลามมาที่สะโพก ผู้หญิงเวลามีลูก จะคลอดลำบากส่วนคนที่ต้องสะพายกล้อง สะพายกระเป๋าจนปวดคอ มันจะตามมาด้วยอาการปวดหัว หูอื้อ ตาพร่า ตาลาย หรือบางคนไม่รู้ว่าตัวเองหน้าเบี้ยว คางเบี้ยว โครงสร้างผิดรูป นี่คือสาเหตุหนึ่งของโรคภูมิแพ้  ทำให้ระบบทางเดินหายใจติดขัด เป็นที่หมักหมม    ของเชื้อโรคในโพรงจมูก หากรอให้ถึงตอนที่อาการกำเริบแล้วถึงค่อยไปหาหมอ แบบนี้มีเงินเท่าไรก็ไม่พอ ! แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ? ในเมื่อมนุษย์ต้องใช้ชีวิต แล้วไม่สามารถอยู่เฉย ๆ ได้  

ถึงแม้ว่าคนเราต้องทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่นจะห้ามไม่ให้เด็กคลอดออกมาก็ไม่ได้ ไม่ให้หัดเดินก็ไม่ได้  จะไม่ให้เล่นกีฬาก็ไม่ได้อีกเช่นกัน แต่ว่าสิ่งที่ต้องรู้คือ เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บตรงนี้ ปวดตรงนั้น เราจะรักษาอาการเหล่านั้นด้วยตัวเองได้อย่างไร  "ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิต สอนให้รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ป่วย แล้วถ้าป่วยจะทำอย่างไรให้อาการดีขึ้นด้วยตัวเอง หรืออาศัยการดูแลจากคนในครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์"   ศาสตร์แขนงนี้ไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อต้านการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่จับสิ่งที่การแพทย์ตะวันตกทิ้งไปมาใส่ไว้ทุกวันนี้การแพทย์ทั่วไปแก้ไข ที่ปลายเหตุ และแยกส่วนอวัยวะ แขน ขา กล้ามเนื้อ ระบบภายในออกจากกัน เช่น ระบบขับถ่ายตรวจแค่ปัสสาวะออกมาเป็นอย่างไร   ตรวจไทรอยด์ก็ดูแค่ฮอร์โมน แล้วก็รักษาไปตามอาการนั้น 

ทั้งที่สาเหตุอาจมาจากส่วนอื่น   แต่การรักษาต้องเข้าใจทั้งระบบโครงสร้าง ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่ผิดปกติ ถ้ารักษาแบบนี้หายแล้วก็เป็นใหม่อีก ต้องไปหาหมอรับยามาเพิ่ม ไม่หายขาดสักที  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนวทางดุลยภาพบำบัด แนะนำว่าผู้ป่วยคนใดที่จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มดูแลตัวเองอย่างไรดี ขอให้มั่นใจว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพียงเริ่มฟังเสียงร่างกายตนเอง   เริ่มจากสนใจเรียนรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต  ออกกำลังกายโดยดูว่าโครงสร้างร่างกายของเราเหมาะ กับกีฬาประเภทไหน เลือกรับประทานอาหาร สังเกต การขับถ่าย ควบคุมอารมณ์ และดูแลสิ่งรอบตัว ตั้งแต่ความสะอาดของร่างกายตัวเอง เสื้อผ้า ห้องนอน และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน การรู้ทันเริ่มเมื่อไร ดีกว่าไม่เริ่มทำอะไรเลย       

"หัวใจของดุลยภาพศาสตร์ คือ การดูแลรักษาตนเอง แบบค่อย ๆ ใช้เวลา แน่นอนว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายต้องมีทุกคน แต่ถ้าเรารู้ทัน และเข้าใจจะเป็นประโยชน์กับ  ตัวเองมาก เพราะจะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข" ดุลยภาพบำบัดทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน ด้วยท่าบริหารร่างกายเบื้องต้น 4 ท่า รวมถึงการฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี ′ถ้าขยันบริหาร ฝึกสังเกต ทำความเข้าใจร่างกาย   ตัวเองก็เห็นผลได้ไม่ยาก′เมื่อชีวิตสมดุล โรคภัยย่อมถามหาน้อยลงอย่างแน่นอน                    ...................................................................................

7 E ดูแลสุขภาพแบบดุลยภาพบำบัด นอกจากคุณหมอจะรักษาด้วยเวชกรรมฝังเข็ม       แนวใหม่ รศ.พ.ญ.ลดาวัลย์ ยังให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลวิถีชีวิต โดยใช้หลัก 7 E เพื่อให้คนไข้ได้กลับไปปรับร่างกายของตนเอง

E - Education กระบวนการเรียนรู้ของเราต้องเกิดจากภาคปฏิบัติ ถ้าใครสนใจที่จะรักษาตัวเอง กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิด เพราะหมอที่ดีที่สุดคือตัวคุณสิ่งที่ต้องเรียนรู้ก็คือหน้าที่และโครงสร้าง ของร่างกายที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

E - Equilibrium ความสมดุล สาเหตุของการเกิดโรคก็เกิดจากความไม่สมดุลในทุกระบบ พฤติกรรม    การใช้ชีวิตจะสำคัญที่สุด

E - Exercise การออกกำลังกายจำเป็น ต้องเข้าใจเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย ต้องดูว่าโครงสร้างของเราเหมาะกับกีฬา ประเภทไหน เพราะคนเราไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกันหมดทุกคน

E - Eating การรับประทานอาหารและสมุนไพร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิต ต้องเรียนรู้ว่าจะทำให้อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นยาสำหรับร่างกายของ เราได้อย่างไร

E - Excretion การขับถ่าย ทั้งการหายใจ    น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เมื่อความสมดุลไม่เกิดกับหน้าที่และโครงสร้างร่างกายแล้ว    ผลก็จะเกิดต่อการขับของเสียด้วย

E- Emotion อารมณ์ขึ้นกับศีล สมาธิ ปัญญา   คือ อารมณ์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัญญา ต้องมีศีลก่อนสมาธิ รู้จักการผ่อนคลาย หรือ Relaxation

E - Environment สิ่งแวดล้อม ดูตั้งแต่ในบ้าน นอนหมอนยังไง ผม เหงื่อไคล เราสระทุกวันไหม เหงื่อเราออกมา นุ่นก็สกปรก คนโบราณเขายังมีการเอานุ่นไปตากแดด แต่เรามีแค่ปลอกหมอนชั้นเดียว พวกนี้มันมีเชื้อจากความสกปรก เชื้อรามีไหม        แล้วเราก็ไปบอกว่าเราเป็นภูมิแพ้ อาหารที่เรากิน    ทุกวัน เราปลูกเองได้ไหม หรือซื้อแต่ผักที่มียาฆ่าแมลงมีสารพิษ สิ่งแวดล้อมสำคัญมาก

view