สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มณฑลบูรพา ยังเป็นของประเทศไทยหรือไม่?

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์


หลักการกฎหมาย ระหว่างประเทศ อันเกิดจากมหาอำนาจตะวันตกประนีประนอมเพื่อเลี่ยงสงคราม เป็นแก่นสำคัญ ที่ยังไม่ถูกยกมาเปรียบเทียบกรณีพิพาทไทย-เขมร

มณฑล บูรพา คือ จังหวัดศรีโสภณ จังหวัดพิบูลย์สงคราม (อยู่ในเขตแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) จังหวัดล้านช้าง จังหวัดจำปาศักดิ์(ปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว) อาณาเขตพื้นที่ในมณฑลบูรพา เฉพาะสองจังหวัดที่อยู่ในเขตแดนของประเทศกัมพูชาในปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 56,000 ตารางกิโลเมตรเศษ

พื้นที่อาณาเขตมณฑลบูรพาทั้งหมด ไทยหรือสยามประเทศได้มาจากการทำสงครามป้องกันตนเองจากการรุกรานของประเทศสห พันธรัฐฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ.1938 จนถึง ค.ศ.1940 โดย "ฝรั่งเศส-อินโดจีน" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นเจ้าของบริษัทนี้(ทำนองเดียวกับบริษัท อีสต์อินเดีย มีอังกฤษเป็นเจ้าของบริษัท)

การที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) ต้องตั้งบริษัทดังกล่าวขึ้นมาครอบครองดินแดน และทำการค้าในย่านนี้ เป็นผลสืบเนื่องจาก สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ถูกประชาชนใน 13 มลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสรภาพ แยกออกตัวเองออกจากสหราชอาณาจักร เมื่อค.ศ.1775 - 1776 จึงเป็นบทเรียนแก่ประเทศนักล่าอาณานิคมที่ใช้แสนยานุภาพกองทัพเข้าไปล่า เมืองขึ้นในที่ต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนบทบาทการใช้กำลังกองทัพจากประเทศแม่เข้าไปปกครองแบบกดขี่ข่ม แหงคนในอาณานิคม ครั้นผู้ถูกปกครองทนการกดขี่ไม่ไหวก็ลุกขึ้นต่อสู้ แล้วประเทศนักล่าอาณานิคมต้องพ่ายแพ้ เป็นการเสียศักดิ์ศรีของประเทศอาณานิคม และเสียกำลังทรัพย์อย่างมหาศาล

ประเทศสหราชอาณาจักรจึงปรับเปลี่ยนรูป แบบการปกครองในอาณานิคม โดยใช้วิธีเกณฑ์ประชาชนในอาณานิคมมาตั้งเป็นกองทัพ มีผู้นำทางทหารเพียงไม่กี่สิบคนจากแผ่นดินแม่ มาเป็นผู้นำทางกองทัพนั้น โดยประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่อังกฤษใช้วิธีนี้ ส่วน ประเทศแอลจีเรีย ซูดาน บางส่วนเป็นประเทศที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสปรับแนวทางด้วยการคงกองกำลังไว้ใน อาณานิคม โดยใช้วิธีการคล้ายกับอังกฤษ แต่จัดตั้งในรูปกองกำลังทหารรับจ้าง

นี่จึงเป็นที่มา ที่จะตอบคำถามเราได้ว่า เหตุใดประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสจึงต้องตั้งบริษัทอินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นครอบ ครอบครองดินแดนในเวียนนาม กัมพูชา และ ลาว พร้อมกับแผ่อิทธิพลทางการค้าและการศาสนารวมทั้งวัฒนธรรมของตนเองไปในดินแดน เหล่านี้ในเวลาเดียวกัน

ดังนั้น บริษัทอินโดจีนฝรั่งเศส ก็มีสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน

การพิจารณาว่า มณฑลบูรพา เป็นดินแดนที่ยังคงเป็นของสยามประเทศ(ประเทศไทย)หรือไม่?
 เรา ควรพิจารณาเรื่องนี้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (The contemporary International Low) ร่วมสมัย  กฎหมายเหล่านี้ มีแหล่งที่มา และมีการบังคับใช้นับแต่ยุคเมโสโปเตเมีย สู่นครรัฐกรีก อาณาจักรโรมัน และเข้าสู่ทวีปยุโรปในยุคต้น

ทวีปยุโรปในยุคต้น(ค.ศ.1500 -ช่วงต้นทศวรรษ1800) ทวีปยุโรปยังไม่เกิดรัฐสมัยใหม่ (The modern states)  แล้วรัฐสมัยใหม่เกิดที่ไหน? และในเวลาใด?

หากไปศึกษาประวัติศาสตร์สากลจะเห็น รัฐสมัยใหม่เกิดขึ้นเป็นรัฐแรกในโลก ก็คือประเทศสหพันธรัฐอเมริกา(The Confederation of America) เมื่อ ค.ศ.1775-1776 โดยให้อ่านคำประกาศอิสรภาพ ของประเทศสหพันธรัฐอเมริกาโดยระเอียด จะเห็นหลักการปกครองในรูปแบบที่ใช้วิธีการต่างๆ ตามวิถีแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีมาแต่นมนาน นับแต่ช่วงเวลาเกิดความเจริญรุ่งเรืองในทางการปกครองนับแต่ยุคเมโสโปเตเมีย สู่นครรัฐกรีก และอาณาจักรโรมัน ที่ได้บัญญัติเอาหลักการสำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อใช้ในทางการปกครอง

ดังปรากฏ "หลักการ"ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งขอยกเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:  

1.หลักการ ต้องให้ประชาชนในเขตปกครองสามารถจะเลือกวิธีการปกครอง หรือผู้ปกครองได้โดยเสรี(The self-determination) นั่นก็คือยอมรับให้ราษฎรในพื้นที่มีสิทธิอัตวินิจฉัยด้วยตัวเอง กรณีราษฎรจะมีสิทธิอัตวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ ราษฎรนั้นต้องรู้ถึงระบบการปกครองและผู้ปกครอง และราษฎรจะต้องเข้าใจในวิธีการปกครอง และผู้ปกครอง

2.ข้อห้ามอันเป็นหลักสูงสุด(Jus Cogens) ห้ามไม่ให้ทุกรัฐในโลกนี้ไปกระทำการ เพื่อรุกราน และเผยแพร่ เข้าไปยึดครองเอาพื้นดินทั้งหลายในโลกมาครอบครอง ซึ่งเป็น "ข้อห้ามสูงสุด" แม้จะมีสนธิสัญญาใดๆ ในโลกไปขัดต่อหลักการหรือแย้งกับหลักการนี้ "สนธิสัญญานั้น" ย่อมใช้ไม่ได้

ทั้งนี้ การกระทำที่เป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศข้อนี้ ก็คือ:  

  2.1 ห้ามทำสงครามรุกรานเอาดินแดนหรือขยายอาณาเขตดินแดน จะเห็นได้ว่าหลักกฎหมายหลักนี้ ในเวลาต่อมาถูกนำไปบัญญัติไว้ในสนธิสัญญา กรุงเจนีวา ว่าด้วย กฎเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา ค.ศ.1969 (บทบัญญัติที่ 52 “ห้ามไม่ให้ใช้กำลังอาวุธ หรือกำลังบังคับคู่สนธิสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เข้าทำสัญญาด้วย หากกระทำการดังกล่าวสนธิสัญญาย่อมตกเป็นโมฆะ”)
  2.2 ห้ามทำการค้าทาส (The slave - trade )
  2.3 ห้ามทำการอันเข้าลักษณะเป็นโจรสลัด (The Piracy )
  2.4 ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการก่อให้เกิดอาชญากรรมแก่มนุษยชาติ(The crimes against Humanityหรือ ที่เรียกกันในภาษาลาตินว่า  Hostis Humanis generis  
  2.5 การใช้อาวุธเข้าประหัตประหาร หรือแยกส่วนร่างกายของมนุษย์ หรือจีโนไซต์ (Genocide) ต่อประชากรหมู่มาก
  2.6 กระทำความผิดฐานเป็นอาชญากรสงคราม (The War Criminal )
  2.7 กระทำความผิดฐานกระทำการทรมานมนุษย์ในทุกรูปแบบ (Crimes against tortures)


3.หลักการ Clausula rebus sic stautibus (อ่านว่า คอสซูล่า เลบุชซิก สตางค์ตีบุช) วลีนี้มีความหมายว่ “สิ่งที่ยังคงยืนอย่างยึดมั่นอยู่” หลักการนี้เป็นหลักทฤษฎีกฎหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ใช้บังคับกับสนธิสัญญาหรือข้อความในสนธิสัญญาใดๆ เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพการพื้นฐานที่เป็นหลักทางกฎหมาย ที่สำคัญ ซึ่งเมื่อเกิดสภาพการเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดเป็นหลักของข้อยกเว้นทั่วไปของหลักการตามสนธิสัญญา

คู่ภาคีของสนธิสัญญาใดที่ได้รับผลกระทบเช่นว่านั้น อาจยกขึ้นว่ากล่าวเอากับคู่สนธิสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ส่งผลให้สนธิสัญญานั้นหรือข้อความตามที่ได้บัญญัติไว้ในสนธิสัญญานั้น ไม่อาจมีผลบังคับใช้ได้  ซึ่งว่าโดยหลักตามปกติแล้ว เมื่อคู่ภาคีสนธิสัญญาใด ลงนามในสนธิสัญญาใดๆ ย่อมที่จะก่อให้เกิดเป็นสนธิสัญญาขึ้น คู่ภาคีทั้งสองฝ่ายของสนธิสัญญา มีหน้าที่ต้อง:
   3.1 เคารพต่อข้อความของสนธิสัญญา
   3.2 ต้องปฏิบัติตามความแห่งสนธิสัญญานั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ (bonna fide อ่านว่า โบนาร์ฟิเดห์ หรือ โบนาร์ไฟท์)
   หลัก การอันเป็นข้อยกเว้นดังกล่าวนี้ เป็น “หลักประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศ" (The Customary Internationl Law) ให้ท่านทั้งหลายไปดูสนธิสัญญากรุงเวียนนา เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ใช้บังคับในการทำสนธิสัญญาในบทบัญญัติที่ 62 ซึ่งได้บัญญัติขึ้นมีข้อบังคับ 2 ประการ
     (1) ต้องมีเหตุการณ์เช่นว่านั้นเกิดขึ้น ในขณะที่คู่สนธิสัญญาสรุปความตามสนธิสัญญาเพื่อลงนาม  และต้องเป็นเหตุการณ์ที่เป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญในหน้าที่ของคู่สนธิสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา  (ให้ดูวรรค A ของบทบัญญัติที่ 62 ของสนธิสัญญาที่อ้างถึงข้างต้น )
     (2) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ว่านี้แล้วมีผลทำให้สภาพการณ์แปรเปลี่ยนไปกระทบต่อ สิทธิและหน้าที่ของคู่สนธิสัญญา ซึ่งคู่สนธิสัญญาไม่เคยที่จะคาดคิดหรือคาดเห็นมาได้ในเวลาก่อนหน้านี้ หลักการนี้ได้รับการวินิจฉัยไว้ ในคดีของศาลโลก มีชื่อว่า United Kingdom v. Iceland  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1974   

      ในคดีดังกล่าว เรื่องโดยย่อมีว่า ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีสภาพเป็นเกาะแต่เดิมนั้นอาณาเขตทางทะเล ของไอซ์แลนด์คงมีเพียงรอบตัวเกาะ และอยู่ไม่ห่างจากตัวเกาะ ต่อมาในค.ศ.1910 สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ได้ไปทำข้อตกลงระหว่างประเทศกับประเทศเดนมาร์ค ให้ไอซ์แลนด์มีเขตอำนาจปกครองในทางทะเลไม่เกินไปกว่า 3 ไมล์ทะเลรอบเกาะนั้น ( 3 nautical miles) ข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้มีผลกระทบต่อไอซ์แลนด์ รัฐสภาของไอซ์แลนด์ และประชาชนไอซ์แลนด์ เมื่อรู้เรื่องนี้เข้าจึงไม่ยินยอม จึงประกาศใช้กฎหมายเพื่อรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหารทางทะเล รวมทั้งการทำการประมงในท้องทะเล โดยให้มีการขยายอาณาเขตการปกครองในทางทะเลออกไปเป็น 12 ไมล์ทะเล  (12 nautical miles)

ต่อมา มีการประชุมเกี่ยวกับกฎหมายทะเล (Law of The Sea I ) จัดโดยสหประชาชาติเป็นครั้งที่ 1ในค.ศ.1958 เรื่องการใช้ทะเลหลวง (High Sea) ซึ่งการใช้ทะเลหลวงอาจแยกได้เป็นสองส่วนคือ (1) ใช้ทะเลหลวงเป็นทางเดินเรือ (2) ใช้ทะเลหลวงเพื่อการประมง และเก็บเกี่ยวเอาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งมีประเทศทั้งหลายที่มีอาณาเขตติดกับทะเล ต้องการที่จะสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เพราะฉะนั้นอาณาเขตทะเลหลวงซึ่งมีเขตพื้นที่ติดต่อกับทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ของรัฐใดรัฐหนึ่ง จึงควรต้องอยู่ในเขตอำนาจและการจัดการโดยสิ้นเชิงของรัฐนั้นๆ และรัฐใดๆ ทุกรัฐที่มีทะเลอาณาเขตติดต่อกับเขตทะเลหลวง

ฉะนั้นในการประชุม (Law of The Sea II ) ค.ศ.1960 แม้จะยังไม่มีข้อตกลงอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของรัฐที่มีทะเล อาณาเขตติดกับเขตทะเลหลวง ในการประชุมครั้งนี้ได้เกิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาว่า ทะเลหลวง( High Sea) เป็นของทุกๆ รัฐในโลก แต่การจะใช้สิทธิในเขตพื้นที่ทะเลหลวง จะต้องคำนึงถึงการใช้สิทธิและการทรงสิทธิของรัฐใดๆ ที่เป็นเจ้าของทะเลอาณาเขตที่มีเขตติดต่อกับเขตทะเลหลวง ในเรื่องเกี่ยวกับการทำการประมง (fishing Zone)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปภายหลังในค.ศ.1960 ว่าเกิดเขตอำนาจ"สองวง" ขึ้นซ้อนกันในอาณาเขตทะเลหลวง ต้องไม่ให้สิทธิขาด ในการจัดการเกี่ยวกับพื้นที่อาณาเขตทะเลหลวง ที่มีอาณาเขตทะเลหลวงติดต่อกับทะเลอาณาเขตของรัฐ ที่มีพื้นที่ดินติดกับทะเล ที่จะจัดการทรงสิทธิและใช้สิทธิอย่างเด็ดขาด เพราะหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ ก็จะทำให้สิทธิของรัฐอื่นๆ สูญสิ้นไปในเรื่องของการจัดการและการใช้สิทธิในทะเลหลวง  

ต่อมา ค.ศ.1972 ไอซ์แลนด์ ออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสงวนและรักษาทรัพยากรในทะเลหลวงที่มีอาณาเขต ติดต่อกับทะเลอาณาเขตของไอซ์แลนด์ ทำให้ประเทศอังกฤษและเรือประมงอังกฤษ ไม่อาจ เข้าไปทำการประมงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางทะเลในทะเลหลวง ที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลอาณาเขต อันเป็นเขตพื้นที่ทางทะเลภายในของไอซ์แลนด์ได้ตามใจชอบ อังกฤษได้ประท้วงไอซ์แลนด์

ฝ่ายไอซ์แลนด์ไม่ยอมรับฟัง อังกฤษจึงฟ้องไอซ์แลนด์ ตกเป็นจำเลยในศาลโลกใน ค.ศ.1972 ซึ่งในการต่อสู้คดีนั้น อังกฤษได้อ้างถึงข้อตกลงแลกเปลี่ยนเป็นลายลักษณ์อักษร ระหว่างอังกฤษกับไอซ์แลนด์ในปีค.ศ.1961 ที่อังกฤษยอมให้ไอซ์แลนด์ขยายทะเลอาณาเขตจาก 3 ไมล์ เป็น 12 ไมล์ทะเล

ในขณะเดียวกันไอซ์แลนด์ต้องยอมให้อังกฤษเข้าไปทำการประมงและเก็บเกี่ยว ทรัพยากรธรรมชาติในเขตทะเลหลวงที่มีอาณาเขตติดต่อกับ ทะเลอาณาเขตของไอซ์แลนด์

แต่ไอซ์แลนด์ไม่ยอมเข้ามาเป็นจำเลยในคดี หรือไม่ยอมรับรองเขตอำนาจศาลของศาลโลก ถึงกระนั้นก็ตาม ศาลโลกอ้างว่า การแลกเปลี่ยนตราสารระหว่างอังกฤษกับไอซ์แลนด์ ค.ศ.1961 เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ แม้ไอซ์แลนด์จะออกกฎหมายในปี ค.ศ.1972 เพื่อจะสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

อังกฤษแม้ไม่โต้แย้งในประเด็นนี้ แต่อังกฤษได้กล่าวอ้างว่า หลักการจากประชุมกฎหมายทางทะเลในค.ศ.1958 โดยสหประชาชาติ ในบทบัญญัติที่ 2 รัฐที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ย่อมไม่มีสิทธิที่จะทำให้ผลประโยชน์ของรัฐต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งอังกฤษต้องสูญสิ้นไปเพราะการบัญญัติกฎหมายภายในของรัฐที่มีอาณาเขต ทะเลภายในติดต่อกับอาณาเขตพื้นที่ทะเลหลวง

นั่นก็คือ เมื่อนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อที่ 3 มาปรับใช้ในกรณีเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 3 เกิดขึ้นกับรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาใดๆ และองค์ประกอบที่จะต้องบังคับใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศข้อนี้ครบถ้วนตาม หลักกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นแต่เพียงทำให้สนธิสัญญาฉบับนั้นไม่มีผลบังคับใช้ แต่รัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาใดก็ตาม จะยกหรืออ้างสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในข้อนี้มาบอกเลิก บอกถอนความในสนธิสัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว(unilateral action) ไม่ได้ รัฐเช่นว่านี้ย่อมมีหน้าที่ต้องเปิดการเจรจา และสรุปข้อสนธิสัญญา รวมทั้งทำสนธิสัญญากันใหม่ในระหว่างคู่ภาคีสนธิสัญญา

เราอาจเปรียบเทียบโดยนำคดีที่ศาลโลกตัดสินไว้ ในคดีระหว่างประเทศสหราชอาณาจักร v. ไอซ์แลนด์ มาศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีสหพันธรัฐฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับสยามประเทศ เมื่อค.ศ.1904  และค.ศ.1907 เป็นผลให้ฝรั่งเศสอินโดจีน เกิดอำนาจครอบครองพื้นที่อันเป็นเขตมณฑลบูรพา ซึ่งในเวลาก่อนหน้านั้น ฝรั่งเศสและอังกฤษ ได้เจรจาทำสนธิสัญญาลับ ระหว่างสองชาติ ที่มีชื่อว่า “Entente Cardiale”  (อ่านว่า อองตองเต้ คาร์ไดแอล)

ซึ่งสองชาติดังกล่าวใช้เวลาเจรจาสนธิสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่ค.ศ.1897 จนถึง ค.ศ.1904 จึงได้มาสรุปข้อสนธิสัญญาและลงนามกันใน "สนธิสัญญาลับ" ฉบับนี้ที่กรุงลอนดอนในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1904 โดย Mr.Landowone กับ Monsieur Paul Gambon  (ขณะนั้นทั้งคู่เป็นรัฐมนตรีระหว่างประเทศของอังกฤษและฝรั่งเศส)

ในสนธิสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเป็นสามตอน ซึ่งจะกล่าวเฉพาะตอนที่ 3 ที่เกี่ยวกับสยามประเทศ มีข้อสาระสำคัญว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า 1.ให้ฝรั่งเศสขยายอิทธิพลได้ทางซีกตะวันออกของแม่น้ำ(แม่น้ำโขง) 2.ให้อังกฤษขยายอิทธิพลได้ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำ(แม่น้ำโขง)

เขตแบ่งแดนให้ถือเอาร่องน้ำลึกที่สุดของท้องน้ำแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งแดน เป็นหลัก คำว่า อิทธิพล ที่ปรากฏในสนธิสัญญานี้ คู่ภาคีสนธิสัญญาทั้งสองใช้คำว่า Influences สาระสำคัญข้อต่อไปของสนธิสัญญาลับฉบับนี้ก็คือ คู่ภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้เขียนไว้โดยแน่ชัดว่า ไม่ประสงค์จะผนวกเอาดินแดนของสยามมาเป็นของตน

คำว่า ผนวกเอาดินแดน ก็คือคำว่า Annexation ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น มอรอคโคหรือ อียิปส์ หรือประเทศอื่นๆ ที่อ้างถึงในสนธิสัญญาลับฉบับนี้ คู่สัญญาลับทั้งสองฝ่ายใช้คำว่า มีเขตอำนาจเหนือ (The Jurisdiction) ซึ่งต่างกับกรณีสยามประเทศ ให้ดูสนธิสัญญา อองตองเต้ฯ แนบท้ายนี้

 

4. Erga Omnes (ภาษาละตินอ่าน “เออร์ก้า ออมเนส") เป็นเรื่องหลักทฤษฎีกฎหมายที่รัฐคู่กรณีมิใช่แต่อาจจะใช้อ้างยันต่อคู่สนธิ สัญญาได้อย่างเดียว แต่อาจใช้อ้างยันได้ถึงประชาคมแห่งรัฐทั้งหลาย เช่น กรณีที่บุคคลธรรมดาก็ดี หรือนิติบุคคลก็ดี เป็นบุคคลที่อยู่ในความคุ้มครองของประเทศใด ย่อมหมายถึง บุคคลเช่นว่านั้น มีที่มาหรือมีถิ่นกำเนิดจากชาติหรือรัฐใดๆ  รัฐนั้นๆ มีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองทางกฎหมายหรือทางการฑูต แก่บุคคลนั้นๆ หรือนิติบุคคลนั้นๆ

เช่นคดีบาร์เซโลน่า แทรกชั่น (Barcelona Traction) บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศแคนาดา ซึ่งย่อมมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองดังกล่าว ทั้งนี้เพราะเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า นิติบุคคลที่ว่านี้ถือกำเนิดภายใต้กฎหมายภายในของแคนาดา แม้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่จะเป็นคนเบลเยี่ยม รัฐบาลหรือประเทศเบลเยี่ยมก็ไม่อาจเข้าไปให้ความคุ้มครองได้ เพราะไม่มีสายสัมพันธ์ต่อตัวนิติบุคคลนั้น

คดีดังกล่าวถูกพิพากษาโดยศาลโลก (The International Court of Justice) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1964  กับได้รับการพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1970

เมื่อนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศร่วม สมัยมาวิเคราะห์ร่วมกับสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ,1907 และ สนธิสัญญาลับอองตองเต้ คาร์ไดแอล จะให้ผลดังนี้
 1.หากวิเคราะห์ด้วยหลัก กฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัย หลักที่1 คือหลัก The self-determination นั่นก็คือ ประชาชนในรัฐสยามประเทศ จะต้องรู้และเข้าใจถึงสนธิสัญญาฝรั่งเศสสยาม ค.ศ.1904-1907 โดยตลอด และจะต้องรู้และเข้าใจถึงสนธิสัญญาลับระหว่างอังกฤษฝรั่งเศส ที่ทำไว้ในสนธิสัญญา อองตองเต้ คาร์ไดแอล โดยตลอด
 แต่ปรากฏว่าสนธิ สัญญา อองตองเต้ คาร์ไดแอล เพิ่งได้รับการเปิดเผยทางอินเตอร์เน็ตไม่ถึงสิบปีมานี้ เพราะฉะนั้นสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 เมื่อวิเคราะห์ด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัยหลักที่ 1  จึงตกเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิงและไม่มีผลบังคับ
 2.หากวิเคราะห์ด้วยหลัก กฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัยหลักที่ 2 คือหลัก Jus Cogens ข้อห้ามขาดอันเป็นกฎสูงสุดของกฎหมายระหว่างประเทศ การทำสงครามเพื่อรุกรานเอาดินแดนหรือการทำสงครามเพื่อขยายดินแดน  เป็นเรื่องต้องห้ามโดยเด็ดขาด ตามหลักการนี้โดยแน่ชัด และนานาชาติต่างยอมรับหลักการนี้มานานนับแต่มีรัฐสมัยใหม่รัฐแรกเกิดขึ้นใน โลก(ประเทศสหรัฐอเมริกา)
 ฉะนั้น เมื่อพิเคราะห์สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907และสนธิสัญญาลับอังกฤษ-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศในหลักนี้ สนธิสัญญาดังกล่าวนี้ จึงตกเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิงทันที
  3.เมื่อนำเอาสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 และสนธิสัญญาอองตองเต้ คาร์ไดแอล ระหว่าง  อังกฤษ-ฝรั่งเศส ที่ใช้เวลาเจรจาสนธิสัญญาลับนี้ นับแต่ปีค.ศ.1897 - 1904 จนสรุปสนธิสัญญาและลงนามกันที่กรุงลอนดอน วันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1904

มาพิเคราะห์ร่วมหลักกฎหมายระหว่าง ประเทศร่วมสมัยในหลักที่ 3  Clausula  rebus sic stautibus(อ่านว่า คอสซูล่า เลบุชซิก สตางค์ตีบุช) จะเห็นว่าเมื่อสนธิสัญญาลับ(อองตองเต้ คาร์ไดแอล) ระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ปรากฎแก่ชาวโลก ย่อมทำให้สภาพการพื้นฐานที่สำคัญที่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่าง ประเทศของคู่ภาคีสนธิสัญญาทั้งสองต่อสยามประเทศ ที่ปรากฎอยู่ในสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1904, 1907    ต้องเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ผิดไปจากข้อความทั้งหลายที่เป็นภาระหน้าที่ของสยาม ตามที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 และคู่ภาคีสนธิสัญญา ค.ศ.1904, 1907 ไม่ว่าจะเป็นสยาม หรือประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไม่อาจคาดเห็น หรือคาดคิดได้ก่อนล่วงหน้า จึงมีผลทำให้สนธิสัญญาสยาม- ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ,1907  สิ้นผลบังคับใช้ไปโดยทันที

ทั้งนี้ เป็นไปตามหลัก Clausula  rebus sic stautibus ดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น อีกทั้งยังสามารถนำไปเทียบเคียงกับคดีที่ได้รับการวินิจฉัยไว้โดยศาลโลก (The International  Court of Justice: ICJ) คดีระหว่าง United Kingdom v. Iceland พิพากษาไว้ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1974 ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น

 4.เมื่อนำเอาสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 มาพิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัย ในหลักที่ 4 คือหลัก Erga Omnes (เออร์ก้า ออมเนส) เป็นเรื่องหลักทฤษฎีกฎหมาย ที่รัฐคู่กรณีมิใช่แต่อาจจะใช้อ้างยันต่อคู่ภาคีสนธิสัญญาได้เพียงฝ่ายเดียว แต่อาจนำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดๆ ใช้อ้างยันได้ถึงประชาคมแห่งรัฐทั้งหลาย

การกระทำของฝรั่งเศสที่กระทำต่อสยามประ เทศในค.ศ.1904, 1907 ด้วยการนำเอาเรือรบติดอาวุธมาปิดปากอ่าวประเทศสยาม นับได้ว่าเป็นการทำสงครามรุกรานเพื่อเอาดินแดน หรือการทำสงครามเพื่อขยายดินแดน ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศหลักที่ 1 ที่กล่าวอ้างถึงข้างต้นคือ หลักการ Jus Cogens ซึ่งเป็นเรื่องห้ามขาดมิให้รัฐใดๆ กระทำการเช่นว่านี้ เป็นที่รับรู้ของชาวโลกโดยทั่วไป

ฉะนั้น หลักการในข้อนี้จึงเป็นหลักการทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ชาวโลก "ยึดมั่นและยืนยงคงอยู่" ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัยประกอบการพิจารณากับหลักกฎหมายระหว่าง ประเทศในหลักนี้ ฉะนั้น สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 เมื่อพิเคราะห์ด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศหลักนี้แล้ว จึงตกเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง  

สนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1941 กระทำที่กรุงโตเกียว โดยประเทศญี่ปุ่น เป็นคนกลาง ในการสรุปข้อสนธิสัญญาและลงนามตามสนธิสัญญาฉบับนี้ และได้รับการให้สัตยาบัน (Ratification) จากสภานิติบัญญัติของคู่ภาคีสนธิสัญญาทั้งสองฝ่าย ย่อมมีผลบังคับใช้ โดยทันทีปราศจากข้อสงสัย อีกทั้งยังเป็นการยกเลิก  เพิกถอน สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904, 1907 ไปในตัว

เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าสนธิสัญญาระหว่างไทย -ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1941 เป็นสนธิสัญญาที่กระทำขึ้นเพื่อระงับสงครามอินโดจีนระหว่างไทย - ฝรั่งเศส ที่มีฝรั่งเศสเป็นผู้รุกรานทางอาวุธมาแต่ค.ศ.1938 จนถึงปีค.ศ.1940 และประเทศไทยใช้สิทธิป้องกันตัวเองจากการรุกรานทางอาวุธของฝรั่งเศส เพราะจากถ้อยคำในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวนี้ใช้คำว่า “สัญญาสันติภาพ” เป็นเรื่องผู้แพ้ในสงคราม ยอมแพ้และขอเสนอมาตรการทางสันติภาพแทนที่มาตรการทางการใช้แสนยานุภาพ

อีกทั้งสนธิสัญญาฉบับนี้ ยังเป็นเรื่องการทำสงครามกันที่เกิดขึ้นก่อนเวลาที่จะเกิดสงครามมหาเอเชีย บูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปเอเชีย) จะต้องนับเวลาเริ่มสงครามนี้ คือวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 อันเป็นวันที่กองทัพของประเทศญี่ปุ่นได้บินถล่มฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา ที่ เพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Habour) ซึ่งในวันดังกล่าวเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นบันทึกประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. หลังเวลาที่เพริล์ ฮาร์เบอร์ ถูกกองทัพเรือและกองทัพอากาศญี่ปุ่นถล่มทิ้งระเบิดทำลาย

เมื่อวันเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของโลก ปรากฏข้อเท็จริงเช่นนี้ และมิอาจเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า สนธิสัญญาระหว่าง ไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1941 กระทำที่กรุงโตเกียว โดยมีญี่ปุ่นเป็นคนกลาง ตามการร้องขอของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสผู้รุกราน จึงเป็นสัญญาสันติภาพระหว่างไทย-ฝรั่งเศส จึงมีผลบังคับใช้ได้อยู่จนปัจจุบัน

หากจะมีผู้กล่าวว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทย โดยนายควง อภัยวงศ์ และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรณ์ ไปลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศกับฝ่ายสัมพันธมิตร(สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 (พ.ศ.2489) ข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศ มิใช่สนธิสัญญา อีกทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้มิได้รับการให้สัตยาบันจากรัฐสภาไทย และรัฐสภาแห่งคู่ภาคีสนธิสัญญาในข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้ ข้อตกลงนี้จึงมีผลเป็นเพียงข้อตกลงของฝ่ายบริหารของประเทศไทยกับฝ่ายบริหาร ของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร(โปรดดูคำอธิบายว่า “สนธิสัญญา” ต่างกับ “ข้อตกลงระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร”  ในเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา U.S. State Department)

ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างประเทศระหว่างไทยกับฝ่ายประเทศสัมพันธมิตร จึงมีสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศเท่านั้น มีศักดิ์และสิทธิ์ต่ำกว่าสนธิสัญญา จึงไม่มีผลไปยกเลิกสนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1941 (สนธิสัญญาโตเกียว ค.ศ.1941) ได้

อีกทั้ง ข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้ มิได้รับการอัตวินิจฉัยโดยประชาชนทั้งหมดของประเทศไทย(The  Self - Determination) หรือประชากรผู้มีถิ่นพำนักอาศัยในมณฑลบูรพา อันเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัย ข้อ 1 ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงไม่อาจนำไปยกเลิก เพิกถอน สนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสในปีค.ศ.1941 ได้ดังอธิบายมาแล้ว

view