สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มานิต... ข้อต่อรองที่มิอาจ เป็นต่อ

จากประชาชาติธุรกิจ

มนุษย์การเมือง

โดย...อิศรินทร์ หนูเมือง

isuans@hotmail.com




ทันทีที่ ′กฎเหล็ก′ ถึงวาระ ครบรอบ 1 ปี 5 วัน

มีรัฐมนตรี 2 คน ต้องพิษข้อที่ 9 ที่ระบุว่า ′รัฐมนตรีทุกคนไม่มีสิทธิเหนือประชาชนคนอื่นในแง่การปฏิบัติตามกฎหมาย′

เป็น เหตุให้ นายวิทยา แก้วภราดัย นักการเมืองในก๊กเดียวกับผู้จัดการรัฐบาล′สุเทพ เทือกสุบรรณ′ เลขาธิการผู้มีอิทธิพลแห่งพรรคประชาธิปัตย์

ต้อง ประกาศอำลาตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทันที ภายใน 24 ชั่วโมง ที่ ′มติ′ และคำ ′สอบสวน′ ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่ง นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ส่งถึงห้องทำงานนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล

มีข้อสรุประบุความผิด 4 นักการเมือง  8 ข้าราชการ

1 นักการเมือง และ 1 ข้าราชการการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้ง ′ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู′ เลขานุการและที่ปรึกษา′น.พ.กฤษดา มนูญวงศ์′ ลาออกไปก่อน การสอบสวนจะเริ่มต้น

อีก 1 นักการเมือง ระดับรัฐมนตรีว่าการ ลาออกในวันคำพิพากษา ของ ′หมอบรรลุ′ ถึงทำเนียบ

มีเพียงอีก 1 นักการเมือง ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ ′มานิต นบอมรวดี′     ที่มาจากกลุ่มมัชฌิมา แห่งพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ที่ยืนกราน ′ลาพัก′ ไม่ยอม  ′ลาออก′

ท่ามกลางเสียงสนับสนุนของสมาชิกพรรค ผู้มีบารมีของพรรค ทั้ง สมศักดิ์   เทพสุทิน-เนวิน ชิดชอบ

ไม่เพียงเท่านั้น ′หัวหน้าพรรค′ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ   ′ชัย ชิดชอบ′ ก็ให้การสนับสนุน

ทั้งเครือข่าย-ร่มเงา ของ ′มานิต′ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ′กฎเหล็ก′ นั้นบังคับใช้เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น

′ ชัย′ ที่เป็นพ่อแห่งพ่อของ ′เนวิน′ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เชื่อว่า ′มานิต′ จะชี้แจงได้และคงมีทีเด็ด ถึงกล้าต่อสู้ และกฎเหล็กของนายกรัฐมนตรีเป็นกฎเหล็กที่วางไว้ในนามหัวหน้าพรรคประชาธิปัต ย์ ซึ่งจะไปก้าวก่ายพรรคอื่นไม่ได้

ทั้ง ๆ ที่ ′กฎเหล็ก′ ถูกประกาศในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 ธันวาคม 2551 เพื่อเป็นข้อบังคับทางจริยธรรมของรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้ ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

แต่ยังมีความพยายามอย่างยิ่งยวด  ทุกวิถีทาง เพื่อให้ ′มานิต′ ยังคงรั้งเก้าอี้ไว้

ทางหนึ่ง เป็นเหตุผลทางการเมืองภายในพรรคภูมิใจไทย ที่แบ่งผลประโยชน์การปกครองกันอย่างชัดเจน ระหว่าง     กลุ่มมัชฌิมา ของ ′นายสมศักดิ์′ กับกลุ่ม   ′เพื่อนเนวิน′

ทางหนึ่ง เป็นเหตุผลทางการเมือง      ที่ ′เพื่อนเนวิน′ ไม่สามารถก้าวล่วง-      ล้วงลูก ไปถึง ′กลุ่มมัชฌิมา′ ได้

จึงเป็นภาวะที่ต้องผลัก-ยัน ′มานิต′ ไว้เป็นแนวต้าน ไม่ให้ ′กฎเหล็ก′ ของนายกรัฐมนตรี ทลายกำแพง ′โควตา� เก้าอี้รัฐมนตรีเข้ามาได้

เมื่อ ′มานิต′ ร้องขอที่จะ ′อยู่ต่อ′ จึงต้องมีคำอธิบายต่อสาธารณะ เพราะหากกล่าวถึง ′พรรคภูมิใจไทย′ ก็ย่อมหมายถึงหน้าตา-ต้นทุน ของ ′เนวิน′

คนการเมืองที่ ′มานิต′ ประกาศว่า ′ทำงานด้วยแล้วสนุก′ อย่าง ′เนวิน′ จึงต้องออกหน้าเจรจากับพรรคประชาธิปัตย์

คำแนะ-คำนำ-คำสั่ง ของ ′เนวิน′      จึงกลายเป็นมติพรรค-คำบัญชา ′มานิต′

เส้นตายที่ ′เนวิน′ เจรจากับ′สมศักดิ์′ คือ คำตัดสินของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีเวลา 30 วัน

จึงเป็นที่มาของ ′หนังสือลาพัก′ ของ ′มานิต′ ที่ยื่นขออนุมัติกลางอากาศ       หน้าตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล

′ ข้าพเจ้าลาพักราชการเป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2553 เป็นต้นไป เพื่อให้กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่จะดำเนินการในขั้นต่อไปเป็นไปอย่าง มีอิสระ ป้องกันข้อครหาการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายนโยบาย′

′ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบว่าข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็ง ข้าพเจ้าพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกจากตำแหน่งทันที′

ปะทะกับคำสั่ง ′ตีกลับ′ และ         ′ไม่อนุมัติ′ จาก ′อภิสิทธิ์′ ที่สวนกลับกลางอากาศ ทันทีที่ รับทราบ

′มานิต′ กลายเป็นข้อต่อรอง ที่เป็นรองอยู่หลายขุม

เป็นข้อต่อรอง ที่พรรคภูมิใจไทยเป็นรอง และอาจมีแต่พ่ายแพ้ต่อพรรค        ประชาธิปัตย์ ที่เป็นต่อในทางการเมือง

เป็น ข้อต่อรอง ที่ยิ่งทำให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรี มัวหมอง มีมลทิน เพราะฝ่าฝืน กลยุทธ์-คุณธรรม แห่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์-หัวหน้ารัฐบาล

คำทำนายทางการเมืองของ ′มานิต′  ที่เคยบอกว่า′รัฐบาลนี้จะอยู่นาน′ อาจจะจริง แต่ตำแหน่งทางการเมืองของ มานิต′ อาจมีเวลาเหลืออยู่สั้น-ยิ่งกว่าสั้นแล้ว

′มานิต′ บอกว่า ไม่มีฝ่ายไหนมีประเด็นที่จะกดดันรัฐบาล การใช้เงินกู้จาก        พระราชกำหนด, พระราชบัญญัติ          8 แสนล้าน ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าโครงการ ต่าง ๆ จะสำเร็จแค่ไหน

แม้ ที่ผ่านมา บางจังหวะ บางเงื่อนไขทางการเมือง พรรคภูมิใจไทยจะสามารถเบียด-ขี่-กดดันพรรคประชาธิปัตย์ได้ ทั้งในคณะรัฐมนตรีและในพรรคร่วมรัฐบาล

แต่ ′มานิต′ บอกว่ามันเป็นเพียงรสชาติของการร่วมรัฐบาล และเป็นความ ′ครบเครื่อง′ ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เปรียบเหมือนผู้หญิง ทั้งสวย ทั้งเปรี้ยว และเก่ง

′ มานิต′ สำเหนียก ในการอยู่ร่วมชายคาประชาธิปัตย์ว่า′ผมถือว่าคนเราถ้ารักกัน อยู่ด้วยกันแล้ว มันจะต้องดูตัวเองด้วย ถ้าเราทำให้เขาอึดอัดมาก เราก็ต้องหยุด ถ้าต่างฝ่ายต่างคิดและทำได้อย่างนี้           กี่ปีก็อยู่ได้′

การได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ′หมอ′ จึงมีความหมายสำหรับ ′มานิต′     ทั้ง ๆ ที่ปราศจากภาระ และความคาดหวังจากพรรคภูมิใจไทย

เขา จึงไม่เคยคิด ′แย่งซีน′ จากพรรคร่วมรัฐบาลงาน แม้งานในความรับผิดชอบของเขาจะเป็นเพียง ′เงา′ ของนโยบายด้านสังคมของพรรคประชาธิปัตย์

แต่ ′มานิต′ ไม่คิดขึ้นรถ ′โดยสาร′ ผลงานของรัฐมนตรีร่วมกระทรวง แต่เป็นรัฐบาลผสม ′ก็ต้องไปด้วยกัน′

เขาบอกว่าการได้อยู่กระทรวงนี้ มีงานทำ′มหาศาล′ ตั้งแต่คนเกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้จะไม่ได้สร้างถนน บ่อน้ำ หรืออาคาร

แต่ผลสรุปของคณะกรรมการชุด    ′ หมอบรรลุ′ ระบุว่า ′มานิต′ มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกบริษัทเอกชนมาหารือ การจัดซื้อ-จัดจ้างในโครงการไทยเข้มแข็ง ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง

นาย มานิต นพอมรบดี เจ้าของเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่ามีทรัพย์สินทั้งสิ้น เมื่อเข้ารับตำแหน่ง 22 ธ.ค. 2551 จำนวน 243.5 ล้านบาท

แบ่งเป็นเงินสด 270,000 บาท เงินฝาก 13 บัญชี 80 ล้านบาท เงินลงทุน            2.5 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 49.8 ล้านบาท ที่ดิน 44 แปลง รวมมูลค่า 87.3 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 9.9 ล้านบาท รถยนต์ 2 คัน 1.2 ล้านบาท สิทธิและสัมปทาน   3.5 ล้านบาท ทรัพย์สินอื่น ๆ 8.5 ล้านบาท มีหนี้สิน 43.9 ล้านบาท

ส่วน นางกอบกุล ภรรยาผู้ล่วงลับ     มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 53.8 ล้านบาท มีหนี้สิน 457,304 บาท

รวมมีทรัพย์สินทั้งสิ้น 255.9 ล้านบาท ไม่นับรวมเงินฝาก บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2.9 ล้านบาท

 

view