สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

TDRI เผยผลวิจัย โครงการ30บาท ช่วยลดความยากจนแก่ประชาชนได้

จากประชาชาติธุรกิจ


ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตรฯ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยผลการศึกษาชุดโครงการวิจัย "การใช้ข้อมูลการสำรวจมาวัดผลกระทบโครงการ 30 บาทฯ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและ การลดความยากจน และการสร้างดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ" โดยการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) การศึกษาผลแระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของประชาชนและการลดความยากจน 2) ดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ และ 3) แนวทางและทางเลือกในการสร้างตัวแบบสำหรับการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ประชาชน ได้รับ (Senefit Incidence Aralysis) จากเงินอุดหนุนของภาครัฐในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และนายอรรถกฤต เล็กวิไล โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกัน สุขภาพไทย (สวปก.) ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
การศึกษาผลกระทบของเหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพของประชาชน และการลดความยากจน ผู้วิจัยได้คิดค้นวิธีสร้างเส้นความยากจนที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมา เพื่อหาจำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพ และนำมาประกอบกับการวัดช่องว่างความยากจน (normalized poverty gap) ที่เพิ่มขึ้นจากการมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปีต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาโครงการหลักประกันสุขภาพต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (จากโครงการ 30 บาทฯ) สามารถลดภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ยากไร้ที่สุดลงจนแทบจะหมดไปในช่วง สามปีแรกของโครงการ 30 บาทฯ ซึ่งในอดีตกลุ่มคนจน (กลุ่มที่อยู่ใต้เส้นความยากจนตั้งแต่แรก) เคยได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ ประเทศ แต่หลังจากมีโครงการ 30 บาทฯ ขนาดความรุนแรงของความยากจนเพราะสุขภาพในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แต่หลังจากมีโครงการ 30 บาทฯ ขนาดความรุนแรงของความยากจนเพราะสุขภาพในกลุ่มคนจนก็ลดลงจากประมาณร้อยละ 1 จนแทบจะกลายเป็นศูนย์ในปี 2545 และ 2547
อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อสังเกตว่า การปรับเส้นความยากจนให้รวมหรือไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (ซึ่งมีความแตกต่างเพียงประมาณ 19-33 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น) มีผลทำให้จำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปถึงร้อยละ 0.25-1.1 ของประชากรทั้งประเทศในปีต่างๆ (หรือประมาณหยาบๆ อยู่ระหว่าง 200,000-600,000 คน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีครัวเรือนจำนวนมากที่เสมือนลอบคอปริ่มน้ำอยู่บริเวณ ใกล้ๆ เส้นความยากจน และมีนัยเชิงนโยบายว่า ถ้ามีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล (copayment) แต่เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้จำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพที่มีจำนวน ขึ้นอย่างมากได้
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของครัวเรือนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเทียบกับคน จนทั้งหมดพบว่ามีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก (ประมาณร้อยละ 3-9 ของครัวเรือนที่จน หรือร้อยละ 0.5-2.0 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) และสัดส่วนของครัวเรือนที่จนเพราะรายจ่ายที่เกิดจากการเป็นผู้ป่วยในโรง พยาบาลก็ยิ่งมีจำนวนน้อยลงไปอีก (ตกประมาณร้อยละ 1 ของครัวเรือนที่จนหรือร้อยละ 0.1-0.2 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) แต่ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงส่วนหลังนี้ไม่สำคัญ เพราะตัวเลขที่ต่ำนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วย ในในแต่ละปีมีสัดส่วนที่น้อยกว่าผู้ป่วยนอกมาก แต่ในขณะเดียวกันการที่คนที่จนเพราะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น ผลจากการเข้านอนโรงพยาบาลบ่งชี้ว่าโครงการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ ป่วยนอกยังมีความสำคัญในด้านการลดความยากจนของคนไทยจำนวนมาก
  การศึกษาส่วนที่สองเรื่อง "ดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ" เป็นการพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นธรามด้านสุขภาพ ชึ่งเรามีเงื่อนไข 2 ประการ คือประการแรกประชาชนแต่ละคนได้รับบริการตามความจำเป็นด้านสุขภาพ โดยไม่ขึ้นอยู่กับฐานะหรือความสามารถในการจ่ายของเขา และประการที่สองประชาชนแต่ละคนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายตามความสามารถในการจ่าย ของตัวเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นด้านสุขภาพของตน การศึกษานี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพรวมสี่ กลุ่ม คือดัชนีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความยากจน ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการสุขภาพ และดัชนีอื่นๆ ซึ่งดัชนีทุกตัวจะต้องสามารถเชื่อมโยงกับระดับเศรษฐกิจฐานะได้
การศึกษานี้พยายามให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการกำหนดนโยบาย ที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากมีการใช้หลักการวิเคราะห์ ฐานความคิด หรือทฤษฎีรองรับแบบผิดๆ ตัวอย่างเช่น การหาจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะล้มละลายจากการใช้จ่ายด้านสุขภาพ ที่ใช้หลักว่าถ้าครอบครัวไหนมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าร้อยละ 10 ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะล้มละลายเพราะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งเมื่อใช้ตัวชี้วัดนี้กับกลุ่มผู้มีสิทธิ์ในโครงการ 30 บาทฯ ก็จะได้ข้อสรุปที่ผิดเพี้ยนไปว่ากลุ่มคนรวยมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย มากกว่ากลุ่มคนจน เนื่องจากข้อมูลบ่งชี้ว่าคนรวยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าคนจน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเมื่อคนรวยขึ้นก็มักสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้นและคนที่มี เงินและสนใจด้านสุขภาพก็มีแนวโน้มจะใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพในสัดส่วนที่สูง กว่าคนจน อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วครัวเรือนที่อยู่เหนือเส้นความยากจนมากๆ มักจะสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลที่สูงกว่าร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายรวมได้โดยไม่ลำบากนัก แต่ในทางกลับกันสำหรับครัวเรือนที่อยู่เหนือเส้นความยากจนไม่มากนักนั้น มีครัวเรือนจำนวนมากที่มีโอกาสตกหล่นความยากจนจากการมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ดร.วิโรจน์ กล่าวว่า ความเป็นธรรมด้านสุขภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน หากใช้ดัชนีจากงานวิจัย จะพบว่า ในส่วนแรกนั้น การได้รับบริการตามความจำเป็นด้านสุขภาพของคนไทยยังขาดแคลนอย่างยิ่ง เนื่องจากคนไข้มีจำนวนมาก แพทย์และพยาบาลมีน้อย ทำให้ดูแลคนไข้ไม่ทั่วถึง ซึ่งแม้กระทั่งคนรวยก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน
การศึกษาส่วนที่ 3 เรื่อง "แนวทางและทางเลือกในการสร้างตัวแบบสำหรับวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้ รับจากเงินอุดหนุนของภาครัฐในโครงการหลักประกันสุขภาพ" โดยได้นำเสนอตัวแบบที่สามารถนำมาใช้คำนวณผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการ ใช้จ่ายของภาครัฐ ในโครงการหลักประกันสุขภาพ 4 ขั้นตอน คือ การจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่ม การแจกแจงการใช้บริการสาธารณสุขของแต่ละกลุ่มประชากร การคำนวณเงินอุดหนุนของภาครัฐต่อหน่วยบริการแ ละสุดท้ายวิเคราะห์ขนาดและการกระจายเงินอุดหนุนของภาครัฐไปยังประชากรกลุ่ม ต่าง ๆ
ผลการศึกษานี้ มีส่วนทำลายมายาคติที่ว่ารัฐบาลนำภาษีคนรวยมาอุ้มคนจน เพราะความจริงแล้วถึงแม้ว่าคนจนจะได้ประโยชน์จากโครงการ 30 บาทฯ มากกว่าคนรวย แต่เมื่อมาคำนวณหาประโยชน์ที่คนฐานะต่าง ๆ ได้รับจากการใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐในภาพรวม (ซึ่งรวมโครงการสวัสดิการข้าราชการและโครงการอื่น ๆ ที่รัฐจ่ายสมทบด้วย เช่น โครงการประกันสังคม) ก็จะพบว่าในภาพรวมแล้วคนรวยได้รับประโยชน์มากกว่าคนจน
ดังนั้นสิ่งที่งานวิจัยนี้เสนอคือ การกำหนดนโยบายที่สำคัญด้านสาธารณสุขควรกำหนดขึ้นโดยมีการศึกษาวิจัยที่มี ตัวชี้วัดและวิธีการตีความข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะนโยบายมีผลกับประชาชนส่วนมาก หากมีการกำหนดนโยบายหรือการประเมินผลที่เป็นผลมาจากการใช้ตัวชี้วัดหรือการ ตีความข้อมูลที่บกพร่องก็อาจทำให้นโยบายหรือมาตรการที่นำมาใช้ก่อให้เกิดผล กระทบที่ไม่พึงปรารถนาและสร้างความเดือดร้อนกับประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้
ทั้งนี้ชุดโครงการวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกจาก สภาวิจัยแห่งชาติ ให้เป็นผลงานวิจัยดีเด่นสาขาเศรษฐศาสตร์ และจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้

view