สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ไว้ก่อนจะรื้อถอนบ้าน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : บุษกร ภู่แส


เรื่องที่ควรรู้ รื้อถอน บ้าน ตัวเอง ต้องบอกใครหรือไม่ วันนี้กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ มีคำตอบให้ที่นี่

กว่า จะสร้างบ้านสักหลัง คุณต้องทำการบ้านมากมายเพื่อจะได้บ้านในฝัน และคงจะไม่ดีนัก ถ้าไม่รู้ขั้นตอนในการติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงาน เขต ยกตัวอย่างเรื่อง "รื้อถอน" ที่คนส่วนใหญ่มักจะบอกต่อกันปากต่อปากว่าให้รื้อถอนไปเลยไม่ต้องแจ้งจะได้ ไม่เงิน เสียเวลา

หลายคนคงสงสัยตัดสินใจไม่ถูกว่า ควรดำเนินการอย่างไรดี?

ดังนั้นเพื่อความชัดเจนเราลองมาฟังคำตอบจากปากของผู้ที่ดูแล เรื่องนี้โดยตรงกันเลยนะคะ

"ศิริชัย จงตระกูล" วิศวโยธา 7 วช. หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตวังทองหลาง เล่าให้ฟังว่า ปกติผู้ที่สร้างบ้านจะต้องขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร มี 2 กรณีหลักๆ กรณีแรกคือ เป็นที่ดินว่างเปล่า สามารถขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ได้เลย กรณีสอง คือ มีอาคารเดิมอยู่ มีความประสงค์จะรื้ออาคารเดิมก็ต้องขออนุญาต โดยเอาใบอนุญาตขอรื้ออาคารเดิมไปขอที่ทะเบียนเพื่อแจ้งรื้อถอนว่าบ้านเลขที่ นี้จะรื้อถอนอาคารเดิม แต่ขอคงไว้ซึ่งบ้านเลขที่เดิม หรือจะขอเลขที่ใหม่ก็ได้

แต่หากไม่แจ้งทะเบียนแล้วไปรื้อถอน พอขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ เจ้าหน้าที่ก็สวมทะเบียนเดิมที่เป็นบ้านเก่าที่มูลค่า สมมุติว่า 1 แสนบาท ทั้งๆ ที่บ้านใหม่ราคาหลายล้านบาท ฉะนั้นจึงควรแจ้งรื้อถอนที่ฝ่ายทะเบียนเพื่อจะได้ลบข้อมูลเก่าออกแล้วใส่ ข้อมูลใหม่เข้าไปแทน เนื่องจากอนาคต ถ้าต้องการใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์คำประกันจะไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

ศิริชัย ยังแนะนำอีกว่า กรณีรื้อถอน โดยไม่ได้ขออนุญาตก่อนจะถูกดำเนินคดีย้อนหลัง เพราะตามกฎหมายต้องดำเนินการขออนุญาตก่อน ฉะนั้นเมื่อผิดกฏหมายก็ต้องส่งดำเนินคดีต่างหากฉะนั้น การที่คนเข้าใจว่า ให้ผู้รับเหมารื้อถอนบ้านโดนไม่ขออนุญาตก่อนที่จะขออนุญาตปลูกสร้างบ้านใหม่ ข้อมูลมันจะค้านกันเอง ทำให้เสียสิทธิ และผิดกฎหมายด้วย

"ถามว่า คุ้มไหมระหว่างอนุญาตทำก่อนกับต้องมาแก้ปัญหาภายหลัง ผมว่าไม่คุ้ม เพราะกรณีที่ส่งปรับต้องผ่านคณะกรรมการอาจจะต้องเสียค่าปรับเต็มๆ 6หมื่นบาทตามบทลงโทษ ที่ระบุไว้ว่า ถ้าไม่ได้รับอนุญาตรื้อถอน จะถูกปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำคุกไม่เกิน 3เดือน ตามมาตรา 65 ของพรบ.ควบคุมอาคาร 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 2535 ที่ใช้ทั่วประเทศ"

หัวหน้าฝ่ายโยธา ย้ำว่า  การสร้างรื้อถอนบ้านโดย ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการทำลายเอกสารทางราชการ เพราะมีระเบียบข้อกำหนดระบุชัดเจนให้เจ้าของที่ดินต้องแจ้งก่อน ที่จะดำเนินการสร้างบ้านใหม่ เปรียบเหมือนกับคนที่แต่งงานแล้วถ้าจะแต่งงานใหม่ต้องเซ็นใบหย่าก่อนที่จะไป จดทะเบียนสมรสใหม่

มิเช่นนั้นถือว่า "ผิด" กฎหมาย

สำหรับระยะเวลาการอนุมัติไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ส่วนค่าธรรมเนียม รื้อถอนไม่คิดค่าธรรมเนียมตรวจแบบ แต่คิดค่า
ใบอนุญาต 20 บาทเท่านั้น

ด้านปัญหาที่พบบ่อยๆในการขออนุญาติรื้อถอน ศิริชัย บอกว่า มี 3 เรื่อง คือ

1. ผู้เขียนแบบไม่ศึกษาข้อบัญญัติ หรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผังเมือง
2. เอกสารไม่ถูกต้อง ขัดกันไม่สัมพันธ์กัน
3. เอกสารบางครั้ง ต้องให้อำนาจศาล เป็นผู้ชี้ขาด เช่นที่ดินเป็นของเด็กอายุไม่ถึง 20 ปีต้องให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาด

เอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตรื้อถอน มีดังต่อไปนี้

1. เขียนแบบบ้าน มาโดยคร่าวๆ ประกอบไปด้วย (ไม่กี่พันบาท)
    1.1 ) แบบแปลน ทุกชั้น
    1.2 )รูปด้าน 2รูป
    1.3 ) รูปตัดอย่างน้อย 2 รูป เหมือนผ่ารถยนต์
    1.4 ) รายการประกอบแบบ (ลอกตามแบบราชการ) วัสดุที่ใช้ของอาคาร กรรมวิธีในการรื้อถอน ตามกม .ตามหลักการรื้อถอนอาคาร ไม่เกิน 45 วัน (ทางกฎหมาย) แต่ใช้เวลาหนังสือกว่างานตรวจ 1-2 วัน เร็วสุดไม่เกิน 10
วันขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา
2. คำร้อง ( ข.1)
3. บัตรประชาชน
4. ใบยินยอมที่ดิน กรณีไม่ใช่ที่ของเขา
5.บัตรทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน
6.สำเนาโฉนด

ที่เหลือจะ เป็นใบเกี่ยวกับข้องวิศวกรโครงสร้าง, สถาปนิก ที่เขียนแบบให้กับเจ้าของบ้าน  ส่วนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับปัญหาเฉพาะของแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามไปยังสำนักงานเขตที่บ้านท่านอยู่ในสังกัด ส่วนผู้ที่มีอยู่บ้านในเขตวังทองหลางสามารถติดต่อไปได้ที่สำนักงานเขตสำนัก งานเขตวังทองหลาง อาคารบี สิริอุส พลาซ่า 2553 ซอยลาดพร้าว 85-87 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2538-5350,0-2530-1740 โทรสาร 0-2538-2570 E-Mail : somphng@bangkok.go.th

view