สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจตามรธน.

อภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจตามรธน.

จาก โพสต์ทูเดย์

องคมนตรีอรรถนิติเผยอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญทุกอย่างต้องทำตามกฏหมาย

นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” ซึ่งจัดโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.2554 ว่า รัฐธรรมนูญตามความหมายในทางกฎหมาย หมายถึงกฎหมายที่กำหนดระเบียบอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกัน และกัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญในอดีตมีบทบัญญัติกำหนดว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยพระ มหากษัตริย์ไว้ในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และแสดงความเกี่ยวพันกันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ล้วนมีลักษณะสำคัญร่วมกันในการยกย่องพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ ให้ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญในการถวายพระราช อำนาจให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้พระราชอำนาจ โดยมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบ
         
นาย อรรถนิติ กล่าวว่า  ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระราชกรณียกิจนานาประการ ในด้านกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์แจงในพระปรีชา สามารถ และพระเมตตากรุณา ทั้งในส่วนของการพิจารณาทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ การพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง และการสร้างรากฐานของระบบกฎหมายไทย และกระบวนการยุติธรรมให้สมบูรณ์มั่นคง โดยได้ทรงมีพระราชทาน พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีพระราชดำริในด้านกฎหมาย หรือเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายอีกมากมาย.

 


 

\'อรรถนิติ\'ระบุรธน.บัญญัติพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

องคมนตรีเปิดงานศาลรัฐธรรมนูญ จัดงานเฉลิมพระเกีรยรติ ในหลวงครบ 84 พรรษา ระบุรธน.บัญญัติให้พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
โรงแรมรามาการ์เด้นส์ - สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ จัดโครงการปาถกฐาพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.2554 โดยมีคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หัวหน้าหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและความมั่นคงฯ โดยนายชัช ชลวร ทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ได้กล่าวเปิดงานจากนั้น

โดยนายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” นอกจากนี้ ก็จะมีการอภิปรายในหัวข้อ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ  เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า  นางเสาวณีย์  อัศวโรจน์ กรรมการปฏิรูปกฏหมาย นายธงทอง จันทรางศุ  เลขาธิการสภาการศึกษา

นายอรรถนิติ กล่าวเปิดงานว่า รัฐธรรมนูญตามความหมายในทางกฎหมาย หมายถึงกฎหมายที่กำหนดระเบียบอำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญในอดีตมีบทบัญญัติกำหนดว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ไว้ในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงความเกี่ยวพันกันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ล้วนมีลักษณะสำคัญร่วมกันในการยกย่องพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ ให้ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญในการถวายพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้พระราชอำนาจ โดยมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโอการเป็นผู้รับผิดชอบ

นายอรรถนิติ กล่าว่า  ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระราชกรณียกิจนานาประการ ในด้านกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์แจงในพระปรีชาสามารถ และพระเมตตากรุณา ทั้งในส่วนของการพิจารณาทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ การพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง และการสร้างรากฐานของระบบกฎหมายไทย และกระบวนการยุติธรรมให้สมบูรณ์มั่นคง โดยได้ทรงมีพระราชทาน พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริในด้านกฎหมาย หรือเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายอีกมากมาย

 


 

องคมนตรีชี้อภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

องคมนตรีชี้อภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ ไม่จำกัดโทษอาญา รวมวินัย-โทษทางปกครอง
โรงแรมรามาการ์เด้นส์ -สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดสัมมนาและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ \"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ\" โดยมีนายอรรถนิติ  ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ในการยับยั้งการตรากฎหมาย ถ้ากฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์และความผาสุกของประเทศชาติและประชาชน ส่วนพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษนั้น เป็นพระราชประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิมและเป็นอำนาจเฉพาะของพระมหากษัตริย์ที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ซึ่งเป็นอำนาจอิสระและเป็นกลางของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพันและพระมหากรุณาของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อประชาชน ต่อผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นทางออกสุดท้ายที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับความเป็นธรรม

\"การพระราชทานอภัยโทษนี้ ไม่ได้จำกัดโทษเฉพาะในคดีอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโทษทางวินัยและโทษทางปกครองด้วย เช่นในกรณีที่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ที่ยื่นถวายฎีกา การพระราชทานอภัยโทษอาจพระราชทานอภัยโทษโดยไม่มีเงื่อนไข หรือพระราชทานอภัยโทษจากหนักเป็นเบาก็ได้ การพระราชทานอภัยโทษแบ่งเป็น 2 ประเภท คือการพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ที่ทูลเกล้าฯฎีกาถวายพระราชทานอภัยโทษและการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักจะกระทำในโอกาสสำคัญของบ้านเมือง โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างรอบคอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม\"องคมนตรี กล่าว

นายอรรถนิติ ยังกล่าวอีกว่า พระราชอำนาจในการอภัยโทษนี้เป็นอำนาจที่สำคัญยิ่งของพระมหากษัตริย์ในการดำรงความยุติธรรม พสกนิกร ผู้ต้องคดี เพราะการบังคับใช้กฎหมายก็มีข้อบกพร่อง ที่ไม่ถูก ไม่ได้สอดคล้องกับความยุติธรรมทางศีลธรรม ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกรณีที่กฎหมายลงโทษรุนแรงเกินสมควร และเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษ แต่ด้วยพระมหากรุณาอาศัยอำนาจในรัฐธรรมนูญ ความไม่ยุติธรรมจึงได้รับการแก้ไขเยียวยาและคลี่คลาย

view