สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นาทีที่ต้องพูดความจริง

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2554 หน้า 10)


 


นาทีนี้ คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) รอบนอกแนวคันกั้นน้ำต่างหวาดผวาไม่เป็นอันหลับนอน เพราะกลัวว่าเมื่อตื่นขึ้นมา บ้านจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำ

เข้าไปคุยกับ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะนักธรณีวิทยาคนหนึ่งของเมืองไทย ชี้แนะการจัดการเรื่องน้ำท่วมในเมืองหลวงอย่างน่าสนใจว่า กทม.ทำทุกอย่างเรื่องการจัดการน้ำได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่ กทม.ยังไม่คิดจะจัดการเรื่องคนที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเลย

"เวลา นี้คนกรุงเทพฯจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คิดว่าน้ำท่วมแน่ๆ จึงตื่นตระหนก หวาดกลัว ไม่เป็นอันทำอะไร โทรศัพท์หาเพื่อน หาที่พึ่งพิงทางใจ และกักตุนอาหาร กับกลุ่มที่มั่นใจว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพราะไม่เคยเห็น และไม่รู้ข้อมูลว่ามันจะท่วมจริงๆ หรือมีโอกาสท่วม สิ่งที่ผมอยากให้ กทม.โดยเฉพาะทีมผู้บริหารดำเนินการคือ ให้ข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ออกแถลงข่าวให้คน กทม.ทราบ" อ.ศศินกล่าว

ในเรื่องของการจัดการ "คน" ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ กทม.จะต้องรีบทำอย่างเร่งด่วน แม้ว่าทำตอนนี้อาจจะช้าไป เพราะในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลายพื้นที่ใน กทม.น้ำต้องท่วม ก็ดีกว่าไม่จัดการอะไรเลย "สร้างเครือข่ายในพื้นที่ ชุมชน เพื่อเตรียมพร้อม หากประชาชนเกิดความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือการเดินทางสัญจรไปมา"

อ.ศศินบอกว่า มั่นใจว่าความตื่นตระหนกหรือการเมินเฉยกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นของคน กทม.ที่ผ่านมาเกิดจากการขาดการสื่อสารของคณะผู้บริหารที่มีต่อประชาชนนั่น เอง

หวังว่าคำเสนอแนะเช่นนี้ ผู้บริหาร กทม.คงจะรับฟังและนำไปพิจารณาปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

ขณะ เดียวกัน มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาพิจารณา สำหรับการปฏิบัติตัวของชาว กทม. เป็นข้อมูลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพื้นที่ ที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.ของบริษัททีม ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา รับดำเนินการสำรวจวิจัย ข้อมูลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านน้ำ แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้ (ดูประกอบแผนที่)

สี แดง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 หรือเสี่ยงสูงสุด เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน จำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น

พื้นที่เสี่ยง ระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯนี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต

คันป้องกันน้ำท่วม ต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0-2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

สีเหลืองเข้ม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าวและติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน

พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ อ.เมืองปทุมธานี อ.คลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่ จ.นนทบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ อ.สามพราน ที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

สี เหลืองอ่อน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมระดับที่ 1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ จ.นนทบุรี กทม. และ จ.สมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร การเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าวและเฝ้าระวัง

พิจารณาเอาไว้ เป็นอีก 1 ข้อมูล ไม่เสียหลาย...


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : นาทีที่ต้องพูดความจริง

view