สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยิ่งลักษณ์ยึดอำนาจศปภ.กระชับพื้นที่สุขุมพันธุ์

ยิ่งลักษณ์ยึดอำนาจศปภ.กระชับพื้นที่สุขุมพันธุ์

จาก โพสต์ทูเดย์

"ผมมองว่าการเลือกใช้พ.ร.บ.นี้ของนายกฯมาจากความต้องการบูรณาการในการบริหารสถานการณ์เป็นสำคัญ"

โดย.......ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ในที่สุด ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจใช้มาตรา 31 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550 มองถึงเหตุผลในการเลือกเครื่องมือครั้งนี้ หนีไม่พ้นที่ต้องการ ‘รวมศูนย์อำนาจ’ มาไว้ที่นายกฯแต่เพียงผู้เดียว หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลในนามศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย(ศปภ.)เกิดความขัดแย้งรุนแรงกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.จากประเด็นที่กทม.ไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำเพื่อรับน้ำเข้ามาตาม คลองชั้นในของกทม.เป็นผลพื้นที่ตอนเหนือของกทม.ต้องรับน้ำอย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน

ประเด็นนี้นายกฯได้เคยพยายามจะใช้ไม้นวมแล้วด้วยการประสานทางผู้ว่าฯ กทม.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานการระบายน้ำกทม.เพื่อเปิดประตูระบายน้ำ แต่ปรากฏว่ากลายเป็น “ไม่เสียงตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก” หลายต่อหลายครั้ง จึงเป็นเหตุผลให้นายกฯต้องงัดไม้แข็งออกมาใช้

สุขุมพันธุ์ -ยิ่งลักษณ์

ไม้แข็งในที่นี้ กล่าวคือ บทบัญญัติของมาตรา 31 กำหนดให้ “นายก รัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งการให้หน่วย งานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่กำหนดได้…เจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดไม่ปฎิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือรอง นายกรัฐมนตรีให้ถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือเป็นความผิดวินัย ร้ายแรงด้วย”

ส่งผลให้กทม.ในฐานะหน่วยงานของรัฐ และผู้ว่าฯกทม.ที่เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบการบรรเทาสาธารณภัยกทม.ตามกฎหมาย ไม่มีทางหลีกเลี่ยงหรืออารยะขัดขืนประกาศิตนายกฯได้อีกต่อไป เพราะจะมีโทษทางวินัยด้วย

‘นิคม ไวยรัชพานิช’ รองประธานวุฒิสภา ในฐานะอดีตรองปลัดกทม. มองว่า ตามโครงสร้างการบริหารราชการของกทม.ถูกแยกส่วนออกมาจากรัฐบาลกลางในลักษณะ ของเขตปกครองพิเศษก็จริงแต่ไม่เป็นการแยกขาดการเสียทีเดียว เนื่องจากกทม.ยังสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพียงแต่ว่ามหาดไทยอาจจะไม่ไปก้าวก่ายงานของกทม.เพราะถือว่ามีผู้บริหารสูง สุดที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว คือ ผู้ว่าฯกทม. ดังนั้น การทำงานที่ผ่านมาระหว่างรัฐบาลกับกทม.จึงเป็นลักษณะของการประสานงานขอความ ร่วมมือมากกว่า

“ผมมองว่าการเลือกใช้พ.ร.บ.นี้ของนายกฯมาจากความต้องการบูรณาการในการ บริหารสถานการณ์เป็นสำคัญ เพราะอย่างที่ทราบๆ กันอยู่ว่ารัฐบาลกับกทม.มีปัญหาในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน” นิคม ระบุ

การใช้มาตรา 31 นอกเหนือไปจากการรวบอำนาจผู้ว่าฯกทม.แล้ว ด้านหนึ่งต้องการปรับโครงสร้างของศปภ.ใหม่ไปในคราวเดียวกันด้วย เหตุผลสำคัญมาจากการประเมินว่าหากสถานการณ์น้ำท่วมบานปลายเป็นวงกว้างลามไป ถึงภาคอีสานและภาคใต้จะทำให้ยากต่อการบริหารสถานการณ์ จึงเลือกปรับโครงสร้างล่วงหน้าเพื่อรับมือกับสถานการณ์ 1ตรี ตัดสินใจใช้มาตรา ัตร งไม่จุ้นแต่ให้แนวทางเอาไว้ เน้นความรู้ความสามารถมาก่อน

จนกระทั่งมาสู่การมีศปภ.ส่วนหน้าโดยนาย พระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับประสานการปฏิบัติตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้ว่าฯ กทม.

การปรับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่นี้จากใช้อำนาจตามมาตรา 11 ของพ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้คุมอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารซึ่งในส่วนของการบริหารสถานการณ์นายกฯ ได้ใช้อำนาจผ่านพล.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมในฐานะผอ.ศปภ.

โดยเมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ตามมาตรา 31 ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ เท่ากับว่าอำนาจตัดสินใจและบริหารสถานการณ์จะอยู่ที่นายกฯเพียงคนเดียวโดย ตรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจผ่านตามสายการบังคับบัญชา

เพราะฉะนั้น นับจากนี้ต้องรอดูว่าภายหลัง ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ตัดสินใจใช้ยาแรงรักษาโรคน้ำท่วมจะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ หรือสุดท้ายมาตรา 31 จะเป็นเพียงเศษกระดาษที่ออกมาจากกผู้นำประเทศเท่านั้น


เขาตั้งใจ แต่เรื่องฝีมือ...พลาด

จาก โพสต์ทูเดย์

"ที่ผ่านมาการทำงานของศูนย์ฯ ยังเป็นการตั้งรับเป็นรายจุด เละเทะและเหนื่อย ภัยพิบัติครั้งนี้ ถ้าผลสำรวจออกมาแล้วสอบผ่านก็เหลือเชื่อแล้ว "

โดย..ทีมข่าวการเมือง

มวลน้ำก้อนมหึมาที่อานุภาพความรุนแรงประหนึ่ง "สึนามิน้ำจืด"กำลังเคลื่อนตัวทะลักผ่านปราการสกัดกั้นตามจุดต่างๆ จ่อเข้าประชิดเอ่อล้นชายขอบกรุงเทพฯ ที่กำลังลุ้นระทึกว่าจะประคองตัวรอดได้แค่ไหน
         
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)หน้า ด่านที่บูรณาการทุกกลไกเข้ามารับมือวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้กลายเป็นเป้าใหญ่ ที่ถูกรุมโจมตีอย่างหนักกับมาตรการช่วยเหลือ เยียวยา แจ้งเตือน ที่ไร้ความน่าเชื่อถือ ผลโพลจากเอแบคตอกย้ำคะแนน 3.36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10
         
ในสายตาของหนึ่งในกลไก ศปภ. "สมบัติ บุญงามอนงค์"หรือ บก.ลายจุด แกนนำกลุ่มคนวันอาทิตย์สีแดง ที่พักเรื่องการเมือง นำพาเพื่อนพ้องน้องพี่จากมูลนิธิกระจกเงาร่วมกับสมาชิกเว็บไซต์ไทยฟลัด มาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระจายสิ่งของมองว่าการตั้ง ศปภ.แบบนี้ดี แต่...
         
"ปัญหาคือสภาพของไซต์งานใหญ่มาก ถามว่าความตั้งใจเป็นไง ผมคิดว่าเขาตั้งใจ แต่ถ้าถามเรื่องฝีมือเนี่ย ผมว่าพลาด"
         

ใน ฐานะที่ทำงานมาตั้งแต่เริ่มเปิด ศปภ. จนวันนี้เข้าสัปดาห์ที่สอง สมบัติ เห็นว่า มีความผิดพลาดอยู่ไม่น้อย อย่างเรื่องการสู้น้ำที่เห็นได้ชัด ไปจนถึงการส่งสัญญาณการสู้น้ำ ทำให้การอพยพเตรียมการไม่ทัน
         
"ผม ว่านี่เป็นการประเมินต่ำ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องขีดความสามารถ มีเรื่องโกลาหลนิดหน่อย เข้ามายังไม่ทันไร ยังไม่ทันวอร์ม รัฐมนตรียังไม่เข้ากรม บางกรมก็มาเกิดเรื่อง ไม่รู้จะใช้งานใคร"
         
สมบัติ อธิบายว่า เวลาเกิดสถานการณ์ขนาดใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานหลักอย่างกองทัพจะเป็นคนรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่ในขณะที่ เอกภาพภายในกองทัพ หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลในกองทัพ มีข้อจำกัด การที่เขาจะทุ่มเทหรือสั่งการแล้วให้ได้ตามนั้นย่อมไม่ง่าย
         
"แต่ แน่นอนว่า บางเรื่องก็เป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่รู้จะทำยังไง น้ำมาขนาดนี้จะไปสู้เขาได้ไง ส่วนตัวผมว่าเป็นเรื่องเกินความสามารถ เขาก็โต้ทุกอย่างแล้ว การที่เขาทำ ไม่ใช่ละเลย ปรับแล้วปรับอีก ทำวอร์รูมไปทำเนียบไปมหาดไทย มาดอนเมือง การทำ ศปภ.นี่ถูกต้องมากเพราะบูรณาการมาก การบริจาคไหลเวียนมา อาสาสมัครที่นี่ทุกกระทรวงคุณเดินได้หมด ผมประสานงานแหลก ข้างในใช้ประโยชน์ได้หมด ขสมก. ทหาร ตำรวจสื่อสาร ทีโอที ข้อมูลได้หมด"     

"เขาทำงานได้ดีขึ้น แต่นี่ไม่ใช่ไซต์ที่จะสู้กับภัยพิบัติขนาดนี้ การที่เราจะจัดองคาพยพในสังคมที่จะสู้ไม่ใช่รัฐ เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ คุณต้องใช้ขบวนภาคประชาสังคมสู้ ไม่เช่นนั้นคุณจะฟื้นยังไง"
         
ต่อ เสียงวิพากษ์ถึงความขัดแย้งของข้อมูลที่ออกมาจาก ศปภ. ซึ่งสร้างความแตกตื่นและความไม่น่าเชื่อถือบก.ลายจุด ยอมรับตรงๆ ว่า ไม่ได้ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตบ้าง เพราะช่วงที่มาทำงานตรงนี้แทบไม่มีเวลาดู
         
"แม้แต่ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ยังไม่ได้โพสต์เลยต้องกลับไปเที่ยงคืนไปโพสต์เล็กๆ น้อยๆ ไม่ไหว หลับเช้ามาตีห้าถึงได้ทวีตสักหน่อย เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหน้าสื่อ แต่มีคนเล่าให้ฟังว่าโดนด่ายับ แต่ผมไม่ได้ดู ไม่อ่านข่าวการเมือง ไม่ได้ยินเสียงวิจารณ์" 
        
แม้แต่เรื่องการแถลงเตือนของ ปลอดประสพสุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ให้ส่วนเหนือของ กรุงเทพฯ อพยพ นำมาสู่ความโกลาหลก่อนที่ ศปภ.ชุดใหญ่ต้องออกมาแก้ข่าว เขารู้สึกว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ไม่ได้ติดตามรายละเอียดเพราะมาทำงานจัดระบบ อาสาสมัครงานข้อมูลไม่ได้ทำเรื่องมิติพวกนี้
         
สมบัติ อธิบายว่า หน้าที่ของเขาไม่ได้เข้าไปอยู่ในส่วนบริหาร ศปภ.เป็นการรับหน้าที่เฉพาะเรื่องร้องเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการอพยพคน ที่จะต้องไปประสานกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเข้าไปให้ความช่วยเหลืออพยพชาวบ้าน ในส่วนข้อมูล สมบัติ บอกว่า ได้รับฟังจากพวกนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ฯ ที่มาเล่าเรื่อง
         
พวก นี้โดยตรง ไม่มีเรื่องดรามา ไม่มีเรื่องการเมือง คุยกันเรื่องข้อเท็จจริงแท้ๆ ก็มาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นชุดข้อมูลเดียวกับที่รัฐบาลรับฟังหรือไม่
         
จาก การปฏิบัติงานของ ศปภ.ผ่านมา 2 สัปดาห์ บก.ลายจุด มองว่าจุดอ่อนสำคัญแม้จะมีการรวมศูนย์บูรณาการแล้ว แต่มันต้องมี 2 ระบบ ในการจัดการภัยพิบัติ คือ กระจุกและกระจาย ทางการและไม่ทางการ ต้องใช้ทั้งสองระบบซ้อนกัน
         
"เรื่องใดกระจุกต้องกระจุก แต่เรื่องเดียวกันต้องกระจายได้ การเน้นความเป็นเอกภาพโดยรวมทั้งหมดเป็นเรื่องอันตราย เพราะมันจะพุ่งเข้าตีจนรับข้อมูลมหาศาล จนคุณไม่มีโอกาสประมวลผล อย่างข้อมูลมหาศาลเวลานี้ ถ้าวิ่งเข้าหัวคุณพร้อมๆ กัน คุณตายเลย คุณอ่านข่าวไม่มีทางตามเรื่องน้ำท่วมไหว เอาแค่อ่านข้อมูลจำนวนเยอะมาก เอาแค่นี้ก็ตายแล้ว ฉะนั้นต้องหาโซลูชันดีสุดเมื่อเวลาคุณน้อยมาก"
         
สมบัติ เปรียบเทียบย้อนไปถึงสมัยเกิดเหตุการณ์สึนามิ ปลายปี 2547 น้ำเข้าที่ อ.ตะกั่วป่าจ.พังงา โรงพยาบาล (รพ.) ตะกั่วป่า ซึ่งเป็น รพ.ขนาดกลาง รับผู้ป่วยได้ 30-40 เตียง การมีผู้ประสบภัยจำนวนเป็นพัน เกิดขึ้นไม่กี่วินาที แต่ระบบอยู่ได้ เขาทำได้ไง
         
คำถาม คือ ทันทีที่เกิดเหตุ รพ.ชุมพร ที่มีชุดปฏิบัติการพายุเกย์เข้ามาวางระบบให้ รพ.ตะกั่วป่า โดยเป็นคนที่เป็นมืออาชีพ เคยเล่นกับภัยพิบัติ แม้ตอนนั้น รพ.ชุมพร จะอ่วม แต่เขาถอดบทเรียนว่า รพ.ตะกั่วป่า กำลังเผชิญหน้ากับอะไร จึงเดินทางเข้ามาเสริม ประกาศให้หมอทั่วประเทศเข้ามา จน รพ.ตะกั่วป่า รองรับผู้ป่วยมหาศาลได้ทันที
        
 "ฉุกละหุกแต่ยันอยู่ เขาจะไม่แบก เขาจะทำการสวิตช์ผู้ป่วยไปภูเก็ต ส่งกลับไปกรุงเทพฯแต่หน้างานต้องมีคนยันก่อน ต้องเล่นสองจังหวะ พอมาถึงจุดหนึ่งต้องกระจาย อย่าแบกสิ่งนั้นไว้ ต้องทำระบบให้สามารถรับมือกระจายพวกนี้ออกไป"
         
ย้อนกลับมา ที่ ศปภ. บก.ลายจุด มองว่า ตรงนี้เหมือนจะเป็นสูตรตั้งรับ การตั้งศูนย์ฯ ไว้เปิดคอลเซ็นเตอร์ 1111 เป็นการตั้งรับที่ดี แต่ถ้าไม่มีแผนเชิงรุกออกไป ก็จะเกิดสถานการณ์ไปไม่ไหว ที่เขาคิดเป็นแผนเชิงรุกเสนอคือ "ศปภ.ตำบล"เปลี่ยนการรับเป็นรุก"ไม่ต้องดูเป็นเคสๆ แต่จำเป็นต้องรู้ทั้งพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร การส่งของ หาและศึกษาเส้นทางส่งของที่จำเป็น ตอนนี้สำหรับเขาต้องผ่านช่องทางอะไร ทำไมเราจะกำหนดสิ่งนี้ได้ เราต้องเป็นคนกำหนดเกมด้วย แน่นอนว่าธรรมชาติต้องกำหนดยิ่งใหญ่ แต่เราต้องกำหนดเกมบางเรื่องที่เรากำหนดได้ มันถึงจะสู้กันได้" 

เขามองว่า ที่ผ่านมาการทำงานของศูนย์ฯยัง เป็นการตั้งรับ เป็นรายจุด เละเทะ และเหนื่อย ภัยพิบัติครั้งนี้ ถ้าผลสำรวจออกมาแล้ว"สอบผ่าน" ก็เหลือเชื่อแล้ว การจะสอบผ่านได้ต้องทำให้คนเห็นว่าผู้นำต้องสู้กันหน้าสื่อ วันไหนไม่ออกพื้นที่ไม่ได้ จะโดนฝ่ายค้านขย่ม มันยังไม่มีอะไรทำให้เห็น ความพยายามตั้งใจในการแก้ปัญหา แต่ไม่ได้แสดงถึงสิ่งที่รัฐบาลทำได้ ค่ายแตกมาไม่รู้กี่ค่าย ประชาชนให้คะแนนแบบนี้ก็เข้าใจ
         

สมบัติ เชื่อว่าสุดท้ายกรุงเทพฯ คงไม่อาจต้านทานกระแสมวลน้ำได้ แต่ก็คงเข้ามาเป็นจุดๆ เพราะการฉีกน้ำออกได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะจบ เพราะข้างบนลงมาก็มีตลบหลัง ตรงนี้เป็นเรื่องยาก ที่เป็นน้ำทุ่ง ส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องน้ำท่า ที่พฤติกรรมชัดเจน ไม่ซี้ซั้ว แต่น้ำทุ่งไม่ได้ส่งมาตรงๆ ตลบหลังมีวนเป็นน้ำวน มวลน้ำก้อนหนึ่งเคยผ่านไปแล้วยังกลับมาอีกครั้งหนึ่งได้เวลาไปทำแนวกั้นกัน ไปกั้นกันมา ต่างคนต่างทำทำเสร็จถูกรื้อ รื้อมาอีกบล็อกอีก มันไม่สามารถกำหนดทิศทางชัดเจน
         
"ขีดความสามารถ (ของรัฐบาล) กับภัยพิบัติขนาดนี้ไม่สอดคล้องกัน"บก.ลายจุด อธิบายสั้นๆ ปิดท้ายถึงสภาพการแก้ปัญหาเวลานี้


“ชีวิตยังต้องค้าขาย แม้ข้างในอกตรม”

จาก โพสต์ทูเดย์

บอกได้เลยตอนนี้ว่าเครียดมาก เพราะแม้เราจะทำ 3 อย่างในร้านเดียวแต่พอน้ำทะลักเข้ามารายได้ทุกอย่างลดลงไปมากกว่าครึ่ง

แม้จะเหลือไม่กี่อำเภอใน จ.นนทบุรี ที่น้ำยังไม่ท่วมจนเต็มพื้นที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อ.ปากเกร็ด นอกจากจุดแข็งที่ชาวบ้านและคนในชุมชนจะเข้มแข็งแล้วเนื่องจากผู้อยู่ริมน้ำ เจ้าพระยายอมกั้นน้ำให้บ้าน ร้านค้าของตัวเองไว้ เพื่อไม่ให้น้ำไหลเอ่อมายังถนน ตลาดปากเกร็ด หรือลามไปยังคลองที่ถึงเขตดอนเมืองได้ คนที่นี่พยายามดำเนินวิถีชีวิตให้เป็นปกติสุขและไม่เคยลืมให้กำลังใจซึ่งกัน และกัน ซึ่งนั่นรวมถึงพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดเก่าริมน้ำลพชัย-เกาะเกร็ดด้วย

 

นางจิราพร ไพรบึง อายุ 48 ปี เจ้าของร้านเนียม ที่เป็นทั้งร้านทำทำผม เย็บชุดเจ้าสาว-ชุดรำแก้บน และรับ ตัด ซ่อม เปลี่ยนขนาดเสื้อผ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการทำธุรกิจหลายอย่างในร้านเดียว แต่นับจากวันที่น้ำจากริมเจ้าพระยาได้ทะลักเข้ามาบริเวณร้านตั้งแต่คืนวัน ที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา แม้เทศบาลสามารถกั้นมาได้ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.เธอบอกว่า รายได้หายไปกับสายน้ำที่ทะลักเหลือวันละ 600-700 บาท จากปกติมีรายได้วันละ 3,000-4,000 บาท

ทั้งนี้ ปัจจุบันรายได้ไม่พอกับรายจ่ายรายวัน ตั้งแต่เงินที่ต้องแบ่งจ่ายหนี้ทุกวันกับการกู้นอกระบบเฉลี่ยวันละ 2,000 บาท จากเงินกู้ทั้งหมดรวม 5 หมื่นบาท จ่ายให้ลูกน้อง 4 คนรวม 1,000 บาท ค่ากิน ค่าอยู่แม่ น้องสาวและลูกชาย และสิ่งที่ทำให้เธอเสียใจมากที่สุดในชีวินที่สำคัญ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมาคือวันครบรอบ 100 วันที่พ่อเสียชีวิต แต่เธอไม่มีเงินไปทำบุญตามประเพณีให้พ่อ และบอกับคนในครอบครัวว่าค่อยทำครอบ 1 ปีก็ได้

“บอกได้เลยตอนนี้ว่าเครียดมาก เพราะแม้เราจะทำ 3 อย่างในร้านเดียวแต่พอน้ำทะลักเข้ามารายได้ทุกอย่างลดลงไปมากกว่าครึ่ง แม้ลูกค้าจะมาช่วย มาเนียมสระผม ไดร์ผมให้หน่อย เราก็ไม่กล้าเสี่ยงเพราะเรายืนเปียกน้ำ ชุดเจ้าสาวที่สั่งตัดไว้เหลือ 2 ชุดจะมาเอา เจ้าหนึ่งไม่รู้ไปไหน เขากำหนดแต่งวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมาแต่จนถึงวันนี้ไม่มาเอาชุดเจ้าสาว ส่วนอีกเจ้าหนึ่งแต่สิ้นเดือนนี้ก็ต้องเปลี่ยนวันแต่งเป็นปีหน้าแทน”

เธอยังบอกพร้อมยืนใบรายการที่จดรายได้ของวันนี้ให้เราดูที่มีเพียงไม่กี่ ร้อยบาทว่า พี่ได้เงินแค่เนี่ยลูกค้าคงไม่มีแล้ววันนี้ ตอนนี้เหลือทำงานคนเดียว ลูกน้องต้องหยุดเพราะบ้านน้ำก็ท่วม เมื่อลูกค้าหายจึงนั่งคิดกับเพื่อนที่เปิดขายแผงดอกไม้ติดกันว่า พรุ่งนี้ (23 ต.ค.) เขาจะขายไก่ทอด ส่วนเราจะขายหมูน้ำตก-ส้มตำ

“ทั้งท้อทั้งเครียดดูสิก้มหน้าก็เห็นน้ำ หันทางนั้นก็เห็นน้ำที่อยู่สูงกว่าเราเพียงแค่เอื้อม แต่ก็ต้องดิ้นรนกันต่อไป ญาติที่ศรีสะเกษโทร.มาหลายครั้งบอกให้กลับบ้านแต่เรารู้สึกว่าเรากลับไม่ได้ 10 ปีที่อยู่นี้เราผูกพัน ไหนจะลูกน้องอีก ถ้าเรากลับแล้วเขาจะทำงานกลับใครล่ะ ตอนนี้มันเกินที่จะถอยไปแล้ว ดูสิเรายังมีร้าน แม้จะเช่าเขาและหากินลำบากมากขึ้น แต่เราก็ยังพอมีแรงทำมากินได้ แต่คนอื่นบางคนหมดเนื้อหมดตัวเลย ที่อยู่ก็ไม่มี งานนี้จึงต้องสู้อย่างเดียว”จิราพรกล่าว

 

นาย พิทักษ์ เสียงเลิศ อายุ 50 ปี อาชีพลูกจ้างร้านขายของสังฆภัณฑ์และอุปกรณ์ทั่วไปชื่อบุญส่งไทยรุ่งเรือง กล่าวว่า เขาเป็นลูกจ้างร้านนี้มา 30 ปี จนเจ้าของร้านเป็นรุ่นที่ 3 ที่ร้านเปิดมานานกว่า 50 ปี ซึ่งไม่เคยเห็นระดับน้ำเท่านี้มาก่อน ปกติอยู่แค่เข่า แม้จะเสริมพื้นมากี่ครั้งก็แค่เข่าแต่ปีนี้น้ำมาแรง

เขากล่าวว่า แม้น้ำท่วมเท่าไรทางร้านก็ยังยืนยันเปิดตั้งแต่ 6.00-18.00 น. ของทุกวัน เพราะที่ร้านถึงอย่างไรก็ต้องทำมาหากิน อีกทั้งเห็นใจลูกค้าที่ส่วนใหญ่ยังต้องมีงานบวช งานศพ อยู่ตลอดเวลา แต่สถานการณ์อย่างนี้เขาคงหาซื้อของได้ยาก

สำหรับยอดขายแต่ละวันถือว่าหายไปถึง 50 % เลยทีเดียว แต่ตอนนี้มี 2 สินค้าที่ขายดีเป็นพิเศษนั่นคือที่พายเรือที่ปกติจะสั่งมาเดือนละ 20 อันเท่านั้น แต่ตอนนี้ต้องเพิ่มเป็น 50 อันก็ขายหมด อีกอย่างคือสารส้มที่คนมาซื้อตลอดเวลาเพราะต้องแกว่งให้น้ำสะอาด ซึ่งทั้ง 2 อย่างไม่ขึ้นราคาเลย

ขณะที่พูดคุยกับพิทักษ์เขามีสีหน้ายิ้มแย้มคุยสนุกตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเขาบอกว่าไม่รู้จะเครียดไปทำไม เราต้องเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะที่ที่เราอยู่คือริมน้ำ ฉะนั้นมองให้เป็นเพียงเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เพียงแต่ปีนี้น้ำมาเยอะกว่าทุกปี ยิ้มไปคุยไป ทั้งเราและลูกค้าเองก็ไม่เครียดอีกต่างหาก


ชีวิตคนทวนน้ำริมคลองรังสิต

จาก โพสต์ทูเดย์

เมื่อเหตุการณ์เป็นแบบนี้ทำไมรัฐบาลไม่บอกความจริงประชาชน ทำให้คน กทม. เข้าใจผิดมาตลอดว่ารัฐบาลรับมือน้ำท่วมกทม.ได้ ท้ายที่สุดรัฐบาลเอาไม่อยู่และตอนนี้กรุงเทพฯ กำลังประสบวิกฤตจลาจลครั้งใหญ่

โดย..ปริญญา ชูเลขา

 

บริเวณริมคลองรังสิตคลอง 1 แม้จะมีการสร้างคันดินเหนียวและกระสอบทรายกั้นน้ำล้นข้ามคลองรังสิตประยูร ศักดิ์เข้าท่วมชุมชนด้านล่างของคลองตลอดแนว แต่ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกวันจนปริ่มเสมอถนนรังสิตนครนายก ขณะที่ระดับน้ำจากช่วงรังสิตคลอง 1-3 ห่างคันกั้นน้ำไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่เฉพาะชุมชนชนบริเวณคลอง 1 ถือว่าได้รับเดือดร้อนมากที่สุด ด้วยเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่สุด ขณะเดียวกันปริมาณน้ำจากประตูน้ำพระอินทร์ราชามุ่งหน้ามาลงคลอง 1 ต่อเนื่อง ขณะที่การระบายออกจากคลอง 1 ไปลงคลองหกวาก็เป็นไปด้วยความอืดอาด

ด้วยระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ถนนและชุมชนบริเวณนี้บาง ช่วงน้ำเข้าท่วมแล้วในระดับ 80 เซนติเมตร ประชาชนจำนวนหนึ่งจึงได้ทยอยอพยพฝ่าน้ำระดับเอวถึงหน้าอกไปหาที่ปลอดภัย อาศัยอย่างทุลักทุเล แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนได้ยึดพื้นที่ชั้นสองของบ้านสู้กับวิกฤตชีวิตต่อไปจน กว่าจะไม่สามารถรับมือไหว

ประสาน นุ่นเนียม ปลัดเทศบาลนครรังสิต ให้ข้อมูลล่าสุดว่า พื้นที่ประมาณ 3 แสนไร่ ของทุ่งรังสิตบริเวณ ต.หนองเสือ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี มาณน้ำอาจท่วมสูงประมาณ 1-1.5 เมตรทุกพื้นที่ ประชาชนบางส่วนจึงได้อพยพออกนอกพื้นที่แล้ว  แต่คนที่ยังปักหลักอยู่ต่ออย่าง สุทิวา บุญญวงศ์ วัย 55 ปี ชาวบ้านรังสิตคลอง 1 ให้เหตุผลว่า ต้องการอพยพออกไปเช่นเดียวกับคนอื่นๆ แต่ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ด้วยญาติใน กทม.ก็โดนน้ำท่วมเหมือนกันหมด จะกลับบ้านต่างจังหวัดก็ไปลำบาก เพราะต้องเดินทางไกลมาก อีกทั้งถนนหลายเส้นถูกตัดขาด แถมรถติดติดหนัก

“ที่ดอนเมืองก็แออัดเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงไปด้วยก็เลยไม่ อยากไป อยู่บ้านตัวเองดีกว่า ซึ่งยังพออยู่ได้ถ้าไม่ตัดน้ำตัดไฟเสียก่อน ก็พอหุงหาอาหารอยู่ได้ไปสัก 2 อาทิตย์" สุทิวา ตะโกนเล่าขณะอยู่บนระเบียงชั้นสองของบ้าน

ด้าน ปัทมา สุขแสงชู อาศัยอยู่หมู่บ้านพฤกษา 13 รังสิตคลอง 3 ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ปฏิบัติการผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ให้นำรถยนต์ขนาดใหญ่ลุยน้ำมารับตัวเองและครอบครัวอีก 2 ชีวิตคือสามีและลูกชาย แต่ผ่านไป 2 วันแล้ว ศปภ. ก็ไม่ติดต่อกลับ ซึ่งเข้าใจดีว่ามีคนเดือดร้อนจำนวนมาก ต่อจากนี้จึงขอช่วยเหลือตัวเองไปก่อน

 “วันนี้จะอยู่บนชั้นสองต่อไปจนกว่าเหตุการณ์จะดีขึ้น ซึ่งอาหารแห้งที่ตุนไว้พอมีประทังชีวิตอยู่ได้สักเดือน จะอดทนให้ถึงที่สุด เพราะทราบจากข่าวและมองโลกในแง่ดีว่าน้ำคงไม่ท่วมเกิน 1.5 เมตรก็ยังพอรับได้ ถึงอย่างไรก็ยังมีเพื่อนบ้านอีกหลายคนที่ยังไม่ไปไหน พอมีกำลังใจอยู่บ้างไม่ได้โดดเดี่ยวแต่หากน้ำท่วมสูงกว่านี้และท่วมไปอีกนาน คงจะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดที่น้ำไม่ท่วมไปเลย คงไม่ไปศูนย์อพยพของรัฐบาลหรอก เพราะไม่เชื่อรัฐบาลแล้วอยากถามว่าจะไปหาอาหารที่ไหนมาเลี้ยงประชาชน เพราะไม่มีใครบริจาคของกันแล้วทุกคนต่างตุนเสบียงเอาตัวรอด” ปัทมา เล่าอย่างมีอารมณ์

มนต์ชัย ภูสีเขียว ข้าราชการวัยสี่สิบต้นๆ ซึ่งเพิ่งผ่อนบ้านราคาร่วม 3 ล้านบาท ได้ไม่ถึงปี บอกว่า เหตุที่ไม่อพยพ เพราะขณะนี้ในกทม.ก็วิกฤตหนักทุกคนต่างแย่กันกักตุนอาหาร ข้าวของทุกอย่างแพงไปหมดจนถึงขั้นขาดแคลนแล้ว และฟังข่าวว่าที่ ศปภ.ดอนเมืองของกินของใช้ที่คนกรุงเทพฯ เคยนำมาบริจาคเริ่มน้อยลง เนื่องจากน้ำกำลังท่วม กทม. เช่นกัน ทุกคนจึงต่างพากันตุนเสบียง

“เมื่อเหตุการณ์เป็นแบบนี้ทำไมรัฐบาลไม่บอกความจริงประชาชน ทำให้คน กทม. เข้าใจผิดมาตลอดว่ารัฐบาลรับมือน้ำท่วมกทม.ได้ ท้ายที่สุดรัฐบาลเอาไม่อยู่และตอนนี้กรุงเทพฯ กำลังประสบวิกฤตจลาจลครั้งใหญ่ ฉะนั้น ทุกคนต้องช่วยตัวเองก่อนอย่าหวังพึงรัฐบาลอีกเลย” มนต์ชัย ระบุ

 

เขาไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลสั่งให้ประชาชนอพยพทั้งที่ยังไม่มีความพร้อมด้าน สถานที่ อาหารหรือการอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ สถานที่เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ที่สำคัญรัฐบาลไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าและการกักตุนสินค้าได้ ส่งผลให้สินค้าหมวดอาหารแพงอย่างมาก

“เพื่อนผมเป็นพนักงานบริษัททำขนมปังยี่ห้อดังแห่งหนึ่งบ้านน้ำท่วม แต่ขาดงานไม่ได้ หากหยุดบริษัทจะตัดเงินเดือน 25% ที่หยุดไม่ได้เพราะขนมปังขายดีมากในช่วงวิกฤต เพราะคนตื่นตระหนกไปซื้อตุน บริษัทก็ได้ทีจึงไม่สนใจชะตามกรรมลูกจ้างตัวเองที่ถูกน้ำท่วมเลยว่าลำบากใน การเดินทางแค่ไหน แต่ยังบังคับให้ไปทำงานอีก แย่มากคนพวกนี้” มนต์ชัย เล่าชะตากรรมของเพื่อน

ข้าราชการรายนี้ ยังเล่าประสบการณ์ในห้างสรรพสินค้าด้วยว่า เขาเองแทบไม่เชื่อว่า คนที่มีเงิน แต่งตัวดีๆ จะลงมือเอามีดกรีดลังกระดาษแย่งซื้อกันซื้อบะหมี่สำเร็จรูปและปลากระป๋อง หรือแม้แต่ในศูนย์อพยพบางแห่งมีคนแย่งกันขอข้าวกินอย่างน่าเวทนา

ด.ต.ณสกล ยาใจ เจ้าหน้าที่ตำรวจหนุ่มใหญ่ สน.จุฬาลงกรณ์ อาศัยอยู่ถนนรังสิตนครนายก ซอย 8 หมู่บ้านภัณฑิรา  มีเหตุผลต่างจากคนในชุมชนบริเวณเดียวกัน ด้วยเขามีเรือเตรียมไว้ 1 ลำ จึงทำหน้าที่คอยให้บริการเพื่อนบ้านที่ต้องการเดินทางออกไปยังปากซอยริมถนน รังสิตนครนายก รวมถึงคอยอำนวยความสะดวกเรื่องต่างๆ แก่ประชาชนที่ยังไม่ยอมอพยพ และไว้ใช้ตรวจการ กระทั่งให้บริการชาวบ้านที่มาซื้อของชำที่บ้านเพื่อกลับบ้านด้วย


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ยิ่งลักษณ์ ยึดอำนาจศปภ. กระชับพื้นที่ สุขุมพันธุ์

view