สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ม. 31! บทสรุปศปภ.ล้มเหลว-หวังตัดตอน สุขุมพันธุ์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

'ยิ่งลักษณ์'ปรับทัพ"ศปภ."ใหม่ ดึงอำนาจ"ประชา"และหวังตัดตอน"สุขุมพันธุ์" รวมไว้ที่นายกฯ หลังใช้ ม. 31 พรบ.ป้องกันภัย ฯ

 แหล่งข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 31 ของพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550 ได้มีการเตรียมปรับโครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ใหม่ โดยอาจจะเพิ่มคณะทำงานเข้ามาร่วมทำงานมากขึ้นเพื่อสอดรอบกับส่วนราชการที่จะต้องเข้ามาทำหน้าที่ตามมาตรา 31 รวมไปถึงส่วนราชการของกรุงเทพมหานครด้วย

  สิ่งสำคัญของการประกาศ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ นั้น คือการปรับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ จากเดิมการบริหารสถานการณ์ที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ของพ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้คุมอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารซึ่งในส่วนของการบริหารสถานการณ์นายกฯได้ใช้อำนาจผ่านพล.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมในฐานะผอ.ศปภ.ปรากฎว่าที่ผ่านมาการทำงานเกิดติดขัด ในเรื่องของการประสานงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับกทม.จากกรณีที่ทางศปภ.ขอให้กทม.เปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักการระบายน้ำกทม. ดังนั้นการปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ เพื่อเป็นการดึงอำนจการตัดสินใจมาไว้ที่นายกฯเพียงคนเดียว โดยไม่ต้องใช้อำนาจผ่านพล.ต.อ.ประชา ในระหว่างเกิดวิกฤตน้ำท่วม

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมร่วมกับของชุดที่มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ , เสนาธิการทหารบก , ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และทีมงานร่วมประชุมในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อ

สรุปผลการจัดโครงสร้างการดำเนินการเพื่อรองรับการใช้อำนาจสั่งการของนายกรัฐมนตรี กรณีสถานการณ์สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายละเอียดดังนี้ 1. แนวคิดจากจัดทำโครงสร้างการดำเนินเพื่อรองรับการใช้อำนาจสั่งการของนายกฯกรณีสถานการณ์สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่งมีความต้องการที่จะนำโครงสร้างของศอส.และศปภ.บรรจุไว้ในโครงสร้างศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯตามที่กำหนดไว้ในแผนป้องกันฯ

 2. การใช้อำนาจของนายกฯจะใช้ผ่านศปภ.ทั้งนี้จะให้มีศปภ.ส่วนหน้าโดยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับประสานการสั่งการของนายกฯร่วมกับผู้ว่าฯกทม. โดยศปภ.จะเป็นผู้สนับสนุน และเสนอแนะการทำงานของกทม.ทั้งนี้การประสานสั่งการใดๆต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยจะมีเฉพาะคำสั่งจากศปภ.เท่านั้น 3. ให้มีศปภ.ส่วนหน้าในการดูแลฝั่งตะวันออกด้วย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ดูแล โดยใช้ระบบสื่อสารวิทยุเครือข่ายหรือโทรศัพท์แล้วแต่กรณี

 4. มอบให้กระทรวงคมนาคมขนย้ายของมีค่าหรือของโบราณ เช่น รถไฟไปไว้ยังพื้นที่ปลอดภัยก่อนเกิดอุทกภัยร้ายแรงในกทม. 5. ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบให้อธิบดีในสังกัดไปปฏิบัติงานที่ศปภ.ส่วนหน้า ที่ศาลากทม.ในวันที่ 23 ต.ค.เวลา 08.30 น. 6. ให้อธิบดีในสังกัดระทรวงมหาดไทยศึกษาแผนป้องกันภัยของกทม. พ.ศ. 2553 - 57 ด้วย 7 ให้กรมการปกครองจัดอาสาสมัครมาปฏิบัติหน้าที่นี้ด้วย 8. จังหวัดใดที่น้ำไม่ท่วมและไม่ได้รับมอบภารกิจในจังหวัดพี่และจังหวัดน้องในการช่วยเหลืออุทกภัย และให้สำนักปลัดกระทรวงจัดทำคำสั่งนี้ให้มาช่วยงานในครั้งนี้

 9. ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทวรงมหาดไทยที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในกทม.ดูแลปกป้องสถานที่ราชการของตัวเองเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย 10. แจ้งกำชับในเรื่องรักษาความปลอดภัยทั่วไป 11. ให้เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวกับจ.นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ที่จะต้องประสบปัญหาอุทกภัยด้วย 12. ในการปฏิบัติราชการที่กทม.ในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ให้อธิบดีและผู้ว่าการของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หรือรองอธิบดีที่มีอำนาจตัดสินใจไปร่วมปรึกษาหารือโดยเฉพาะการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวงนั้น ให้ผู้ว่าการรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ไปด้วยตัวเอง


 13. ให้หน่วยงานระดับกรมและรัฐวิสาหกิจคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูง ที่อยู่ในภูมิภาคให้มาช่วยงานเพื่อการนี้ด้วย 14. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำที่ศอส. โดยให้อธิบดีฯไปบ้างเป็นบ้างครั้ง หากมีการนำเสนอที่สำคัญ ทั้งนี้ให้นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา รักษาการรองอธิบดีกรมการป้องกันฯ ไปประจำที่ศาลากทม.ในวันที่ 22 ต.ค.


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ม. 31 บทสรุป ศปภ.ล้มเหลว หวังตัดตอน สุขุมพันธุ์

view