สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละ ร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดทางรัฐบาล ล้วงกระเป๋า แบงก์ชาติ

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เปิดศักราชปีมังกร 2555 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็เปิดเกมปฏิบัติการสายฟ้าแลบเพื่อผลักดัน ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ทางการเงิน เข้า ครม. 4 ฉบับรวดเป็นการเร่งด่วนโดยอ้างเหตุผลจากเหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรงของปี 2554เพื่อที่จะต้องหาเงินมาเพื่อใช้ในการบูรณะและฟื้นฟูประเทศไทย

ร่างพ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ...มีสาระสำคัญให้โอนหนี้ 1.14ล้านล้านบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)จากเดิมกระทรวงการคลังรับภาระดอกเบี้ย ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)รับภาระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น

2.ร่างพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยพ.ศ. ...ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน(ซอฟต์โลน) วงเงิน 300,000 ล้านบาทในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1ให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อยและประชาชนผู้ประสบอุทกภัย

3.ร่างพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ...สาระสำคัญ คือให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาทและเงินตราต่างประเทศเพื่อนำไปใช้ลง ทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศมูลค่ารวมกันไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท และภายในกำหนดไม่เกินวันที่ 31ธันวาคม 2557

และ 4.ร่าง พ.ร.ก.กองทุนประกันภัย พ.ศ....สาระ สำคัญให้จัดตั้งกองทุนประกันภัย มีฐานะเป็นนิติบุคคลวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ ประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัยในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัย พิบัติด้านต่างๆ วงเงิน 50,000 ล้านบาท

ย้อนรอยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท


แต่ฉบับที่เป็นประเด็นร้อนและมีการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือร่างพ.ร.ก.ปรับปรุงบริหารหนี้เงินกู้ของกองทุนฟื้นฟูฯซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลชุดนี้ที่เปิดเกมรุกทันทีที่รับตำแหน่งเนื่องจากต้องการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯไปให้ ธปท.รับภาระเพื่อไม่ให้เป็นกับภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

สำหรับหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทเกิดมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯต้องเข้าให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนั้น เพื่อไม่ให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา

ปมปัญหา หนี้ดังกล่าวเกิดจากการออกพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการ เงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และฉบับ พ.ศ. 2545กำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยระบุให้ ธปท.เป็นผู้ชำระเงินต้นส่วนกระทรวงการคลังรับชำระดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาลมองว่าเป็นภาระหนี้ที่ธปท.ต้องรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม นายประสาร ไตรรัตน์วรกุลผู้ว่าการ ธปท.ยืนยันว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้สาธารณะที่เกิดจากนโยบายของรัฐในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 ในสมัยรัฐบาลสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ประกาศลดค่าเงิน และครม.มีมติให้การค้ำประกันเจ้าหนี้และผู้ฝากเงินสถาบันการเงินทั้งจำนวนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบเศรษฐกิจ ทำให้ส่วนนี้กลายเป็นหนี้ของFIDF

"การดำเนินการของ FIDF จึงเป็นกลไกของรัฐถือเป็นหนี้สาธารณะที่จะโอนมาเป็นหนี้ ของ ธปท.ไม่ได้ เพราะธปท.ไม่มีอำนาจในการจัดเก็บภาษี ถ้าโยกหนี้มาก็เท่ากับต้องพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้ ถือว่าอันตรายและยิ่งคิดจะเอาทุนสำรองเงินตรามาชดเชยยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะเป็นการสร้างปัญหาความเชื่อมั่นอีกด้านหนึ่ง" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

ปฏิบัติการเบ็ดเสร็จรวบอำนาจ "คลัง-แบงก์ชาติ"


นอก จากนี้ การนำร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้เข้าที่ประชุม ครม.แบบวาระจรเมื่อ 4 ม.ค.2555 โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอพร้อมกับร่างพ.ร.ก.อีก 3 ฉบับ โดยอ้างเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนจากปัญหาอุทกภัยนั้นยังเป็นที่กังขาว่า ประเด็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นเรื่องเร่งด่วนจริงหรือไม่หรือแค่อาศัยปัญหา อุทกภัยผูกโยงเรื่องนี้เข้าไปด้วยและถูกต้องหรือไม่ในการที่จะโอนหนี้ไปให้ ธปท.

ขณะที่ท่าทีของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในที่ประชุม ครม.เมื่อ 27 ธ.ค. 2554ก็เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเห็นด้วยก็กลัลไม่เห็นด้วยกับการโอนภาระหนี้ไปให้ ธปท.

นายกิตติรัตน์หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงได้รับบัญชาการให้เป็นผู้ผลักดันร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้แบบเบ็ดเสร็จ โดยกระทรวงการคลัง และธปท.ไม่มีส่วนร่วมในการยกร่าง

โดยเมื่อ 30 ธ.ค. 2554นายกิตติรัตน์เป็นประธานประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้ว่าการ ธปท. เลขาฯสภาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเพื่อหาทางออกแต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เพราะยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันจากนั้นวันที่ 3ม.ค.นายกิตติรัตน์ได้เรียกข้าราชการจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาประชุมเพื่อยกร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ และเสนอร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าววันที่ 4 ม.ค.ทันที

เปิดทางล้วงตับ "แบงก์ชาติ"


นอกจากนี้ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ยังมีประเด็นที่หลายฝ่ายกังวล เพราะนอกจากจะซุกหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท
มิให้ปรากฏในบัญชีหนี้สาธารณะแล้ว ยังให้อำนาจ ครม. แทรกแซง ธปท.รวมถึงการเปิดช่องให้ ครม.ล้วงสินทรัพย์ของธปท.ซึ่งอาจรวมถึงทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทองคำและเงินตราต่างประเทศที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล)เคยคัดค้านมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ตามมาตรา 7 (3) ที่บัญญัติว่า

ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 (หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ)ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (3)ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

เช่นที่ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เป็นห่วงมติ ครม.เมื่อ 4 ม.ค. 2555ที่มีมติเห็นชอบในหลักการเรื่องร่างพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ....โดยโอนหนี้ดังกล่าวให้ ธปท.รับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวน 1.14ล้านล้านบาท เพราะจะไปมีผลไปหักล้าง พ.ร.บ.เงินตราและพ.ร.บ.ธปท.ที่เกี่ยวกับสถานะของธนาคารกลาง

และ ข้อที่เป็นห่วงคือมาตรา 7 (3) ที่ระบุว่าให้โอนเงินเหรือทรัพย์สินของธปท.หรือกองทุนฟื้นฟูฯเข้าบัญชีตาม มาตรา 5 ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั่นหมายความว่า ครม.สามารถสั่งให้ธปท.โอนทุนสำรองของประเทศหรือที่ดินและทุกอย่างที่เป็น ทรัพย์สินได้จึงยอมรับว่าเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการทำ งานของธนาคารกลางในสายตาต่างชาติ และเป็นเรื่องที่ควรจะมีการหารือกันให้รอบคอบ

บีบแบงก์ขึ้นค่าธรรมเนียมที่สุด ปชช.รับภาระ


นอกจากนี้ มาตรา 8 ระบุว่า ให้สถาบันการเงินนำส่งเงินให้แก่กองทุนตามอัตราที่ธปท.ประกาศกำหนดแต่เมื่อ รวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครอง เงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 1ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก

หากสถาบันการเงินไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8หรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 2ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ

ประเด็นนี้แม้ว่า จะเป็นมุมมองที่ต้องการให้สถาบันการเงินมาร่วมรับผิดชอบต่อภาระหนี้กองทุน ฟื้นฟูฯให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์เพิ่มจากปกติที่ต้องจ่าย ให้สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 0.4%แต่สุดท้ายธนาคารพาณิชย์จะส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้ฝากเงิน หรือผู้กู้เงินอยู่ดี

การ ผลักดันร่างพ.ร.ก.ฉบับนจึงอาจกลายเป็นจุดตายของรัฐบาลถ้ายังดันทุรังเดิน หน้าต่อเพราะขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังจับตามองโดยเฉพาะฝ่ายค้านส่งสัญญาณชัดจะยื่น ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ชำแหละ ร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดทางรัฐบาล ล้วงกระเป๋า แบงก์ชาติ

view