สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปิดฉาก 50 ปี เชลล์ชวนชิม โบกมือลา

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ตำนานของโลโก้ชามเบญจรงค์ "ลายผักกาด"

จากคอลัมน์ "เชลล์ชวนชิม" ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 27ม.ค.-2 ก.พ. 2555 ที่เขียนโดย "ถนัดศอ"

นาม ปากกาของ ม.ร.ว.ถนัดศรีสวัสดิวัตน์ นักชิมอาหารผู้โด่งดัง ประกาศว่า


จาก วันนั้นถึงวันนี้"เชลล์ชวนชิม" ได้อยู่คู่คนไทยมานานถึง 50 ปี หรือกึ่งศตวรรษ เมื่อบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ไม่ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนต่อไปแล้วก็เป็นเวลาอันควรที่จะยุติการแนะนำ ร้านและผลิตภัณฑ์อาหารในนาม"เชลล์ชวนชิม"สัปดาห์นี้จึงเป็นสัปดาห์สุดท้าย ที่จะแนะนำร้านอาหาร



จากข้อมูลนักเขียนนามปากกา "ธิดามะขามเทศ" ย้อนรอยความเป็นมาว่า"เชลล์ชวนชิม" เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 สมัยที่น้ำมันพรีเมี่ยม 95 ราคาลิตรละ 2.10 บาท รัฐบาลกำลังตัดถนนสายใหม่ไปทั่วประเทศ ม.จ.ภีศเดชรัชนี ได้มาปรึกษา ม.ร.ว.ถนัดศรี จะทำโฆษณาแบบ soft sale คุณชายถนัดศรีจึงยกตัวอย่างของประเทศฝรั่งเศสว่า มี Michelin Guide ซึ่งเป็นของบริษัทที่ผลิตยางมิชลิน ได้แนะนำร้านอาหารในเส้นทางต่าง ๆในทวีปยุโรป ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะนำมาใช้กับเมืองไทยได้เพราะคนไทยชอบหาของกินอร่อย ๆ เช่นกัน


"เชลล์ชวนชิม"จึงได้เกิดขึ้นครั้งแรก โดยมีเชลล์แก๊สเป็นสปอนเซอร์เพราะตอนนั้นบริษัทเชลล์กำลังรณรงค์ให้ หันมาใช้เตาแก๊สแทนเตาถ่านต่อมาในเดือนกันยายน 2525 จึงได้เปลี่ยนโลโก้เป็นชามเบญจรงค์ "ลายผักกาด"แทน เพื่อสร้างความชัดเจนในการสนับสนุนในเรื่องอาหารของเชลล์


ทั้งระบุอีกว่า คุณชายถนัดศรี เรียนมาทางด้านกฎหมายส่วนความรู้ทางด้านอาหารได้มาจาก หม่อมละมุน สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยาผู้เป็นหม่อมย่า และผู้ว่าการห้องเครื่องในวังสระปทุม ในขณะที่แม่แท้ ๆคือ หม่อมเจริญ เป็นลูกมือของ ม.ร.ว.เสงี่ยม สนิทวงศ์ผู้ทำเครื่องถวายสมเด็จพระพันปีหลวงทุกอย่างได้ซึมซับเข้ามาอย่างไม่รู้ตัวทั้งอาหารคาวหวานและกรรมวิธีการปรุง

ลูกชิ้นห้าหม้อหรือเกาเหลาลูกชิ้นมันสมองหมู รถเข็นหน้าห้องแถวย่านแพร่งภูธรถูกแนะนำเป็นรายแรก ส่วนต่างจังหวัดคือเป็ดพะโล้ท่าเกวียนที่ชลบุรี

ร้านค้าไหนที่คุณชายตามไปชิม ก็จะถูกนำมาเขียนถึงในหนังสือพิมพ์"สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์" ซึ่งเริ่มเขียนตอนที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน2504

ต่อมาย้ายหาบไปอยู่ที่ "ฟ้าเมืองไทย" ตั้งแต่ฉบับที่ 340ในวันที่ 25 กันยายน ปี 2518 ปัจจุบันปักหลักที่ "มติชน" และคอลัมน์"ซันเดย์สเปเชียล" ในไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์

ป้ายเชลล์ชวนชิมถูกวิพากษ์ว่าขาดความศักดิ์สิทธิ์ แต่คุณชายถนัดศรียืนยันว่าการให้ป้ายแล้วเอาคืน เป็นการสร้างศัตรู หากร้านไหนรสชาติเปลี่ยนไปลูกค้าต้องตัดสินเลิกทานด้วยตนเอง

เป็นวิธีคิดที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการให้ป้าย "หมึกแดง" ของ ม.ล.ศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ลูกชายคนโตที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน


ป้ายเชลล์ชวนชิมสร้างความร่ำรวยให้เจ้าของร้าน และสามารถขยายสาขาเป็นของลูกหลานต่อเนื่องส่วนคุณชายจะได้ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน และค่าเรื่องจากบริษัทเชลล์ครั้งละ1,000 บาท และเพิ่มเป็น 1,500 บาท เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แต่สิ่งที่ได้ตามมาคือ ชื่อเสียงและสัญลักษณ์แห่งความเอร็ดอร่อยในเรื่องการชิมและการทำรายการอาหาร สร้าง"โอกาส" ให้ไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่าง ๆ ด้านอาหารมากมายในเวลาต่อมาเริ่มจากรายการ "พ่อบ้านเข้าครัว" ทาง ช่อง 5 หลังจากนั้นก็มีรายการของปลากระป๋องปุ้มปุ้ย รายการของซอสภูเขาทอง รายการหมึกแดงเวิลด์ที่ทำกับลูกชายคนโต รวมทั้งเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้สินค้าต่าง ๆ มากมาย

การ ชอบหาของแปลกใหม่รับประทาน ชอบเดินทางท่องเที่ยว และมีกลุ่มเพื่อนมากมายทำให้คุณชายถนัดศรีมีประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายและ ยังเป็นนักเล่าเรื่องที่มากด้วยอารมณ์ขันเต็มไปด้วยสาระและความบันเทิงครบ ครันเรื่องราวเหล่านั้นถูกถ่ายทอดออกมาในรายการทีวีรายการวิทยุและข้อเขียน ในหนังสือต่าง ๆ

มรดกในเรื่องอาหารถูกถ่ายทอดผ่านสายเลือดและความคิดของคน "รุ่นพ่อ" สู่ "รุ่นลูก" จากแบรนด์ "เชลล์ชวนชิม"มาเป็นแบรนด์ "หมึกแดง" โดยมี "ปิ่นโตเถาเล็ก" ตามรอยเท้าพ่อและพี่มาติด ๆ


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : ปิดฉาก เชลล์ชวนชิม โบกมือลา

view