สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พรก.โอนหนี้อลเวงโยนภาระใส่แบงก์..รัฐกลับโดนเละ

จาก โพสต์ทูเดย์

ต้องถือว่ายังอลเวงเป็นรายวัน สำหรับการออก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท

โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง

ต้องถือว่ายังอลเวงเป็นรายวัน สำหรับการออก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบด้วยการหารายได้จากการเก็บค่าต๋งจากฐานเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มา ชดใช้หนี้

เพราะยิ่งรัฐบาลเร่งเดินหน้าเท่าไร ปัญหาก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

เรียกว่าเร่งทำตรงนี้ ปัญหาไปเกิดตรงโน้น

ทำให้ พ.ร.ก.โอนหนี้ที่เร่งเดินหน้าออกมาเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่ รัฐบาลอ้างกลับกลายเป็นตัวสร้างปัญหาบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไปไม่ น้อย

เริ่มตั้งแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในการออก พ.ร.ก.โอนหนี้เพื่อปลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 46 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีการปรึกษาหารือกับส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้กฎหมายที่ออกมาไม่รอบคอบ กลายเป็น พ.ร.ก.สุกๆ ดิบๆ

จนเป็นเหตุให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ พ.ร.ก.โอนหนี้ให้เป็นโมฆะ เพราะไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วนแต่อย่างใด

ซึ่งจะมีการพิจารณาสืบพยานกันแบบสดๆ ถ่ายทอดทางทีวีให้เห็นกันจะจะในวันนี้ และชี้ขาดกันอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องลุ้นระทึก

ขณะที่ความเร่งร้อนของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังที่รวบรัดบีบคอ ธปท. และธนาคารพาณิชย์ สรุปการรีดค่าต๋งมาใช้หนี้ ก็ออกมาแบบพลิกล็อกมโหฬาร แถมพิกล พิการ พิลึก พิลั่น

เอาเฉพาะค่าต๋งที่เคาะออกมาก่อน ปรากฏว่าจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้นในอัตรา 0.47% ของฐานเงินฝาก โดยเป็นการให้ ธปท.เรียกเก็บ 0.46% ไปใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และแบ่งให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเก็บไว้แค่ 0.01% เข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝาก

อัตราดังกล่าวเมื่อไปเทียบกับอดีตที่ธนาคารพาณิชย์ต้องนำเงินส่งเข้ากอง ทุนคุ้มครองเงินฝากอยู่ 0.4% เท่ากับว่ารัฐบาลเจรจาต้าอ้วยอีท่าไหนไม่รู้กลับไปเก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นแค่ปะติ๋วสิวไม่ขึ้น 0.07% เท่านั้น

คิดเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนสร้างความปั่นป่วนให้ตลาด 4,200 ล้านบาทเท่านั้น

ปรากฏการณ์ของการเก็บค่าต๋งธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจริงน้อยแสนน้อย รัฐบาลไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเป็นเพราะบรรดานายธนาคารพาณิชย์รวมพลังกันแข็ง ข้อกับรัฐบาลในการออก พ.ร.ก.โอนหนี้ ด้วยการโยนภาระให้ธนาคารพาณิชย์รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวมาตลอด

พลานุภาพที่สมาคมธนาคารไทยออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วย และส่งสัญญาณออกมาชัดเจนว่า ถ้าโยนภาระมาให้ จะผลักภาระให้ลูกค้าทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ฝากเงินจะได้ดอกเบี้ยน้อยลง และผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่การใช้บริการธนาคารพาณิชย์อาจจะโดนรีดค่าธรรมเนียมจากบรรดาผู้ใช้บริการเพิ่มเพื่อไปชดเชยขาดทุนกำไรที่ลดลง

ที่สำคัญยังออกโรงขู่ฟ่อว่า ถ้าทำกันแบบนี้รับประกันได้ว่านโยบายการเงินของรัฐบาลและธนาคารกลางจะไร้ประสิทธิภาพแน่ๆ

การออกมาเปิดหน้าชกของบรรดานายธนาคารพาณิชย์ที่ประกาศตอบโต้รัฐบาลชนิด ฟันต่อฟัน ทำให้รัฐบาลที่ทำท่าทางขึงขังเพราะมี พ.ร.ก.เป็นอาวุธกลับต้องจนตรอกในที่สุด

หลักฐานที่ยืนหยัดได้ชัดว่ารัฐบาลถูกต้อนให้จนมุม ที่ฟ้องเห็นได้ คือ การเรียกค่าต๋งของธนาคารพาณิชย์ ที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นอัตราที่น้อยกว่าที่ ธปท.เคยต้องการเก็บในอัตรา 0.5-0.6% ของฐานเงินฝาก

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังไล่ต้อนรัฐบาลหมดท่า เรื่องการเก็บค่าต๋งจากธนาคารเฉพาะของรัฐ ที่ธนาคารบีบให้รัฐบาลเก็บให้เหมือนกับธนาคารพาณิชย์

ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้รองนายกฯ กิตติรัตน์ ออกมายืนยันเสียงแข็งว่าไม่มีวันทำตามข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์

แต่พอถึงวันนี้กลับกลืนน้ำลาย เตรียมชงคณะรัฐมนตรีเก็บเงินค่าต๋งจากธนาคารของรัฐในอัตราพรวดเดียว 0.47% เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการทำธุรกิจ ที่ธนาคารพาณิชย์พยายามพุ่งหอกใส่รัฐบาลอยู่ทุกวันว่าไม่มีความเป็นธรรมใน การแข่งขัน

รัฐบาลก็บ้าจี้ เดิมเรียกเก็บเงินนำส่งจากธนาคารพาณิชย์ 0.4% มาเป็นสิบปี ธนาคารพาณิชย์ก็แข่งกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐได้สบายๆ แถมมีกำไรในระบบปีละนับ 23 แสนล้านบาท

แต่พอมาโดนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก พ.ร.ก.โอนหนี้แล้วเก็บเงินนำส่งหรือค่าต๋ง 0.07% กลับบอกว่าสู้ไม่ได้ไม่มีความเป็นธรรม แล้วก็ออกแรงกดดันจนผู้นำรัฐบาลที่ทำคลอดกฎหมาย พ.ร.ก.กู้เงินหลงกลไปเรียกเก็บจากสถาบันการเงินของรัฐพรวดเดียว 0.47% ไม่มึนก็ไม่รู้เรียกว่าอะไรแล้ว

มีที่ไหนออกกฎหมายไปก็เพื่อวัตถุประสงค์เก็บเงินจากคนที่ทำระบบเศรษฐกิจ พังในอดีตมาใช้หนี้ เจรจาไปเจรจามากลับมาเรียกเก็บจากธนาคารของตัวเองที่ถือหุ้นอยู่มากกว่าที่ เรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์

แม้ว่ากิตติรัตน์จะเลี่ยงบาลีว่า การรีดค่าต๋งจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.ก.โอนหนี้ และไม่ได้นำเงินไปใช้หนี้เงินกองทุนฟื้นฯ แต่เงินที่ได้มาจะนำมาตั้งกองทุนพัฒนาประเทศไทย

แต่ไม่ว่าจะเลี่ยงซ้ายเลี่ยงขวาอย่างไร วันนี้สถาบันการเงินของรัฐถูกลากลงบ่อทรายดูดเงินออกมาใช้เป็นที่เรียบร้อย

การที่อยู่ดีๆ สถาบันการเงินของรัฐต้องโดนเก็บเงินค่าต๋ง 0.47% ของฐานเงินฝาก 3 ล้านล้านบาท คิดเป็นเงินรายได้กำไรที่ลดลงจะตกปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการรีดเงินธนาคารรัฐเป็นการกินแรงถ่วงธนาคารรัฐเพิ่มมากขึ้น

เพราะที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์)ก็เดินหน้าสนองนโยบายรัฐจนอ่อนล้า ทุนหาย กำไรหด

ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้พ่อค้าแม่ขาย สินเชื่อเกษตรกร สินเชื่อบ้านคนรายได้น้อย สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ สินเชื่อช่วยน้ำท่วม ล้วนแต่เป็นนโยบายที่เข้าเนื้อสถาบันการเงินของรัฐทั้งนั้น

ที่สำคัญเป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลหรือสถาบัน การเงินของรัฐเพื่อแบ่งเบาภาระส่วนนี้เลย เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินของรัฐที่นับวันยิ่งต้องเป็นแขนขาให้รัฐบาลมาก ขึ้นทุกวัน

แต่วันนี้รัฐบาลกลับตกอยู่ใต้เบี้ยล่างของธนาคารพาณิชย์ ตัดแข้งตัดขาสถาบันการเงินของรัฐให้ง่อยเปลี้ยเสียขา โดยอ้างว่าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการแข่งขัน ตามข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์ยัดใส่รัฐบาล

ความใจร้อนของกิตติรัตน์ที่ไปตกปากรับคำธนาคารพาณิชย์รีดเงินค่าต๋ง สถาบันการเงินรัฐ ยังมีปัญหาทางปฏิบัติว่ามีกฎหมายดำเนินการได้หรือไม่

เพราะหลังจากที่นโยบายผุดออกมา สถาบันการเงินของรัฐก็ดาหน้าออกมาบอกว่าไม่รู้ รมว.คลัง ไม่เคยบอกหรือหารือมาก่อน และการเก็บเงินสถาบันการเงินของรัฐไปใส่กองทุนก็คงต้องหน้าเรียงแถวแก้ กฎหมายจัดตั้งให้ดำเนินการได้

เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังสามารถเรียกเงินนำส่งจากกำไรเพิ่มได้ เพราะเป็นการนำเงินส่งคลังไปใช้ในงบประมาณไม่มีปัญหา

แต่การเก็บเงินค่าต๋งจากสถาบันการเงินของรัฐไปใส่กองทุนไม่ใช่ใส่เงินคง คลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจทำไม่ได้ ต้องออกมาเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นมาอีก

ขณะที่ความชัดเจนของกองทุนพัฒนาประเทศไทยก็ยังมีแต่ชื่อ ไม่มีตัว ว่าจะไปดำเนินการอะไร และมีความจำเป็นตั้งกองทุนหรือไม่

การรีดค่าต๋งสถาบันการเงินของรัฐตั้งกองทุน ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสด้านการบริหารเงินการคลัง ที่ปกติต้องผ่านวิธีการงบประมาณถูกรัฐสภาตรวจสอบ

แต่การตั้งกองทุนเป็นนิติบุคคลเอกเทศ รัฐบาลสามารถใช้เงินได้สบายมือปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท หากสถาบันการเงินของรัฐต้องใส่เงินเป็นเวลา 20-25 ปี ตามเวลาที่ธนาคารพาณิชย์ใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ นี้หมด เท่ากับว่าจะมีเงินในกองทุน 34 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลจะใช้จ่ายได้อย่างเป็นเอกเทศ ไร้การตรวจสอบ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหาก กรณ์ จาติกวณิช สส.ประชาธิปัตย์ อดีต รมว.คลัง ออกมาวิพากษ์นโยบายของกิตติรัตน์ว่าเป็นการปล้นเงินคลัง หลังจากล้วงคลังหลวงไม่สำเร็จ และการตั้งกองทุนพัฒนาประเทศไทยยังเป็นช่องที่รัฐบาลจะเอาคนใกล้ชิดมานั่ง กินเงินเดือนหลายแสนบาท ขณะที่เงินของกองทุนก็ถูกนำไปใช้ไม่ถูกที่ถูกทาง

เรื่องของ พ.ร.ก.โอนหนี้ ยังสร้างปัญหาพาไทยถอยหลังเข้าคลอง ในกรณีที่รัฐบาลไปลดการเก็บเงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝากจาก 0.4% เหลือ 0.1% ทำให้การดูแลเงินฝากบัญชีไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่จะเริ่มใช้ในเดือน ส.ค. 2555 จำนวน 60 ล้านบัญชี มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะกองทุนคุ้มครองเงินฝากมีเงินดูแลไม่พอ

การที่กิตติรัตน์จะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้สถาบันคุ้มครองเงิน ฝากเก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ไปกองทิ้งไว้เป็นหลายแสนล้านบาท เพราะไม่มีประโยชน์ หากธนาคารมีปัญหารัฐบาลจะเข้าไปดูแลอยู่แล้ว

แนวคิดดังกล่าวทำให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่รัฐบาลทำคลอดออกมาก็กลาย เป็นองค์กรที่ไม่มีความหมายอีกต่อไป และควรยุบทิ้งไป ไม่ต้องเสียเงินภาษีจ้างคนทำงานให้เสียเวลา

การตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีวัตถุประสงค์ให้สถาบันการเงินธนาคาร พาณิชย์มีการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้เข้มแข็ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องการให้ผู้บริหารพิจารณาความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ก่อนใช้บริการ

แต่ถึงวันนี้กิตติรัตน์ไม่สนหัวใจของการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากอีกต่อ ไป ขอทำทุกทางเพื่อหาทางดันซาก พ.ร.ก.โอนหนี้ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติให้ได้ ยอมแม้กระทั่งถอยหลังเข้าคลองไปสมัยที่เกิดวิกฤตการเงิน ที่เป็นสาเหตุสำคัญของหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลนั่งสางไปสางมายิ่งยุ่งมากขึ้นกว่าเก่า

นี่ยังไม่รวมกับที่รัฐบาลออกมาตีกันก่อนหน้าว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความให้การออก พ.ร.ก.โอนหนี้เป็นโมฆะ ก็ไม่สน ไม่ลาออกรับผิดชอบ แต่ยังเดินหน้าออกเป็น พ.ร.บ.หาทางโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ฝังอยู่ในขั้วหัวใจให้ได้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำตัวเองว่า การออก พ.ร.ก. ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วนตามที่ฝ่ายค้านและ สว.ยื่นให้ศาลตีความลุ้นกันระทึกอยู่ในขณะนี้

ความอลเวงเละเทะของการออก พ.ร.ก.


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : พรก.โอนหนี้ อลเวง โยนภาระใส่แบงก์ รัฐกลับโดนเละ

view