สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวคิดและกลไกของ Fund Transfer Pricing (FTP)

แนวคิดและกลไกของ Fund Transfer Pricing (FTP)

อาสา อินทรวิชัย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




หลังจาก กนง.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง -0.25% เป็น 3.00% อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในแต่ละช่วงอายุกลับไม่ได้ปรับลดลงต่อเนื่องดังคาด
หลังจาก กนง.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง -0.25% เป็น 3.00% ในวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในแต่ละช่วงอายุกลับไม่ได้ปรับลดลงต่อเนื่องดังที่หลายฝ่ายคาดการณ์ และที่มากไปกว่านั้น คือ เริ่มมีแรงเทขายพันธบัตรออกมามากพอสมควรตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา


ผมคิดว่าปัจจัยสำคัญของแรงขายมาจากความกังวลในปริมาณพันธบัตรที่ภาครัฐ จะต้องออกเสนอขาย และความไม่แน่นอนของทิศทางของดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป


ในช่วงเวลาที่การคาดการณ์ทิศทางของดอกเบี้ยนโยบายเป็นไปอย่างไม่ชัดเจนนัก ผมคิดว่าปัจจัยที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าใจตลาดดอกเบี้ยได้กระจ่างขึ้น คือ  การเรียนรู้จากแนวคิดในการลงทุนและการเทรด (philosophy & mentality) ของเทรดเดอร์ของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง  ผมขอเริ่มจากประเด็นต้นทุนการกู้ยืม (Funding cost) นะครับ  ที่เราเห็นว่าแต่ละธนาคารมีเงินลงทุนในตราสารหนี้หลักหมื่นล้าน หรือแสนล้านนั้น เทรดเดอร์ไม่ได้รับเงินทุนมาเปล่าๆ นะครับ


ทุกบาททุกสตางค์ที่วางอยู่ตรงหน้ามาพร้อมกับต้นทุนในการกู้ยืม  (x% ต่อปี คำนวณทุกวัน)  โดยแต่ละธนาคารมีการสร้าง curve เพื่อใช้เป็นต้นทุนอ้างอิงสำหรับธุรกรรมแต่ละประเภทเพื่อให้ทุกฝ่ายงาน  เราเรียก curve นี้ว่า “Fund Transfer Pricing” หรือ FTP ครับ  สมมติง่ายๆ ว่า ถ้าลงทุนได้ผลตอบแทนสุทธิ 4.23% ต่อปี แต่ต้องจ่าย FTP (ดอกเบี้ยเงินกู้) ไป -3.51% ต่อปี คงเหลือผลตอบแทนสุทธิที่ +0.72% บนเงินต้น  FTP ไม่มี Bid หรือ Offer นะครับ rate เดียวใช้กับธุรกรรมทั้งกู้และปล่อยกู้


**


ฝ่ายที่ใช้ FTP curve มากที่สุดฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่าย Money Market ซึ่งเป็นผู้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารผ่านการถือครองพันธบัตรระยะสั้นและผ่านการปล่อยกู้ในธุรกรรม Bilateral Repo กับ ธปท.  หากฝ่าย Money Market (MM) ต้องการออกตราสารหนี้ระยะสั้นอายุ 23 วัน ให้ลูกค้า ประเด็นที่ MM Dealer ต้องพิจารณา คือ P&L ของ “ธุรกรรมกู้” และ “ธุรกรรมปล่อยกู้” ว่าคิดเป็นเม็ดเงินเท่าไร ...


อย่าลืมว่า ถ้าเราเป็นผู้กู้ เราต้องพยายามกู้ให้ต่ำกว่า FTP rate  และทุกๆ 0.01% ที่เราทำได้ต่ำกว่า FTP ถือเป็นกำไร  แต่ถ้าเราเป็นผู้ปล่อยกู้ เราต้องพยายามปล่อยกู้ให้ได้ที่ rate สูงกว่า FTP  หากปล่อยได้ต่ำกว่า FTP นั่นแสดงว่า เรากำลังขาดทุนจากธุรกรรมนี้


สมมติว่าธนาคารแห่งหนึ่งใช้ FTP curve ดังในรูป  (ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.00%) เราสามารถคำนวณ Profits and Loss (P&L) ของธุรกรรมทั้ง 2 ขา เมื่อเทียบกับ FTP ได้ดังนี้
ขากู้ :  2.91-2.97 = -0.06%
ขาปล่อยกู้ :  3.00-2.91 = +0.09%
NET P&L +0.09% - 0.06% = +0.03% (ซึ่งเท่ากับ 3.00-2.97% นั่นเอง)


คงจะเป็นการดี ถ้า MM เป็นฝ่ายที่ได้เข้าทำธุรกรรมทั้ง 2 ขา (ทั้งกู้ และปล่อยกู้) เพราะได้เห็น NET P&L ในภาพรวมเป็นบวกเท่ากับ +0.03% และเมื่อ P&L เป็นบวก ธุรกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้


แต่หากฝ่ายที่เป็นผู้กู้เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง (P&L = -0.06%) ในขณะที่ MM เป็นฝ่ายปล่อยกู้เพียงขาเดียว (+0.09%) ธุรกรรมนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากฝ่ายที่กู้จะติดลบและมีแนวโน้มที่จะไม่ทำธุรกรรมนี้  เรื่อง FTP เป็นเรื่องใหญ่สำหรับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เพราะมีผลต่อทุกหน่วยงาน และต่อทิศทางของธนาคารอีกด้วย


เมื่อกล่าวถึงเรื่อง FTP แล้ว ผมอดไม่ได้ที่ต้องกล่าวถึง อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาทระยะสั้นตัวใหม่ที่ชื่อว่า “BIBOR”   จึงขออนุญาตประชาสัมพันธ์งานสัมมนาให้แก่ ธปท. โดยในวันที่ 24 ก.พ.ที่จะถึงนี้ ธปท.จะมีการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนเรื่อง “อัตราดอกเบี้ย BIBOR อีกทางเลือกสำหรับการบริหารเงินองค์กร” ให้แก่บริษัทต่างๆ และกลุ่มลูกค้ากองทุน ณ รร.พูลแมน ซอยรางน้ำ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.


ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีสำคัญต่อการบริหารโครงสร้างเงินกู้ของบริษัทเอกชน (กลุ่มที่มีความต้องการบริหารความเสี่ยงของดอกเบี้ยจ่าย) ขนาดกลางขึ้นไป นอกจากนั้น กลุ่มลูกค้ากองทุนยังสามารถใช้ BIBOR swap คู่กับ BOT bond หลายๆ รุ่น ซึ่งมีการจ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัวอ้างอิงกับดอกเบี้ย BIBOR นะครับ



สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : แนวคิด กลไกของ Fund Transfer Pricing FTP

view