สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาล ขยับต้านแก้รธน. รัฐบาล สั่นสะเทือน

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักของ “ฝ่ายตุลาการ” หนึ่งในอำนาจอธิปไตย ในการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยล่าสุดได้แสดงท่าทีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 สร้างความตื่นตะลึงให้กับฝ่ายการเมืองพอสมควร เพราะปกติตุลาการมักจะเก็บตัวสงบเสงี่ยม ไม่อินังขังขอบกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติเท่าไหร่

เมื่อศาลขยับย่อมสะเทือนถึงการเมืองไม่มากก็น้อย

ครั้งล่าสุดของฝ่ายตุลาการที่ออกมาแสดงท่าทีทางการเมืองอย่างชัดเจนต้อง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 เวลานั้นประมุข 3 ศาล ประกอบด้วย ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมร่วมกันเพื่อเสนอทางออกแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ไม่ต้องบรรยายอะไรสำหรับบรรยากาศทางการเมือง ณ ขณะนั้น เนื่องจากเรียกได้ว่า มืดแปดด้าน องค์การอิสระไม่สามารถทำงานตามกระบวนการได้ ความเสื่อมศรัทธาของประชาชนที่มีต่อผู้นำประเทศมากถึงขั้นสูงสุด เพราะถูกครหาเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งรัฐกับผลประโยชน์แห่งชินวัตร

ไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปไหนต้องเจอกับกลุ่มคนต่อต้านไปทุกย่างก้าว แม้ฝ่ายการเมืองจะแก้ไขด้วยการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกตั้งใหม่ แต่กลับซ้ำเติมปัญหาลงไปอีกก่อนที่การเลือกตั้งเดือน เม.ย. 2549 จะเป็นโมฆะในเวลาต่อมา

เชื้อไฟความขัดแย้งรุนแรงเพิ่มมากขึ้นข้อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณลาออกมีอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน ต้องรับผิดชอบเช่นกัน โทษฐานจัดการเลือกตั้งไร้ประสิทธิภาพ จนส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะ

ฝ่ายตุลาการจึงตัดสินใจออกมาแสดงความห่วงใย เพื่อให้สติกับสังคมร่วมกันหาทางออกอย่างสันติวิธีให้กับทุกฝ่าย

“ทั้งสามศาลยืนอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยใช้กฎหมาย เพื่อให้ความสงบสุขของบ้านเมืองมากที่สุด หากปล่อยให้ปัญหาลุกลามไปโดยไม่มีองค์กรใดเข้ามาแก้ปัญหา ก็ยิ่งจะทำให้ปัญหาลุกลามไปอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ขอร้องทุกฝ่ายว่าเราคนไทยด้วยกัน ควรจะหันหน้าเข้าหากัน เพื่อความสงบสุขของประเทศชาติ” ท่าทีของที่ประชุมประมุข 3 ศาลเวลานั้นผ่านการแถลงข่าวของ ชัช ชลวร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเมื่อปี 2549

 

ถ้าเปรียบสถานการณ์ระหว่างปี 2549 กับ 2555 จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันในระดับหนึ่ง ไม่เหมือนไปทุกกระเบียดนิ้วเสียทีเดียว สอดคล้องตรงที่การเมืองเริ่มมีความขัดแย้งอีกครั้ง แต่ปมความขัดแย้งแตกต่างกัน

กล่าวคือ ปี 2549 ปมความขัดแย้งพุ่งเป้าไปที่ความบกพร่องของตัวผู้นำประเทศ ส่วนปี 2555 อยู่ที่ความคิดเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ถึงแม้ว่าอุณหภูมิการเมืองปี 2555 จะยังไม่เดือดเท่ากับปี 2549 แต่ก็ไม่สามารถประมาทได้ เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนแล้วว่าต้องการรื้อโครงสร้างอำนาจ ตุลาการ จนกระทั่งศาลปกครองต้องออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับการยุบรวมศาล ปกครองไปเพียงแผนกหนึ่งในระบบศาลยุติธรรม เช่นเดียวกับการเตรียมตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญของศาล ยุติธรรม

การปะทะกันระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายตุลาการ กำลังกลายเป็นการสุมเชื้อไฟให้ปะทุขึ้นเรื่อยๆ

บรรยากาศอย่างนี้ถือเป็นศึกหนักที่สุดอีกครั้งหนึ่งของพรรคเพื่อไทย เพราะยังไม่สามารถหาคำอธิบายให้สังคมเป็นที่ประจักษ์ได้มากนักต่อข้อเสนอ เกี่ยวกับการแก้ไขอำนาจตุลาการ เช่น การยกเลิกระบบศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การไม่ให้มีศาลปกครองพิจารณาคดีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน หรือแม้แต่การลดทอนองค์ประกอบของตุลาการที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ อิสระตามรัฐธรรมนูญ อย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

ข้ออ้างสำคัญของพรรคเพื่อไทยมักจะตอบต่อสังคมถึงการแก้ไขโครงสร้าง ตุลาการว่า “ศาลต้องยึดโยงกับประชาชนและการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ”

นอกจากตอบคำถามไม่ได้และไม่ชัดแล้ว หนำซ้ำยังโดนกระแสตีกลับว่าการแก้ไขในประเด็นนี้เคลือบแฝงไปด้วยผลประโยชน์ ทับซ้อนเช่นกัน เพราะไม่มีหลักประกันเลยว่า ส.ส.ร.จากระบบเลือกตั้งและการคัดเลือกของรัฐสภาจะปราศจากการครอบงำของฝ่าย การเมือง

ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าหลายปีที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ เสียฟอร์มกลางศาลมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคดียุบพรรคการเมือง 2 ครั้ง (พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน) คดีขาดคุณสมบัติความเป็นนายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) คดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นบ้านบาท คดีที่ดินรัชดาจน พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศ

ไม่แปลกเมื่อพรรคเพื่อไทยยิ่งพูดเรื่องกระบวนการยุติธรรมมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าตัวและกินเนื้อตัวเองมากขึ้นเท่านั้น เพราะเจอคนรู้ทันรัฐบาลว่าต้องการควบคุม 3 อำนาจอธิปไตยให้เบ็ดเสร็จ หลังจากสามารถกุมอำนาจบริหารและนิติบัญญัติไว้ในมือได้อย่างลูกไก่ในกำมือ

พรรคเพื่อไทยเคยมีบทเรียนมาแล้วในอดีตที่ต้องเสียนายกรัฐมนตรีไปถึงสอง ครั้งจนอำนาจทางการเมืองหลุดมือไป ทำให้ต้องทำทุกทางเพื่อรักษาอำนาจเอาไว้ แต่ความพยายามสร้างเครื่องมือคุ้มกันรัฐบาลผ่านการเปลี่ยนแปลงระบบตุลาการ กลับส่งผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะยิ่งร้อนมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในระยะยาวปมนี้จะนำมาสู่ความไม่ไว้วางใจและวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลเป็นระ ยะๆม็อบการเมืองจะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดอย่างมิได้นัดหมาย รูปแบบจะเป็นลักษณะแยกกันเดิมร่วมกันตี ทั้งในส่วนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เสื้อหลากสีสยามสามัคคี

ด้านรัฐบาลเองก็ไม่พร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อการเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ ชุมนุมทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล เนื่องจากยังโรมรันพันตูกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะค่าครองชีพ ซึ่งกำลังพุ่งสูงเป็นปรอทแตกในเวลานี้จนถูกเหน็บแนมว่า “แพงทั้งแผ่นดิน”

ทางออกของรัฐบาลในเวลานี้มีอยู่เพียงอย่างเดียว คือ การแสดงท่าทีออกมาให้ชัดเป็นรูปธรรมว่าการเล่นของสูงอย่างกระบวนการยุติธรรม ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง หรือการประกาศออกมาว่าจะไม่เข้าแก้ไขโครงสร้างอำนาจตุลาการเหมือนกับการ ประกาศไม่แตะต้องหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์

การปล่อยให้ความคลุมเครือมากขึ้นฉันใด ความขัดแย้งยิ่งมากขึ้นฉันนั้น พรรคเพื่อไทยในฐานะผู้เคยมีประสบการณ์กับการแพ้ภัยตัวเองในฐานะผู้กุมเสียง ข้างมากในสภามาแล้ว คงฉลาดพอที่จะรู้ว่าควรทำอย่างไร เว้นเสียแต่ว่าอยากจะลองของดูอีกสักครั้ง


บจ.สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พี แอนด์ อี,คณะบุคคลที่ปรึกษา พี.เอ.ที.,สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา

Tags : ศาล ขยับต้านแก้รธน. รัฐบาล สั่นสะเทือน

view