สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดตัวออฟฟิศลึกลับ! จตุพร-พวก ขนเงินลงทุนปริศนา 25 ล้าน

จากสำนักข่าวอิสรา

แกะรอยออฟฟิศลึกลับ“ตู่-จตุพร พรหมพันธุ์”กับพวก”.ขนเงินลงทุน 5 แห่ง 25 ล้านก่อนปิดกิจการเรียบ พบเป็นที่ตั้งบ.อสังหาฯ ก่อนถูกโอนให้ บบส. ปี 44 ปัจจุบันสำนักงาน ม.“มหิดล”  

          กรณีสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปัจจุบันเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ร่วมลงทุนทำธุรกิจกับ นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย และนายฐาปนา จินดากาญจน์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2545 โดยจดทะเบียนจัดตั้ง หจก. 5 แห่ง ได้แก่ หจก.สยามเชนจ์ พอยท์ , หจก.วิชั่น แอนด์ ซีนะรี ,หจก.ศรีหมวดเก้า, หจก.บุตรตะวัน , หจก. ศรีสมุย ลองสเตย์ รวมเงินลงทุน 25 ล้านบาท (เฉพาะนายจตุพร 8.6 ล้านบาท) ทั้ง 5 แห่งมีที่ตั้งเลขที่เดียวกัน เลขที่ 69/12 อาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง ชั้น 12 โซนเอ ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ แต่เปิดดำเนินการเพียงสั้นๆ และแจ้งเลิกกิจการพร้อมกัน วันที่ 24 ธันวาคม 2547  

          เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เดินทางไปยังสถานที่ตั้งของหจก. ทั้ง 5 แห่ง ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก่อนที่ หจก.ทั้ง 5 แห่ง จะเลิกกิจการไป คือ เลขที่ 69/12 อาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง ชั้น 12 โซนเอ ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 

          พบว่า ปัจจุบันอาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง มีการเปลี่ยนแปลชื่อใหม่ เป็นอาคารมิว หลังจากที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาซื้ออาคารแห่งนี้ และจัดตั้งเป็นวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งภายในตัวอาคาร และชั้นต่างๆ มีการเปลี่ยนสภาพเป็นห้องเรียนของนักศึกษา และสถานที่ทำงานฝ่ายต่างๆ ของวิทยาลัย ทั้งหมดแล้ว

          จากการสอบถามพนักงานต้อนรับของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยืนยันว่า ปัจจุบันอาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเริ่มเข้าปรับปรุงอาคารพร้อมใช้ประโยชน์ ในช่วงปี 2545-2546 แล้ว 

          เมื่อสอบถามว่า บริเวณชั้น 12 ของอาคาร ก่อนหน้าที่จะมหาวิทยาลัยจะเข้ามาใช้ประโยชน์เคยเป็นที่ตั้งของบริษัท หรือ หจก. อะไรมาก่อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตอบรับรายนี้ ตอบว่า เท่าที่ทราบ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชั้น 12 มีสภาพเป็นห้องชุด ใช้สำหรับพักอาศัยเท่านั้น  

          ทั้งนี้ จากการเดินทางขึ้นไปสำรวจพื้นที่ชั้น 12 ของตัวอาคาร ในปัจจุบัน พบว่า มีการปรับปรุงให้มีสภาพเป็นสำนักงานออฟฟิศ ของวิทยาลัยการจัดการ ใช้สำหรับการติดต่องานด้านบุคคล เป็นหลัก ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ได้รับการยืนยันว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาใช้พื้นที่ชั้น 12 เพื่อทำเป็นสำหรับงาน เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว 

         ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเข้ามาครอบครองอาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง ของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มเข้าซื้อพื้นที่อาคารชั้นต่างๆ ของอาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 โดยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ได้เข้าซื้อพื้นที่ ชั้น 8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18,19,20,21,22,23,24,25 จากนั้น ได้เข้าซื้อพื้นที่อาคารเพิ่มเติม คือ ชั้น 3,5,6,7 และ 26 ต่อมาเดือนธันวาคม 2548 ได้เข้าซื้อพื้นที่ ชั้น 4 และเดือนมกราคม 2548 ได้เข้าซื้อพื้นที่ ชั้น 2 และล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 ได้เข้าซื้อพื้นที่ชั้น 1 อีกครั้ง  

        ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดล ครอบครองพื้นที่ อาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง ได้เกือบหมด เหลือเพียงแค่ พื้นที่ของหจก.เบ็ลท แอนด์ แบริ่งส์ ซัพพลาย ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาขอซื้อพื้นที่อยู่  

        ทั้งนี้ จากการสอบถามข้อมูลพนักงาน หจก.เบ็ลท แอนด์ แบริ่งส์ ซัพพลาย เกี่ยวกับข้อมูล หจก. 5 แห่ง ของนายจตุพร กับพวก ได้รับการยืนยันว่า ไม่เคยได้ยินชื่อ หจก. เหล่านี้ มาก่อน 

        สำหรับพื้นที่ชั้น 12 ของ อาคารอัลฟ่าบิลดิ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ หจก. ทั้ง 5 แห่ง ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซื้อมาในช่วงแรก พบว่า มีสภาพเป็นห้องชุด ขนาด 512 ตารางเมตร โดยห้องชุดแห่งนี้ ดังเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท จิบเสน ดีเวลลอพเม้นท์ จำกัด (ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันเป็นบริษัทร้าง ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ปรากฎชื่อ นายวัฒนา เขียววิมล , นายธีระศักดิ์ กาญจนศักดิ์ชัย ประธาน บมจ.ไทยเอนจิน เมนูแฟคเจอริ่ง, นาย ชัยวัฒน์ ดำรงกิจกุลชัย, นายหว่อง ซุน ฮง , นายลอร์เร้นท์ คาน ฟุควิง , นางสาว ศรีสุดา ธีรกุลพจนีย์ เป็นกรรมการ) เมื่อปี 2533 ก่อนจะถูกโอนไปที่ธนาคารทหารไทย และโอนต่อไปที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พญาไท ปี 2544 และถูกโอนต่อไปทีบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ปี 2546 และมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าซื้อในเวลาต่อมา 

         เมื่ออาคารชุดชั้น ที่ 12 ดังกล่าวมีที่มาทีไปแบบนี้ เป็นปริศนาอย่างยิ่ง นายจตุพรกับพวกใช้ความสามารถเข้าไปใช้เป็นออฟฟิศลงทุนได้อย่างไร?


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดตัวออฟฟิศลึกลับ จตุพร-พวก ขนเงินลงทุนปริศนา

view