สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฝรั่งรายงานญี่ปุ่นมึน ปู จ้อไทยไม่แปล

ฝรั่งรายงานญี่ปุ่นมึน"ปู"จ้อไทยไม่แปล

จาก โพสต์ทูเดย์

สื่อนอกเผย นายกฯปูแจงแผนป้องกันน้ำท่วม ทำนักธุรกิจญี่ปุ่นมึน หลังพูดเป็นภาษาไทย พร้อมตั้งข้อสงสัยทำไมไม่มีทีมงานแปล 

หนังสือ พิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล รายงานว่า นักลงทุนและนักธุรกิจของญี่ปุ่นร่วมหลายร้อยคนที่เข้าร่วมรับฟังแผนการป้อง นํ้าท่วมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันพุธที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา ต่างรู้สึกมึนงงกับการแถลงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจาก ในขณะแถลงแผนการป้องกันนํ้าท่วมซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 นาทีกว่าของนายกฯได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทย โดยไม่มีล่ามหรือทีมงานทำการแปลถ้อยคำที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์พูดแม้แต่คำเดียว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ทักทายชาวญี่ปุ่นที่ประสบภัยสึนามิระหว่างเยี่ยมพื้นที่เมืองนาโตริ จังหวัดมิยากิ เมื่อวันที่ 8 มี.ค.

รายงาน ข่าวระบุด้วยว่า แม้ว่าทางการไทยจะมีการจัดเตรียมเอกสารคำแถลงของนากฯที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้ว มาแจกแก่นักลงทุนและนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น   เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ก่อนหน้าที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะขึ้นกล่าวในเวทีดังกล่าว  แต่นักลงทุนต่างรู้สึกงงไม่น้อย กับสิ่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังพูดอยู่ เพราะฟังไม่ออก และทำให้ไม่รู้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้พูดไปถึงตรงจุดไหนของแผ่นพับที่แจกมาให้แล้ว ซึ่งรายงานระบุว่า นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นบางคนถึงขนาดใช้นิ้วไล่เรียงตัวอักษรในเอกสาร เพื่อเดาว่า ในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังพูดถึง ณ จุดไหน

นอก จากนี้ ภายหลังจากพูดจบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โค้งคำนับและเดินออกไปจากห้องประชุมทันที โดยปล่อยให้ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมภายในห้องตกอยู่ในภาวะความเงียบงัน เนื่องจากไม่รุ้ว่าจะถามอะไรต่อ รวมถึงยังคงมึนกับถ้อยแถลงไม่มีการแปลให้ทราบ

"ผู้ เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงจาก นายกฯไทยวันนี้หลายคนรู้สึกพอใจที่ รัฐบาลไทยมีความเอาใจใส่ที่จะมาให้ความเชื่อมั่น และ พยายามที่จะชี้แจงถึงแผน รวมถึงมาตรการป้องกันนํ้าท่วมให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นฟัง แต่ยังคงสงสัยว่าทำไมทีมงานของ นายกฯไม่แปลสิ่งที่ ผู้นำไทยพูดมาให้ฟังเลย"  ตัวแทนจากบริษัทท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นที่ได้รับเชิญเข้าร่วมรับฟัง การชี้แจงแผนป้องกันนํ้าท่วมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว วอลสตรีต เจอร์นัล ภายหลังเสร็จสิ้นการชี้แจงดังกล่าว        

ลิงค์ข่าวที่ถูกนำเสนอในหนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล

http://blogs.wsj.com/japanrealtime/2012/03/08/some-japanese-still-in-the-dark-over-thailands-flood-plan/?mod=WSJBlog&mod=WSJ_Japan_JapanRealTime


Some Japanese Still in the Dark Over Thailand’s Flood Plan

Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra’s mission to reassure Japanese investors rattled by last year’s supply chain-busting floods appears to be getting something of a mixed response.

Agence France-Presse/Getty Images
Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra meets with Japanese residents in Natoti, Miyagi prefecture in the tsunami disaster zone on March 8.

Her government has promoted Ms. Yingluck’s visit to Japan this week as an opportunity to win back the confidence of Japanese businesses affected by the devastating floods. The inundation knocked out the distribution of crucial car and electronics components world wide. Japanese firms were particularly badly affected. Japan is the single largest foreign investor in the country, and a Japan External Trade Organization survey released earlier this month reported that 67% of firms exporting to or investing in Thailand were hit by the deluge, which also claimed several hundred lives and drenched large swathes of the capital, Bangkok.

Not surprisingly, many Japanese executives were keen to hear about Thailand’s $11 billion plan to shore up its flood defenses, which was drafted in part by Ms. Yingluck’s brother, former leader Thaksin Shinawatra, who now lives overseas after Thailand’s armed forces ousted him from power in 2006.

So, with a Japanese-language copy of her speech already handed out to an eager audience at the Japan Chamber of Commerce Wednesday, Ms. Yingluck arrived to make her big pitch – in Thai.

For seven minutes, Ms. Yingluck, 44 years old, spoke to the hundred-strong audience without any accompanying translation, leaving many of the attending business leaders wondering quite what she was talking about and awkwardly scanning their hand-outs for clues.

Ms. Yingluck then left the room in silence, smiling and bowing as she went.

A representative from a travel company remarked that attendees were appreciative of Ms. Yingluck’s attempts to boost their confidence and explain Thailand’s new flood-prevention measures. But he also said it was “a bit weird” that her team didn’t provide a simultaneous translation.

Perhaps stranger still, Ms. Yingluck, who has a master’s degree from Kentucky State University in the U.S., could have chosen to speak in English, a language which some people in the audience also speak. It could be, though, that Ms. Yingluck wasn’t entirely confident in English. A video of her greeting visiting U.S. Secretary of State Hillary Clinton in Thailand last year by saying “overcome” instead of “welcome” got heavy play on YouTube, while Ms. Yingluck’s political opponents sometimes unfavorably compare her prowess with the language with that of her predecessor, Eton-and-Oxford educated Abhisit Vejjajiva.

Thai government officials couldn’t immediately be reached for comment.


งามหน้า!! สื่อนอกแฉ “ปู” อ่านโพยภาษาไทยแผนน้ำท่วม นักธุรกิจยุ่นมึนพูดอะไร

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       วอลล์สตรีท เจอร์นัล - ภารกิจของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในความพยายามสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นผู้หวาดผวาต่อปัญหา ห่วงโซุอุปทานจากวิกฤตภัยพิบัติครั้งเลวร้ายในไทย มีเสียงขานรับกลับมาอย่างผสมผสาน บางส่วนมืดแปดด้านต่อแผนรับมือน้ำท่วมของรัฐบาลไทยหลังนายกมนตรีหญิงทำงาม หน้าแจกโพยสุนทรพจน์ ก่อนด้นสดเป็นภาษาไทย 7 นาทีทำเอกชนยุ่นมึนตึ้บเพราะไม่มีล่าม บล็อกเกอร์คนดังของวอลล์สตรีท เจอร์นัลแฉ
       
       ในบทความเรื่อง “Some Japanese Still in the Dark over Thailand’s Flood Plan” เอเลียนอร์ วอร์นอก เกริ่นว่ารัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โปรโมตว่าการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้อของเธอจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับ เรียกคืนความเชื่อมั่นของนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเลว ร้าย
       
       อุทกภัยเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ก่อความยุ่งเหยิงต่อวงจรชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อันสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของไทยได้รับผลกระทบ เลวร้ายที่สุด ขณะที่ผลสำรวจขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาพบว่า มีถึง 67 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมไทยซึ่ง คร่าชีวิตประชาชนไปหลายร้อยศพ
       
       วอร์นอกระบุว่า ไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยที่เหล่าผู้บริหารบริษัทของญี่ปุ่นหวังทราบถึงแผน ป้องกันน้ำท่วม 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งร่างโดย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพี่ชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเวลานี้พำนักอยู่ในต่างแดนหลังถูกรัฐประหารขับไล่ลงจากอำนาจในปี 2006 ดังนั้นสำเนาคำกล่าวของเธอภาคภาษาญี่ปุ่นจึงถูกแจกจ่ายแก่เหล่าผู้ฟังที่มี ความกระตือรือร้นอย่างมาก ณ หอการค้าญี่ปุ่นเมื่อวันพุธ (7)
       
       เป็นเวลาราว 7 นาที ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวกับผู้ฟังที่แออัดยัดเยียดหลายร้อยคนเป็นภาษาไทยโดยปราศจากการแปลภาษา เพิ่มเติมใดๆ ทำเอาเหล่านักธุรกิจชั้นนำจำนวนมากที่เข้าร่วมรับฟังถึงกับมึนงงว่าเธอพูด ว่าอะไรและไล่ตามดูเอกสารอย่างเงอะงะว่าเธอพูดถึงตอนไหนแล้ว และเมื่อกล่าวจบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้ยิ้มและโค้งคำนับก่อนเดินออกจากห้องทันที วอร์นอกระบุ
       
       ตัวแทนจากบริษัทท่องเที่ยวแห่งหนึ่งบอกว่าเหล่านักธุรกิจญี่ปุ่น รู้สึกขอบคุณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ในความพยายามสร้างความเชื่อมั่นและอธิบายถึงมาตรการป้องกัน อุทกภัยใหม่ของไทย แต่เขาก็บอกด้วยว่ารู้สึกประหลาดใจที่ทีมงานของเธอไม่ยอมทำหน้าที่คอยแปล ภาษาไปพร้อมๆ กัน
       
       นอกจากนี้ นักลงทุนยังประหลาดใจยิ่งกว่าว่าทำไม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยเคนทักกี ในสหรัฐฯ ไม่เลือกใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้ร่วมรับฟังบางส่วนก็ฟังออก ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะว่าเธอไม่มั่นใจสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษ หลังเคยเกิดความผิดพลาดขึ้นระหว่างการต้อนรับการมาเยือนของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อไม่นานที่ผ่านมา
       
       คลิปคำกล่าวต้อนรับนางฮิลลารี ด้วยคำกว่า “overcome” แทนที่จะเป็น “welcome” ระบาดอย่างหนักบนโลกออนไลน์ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านทางการเมืองของเธอก็มักนำการพูดภาษาอังกฤษของเธอไปเปรียบ เทียบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งจบจากโรงเรียนอีตัน และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สุนทรพจน์ 7 นาที "ยิ่งลักษณ์"เป็นเรื่อง นักธุรกิจยุ่นงง...พูดไทยใส่ไม่มีล่าม?

จากประชาชาติธุรกิจ

เป็นเรื่องขึ้นมาอีกแล้ว เมื่อบทความออนไลน์ (บล็อค) ในเว็บไซต์วอลสตรีท เจอร์นัล ได้รายงานการเดินทางไปกระชับเรียกคืนความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจ ผู้บริหาร และนักลงทุนชาวญี่ปุ่น หลังเหตุมหาอุทกภัยในประเทศไทย โดยบทความดังกล่าวระบุว่า นักลงทุน-นักธุรกิจญี่ปุ่นต่างให้ความหวัง และตั้งมั่นที่จะรอสุนทรพจน์เรียกคืนความเชื่อมั่นกับการใช้เงินงบประมาณ จำนวนมากเข้ามาช่วยกอบกู้ และป้องกันเหตุอุทกภัย ซึ่งธุรกิจของญี่ปุ่นถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้ เพราะการสำรวจโดยองค์การส่งออกเพื่อการค้าของญี่ปุ่นรายงานว่ามีบริษัทที่ทำ การลงทุนและส่งออกในประเทศไทยถึง67เปอร์เซ็นต์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนี้

อีกทั้งการเดินทางมาญี่ปุ่นครั้งนี้มีการเผยแพร่และโปรโมทว่าเป็นการมาเพื่อพบปะและเรียกคืนความเชื่อมั่นจากนักลงทุนญี่ปุ่น

อย่าง ไรก็ตามบทความดังกล่าวระบุว่าผู้บริหารญี่ปุ่นต่างได้รับเอกสารคำกล่าวสุนทร พจน์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ได้แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นมาแล้วล่วงหน้าในงานที่จัด โดยหอการค้าญี่ปุ่นเมื่อวันพุธที่7มีนาคมขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ใช้เวลา 7 นาทีในการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาไทยกับนักธุรกิจญี่ปุ่นนับร้อยคน โดยปราศจากการมีล่ามแปลในระหว่างงาน ปล่อยให้นักธุรกิจญี่ปุ่นในงานต่างสงสัยกันเงียบๆว่านายกฯยิ่งลักษณ์กำลัง พูดเนื้อหาอะไรบ้างที่ทำให้นักธุรกิจเหล่านี้สามารถที่จะรับฟังและหาร่องรอย หรือหาจุดสังเกตของเนื้อหาระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์เรียกคืนความเชื่อมั่น ของนายกฯไทยเทียบกับเอกสารภาษาญี่ปุ่น



ตัว แทนจากบริษัทท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานกล่าวสุนทรพจน์เรียกคืนความเชื่อมั่น จากมาตรการรับมือน้ำท่วมกล่าวช่วงหนึ่งว่า"แปลกนิดๆ"ที่ทีมของนายกฯไทยไม่ ได้เตรียมล่ามแปลภาษาให้ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์

ทั้งนี้ทวิตเตอร์ของนายกอร์ปศักดิ์สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี-เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จากพรรคประชาธิปัตย์ ทวิตถึงเรื่องนี้ว่า เรื่องนายกฯ ไม่เกี่ยวกับเรื่องภาษา ควรพูดไทยอยู่แล้ว แต่ต้องมีการแปลพร้อมกันไป ไม่ควรแจกคำแปลแล้วขึ้นไปพูดแล้วจบ ดูไม่ดี เสียหาย

ขณะที่ทวิตเตอร์ของทีมงานนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีคลัง ระบุว่า แผนรับมือน้ำท่วมปีนี้ 2555 ยังไม่มี ว่าแย่แล้ว แผนทำเอกสารแปลภาษาชี้แจง นักลงทุนหลายร้อยคน ไปถึงที่แล้วเสียโอกาสขนาดนี้ น่าเศร้าครับ

ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์จากนี้จะมีคำอธิบายที่มาที่ไปว่า การไปกล่าวสุนทรพจน์นานาชาติในภาษาไทยควรต้องมีหรือไม่มีล่ามแปล แม้จะมีการทำเอกสารประกอบให้ล่วงหน้าแล้ว จะเป็นการครอบคลุมเพียงพอหรือใช้โอกาสไม่คุ้มค่าหรือไม่ หรือจะถูกมองเป็นประเด็นหยุมหยิม


ก.ต่างประเทศแจงสุนทรพจน์ยิ่งลักษณ์"ที่ญี่ปุ่นทำหนังสือติงวอลสตรีทเจอร์ นำเสนอรูปแบบไม่เน้นเนื้อหา

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวกรณีสำนักข่าว Wall Street Journal ได้รายงานข่าวการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานสัมมนานักลงทุนญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย โดยที่ไม่มีล่ามแปลตาม ซึ่งมีสื่อไทยนำไปอ้างอิง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

๑. ในงานสัมมนา Strengthening Thailand-Japan Business Partnership ระหว่างภาคเอกชนไทยกับญี่ปุ่นเมื่อช่วงบ่ายวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว มีการกล่าวเปิดงานโดยนายกรัฐมนตรีและนาย Tadashi Okamura ประธานบริหารของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japan Chamber of Commerce and Industry: JCCI) โดยประธานบริหาร JCCI กล่าวต้อนรับและเปิดงานเป็นภาษาญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันไว้ล่วงหน้า เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา โดยหลังพิธีเปิดงานดังกล่าว ผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม ๗ กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยว ปิโตรเคมี ก่อสร้าง และค้าปลีก ด้วย

๒. ในพิธีเปิดงานดังกล่าว มีการแจกคำแปลคำกล่าวของประธานบริหาร JCCI เป็นภาษาไทย และคำแปลคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งรูปแบบของการจัดการสัมมนา โดยการเผยแพร่เอกสารคำแปลในงานเช่นนี้ เป็นการจัดตามมาตรฐานสากล เมื่อมีข้อจำกัดด้านเวลา อนึ่ง ในช่วงการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม ๗ กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น ได้มีการจัดเตรียมล่ามภาษาไทย - ญี่ปุ่น สำหรับนักธุรกิจญี่ปุ่นและไทยที่เข้าร่วมตลอดการสัมมนา

๓. เป็นที่น่าเสียดายที่เนื้อหาของข่าวที่ถูกนำเสนอไม่ได้ให้ความสำคัญกับ เนื้อหาสาระของคำกล่าวทั้งของฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นแต่มุ่งเน้นที่จะกล่าว ถึงรูปแบบในภาพย่อยซึ่งไม่ใช่ภาพรวมของภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการเยือน ญี่ปุ่นในครั้งนี้

๔. เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักข่าว Wall Street Journal เพื่อทำความเข้าใจและแสดงความผิดหวังแล้วด้วย


กต.เซ็งสื่อนอกเล่น “ปู” พูดไทยกล่อมยุ่นเมินสาระสำคัญ ยันแจกคำแปลกำกับแล้ว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเล่นบทตีหน้าเศร้า ผิดหวัง “วอลล์สตรีท เจอร์นัล” อัดตีข่าวนายกฯ ปูพูดภาษาไทยให้นักธุรกิจญี่ปุ่นฟัง ฉะตีข่าวรูปแบบภาพย่อยเท่านั้น แต่อ้างเวลาจำกัด ยันแจกคำแปลและจัดล่ามไทย-ญี่ปุ่นไว้แล้ว

       
       วันนี้ (9 มี.ค.) เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ รายงานว่า นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวกรณีสำนักข่าววอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal) ได้รายงานข่าวการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานสัมมนานักลงทุนญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย โดยที่ไม่มีล่ามแปลตาม ซึ่งมีสื่อไทยนำไปอ้างอิง ซึ่งสรุปสาระสำคัญ คือ ในงานสัมมนา Strengthening Thailand-Japan Business Partnership ระหว่างภาคเอกชนไทยกับญี่ปุ่นเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มี.ค. ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว มีการกล่าวเปิดงานโดยนายกรัฐมนตรี และนายทาดาชิ โอกามุระ (Tadashi Okamura) ประธานบริหารของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japan Chamber of Commerce and Industry หรือ JCCI)
       
       โดยประธานบริหารเจซีซีไอกล่าวต้อนรับและเปิดงานเป็นภาษาญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันไว้ล่วงหน้า เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา โดยหลังพิธีเปิดงานดังกล่าว ผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยว ปิโตรเคมี ก่อสร้าง และค้าปลีกด้วย ในพิธีเปิดงานดังกล่าวมีการแจกคำแปลคำกล่าวของประธานบริหารเจซีซีไอเป็นภาษา ไทย และคำแปลคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งรูปแบบของการจัดการสัมมนา โดยการเผยแพร่เอกสารคำแปลในงานเช่นนี้ เป็นการจัดตามมาตรฐานสากล เมื่อมีข้อจำกัดด้านเวลา อนึ่ง ในช่วงการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น ได้มีการจัดเตรียมล่ามภาษาไทย-ญี่ปุ่น สำหรับนักธุรกิจญี่ปุ่นและไทยที่เข้าร่วมตลอดการสัมมนา
       
       “เป็นที่น่าเสียดายที่เนื้อหาของข่าวที่ถูกนำเสนอไม่ได้ให้ความสำคัญ กับเนื้อหาสาระของคำกล่าวทั้งของฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น แต่มุ่งเน้นที่จะกล่าวถึงรูปแบบในภาพย่อยซึ่งไม่ใช่ภาพรวมของภารกิจของนายก รัฐมนตรีในการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าวไป ยังสำนักข่าววอลล์สตรีท เจอร์นัล เพื่อทำความเข้าใจและแสดงความผิดหวังแล้วด้วย” นายธานีกล่าว


จนท.สถานทูตระดับสูงย้ำสปีชเวทีนานาชาตินายกฯธรรมเนียมต้องมีล่ามแปลเพื่อย้ำความกระจ่าง

จากประชาชาติธุรกิจ

กรณีบล็อคออนไลน์ของสำนักข่าว Wall Street Journal ได้รายงานข่าวการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้กล่าวสุนทรพจน์ให้นักธุรกิจญี่ปุ่นฟัง โดยไม่มีล่ามแปลภาษา แต่ได้แจกเพียงคำกล่าวสุนทรพจน์ในภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษให้ล่วงหน้า จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุใดในงานจึงไม่มีการจัดล่ามแปลภาษาให้เผื่อให้นัก ธุรกิจญี่ปุ่นได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

กรณีดังกล่าว ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจ ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงประจำสถานทูตประเทศใหญ่แห่งหนึ่งว่า ธรรมเนียมปฏิบัติในการกล่าวสุนทรพจน์ระดับนานาชาตินั้น แม้จะแจกเอกสารคำกล่าวในภาษาท้องถิ่นนั้น และภาษาอังกฤษยังต้องมีล่ามด้วยหรือไม่?

เจ้าหน้าที่ระดับสูงให้ความ เห็นว่า โดยธรรมเนียมปฏิบัติ ข้อความหรือสปีชจะถูกแจกให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังก่อน เพื่อให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลเบื้องต้น และเกิดแนวทางในการซักถาม อย่างไรก็ตามสุนทรพจน์ครั้งนี้เท่าที่ทราบส่วนของข้าราชการกระทรวงต่าง ประเทศได้รับแจกสปีชครั้งนี้ภายหลังการขึ้นพูดของนายก
 
อย่างไรก็ ตาม การมีล่ามในการเยือนระดับสูงเป็นสิ่งพึงควร โดยเฉพาะการเยือนระดับสูงในภารกิจพิเศษ ดังเช่นการไปเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยด้านการลงทุนเช่นนี้ การมีล่ามจึงยิ่งจำเป็น เพื่อให้การสื่อสารกระจ่างยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศควรมีบทบาทดูแลในการไปเยือนครั้งนี้ด้วย

ด้าน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ โฆษกส่วนตัวนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การพูดของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแม้จะสื่อสารต่อนักลงทุนญี่ปุ่นด้วยภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่ได้มีการแจกเอกสารคำแปลให้นักลงทุนเป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษแล้ว

"ยืน ยันว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้มีจุดอ่อนในด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษและเรื่องนี้ ไม่ได้ถือเป็นความบกพร่องของนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้วกับ ทางคณะผู้จัดงาน"

นายสุรนันทน์ กล่าวต่อว่า ขอความเห็นใจให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้แม้จะมีตารางการทำงาน ที่แน่นมาก แต่นายกรัฐมนตรีก็มีความตั้งใจดี รวมทั้งมีเจตนาที่ดีในการทำงานเพื่อประเทศชาติ 


โทรโข่งนายกฯ อ้าง “ปู” ปาฐกถาภาษาไทยเป็นข้อตกลง เปล่าอ่อนอังกฤษ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

โฆษกประจำตักนายกฯ อ้างเฉย “ยิ่งลักษณ์” ไม่เคยปล่อยไก่เพราะอ่อนด้อยภาษาอังกฤษ เผยการปาฐกถาหอการค้าญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยเพราะได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า แต่ “ปู” สั่งตรวจสอบมีความผิดพลาดเรื่องการประสานงานหรือไม่

       
       วันนี้ (9 มี.ค.) นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้ภาษาไทยในการแสดงปาฐกถาหอกาค้าญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมาโดยไม่ใช้ภาษาอังกฤษและไม่มีล่ามแปลภาษา เพียงแต่แจกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษว่า ขอชี้แจงกรณีนี้หลังมีกระแสวิจารณ์ว่า ตนตรวจสอบไปยังญี่ปุ่น ทีมงานนายกฯ และกระทรวงการต่างประเทศแล้วว่า งานนี้เป็นการจัดขึ้นระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นร่วมกับกระทรวงการ ต่างประเทศ แต่มีเวลาจำกัด รูปแบบการเปิดงานนั้นเป็นการเปิดสัมมนาระหว่างนักธุรกิจไทยและญี่ปุ่น โดยมีตัวแทนของหอการค้าฯ ญี่ปุ่นกล่าวก่อน 7 นาทีที่พูดภาษาญี่ปุ่นแล้วแจกคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นนายกฯ กล่าวอีก 7 นาที โดยกล่าวเป็นภาษาไทยและแจกคำแปลเป็นภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น เรื่องนี้มันเป็นข้อตกลงของสองเจ้าภาพ
       
       นายสุรนันทน์กล่าวว่า การแจกคำแปลนั้นแจกตั้งแต่ผู้เข้าร่วมสัมมนาลงทะเบียนและเป็นระเบียบปฏิบัติ ที่หอการค้าฯดำเนินการเป็นประจำในกรณีที่มีเวลาจำกัด ฉะนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้โดนวิจารณ์ว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ได้และเหตุใดไม่มีการแปล ภาษา เรื่องนี้มีการยืนยันจากญี่ปุ่นแล้วว่ามีคำแปลและดำเนินการตามที่ตกลงไว้กับ เจ้าภาพ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าสื่อต่างประเทศบางฉบับที่เสนอข่าวนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะส่งจดหมายไปชี้แจงว่ากระบวนการเป็นอย่างไร และยืนยันว่าได้ทำหน้าที่ครบถ้วนในการแจกจ่าย หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องชี้แจง
       
       “เรื่องนี้ไม่มีอะไรและทำกันตามข้อตกลงที่มีมา การสัมมนานั้นประสบความสำเร็จเพราะผู้เข้าร่วมสัมมนามีการเจรจาหารือกัน ทั้งสองฝ่ายก็ดำเนินกิจกรรมต่อไป วันนั้นและวันต่อๆ มานายกฯ มีหลายภารกิจ ฉะนั้นการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงไว้”
       
       นายสรุนันทน์กล่าวว่า ในญี่ปุ่นนั้นส่วนหนึ่งตัวแทนไทยจะกล่าวเป็นภาษาไทยและญี่ปุ่น ล่ามก็จะแปลสองภาษา และชาวญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่ไม่พูดภาษาอังกฤษ ฉะนั้นการพูดภาษาไทยที่นอกจากแสดงเอกลักษณ์ไทย มันก็ยังไม่แตกต่างจากการพูดภาษาอังกฤษ ยืนยันเป็นข้อตกลงเพราะฝ่ายนั้นพูดภาษาญี่ปุ่น นายกฯ จึงพูดภาษาไทย หากมีข้อตกลงว่าต้องพูดภาษาอังกฤษคงต้องกระทำตามนั้น แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นแบบนั้นจึงไม่มีอะไรที่คิดว่านายกฯพูดภาษาอังกฤษไม่ ได้ เพราะคำแปลก็มีอยู่ในเอกสารแล้วครบถ้วน
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าข้อตกลงดังกล่าวระบุไว้หรือไม่ว่าจะเป็นการกล่าว เปิดสัมมนาอย่างเดียวหรือเปิดให้มีการสอบถามได้ นายสุรนันทน์กล่าวว่า เป็นการกล่าวเปิดสัมมนาอย่างเดียว เหมือนการกล่าวต้อนรับและเปิดสัมมนา ไม่มีอย่างอื่น และไมมีการแถลงข่าว เมื่อถามว่า กรณีนี้เกิดข้อบกพร่องของฝ่ายประสานงานและอาจเข้าใจกันผิด นายสุรนันทน์กล่าวว่า ตอนนี้มีการไล่เรียงขั้นตอนกัน นายกฯ สั่งการแล้วว่าต้องไม่ให้เกิดความผิดพลาดและเข้าใจผิดเช่นนี้อีก กระทรวงการต่างประเทศได้รับนโยบายนี้ไปแล้ว และอย่าไปมองกันเลยว่ากรณีนี้เป็นความผิดของใคร ตนคิดว่าเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดยแต่ละฝ่ายมีเจตนาที่ดีที่ต้องการให้งาน นี้ที่มีเวลาจำกัด รวมทั้งเป็นการเปิดสัมมนาปกติที่ต้องการให้เอกชนมีเวลาหารือมากขึ้นกว่าการ นั่งฟังการพูดแล้วแปลกันไปมา จึงมีการประหยัดเวลาคือพูดภาษาหนึ่งแล้วมีคำแปลออกมาเป็นเอกสาร
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อเป็นแบบนี้นายกฯจะโดนโจมตีเรื่องคำพูดในการ สื่อสารเช่นเคย นายสุรนันทน์กล่าวว่า ขอความเห็นใจเพราะนายกฯไปญี่ปุ่นก็เหนื่อยเพราะภารกิจค่อนข้างแน่น พบนักการเมือง นักธุรกิจ และอื่นๆ แบบต่อเนื่อง การที่นายกฯ เดินทางไปด้วยความตั้งใจดีและสิ่งที่สื่อสารออกไปกับผู้ร่วมเจรจาและผู้ร่วม สัมมนานั้นตนติดตามแล้วพบว่าได้ผลดีเลิศ เพราะการหารือต่างๆ มีการนำเสนอข่าวครบถ้วน นายกฯอยากให้การสื่อสารเข้าใจจริงๆ แต่หากมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติก็กำชับฝ่ายปฏิบัติไปแล้วว่าให้เกิดความเข้า ใจที่ดีและขั้นตอนต้องไม่บกพร่องและมีช่องโหว่
       
       ส่วนที่สื่อต่างประเทศเสนอข่าวนี้ขึ้นนั้นมีเบื้องหลังใดๆหรือไม่ นายสรุนันทน์กล่าวว่า ไม่อยากมองแบบนั้นเพราะบางครั้งอาจเกิดช่องโหว่ขึ้นได้ บางครั้งเวลาไปร่วมงานแล้วไม่ได้คำแปลหรือได้รับเอกสารมาทั้งหมดในช่วงลง ทะเบียนแต่อาจไม่ทราบว่าในนั้นมีอะไรและอาจเห็นหรือไม่เห็นบ้าง ตนคิดว่าอย่าไปตำหนิใครเป็นพิเศษเลยเพียงแต่มีช่องโหว่ตรงนี้ กระทรวงการต่างประเทศก็กำลังส่งจดหมายไปชี้แจง
       
       เมื่อถามว่าเหตุที่มาชี้แจงนั้นเป็นเพราะนายกฯมีจุดอ่อนด้านการใช้ ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร นายสุรนันทน์กล่าวว่า ไม่มี เวทีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศจะพบว่านายกฯพูดภาษาอังกฤษและสื่อสารทำความเข้าใจได้ จึงไม่มีปัญหาตรงนี้ นายกฯ ไม่มีปัญหาการพูดภาษาไทยและอังกฤษ และแน่นอนว่านายกฯไม่ได้พูดภาษาญี่ปุ่น ฉะนั้นตรงนี้ไม่ได้เป็นข้อบกพร่องของนายกฯ แต่การประสานงานอาจมีช่องโหว่บ้างจึงต้องทำความเข้าใจกัน
       
       ต่อข้อถามว่านายกฯ ปล่อยไก่บ่อยมากเพราะนายกฯ มักมีข้อผิดพลาดแบบนี้บ่อยๆ นายสุรนันทน์กล่าวว่า “ยังไม่เห็นไก่ ไก่วิ่งที่ไหน ไม่มี ยืนยันว่านายกฯ มีเจตนาที่ดีที่ทำงานเพื่อประเทศ สิ่งที่ทำในทุกวันนี้นายกฯ พยายามสื่อสารทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายในการทำงานนั้นแน่นอนว่าการทำงานอาจ เกิดข้อบกพร่องและเข้าใจผิดกันได้บ้างไม่ว่าในระดับใดก็ตาม ขอความเห็นใจให้นายกฯ ด้วย เพราะนายกฯ ทำงานเพื่อประเทศเต็มที่”
       
       เมื่อถามว่าการออกมาชี้แจงในช่วงนี้จะทันต่อเหตุการณ์หรือไม่ เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารวันนี้รวดเร็ว นายสุรนันทน์กล่าวว่า ต้องพึ่งสื่อไทยในวันนี้ที่ให้โอกาสและช่วยกันเผยแพร่ มันเป็นเรื่องของประเทศไทย กระบวนการนี้ในญี่ปุ่นนั้นกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าหอการค้าฯ จะทำจดหมายชี้แจงเรื่องนี้ด้วยจึงไม่น่ามีปัญหา
       
       ส่วนการจัดรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนในช่วงเช้าวันที่ 10 มี.ค.นั้น นายสุรนันทน์กล่าวว่า มีการบันทึกเทปรายการไว้แล้วโดยจะให้นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ มาออกรายการแทน ส่วนการแถลงข่าวหลังกลับมาจากญี่ปุ่นนั้น คงต้องดูอีกครั้งว่านายกฯ จะแถลงข่าวเมื่อใด


สุรนันทน์ยันยิ่งลักษณ์ไม่มีจุดด้อยใช้ภาษาอังกฤษ

จาก โพสต์ทูเดย์

กต. ผิดหวัง วอลล์สตรีท เล่นข่าว ยิ่งลักษณ์ พูดภาษาไทยให้นักธุรกิจญี่ปุ่นฟัง แจงเป็นข้อตกลงล่วงหน้า เหตุเวลามีน้อย สุรนันทน์ ยัน นายกฯไม่มีจุดด้อยในการใช้ภาษาอังกฤษ

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ รายงานว่า นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวกรณีสำนักข่าววอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal) ได้รายงานข่าวการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีว่า

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานสัมมนานักลงทุนญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย โดยที่ไม่มีล่ามแปลตาม ซึ่งมีสื่อไทยนำไปอ้างอิง ซึ่งสรุปสาระสำคัญ คือ ในงานสัมมนา Strengthening Thailand-Japan Business Partnership ระหว่างภาคเอกชนไทยกับญี่ปุ่นเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มี.ค. ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว มีการกล่าวเปิดงานโดยนายกรัฐมนตรี และนายทาดาชิ โอกามุระ (Tadashi Okamura) ประธานบริหารของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japan Chamber of Commerce and Industry หรือ JCCI)

โดยประธานบริหารเจซีซีไอกล่าวต้อนรับและเปิดงานเป็นภาษาญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันไว้ล่วงหน้า เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา โดยหลังพิธีเปิดงานดังกล่าว ผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยว ปิโตรเคมี ก่อสร้าง และค้าปลีกด้วย

ในพิธีเปิดงานดังกล่าวมีการแจกคำแปลคำกล่าวของประธานบริหารเจซีซีไอเป็น ภาษาไทย และคำแปลคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งรูปแบบของการจัดการสัมมนา โดยการเผยแพร่เอกสารคำแปลในงานเช่นนี้ เป็นการจัดตามมาตรฐานสากล เมื่อมีข้อจำกัดด้านเวลา อนึ่ง ในช่วงการสัมมนาธุรกิจกลุ่มย่อยรายสาขารวม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น ได้มีการจัดเตรียมล่ามภาษาไทย-ญี่ปุ่น สำหรับนักธุรกิจญี่ปุ่นและไทยที่เข้าร่วมตลอดการสัมมนา

“เป็นที่น่าเสียดายที่เนื้อหาของข่าวที่ถูกนำเสนอไม่ได้ให้ความสำคัญกับ เนื้อหาสาระของคำกล่าวทั้งของฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น แต่มุ่งเน้นที่จะกล่าวถึงรูปแบบในภาพย่อยซึ่งไม่ใช่ภาพรวมของภารกิจของนายก รัฐมนตรีในการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าวไป ยังสำนักข่าววอลล์สตรีท เจอร์นัล เพื่อทำความเข้าใจและแสดงความผิดหวังแล้วด้วย” นายธานีกล่าว

ด้าน นายสุรนันทน์  เวชชาชีวะ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น มีตัวแทนของญี่ปุ่นกล่าวเปิดงานก่อนเป็นเวลา 7 นาที ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอีก 7 นาที ซึ่งเป็นข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย โดยคำกล่าวของญี่ปุ่น มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ และคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี มีการแจกเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น แจกให้ก่อนเริ่มงาน ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติของเจซีซีไอ และนายกรัฐมนตรีให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงไปยังสื่อต่างๆ ให้ทราบกระบวนการเหล่านี้ และกรณีดังกล่าวเป็นการเปิดสัมมนา ไม่ใช่การแถลงข่าวและไม่มีการซักถาม จึงไม่จำเป็นต้องมีล่ามแปล จึงยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีจุดด้อยในการใช้ภาษาอังกฤษ และย้ำว่านายกรัฐมนตรี มีเจตนาที่ดีและตั้งใจในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปด้วยดี

ทั้งนี้ รายงานข่าวดังกล่าวของ “วอลสตรีท เจอร์นัล” ระบุถึงบรรยากาศการเดินทางไปญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีไทยเพื่อเรียกความเชื่อ มั่นของนักธุรกิจญี่ปุ่นกลับคืนมา หลังไทยประสบกับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปีที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงการกล่าวสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีไทย เป็นภาษาไทย นาน 7 นาที โดยไม่มีล่ามแปล ก่อนจะคำนับและเดินลงจากเวที ส่งผลให้ผู้เข้าฟังกว่าร้อยคน ต้องอ่านคำแปลจากเอกสารคำแปลที่ได้รับแจกก่อนเริ่มงานแทน ระหว่างรับฟังสุนทรพจน์ดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าว “วอลสตรีท เจอร์นัล” อ้างคำกล่าวจากนักธุรกิจคนหนึ่งที่เข้าร่วมงานว่า ตนรู้สึกปลื้มนายกรัฐมนตรีไทย พยายามที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นและอธิบายถึงมาตรการรับมือน้ำท่วมใหม่ของ รัฐบาล แต่แปลกใจที่คณะของนายกรัฐมนตรีไทยไม่ใช้ล่ามแปลภาษาไทยเป็นญี่ปุ่นด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตุของผู้สื่อข่าว “วอลสตรีท เจอร์นัล” ว่า การที่นายกรัฐมนตรีไทยไม่เลือกพูดภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางแทนภาษาไทย อาจเป็นเพราะไม่ค่อยมีความมั่นใจในทักษะด้านภาษา พร้อมเท้าความถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวคำว่าต้อนรับผิด จาก 'เวลคัม' เป็น 'โอเวอร์คัม' ระหว่างทักทายนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐ เมื่อครั้งเดินทางเยือนไทยช่วงเกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554


ปชป.ให้ฉายา “ปู-มิสโพยอินเตอร์” เตือนมั่วเยียวยาทำแม่ผัว-ลูกสะใภ้ตบแย่งเงิน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ชวนนท์” ตั้งฉายานายกฯ ยิ่งลักษณ์ “มิสโพยอินเตอร์เนชันแนล” หลังสุนทรพจน์นักธุรกิจยุ่นร้อยชีวิตภาษาไทย 7 นาทีไม่มีล่ามแปล ลงเวทีพร้อมส่งจูบ ฉะทำขายหน้า-เสียโอกาส เสียใจอภิสิทธิ์ปูทางไว้ให้กลับทำให้แย่ลง ฉะรัฐบาลมั่วจ่ายเงินเยียวยาม็อบ เกิดแม่ผัว-ลูกสะใภ้ตบกันแย่งเงินคนตาย สลดแรงงานหญิงรวมตัววันสตรีสากลยื่นข้อเรียกร้องรัฐบาล แต่ไม่มีใครสนใจ ต้องโยนข้อเรียกร้องเข้าทำเนียบ กังขานี่หรือจะดูแลปัญหาผู้หญิง แฉกองทุนสตรีฯ เรียกค่าหัวคิวหมื่นห้า แลกกู้เงินได้ 5 หมื่น หวั่นใช้หาเสียง-ตั้งกองกำลังรัฐบาล

              วันนี้ (9 มี.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งฉายา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่า “มิสโพยอินเตอร์เนชันแนล” จากกรณีที่หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นอล นำเสนอบทความภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์กับนักธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 100 รายเป็นภาษาไทยยาว 7 นาที โดยไม่มีล่ามแปล สร้างความตกตะลึงให้แก่นักลงทุนญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง โดยเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวทำลายโอกาสในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมคณะ ได้ไปเปิดทางไว้ให้เพื่อยืนยันความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย
       
       ทั้งนี้ ได้เตือนรัฐบาลล่วงหน้าว่านักธุรกิจญี่ปุ่นติดตามสถานการณ์ในเมืองไทยอย่าง ใกล้ชิด และต้องการให้รัฐบาลตอบคำถามื่อสร้างความเชื่อมั่นในแผนบริหารของรัฐบาล จึงเสนอให้ปรับแผนในการปฏิบัติภารกิจให้เปิดโอกาสให้มีช่วงซักถาม แต่รัฐบาลไม่สนใจ และยังกล่าวหานายอภิสิทธิ์ว่ามีเจตนาตัดหน้ารัฐบาลด้วย ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพราะมีการเตรียมการตั้งแต่ปลายปี 2554 เพื่อประสานเข้าพบทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นด้วย โดยนายอภิสิทธิ์มีเจตนาช่วยรัฐบาล ยืนยันว่ารัฐบาลมีแผนแก้ปัญหาน้ำในปีนี้ แต่มีหลายอย่างที่นายอภิสิทธิ์ตอบไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนประกันภัย และนายอภิสิทธิ์ก็เตือนนายกรัฐมนตรีให้เตรียมตอบคำถามนักลงทุนญี่ปุ่น โดยย้ำมาตลอดว่าการสื่อสารทางเดียวจะเรียกความเชื่อมั่นไม่ได้
       
       “สิ่งที่น่าเสียใจ คือ นายอภิสิทธิ์ไปเปิดทางไว้ให้ แต่นายกรัฐมนตรีทำทุกอย่างให้เลวร้ายลงด้วยการอ่านสคริปต์เป็นภาษาไทย 7 นาที ต่อหน้านักลงทุนกว่า 100 ชีวิต โดยไม่มีการแปล ก่อนจะเดินลงจากเวทีทันที พร้อมกับรอยยิ้มและการส่งจูบ ทำให้นักธุรกิจไม่เข้าใจในสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูด แม้จะมีคำแปลให้ แต่ไม่ตอบคำถาม ก็คงสร้างความเชื่อมั่นไม่ได้ เพราะนักลงทุนญี่ปุ่นเคยพูดกับนายอภิสิทธิ์ว่า ถ้ารัฐบาลมั่นใจต้องกล้าตอบตำถามและสามารถให้หลักประกันได้เกี่ยวกับเรื่อง กองทุนประกันภัย จึงเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเดินทางไปญี่ปุ่นหรือไม่ไปประเทศไทยก็ได้เท่าเดิม เพราะถ้าไปแล้วทำแบบนี้ส่งเอกสารไปอย่างเดียวก็เหมือนกันเนื่องจากไม่มีการ สื่อสารสองทาง” นายชวนนท์กล่าว
       
       โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลว่า มีลักษณะมั่วในการบริหาร โดยยกตัวอย่างการจ่ายเงินเยียวยาผู้ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เตือนมาตลอดว่าควรมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าใครจะได้รับ การเยียวยาเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แต่รัฐบาลก็ไม่สนใจโดยล่าสุดหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนก็เกิดปัญหา แม่ผัว-ลูกสะใภ้ตบตีกันที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะระเบียบในการเยียวยาไม่ชัดเจน เป็นการโปรยเงินให้ประชาชนไล่ฟัดกันเองเหมือนไม่ใช่คน ใช้เงินกดหัวคนไทย จึงขอเตือนว่ารัฐบาลอย่าชะล่าใจ เพราะศาลปกครองเรียกเอกสารมติ ครม.ไปพิจารณาประกอบคำขอให้ทุเลาบังคับมติ ครม.แล้ว จึงอย่าย่ามใจสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนด้วยการเลือกปฏิบัติ เพราะคนเหล่านี้จะลุกขึ้นมาไล่รัฐบาลที่มั่วในการบริหาร
       
       นอกจากนี้ รัฐบาลยังมั่วเรื่องราคาพลังงาน ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. ขึ้นราคาแอลพีจี และเอ็นจีวี โดยอ้างว่าจะมีการออกบัตรเครดิตพลังงานแต่ก็ใช้งานไม่ได้ เป็นการโยนภาระให้ประชาชน และยังเตรียมขึ้นราคาแก๊สหุงต้มเท่าภาคขนส่งตามมาด้วย โดยอ้างว่าจะมีการอุดหนุนให้เฉพาะคนจนซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลจากผู้ใช้ไฟฟรีมา เป็นดัชนีชี้วัดความจน ทำให้ตนเข้าใจแล้วว่าทำไมรัฐบาลจึงลดการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟจากโครงการใช้ไฟ ไม่เกิน 90 หน่วยได้สิทธิ์ใช้ไฟฟรี ลดลงเหลือ 50 หน่วย ทำให้คนที่มีตู้เย็นไม่มีสิทธิ์ใช้ไฟฟรี ส่งผลให้ประชาชนที่เคยได้รับประโยชน์ประมาณ 9 ล้านครัวเรือนเหลือเพียง 4.37 ล้านครัวเรือนเท่านั้น แสดงว่ารัฐบาลตั้งใจที่จะกดฐานคนจนให้ลดลงเพื่อนำมาอ้างอิงกับการอุดหนุน แก๊สหุงต้มใช่หรือไม่ โดยอยากให้ประชาชนลองพิจารณาดูว่าใครได้ประโยชน์จากการกดเส้นแบ่งคนจนให้ต่ำ ลงครั้งนี้ ใช่ ปตท.หรือไม่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมั่วในการตั้งกองทุนประกันภัยของรัฐบาลโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าบ้านใดอยู่บนพื้นที่ฟลัดเวย์จะไม่มีการจ่ายเงิน ทั้งที่ยังไม่มีใครทราบว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่แก้มลิง หรือฟลัดเวย์ ทำให้ไม่มีใครกล้าให้บริการประกันภัย ถือเป็นการมั่ว บริหาร ปกปิดความจริง ไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างแท้จริง
       
       นายชวนนท์ยังกล่าวถึงงานวันสตรีสากล เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) ซึ่งมีการรวมตัวของแรงงานหญิงยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 6 ข้อ แต่น่าสลดใจที่ไม่มีตัวแทนรัฐบาลมารับเรื่องร้องทุกข์ ทั้งที่นายกรัฐมนตรีใช้คำว่าสุภาพสตรีนำหน้าการบริหารบ้านเมืองมาตลอด แต่กลับไม่ใส่ใจความทุกข์ยากของผู้ใช้แรงงาน โดยไม่มีแม้แต่สุนัขสักตัวออกมาต้อนรับ ทั้งๆ ที่ผู้หญิงเหล่านี้มีความทุกข์ยาก จนต้องโยนข้อเรียกร้องเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตนจึงอยากตั้งคำถามว่า นี่หรือคือรัฐบาลของประชาชนที่จะคืนความสุขให้ประชาชน อ้างว่าเป็นสุภาพสตรีจะดูแลปัญหาผู้หญิง แต่นายกรัฐมนตรีใจดำมาก เพราะแม้ว่าจะอยูที่ญี่ปุ่น แต่การเคลื่อนไหวของแรงงานกลุ่มนี้มีการประสานกับรัฐบาลล่วงหน้า นายกรัฐมนตรีจึงควรส่งตัวแทนรัฐบาลไปรับข้อเสนของประชาชน แต่นายกรัฐมนตรีกลับไม่สนใจปัญหาของชาวบ้านแม้แต่น้อย
       
       ทั้งนี้ แตกต่างจากสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีโดยสิ้นเชิง เพราะในยุคนั้นหากนายอภิสิทธิ์ ไม่สามารถรับเรื่องร้องเรียนด้วยตนเองก็จะมอบหมายให้มีตัวแทนของรัฐบาลรับ เรื่องร้องเรียนของประชาชนทุกครั้ง ที่น่าเสียใจคือ แรงงานหญิงเหล่านี้ยังเป็นกลุ่มคนที่เลือกพรรคเพื่อไทย ซึ่งตั้งใจมาร้องเรียนว่าไม่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท บางส่วนตกงานจากการปิดตัวของโรงงานหลังน้ำท่วม แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล หรือเป็นเพราะว่าขณะนี้ไม่ใช่ช่วงหาเสียง น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงไม่สนใจประชาชนใช่หรือไม่ ถือเป็นการละทิ้งประชาชนอย่างชัดเจน พร้อมกันนี้นายชวนนท์ได้นำภาพถ่ายการเรียกร้องที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ที่มีการชูป้ายข้อความ “อยากให้ลูกเกิดเป็นน้องไปป์ เพราะอยู่ดีกินดี” สะท้อนความเจ็บปวดของหญิงไทยที่ถูกนายกรัฐมนตรีหญิงทอดทิ้ง
       
       นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาสตรี โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมผู้เข้าสมัครที่จังหวัดสงขลา รายละ 15,000 บาทแลกกับโควต้ากู้ 5 หมื่นบาทโดยไม่ต้องคืนเงินกู้ เท่ากับเป็นการจ่ายค่าหัวคิว ซึ่งตนได้ให้ ส.ส.ในพื้นที่ตรวจสอบหาหลักฐานแล้ว และตั้งข้อสังเกตว่าการเข้าถึงกองทุนทำไมต้องสมัครเป็นสมาชิก ทั้งๆ ที่การเกิดเป็นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องสมัคร ทำไมสตรีทุกคนจึงไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ซึ่งเงื่อนไขที่กำหนดในกองทุนพัฒนาสตรีอาจขัดรัฐธรรมนูญในเรื่องความเท่า เทียมกัน โดยฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์จะพิจารณาต่อไป พร้อมกับตั้งคำถามถึงรัฐบาลว่า เหตุใดจึงใช้วิธีการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ออกเป็น พ.ร.บ. ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายท้วงติงว่าการออกเป็นกฎหมายจะมีความเหมาะสมมากกว่า แต่รัฐบาลต้องการหนีตรวจสอบในสภาใช่หรือไม่
       
       อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการตั้งกองทุนพัฒนาสตรีของรัฐบาลก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง แบ่งแยกประชาชน และตั้งกองกำลังสะสมให้รัฐบาล ตนขอท้ารัฐบาลว่าหากมีเจตนาที่จะช่วยเหลือสตรีไทยจริง ขอให้นำกฎหมายค้างสภา 2 ฉบับ ที่รัฐบาลไม่ยืนยันจนตกไปกลับเข้าสู่การพิจารณาของสภาใหม่ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ยินดีให้การสนับสนุน 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาบทบาทคุณภาพชีวิตสตรี และร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ มีเนื้อหาดูแลสุภาพสตรีอย่างครบถ้วน ถ้านายกรัฐมนตรีมีความจริงใจช่วยแก้ปัญหาให้ผู้หญิงต้องผลักดันเรื่องเหล่า นี้


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ฝรั่งรายงาน ญี่ปุ่นมึน ปู จ้อไทย ไม่แปล

view