สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดจม. สถาบันพระปกเกล้า ถึง บิ๊กบัง

เปิดจม.'สถาบันพระปกเกล้า' ถึง'บิ๊กบัง

จาก โพสต์ทูเดย์

ล้มเสียงข้างมากลากปรองดอง

หมายเหตุ :นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ในฐานหัวหน้าคณะผู้วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า ได้ทำหนังสือถึงพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง แห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ให้ทบทวนการมีมติของกมธ.ในประเด็นการให้อภัยผ่านการนิรโทษกรรมและการเสริม สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยมีเนื้อหาดังนี้

 

จาก "รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ" ของสถาบันพระปกเกล้าที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการ สร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาฯนั้น คณะผู้วิจัยได้มีข้อสรุปชัดเจนว่า ภายใต้สภาวะความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างยังคงยึดมั่น อยู่ในจุดยืนและความต้องการของตนเองจนไม่สามารถแสวงหาทางออกร่วมกันได้นั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการในโอกาสแรกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญและความสำเร็จในการสร้าง ความปรองดอง คือ การสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดองในสังคมไทยด้วยการริเริ่มกระบวนการพูดคุย เสวนา (Dialogue) ภายในคณะกรรมาธิการฯ

เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันต่อข้อเสนอในรายงานฯโดยไม่ใช้เสียงข้าง มากในการตัดสิน หลังจากนั้นจึงขยายผลการพูดคุยสู่สังคมในวงกว้างโดยการเปิดเวทีเสวนาระดับ พรรคการเมือง กลุ่มผู้สนับสนุน และประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและพิจารณาหาแนวทางการ สร้างความปรองดองในชาติที่ยอมรับได้ร่วมกัน
               
บัดนี้ ได้ปรากฏตามอ "(ร่าง)รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่ง ชาติ สภาผู้แทนราษฎร" ซึ่งจัดทำโดยสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ 20 มี.ค.2555ว่าทางคณะกรรมาธิการฯได้ใช้เสียงข้างมากในการให้ความเห็นชอบใน ประเด็นดังต่อไปนี้
               
1.การให้อภัยผ่านกระบวนการ นิรโทษกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองโดยรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุม ทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเห็นชอบในทางเลือกที่ 1 คือ ออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุก ประเภท ทั้งคดีการกระทำความผิดตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ด้วยเสียงข้างมากจำนวน 23 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่าอย่างน้อย สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ การพูดคุยเสวนาในวงกว้างถึงคำจำกัดความของคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการ เมืองเสียก่อน
           
2.การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการ ตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยเห็นชอบในทางเลือกที่3 คือ ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดยคตส.ทั้งหมดและไม่นำคดีที่อยู่ระหว่าง กระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ด้วยเสียงข้างมาก 22 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่าทางเลือกนี้จะทำให้ความ ปรองดองเป็นไปได้ยากและมีบางฝ่ายเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาในกรณีการทุจริตหรือ ใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบนั้นยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
           
ดัง นั้น คณะผู้วิจัยจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้คะแนนเสียงข้างมากในการตัดสิน ใจดังกล่าวของคณะกรรมาธิการฯหรือของสภาฯโดยที่บรรยากาศแห่งความปรองดองซึ่ง ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ ยังไม่เกิดขึ้นในสังคม และเชื่อว่าการใช้เสียงข้างมากในการกำหนดแนวทางการสร้างความปรองดองจะเป็น เพียงการสร้าง "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" เท่านั้น ซึ่งรายงานวิจัยได้ระบุว่า การยึดถือเสียงข้างมากโดยละเลยความเห็นที่แตกต่างนั้นถือเป็นสาเหตุหลัก ประการหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้อีกในอนาคต อันขัดกับเจตนารมณ์ของคณะผู้วิจัยอย่างชัดเจน
               
ด้วย เหตุนี้ เพื่อดำรงคุณค่าและหลักการสำคัญของการปรองดอง ตลอดจนป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีกครั้งในสังคม คณะผู้วิจัยจึงขอให้คณะกรรมาธิการฯพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอในส่วนของการ ริเริ่มกระบวนการพูดคุยเสวนาทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อการสร้างความปรองดองในชาติที่ทุกฝ่ายยอมรับในระดับที่ ทำให้สังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้ตามที่ได้เสนอไว้แล้วในรายงานวิจัยโดยไม่ จำกัดเวลาและวาระการทำงานของคณะกรรมาธิการฯเพื่อให้ภารกิจมีความต่อเนื่อง
           
แต่ หากคณะกรรมาธิการฯหรือสภาฯมีการลงมติเลือกแนวทางหนึ่งแนวทางใดอย่างรวบรัด ด้วยเสียงข้างมากโดยเฉพาะในประเด็นการให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมและการ เสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยมิได้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยในส่วนของกระบวนการดังกล่าวที่ ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วเสียก่อน คณะผู้วิจัยจะขอถอนรายงานวิจัยที่ได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการฯเพื่อมิให้มีการ นำผลการวิจัยไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่ไม่เอื้อต่อ การสร้างความปรองดองในชาติได้อีกต่อไป
              
 จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา จักขอบพระคุณยิ่ง


ทีมวิจัย ส.พระปกเกล้า ค้าน กมธ.ปรองดองใช้เสียงข้างมากเลิกคดี คตส.

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
คณะผู้วิจัยสร้างความปรองดอง สถาบันพระปกเกล้า เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง ประธาน กมธ.ปรองดอง ค้านใช้เสียงข้างมากเห็นชอบให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทั้งคดีความผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีอาญา พร้อมให้ยกเลิกคดี คตส. ระบุการใช้เสียงข้างมากจะเป็นเพียงการสร้าง “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เท่านั้น
              นายวุฒิสาร ตัณไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะหัวหน้าคณะผู้วิจัย สร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า บ่ายในวันนี้ (23 มี.ค.) คณะผู้วิจัยจะเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกคำแถลงจุดยืนของคณะผู้วิจัยการสร้าง ความปรองดองแห่งชาติ ต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนฯ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จดหมายเปิดผนึกของคณะผู้วิจัยสร้างความปรองดองแห่งชาติ เป็นจดหมายคัดค้านการที่คณะกรรมาธิการฯ จะเสนอรายงานตามผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า โดยใช้เสียงข้างมากเห็นชอบที่จะออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมด ทั้งคดีที่เกี่ยวข้องกับการความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
       
       นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังคัดค้านและไม่เห็นด้วยที่คณะกรรมาธิการฯ ใช้เสียงข้างมากลงมติเห็นชอบตามทางเลือกที่ 3 ของคณะผู้วิจัยให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และให้นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
       
       ในจดหมายเปิดผนึกระบุตอนหนึ่งว่า “คณะผู้วิจัยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้คะแนนเสียงข้างมากในการตัดสินใจ ดังกล่าวของคณะกรรมาธิการฯ หรือของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่บรรยากาศแห่งความปรองดองซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ ยังไม่เกิดขึ้นในสังคม และเชื่อว่าการใช้เสียงข้างมากในการกำหนดแนวทางสร้างความปรองดองจะเป็นเพียง การสร้าง "ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เท่านั้น
       
       สำหรับจดหมายเปิดผนึก เรื่อง คำแถลงต่อจุดยืนของคณะผู้วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
       
       วันที่ 23 มีนาคม 2555
       
       เรื่อง คำแถลงต่อจุดยืนของคณะผู้วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
       
       เรียน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
       
       จาก “รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ของสถาบันพระปกเกล้าที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการ สร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรนั้น คณะผู้วิจัยได้มีข้อสรุปชัดเจนว่า ภายใต้สภาวะความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างยังคงยึดมั่น อยู่ในจุดยืนและความต้องการของตนเองจนไม่สามารถแสวงหาทางออกร่วมกันได้นั้น สิ่ง ที่ต้องดำเนินการในโอกาสแรกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญและความสำเร็จในการสร้างความ ปรองดอง คือ การสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดองในสังคมไทยด้วยการริเริ่มกระบวนการพูดคุย เสวนา (Dialogue) ภายในคณะกรรมาธิการฯ เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันต่อข้อเสนอในรายงานฯ โดยไม่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน หลังจากนั้นจึงขยายผลการพูดคุยสู่สังคมในวงกว้างโดยการเปิดเวทีเสวนาระดับ พรรคการเมือง กลุ่มผู้สนับสนุน และประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและพิจารณาหาแนวทางการ สร้างความปรองดองในชาติที่ยอมรับได้ร่วมกัน
       
       บัดนี้ ได้ปรากฏตาม “(ร่าง) รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งจัดทำโดยสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ 20 มีนาคม 2555 ว่าทางคณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้เสียงข้างมากในการให้ความเห็นชอบในประเด็นดังต่อไปนี้
       
       1) การให้อภัยผ่านกระบวนการ นิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง โดยรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเห็นชอบในทางเลือกที่ 1 คือ ออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมด ทุกประเภท ทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ด้วยเสียงข้างมากจำนวน 23 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่าอย่างน้อย สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการพูดคุยเสวนาในวงกว้าง ถึงคำจำกัดความของคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองเสียก่อน
       
       2) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน กระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการลดเงื่อนไขของข้อกล่าว อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา โดยกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐ (คตส.) โดยเห็นชอบในทางเลือกที่ 3 คือ ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมดและไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ด้วยเสียงข้างมากจำนวน 22 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่า ทางเลือกนี้จะทำให้ความปรองดองเป็นไปได้ยาก และมีบางฝ่ายเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาในกรณีการทุจริตหรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ นั้น ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
       
       ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงไม่ เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้คะแนนเสียงข้างมากในการตัดสินใจดังกล่าวของคณะ กรรมาธิการฯ หรือของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่บรรยากาศแห่งความปรองดองซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ ยังไม่เกิดขึ้นในสังคม และเชื่อว่าการใช้เสียงข้างมากในการกำหนดแนวทางการสร้างความปรองดองจะเป็น เพียงการสร้าง “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เท่านั้น ซึ่งรายงานวิจัยได้ระบุว่า การยึดถือเสียงข้างมากโดยละเลยความเห็นที่แตกต่างนั้น ถือเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้อีกในอนาคต อันขัดกับเจตนารมณ์ของคณะผู้วิจัยอย่างชัดเจน
       
       ด้วยเหตุนี้ เพื่อดำรงคุณค่าและหลักการสำคัญของการปรองดอง ตลอดจนป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีกครั้งในสังคม คณะผู้วิจัยจึงขอให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอในส่วนของการริเริ่มกระบวนการพูดคุยเสวนาทั่ว ประเทศ เพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อการสร้างความปรองดองในชาติที่ทุกฝ่ายยอมรับในระดับที่ ทำให้สังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้ตามที่ได้เสนอไว้แล้วในรายงานวิจัย โดยไม่จำกัดเวลาและวาระการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้ภารกิจมีความต่อเนื่อง แต่ หากคณะกรรมาธิการฯ หรือสภาผู้แทนราษฎรมีการลงมติเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งอย่างรวบรัดด้วยเสียง ข้างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการให้อภัยผ่านการนิรโทษกรรมและการเสริมสร้างความเชื่อ มั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยมิได้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยในส่วนของกระบวนการดังที่กล่าวไป ข้างต้นแล้วเสียก่อน คณะผู้วิจัยจะขอถอนรายงานวิจัยที่ได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อมิให้มีการนำผลวิจัยไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่ ไม่เอื้อต่อการสร้างความปรองดองในชาติได้อีกต่อไป
       
       จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา จักขอบพระคุณยิ่ง
       
       ลงชื่อคณะผู้วิจัย


กมธ.ยอมตัดเสียงหนุน “นิรโทษ-ล้มคดี คตส.” แต่ยังเล่นแง่โยนสภาฯตัดสิน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
กมธ.ปรองดอง ยอมถอย ตัดตัวเลขเสียงหนุน “นิรโทษ-ล้มคดี คตส.” ทิ้ง แต่ยังเล่นแง่ใส่เนื้อหาวิจัยทั้งหมดโยนให้สภาฯตัดสิน โดยไม่เปิดเวทีเสวนา รับฟังความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุป เลขาฯ กมธ.ยันส่งรายงานให้สภาฯ 15 เม.ย.โดยจะไม่มีการประชุมอีก  ด้าน “วุฒิสาร” ยังหวั่นใจกลัว กมธ.บางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่พูดกันไว้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (23 มี.ค.) นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะหัวหน้าคณะผู้วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของสถาบันพระปกเกล้า ได้เข้าพบ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ เพื่อขอให้ทบทวนการมีมติเสียข้างมากลงความเห็นการสร้างความปรองดองใน 2 แนวทางทั้งการให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมและการเสริมสร้างความเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรม โดยการยกเลิกคดีต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สอบสวนทั้งหมด
       
       นายชวลิต กล่าวยืนยันว่า กมธ.เข้าใจการทำงานของคณะผู้วิจัยเป็นอย่างดี เพราะการทำงานของสถาบันพระปกเกล้าเป็นไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก กมธ.ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสบายใจทาง กมธ.จะตัดตัวเลขเสียงข้างมากดังกล่าวออกไปโดยจะเสนอแนวทางข้อเสนอการสร้าง ความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าทั้งหมดแทน ควบคู่ไปกับการแนบความเห็นของ กมธ.ซีกฝ่ายค้านที่แสดงความเห็นคัดค้านไว้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ของ กมธ.ที่จะเสนอต่อสภาฯภายในวันที่ 15 เม.ย.โดยการตัดเสียงของ กมธ.เสียงข้างมากออกจากรายงานไม่มีความจำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุม กมธ.อีกแต่อย่างใด
       
       “แม้จะมีหลายฝ่ายทักท้วงไม่ให้ส่งรายงาน กมธ.ไปให้สภาฯ ภายในวันที่ 15 เม.ย.เพราะต้องการให้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายแต่ในเมื่อ กมธ.ทำงานพิจารณาเสร็จแล้วก็มีความจำเป็นต้องให้สภาฯตามกรอบเวลาโดยขอให้การ เปิดเวทีนั้นเป็นเรื่องของสภาฯพิจารณา และจะไม่มีการทบทวนในกรณีที่ฝ่ายค้านขอให้ กมธ.เรียกประชุม กมธ.อีกครั้งเพื่อทบทวนผลการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าและรายงานของ กมธ.ปรองดอง”
       
       ด้าน นายวุฒิสาร กล่าวว่า เมื่อได้เห็นท่าทีของเลขานุการ กมธ.ดังกล่าวก็เกิดความสบายใจในระดับหนึ่งแต่ไม่แน่ใจว่า กมธ.ทุกคนจะเห็นด้วยกับนายชวลิตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าแนวทางการสร้างความปรองดองจะต้องใช้เวลาไม่สามารถเร่งรัดดำเนินการ ได้เพราะถือว่าความขัดแย้งมีมานานมากแล้ว จึงทำให้ในรายงานการวิจัยได้เน้นย้ำว่าต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนโดยส่วนรวมก่อนเพื่อให้ดำเนินการสร้างความปรองดองได้
       
       “การสร้างความปรองดองมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดเวทีสานเสวนา เพื่อให้ทุกฝ่ายมารับทราบและร่วมเสนอแนะการสร้างความปรองดอง โดยการทำในส่วนนี้เป็นไปเพื่อให้สังคมเกิดความเห็นร่วมกันว่าต้องการแก้ไข ปัญหาอย่างไร” นายวุฒิสาร กล่าว


คำแถลงจุดยืนคณะผู้วิจัยสร้างความปรองดอง ส.พระปกเกล้า

คำแถลงต่อจุดยืนของคณะผู้วิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
จาก “รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ของสถาบันพระปกเกล้าที่เสนอต่อ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรนั้น คณะผู้วิจัยได้มีข้อสรุปชัดเจนว่า ภายใต้สภาวะความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างยังคงยึดมั่นอยู่ในจุดยืนและความต้องการของตนเองจนไม่สามารถแสวงหาทางออกร่วมกันได้นั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการในโอกาสแรก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญและความสำเร็จในการสร้างความปรองดอง คือ การสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดองในสังคมไทยด้วยการริเริ่มกระบวนการพูดคุยเสวนา (Dialogue) ภายในคณะกรรมาธิการฯ เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันต่อข้อเสนอในรายงานฯโดยไม่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน หลังจากนั้นจึงขยายผลการพูดคุยสู่สังคมในวงกว้างโดยการเปิดเวทีเสวนาระดับพรรคการเมือง กลุ่มผู้สนับสนุน และประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและพิจารณาหาแนวทางการสร้างความปรองดองในชาติที่ยอมรับได้ร่วมกัน

บัดนี้ ได้ปรากฏตาม “(ร่าง) รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการสร้างความปรอง-ดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งจัดทำโดยสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ 20 มีนาคม 2555 ว่าทางคณะกรรมาธิการฯได้ใช้เสียงข้างมากในการให้ความเห็นชอบในประเด็นดังต่อไปนี้

1) การให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง โดยรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเห็นชอบในทางเลือกที่ 1 คือ ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุกประเภท ทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ด้วยเสียงข้างมากจำนวน 23 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่าอย่างน้อย สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการพูดคุยเสวนาในวงกว้างถึงคำจำกัดความของคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองเสียก่อน

2) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยเห็นชอบในทางเลือกที่ 3 คือ ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมดและไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ด้วยเสียงข้างมากจำนวน 22 ท่าน ในขณะที่คณะผู้วิจัยได้ระบุไว้ในรายงานชัดเจนว่า ทางเลือกนี้จะทำให้ความปรองดองเป็นไปได้ยาก และมีบางฝ่ายเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาในกรณีการทุจริตหรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบนั้น ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้คะแนนเสียงข้างมากในการตัดสินใจดังกล่าวของคณะกรรมาธิการฯหรือของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่บรรยากาศแห่งความปรองดองซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ ยังไม่เกิดขึ้นในสังคม  และเชื่อว่าการใช้เสียงข้างมากในการกำหนดแนวทางการสร้างความปรองดอง จะเป็นเพียงการสร้าง “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เท่านั้น ซึ่งรายงานวิจัยได้ระบุว่า การยึดถือเสียงข้างมากโดยละเลยความเห็นที่แตกต่างนั้น ถือเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้อีกในอนาคต อันขัดกับเจตนารมณ์ของคณะผู้วิจัยอย่างชัดเจน

ด้วยเหตุนี้ เพื่อดำรงคุณค่าและหลักการสำคัญของการปรองดอง ตลอดจนป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีกครั้งในสังคม คณะผู้วิจัยจึงขอให้คณะกรรมาธิการฯพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอในส่วนของการริเริ่มกระบวนการพูดคุยเสวนาทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อการสร้างความปรองดองในชาติที่ทุกฝ่ายยอมรับในระดับที่ทำให้สังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้ตามที่ได้เสนอไว้แล้วในรายงานวิจัย โดยไม่จำกัดเวลาและวาระการทำงานของคณะกรรมาธิการฯเพื่อให้ภารกิจมีความต่อเนื่อง แต่หากคณะ กรรมาธิการฯหรือสภาผู้แทนราษฎรมีการลงมติเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งอย่างรวบรัดด้วยเสียงข้างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการให้อภัยผ่านการนิรโทษกรรมและการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยมิได้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยในส่วนของกระบวนการดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วเสียก่อน คณะผู้วิจัยจะขอถอนรายงานวิจัยที่ได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อมิให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความปรองดองในชาติได้อีกต่อไป

สรุปข้อเสนอกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ

การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า “อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?”

ความแตกแยกทางความคิดอย่างกว้างขวางในสังคมไทยที่ยืดเยื้อยาวนานที่แต่ละฝ่ายยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม เช่น มีการเปิดหมู่บ้านมวลชน มีการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตลอดจนการข่มขู่ว่าจะแสดงพลังเพื่อกดดันให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปในแนวทางที่ฝ่ายตนต้องการ ฯลฯ นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ความเห็นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังพบอีกว่าแต่ละฝ่ายยังคงยึดมั่นอยู่ในจุดยืนเดิมของตนเอง สะท้อนให้เห็นว่าบรรยากาศแห่งความปรองดองยังไม่เกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ต้องริเริ่มดำเนินการเพื่อสร้างความปรองดอง

ในระยะเฉพาะหน้าก็คือรัฐบาล ฝ่ายค้าน และทุกฝ่ายควรช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองโดยการยุติการกระทำที่ถือเป็นการทำลายบรรยากาศแห่งการปรองดองทั้งหมด และไม่รวบรัดใช้เสียงข้างมากเพื่อแสวงหาทางออก แต่จะต้องมีการร่วมกันสร้างเวทีทั่วประเทศเพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนในวงกว้าง ต่อข้อเสนอ ทางเลือก และความเป็นไปได้ต่างๆ ในการสร้างความปรองดองในชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น และหาทางเลือกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถก้าวออกจากจุดยืนที่แตกต่างกันมาสู่จุดร่วมที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ดังนั้น กระบวนการพูดคุย (dialogue) จึงเป็นหัวใจของการปรองดอง

ท่ามกลางสภาวะความขัดแย้งในปัจจุบัน ทำให้ไม่มีความคิดเห็นของฝ่ายใดที่ถูกหรือผิดไปเสียทั้งหมด ข้อเสนอที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องซึ่งยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่นั้น จึงมีลักษณะเป็นทางเลือกที่ยังมิใช่คำตอบสุดท้าย และขอให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการสร้างความปรองดองบนพื้นฐานของความจริงจังและจริงใจด้วยกระบวนการพูดคุย (Dialogue) ใน ๒ ระดับ คือ

๑) ระดับตัวแทนทางการเมืองและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และ ๒) ระดับประชาชนในพื้นที่ในลักษณะของ “เวทีประเทศไทย” ซึ่งจะทำให้สังคมได้ร่วมกันแสวงหาทางออกต่อความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน และออกแบบภาพอนาคตของประชาธิปไตยไทย ตลอดจนกติกาทางการเมืองที่ยอมรับได้ร่วมกันได้ และไม่ควรหักหาญดำเนินการใดไปก่อนจะได้รับความเห็นร่วมกันในสังคม
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระของการพูดคุยแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปรองดองนั้น มีอย่างน้อย ๖ ประเด็น โดยแบ่งเป็นระยะสั้น ๔ ประเด็นเพื่อทำให้ความแตกแยกและบาดแผลที่เกิดขึ้นกับสังคมและปัจเจกบุคคลกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และระยะยาว ๒ ประเด็นเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความแตกต่างของมุมมองต่อประชาธิปไตย และเป็นการวางรากฐานของประเทศสู่อนาคต  
ในระยะสั้น มีประเด็นที่สังคมควรต้องพิจารณาร่วมกัน ดังต่อไปนี้

(๑) การจัดการกับความจริงของเหตุการณ์รุนแรงที่นำมาซึ่งความสูญเสีย โดยการสนับสนุนส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ดำเนิน การค้นหาความจริงให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน และควรเปิดเผยข้อเท็จจริงของเหตุการณ์โดยไม่ระบุตัวบุคคลในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบททางสังคม โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อให้สังคมเรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีตและป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต

(๒) การให้อภัยแก่การกระทำที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองโดยรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีความเป็นไปได้อย่างน้อย ๒ ทางเลือก
ทางเลือกที่หนึ่ง – ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุกประเภท ทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง อาทิ การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน หรือการทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิต

ทางเลือกที่สอง – ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองเฉพาะคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ เท่านั้น โดยคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เช่น การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน หรือการทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิต จะไม่ได้รับการยกเว้น

ทั้งนี้ ทั้งสองทางเลือก ให้ยกเว้นกรณีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้กรณีดังกล่าวดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมและนิติประเพณี

(๓) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการ ลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยมีความเป็นไปได้อย่างน้อย ๓ ทางเลือก

ทางเลือกที่หนึ่ง – ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาด้วยกระบวนการยุติธรรมตามปกติที่มีอยู่ โดยให้เฉพาะผลการพิจารณาของ คตส. สิ้นผลลง และโอนคดีทั้งหมดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการใหม่ แต่ไม่กระทบถึงคดีที่ถึงที่สุดแล้ว

ทางเลือกที่สอง – ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส. ทั้งหมด และให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ โดยให้ถือว่าคดีดังกล่าวไม่ขาดอายุความ

ทางเลือกที่สาม – ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส. ทั้งหมด และไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกใด จะต้องไม่มีการฟ้องร้อง คตส. ในเวลาต่อมา เนื่องจากถือว่าการกระทำของ คตส. เป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในขณะนั้น

(๔) การกำหนดกติกาทางการเมืองร่วมกัน ซึ่งอาจรวมถึงการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันต่อประเด็นที่อาจจะถูกมองว่าขัดต่อหลักนิติธรรมและความเป็นประชาธิปไตย และต้องหลีกเลี่ยงการสร้าง “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” ในแง่ที่ผู้มีอำนาจรัฐเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดโดยไม่ฟังเสียงที่เห็นต่าง อนึ่ง ประเด็นที่ต้องพิจารณาอาจรวมถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่าย       นิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การตรวจสอบองค์กรอิสระ การได้มาซึ่งบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือการยุบพรรคการเมือง

ในระยะยาว มีประเด็นที่สังคมควรต้องพิจารณาร่วมกัน ดังต่อไปนี้

(๑)  การออกแบบภาพอนาคตของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหลักการที่ทุกฝ่ายยอมรับและยึดถือร่วมกัน โดยการเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยกันถึงลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของไทยที่คนในสังคมยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ อันถือเป็นปัญหาใจกลางของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเห็นพ้องในหลักการและกติกาทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยไทย

(๒)  การวางรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม และการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองและความทนกันได้ (Tolerance) ในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง

ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดอง โดยรัฐบาลควร (๑) แสดงเจตจำนงทางการเมืองชัดเจน รวมทั้งมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างความปรองดองในชาติโดยเร็ว (๒) สร้างความตระหนักแก่สังคมให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการสร้างความปรองดองในชาติ และ (๓) มีคำอธิบายต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งในรูปของตัวเงินและความรู้สึก อาทิ การให้เกียรติผู้สูญเสียทุกฝ่าย หรือการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นที่รำลึกถึงบทเรียนต่อเหตุการณ์ทางการเมืองของสังคมไทย

ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องนั้น (๑) ทุกฝ่ายควรงดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าอยู่ในสังคมที่ไม่เคารพกฎหมายและหลักนิติรัฐ อาทิ การใช้มวลชนในการเรียกร้องหรือกดดันด้วยวิธีการอันผิดกฎหมาย และ (๒) ควรลดความหวาดระแวงระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยยุติการเคลื่อนไหวใดๆ ที่อาจถูกตีความได้ว่าเป็นความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (๓) สื่อมวลชนควรสนับสนุนกระบวนการสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งใหม่โดยนำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองจากฝ่ายต่างๆอย่างรอบด้าน และ (๔) สังคมไม่ควรรื้อฟื้นเอาผิดกับการทำรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีตและต้องหามาตรการในการป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารอีกในอนาคต พร้อมทั้งกำหนดโทษของการกระทำดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายอาญา

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังที่กล่าวมาจะประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญอย่างน้อย ๓ ประการ คือ (๑) เจตจำนงทางการเมืองของผู้มีอำนาจรัฐที่จะสร้างความปรองดองโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ (๒) กระบวนการสร้างความปรองดองจะต้องมีพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงและประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นต่อทางออกและแนวทางป้องกันมิให้ความขัดแย้งกลับกลายเป็นความรุนแรงในอนาคต และ (๓) ปัญหาใจกลางซึ่งเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งจะต้องได้รับการแก้ไขและแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการพัฒนาประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาของประเทศไทย

อนึ่ง คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ริเริ่มกระบวนการพูดคุยร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยไม่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน หลังจากนั้นจึงขยายผลการพูดคุยสู่พรรคการเมืองของตน กลุ่มผู้สนับสนุน และสังคมใหญ่ เพื่อให้ผู้คนทั้งสังคมที่ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองแบบใด เกิดความตระหนักว่า สังคมไทยจะปรองดองกันได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการถกเถียงถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ผ่านกระบวนการพูดคุยที่สามารถนำมาซึ่งทางออกที่ยอมรับได้ร่วมกัน

กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่กระบวนการสร้างความปรองดองในชาติจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องก้าวข้ามไปให้ไกลกว่าการถกเถียงกันเพียงแค่ในข้อกฎหมาย กล่าวคือ ต้องพิจารณาให้กว้างและลึกลงถึงเหตุแห่งความขัดแย้ง คำนึงถึงมิติความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังต่างๆในสังคม รวมถึงการมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาและสร้างความปรองดองที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับ ภายใต้บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยที่ทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่ามีบทบาทและพื้นที่ในการเสวนาถกเถียงถึงภาพอนาคตของประเทศ อันเป็นเสมือนหลักหมุดปลายทางที่ทุกฝ่ายจะร่วมเดินทางไปภายใต้กติกาที่สังคมเห็นพ้องต้องกัน

สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จม. สถาบันพระปกเกล้า บิ๊กบัง

view