สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ค่าบริการสาธารณะ กับอนาคตของผู้ซื้อบ้านจัดสรร

จากประชาชาติธุรกิจ

นายพิสิฐ  ชูประสิทธิ์ นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร (E-mail Add. : pisit_peterandpaul@hotmail.com) นำเสนอบทความที่น่าสนใจหัวข้อ "ค่าบริการสาธารณะ" กับอนาคตของผู้ซื้อบ้านจัดสรร" ดังมีรายละเอียด ดังนี้

 

ระบบการจัดสรรที่ดินภายใต้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 บัญญัติให้ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ประกอบการรวมทั้งผู้รับโอนใบอนุญาตให้ทำ การจัดสรรที่ดินแสดงรายละเอียดในเอกสารคำขออนุญาตการจัดสรรที่ดินต่อคณะ กรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเรื่องหนึ่ง ได้แก่ การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่ สภาพท้องถิ่นตามมาตรา 23 (4) และแผนงานโครงการและระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ตามมาตรา 23 (5) รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ ซึ่งข้อกำหนดต่างๆ ที่ถูกกำหนดข้างต้น นอกจากผู้จัดสรรที่ดินจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมายแล้ว จะยังประโยชน์ต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในอีกทางหนึ่งด้วย

 

หากผู้จัดสรรที่ดินไม่ดำเนินการจัดสรรที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตตามแผนผัง โครงการที่             ขอจัดสรรที่ดิน  พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มี "บทกำหนดโทษ" ต่อผู้จัดสรรที่ดิน อีกทั้งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสามารถ "บอกเลิกและริบเงินค้ำประกันการจัดทำหรือจัดให้มีการจัดทำสาธารณูปโภคของ สถาบันการเงินหรือธนาคาร" โดยสามารถนำค่าค้ำประกันการจัดทำหรือจัดให้มีสาธารณูปโภคมาดำเนินการจัดทำ (ก่อสร้าง) ให้กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต่อไปได้

 

คำขออนุญาตการจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินจัดทำขึ้นเพื่อยื่นต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดโดย ทั่วไป มีการเขียนหรือบัญญัติว่าด้วยเรื่องการให้บริการสาธารณะและการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคตามแผนผังโครงการได้รับอนุญาตแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยสังเขป ดังต่อไปนี้

 

1.  การให้บริการสาธารณะ ได้แก่ การจัดให้มีบริการรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง    การจัดให้มีการรักษาความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง การจัดเก็บขยะ ค่ากระแสไฟฟ้าส่วนกลาง ค่าบริการ       รถโดยสารขนส่งภายในโครงการ ฯลฯ เป็นต้น แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ทั้งนี้ ผู้จัดสรรที่ดินแสดงความประสงค์ในเอกสารคำขอวิธีการจัดสรรที่ดินให้คณะ กรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดว่าจะเรียกเก็บ "ค่าบริการสาธารณะ" เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเป็นเงินอัตราเท่าไรต่อ ตารางวาหรือเป็นเงินเหมาจ่ายรายเดือนและจัดเก็บกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร "ล่วงหน้า" เป็นเวลากี่เดือน กี่ปี

 

และหากมีเงิน "ค่าบริการสาธารณะ" เหลือจากการใช้จ่ายและให้บริการแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ให้ผู้จัดสรรที่ดินคืนเงินคงเหลือให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต่อไป

 

"เรื่องแปลก" แต่จริงที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ได้แก่ อัตราค่าบริการสาธารณะ ซึ่งขอเรียกเก็บกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร "มีไม่เพียงพอ" หรือ "ขาดทุน" จากการให้บริการหรือด้วยสาเหตุอื่นใด ซึ่งในเอกสารคำขอและวิธีการจัดสรรที่ดินแสดงต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน จังหวัด "กลับไม่มีรายละเอียด" แสดงเรื่องดังกล่าวไว้

 

2.  การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ได้แก่ การจัดให้มีการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อให้สามารถใช้ งานได้รวมทั้งการซ่อมแซม การปรับปรุงถนน ระบบวิศวกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง การขุดลอกท่อระบายน้ำ การบำรุงรักษาสวนหย่อมหรือสวนสาธารณะ เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวให้เริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการหรืออนุกรรมการจัดสรร ที่ดินจังหวัดอนุญาตให้สามารถ "ยกเลิก" สัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จทั้งหมดทั้งโครงการต่อผู้จัดสรร ที่ดิน

 

อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินยังไม่หมดหรือยังไม่แล้วเสร็จเสียเลยทีเดียว ผู้จัดสรรที่ดินยังคงมีหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่จัดให้มีขึ้นต่อ ไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปีพร้อมกับการจัดทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคของสถาบันการเงินหรือธนาคารส่งมอบไว้ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน จังหวัดเป็นหลักฐาน

 

หากผู้จัดสรรที่ดินไม่ทำหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามคำขอวิธีการจัดสรรที่ดินและบทบัญญัติของกฎหมาย

คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดสามารถริบเงินค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคมาใช้จ่ายแทนผู้จัดสรรที่ดินต่อไปได้

 

"เรื่องแปลก" แต่จริงในทางปฏิบัติ ได้แก่ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรส่วนใหญ่ "ไม่เข้าใจ" กับค่าค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค (จำนวน 7 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการจัดทำสาธารณูปโภคทั้งโครงการ)

 

เมื่อผู้จัดสรรที่ดินแสดงความประสงค์เป็นหนังสือขอพ้นหน้าที่การบำรุง รักษาสาธารณูปโภคส่งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้ง "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" หรือ "นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น" ขึ้นมารับโอนสาธารณูปโภคและทรัพย์สินอื่น (ถ้ามี) ไปบำรุงรักษาแทนผู้จัดสรรที่ดินตามนัยมาตรา 44 (1) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

 

เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร้องขอให้ผู้จัดสรรที่ดินดำเนินการปรับปรุงหรือ ซ่อมแซมสาธารณูปโภคบางรายการที่ชำรุดและใช้งานไม่ได้หรือชำรุดเล็กน้อยและ สามารถใช้งานได้ แต่ผู้จัดสรรที่ดินปฎิเสธคำร้องหรือข้อเสนอของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จนอาจกลายเป็นสาเหตุให้โครงการจัดสรรที่ดินจำนวนไม่น้อยไม่สามารถจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามกฎหมายได้

 

ถามว่า ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเข้าใจผิดในประเด็นการซ่อมแซมปรับปรุงบำรุงรักษา สาธารณูปโภคที่ชำรุดโดยไม่อนุญาตให้ผู้จัดสรรที่ดิน "หักกลบลบหนี้ค่าค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค" ของผู้จัดสรรที่ดินใช่หรือไม่ ?

 

หรือเสนอให้ผู้จัดสรรที่ดิน "ควักกระเป๋า" จ่ายเงินของผู้จัดสรรที่ดินเพื่อการปรับปรุง ซ่อมแซมบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ชำรุดใช้งานไม่ได้เป็นการต่างหาก นอกจากค่าค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค (จำนวน 7 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการจัดทำสาธารณูปโภค)

 

ถามว่า "ใครถูก ใครผิด" ผู้เขียนจะนำ "คำตอบ" มาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบต่อไปในครั้งหน้า

 

อย่างไรก็ดี เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ยกเลิกสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและจัดให้ มีการจัดทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคอีกทั้งครบกำหนดระยะเวลา การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค (อย่างน้อยหนึ่งปี) หากผู้จัดสรรที่ดินประสงค์จะขอพ้นหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 44 (1) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

 

ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถดำเนินการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพื่อรับโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคมาดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคแทนผู้จัดสรร ที่ดินต่อไปได้โดยชอบ แต่มีเงื่อนไข "สำคัญ" เพิ่มอีกข้อ ได้แก่ ผู้จัดสรรที่ดินต้องขายกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงย่อยซึ่งเป็นแปลงจำหน่ายได้ไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของแปลงย่อยตามแผนผังโครงการได้รับอนุญาต

 

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามมาตรา 45 และระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางว่าด้วยการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรตลอดจนกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ. 2545 ในทางปฏิบัติเป็นอย่างไรรวมทั้งมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องใด ขอให้ท่านติดตามอ่าน "บทความ" ของผู้เขียนในโอกาสต่อไป

 

"ไฮไล้ท์" ของบทความของผู้เขียนฉบับนี้ ประสงค์จะให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหรือผู้ที่วางแผนจะซื้อบ้านในโครงการจัดสรร ที่ดินได้ทราบเกี่ยวกับ "ค่าบริการสาธารณะ" หรือ "ค่าส่วนกลาง" ซึ่งแทบทุกโครงการที่พัฒนาขึ้นมานั้น ผู้จะขายหรือผู้ขายหรือผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินจะบอกกล่าว หรือแจ้งให้ผู้จะซื้อหรือผู้ซื้อบ้านจัดสรร "ถือปฎิบัติ" เป็น "ข้อกำหนด" ในสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อที่ดินจัดสรรกับผู้จัดสรร ที่ดินเมื่อถึงคราวจดทะเบียนโอนและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจัดสรรพร้อมสิ่ง ปลูกสร้าง ณ สำนักงานที่ดินพื้นที่

 

ได้แก่ การชำระค่าบริการสาธารณะหรือค่าส่วนกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการให้บริการ สาธารณะต่างๆ ภายในโครงการจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินอาจเรียกเก็บเป็นตารางวาตามขนาดของพื้นที่ หรือเหมาจ่ายและให้ชำระล่วงหน้าเป็นเวลากี่เดือน กี่ปี

 

จากประสบการณ์ของผมที่คลุกคลีอยู่กับ "ระบบการจัดสรรที่ดิน" ทั้งการจดทะเบียนและบริหาร "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" มานาน พบเห็นประเด็นการเรียกเก็บ "ค่าบริการสาธารณะ" หรือ "ค่าส่วนกลาง" กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในหลายโครงการ  หลากหลายรูปแบบการจัดเก็บและมีการนำเงินจำนวนดังกล่าวมาใช้จ่ายและไม่ใช้ จ่ายของผู้จัดสรรที่ดินในหลายกรณี ดังต่อไปนี้


ประเภทแรก : เรียกเก็บตามขนาดพื้นที่ดินและจัดเก็บในอัตราต่ำและนำมาเป็นค่าใช้จ่าย

 

ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ขาย อาศัยกลยุทธ์การจัดเก็บค่าบริการสาธารณะตามขนาดที่ดินและจัดเก็บค่าบริการ สาธารณะในอัตราต่ำ เพื่อต้องการให้โครงการขายกรรมสิทธิ์ง่ายขึ้น แต่ปัญหาที่พบในอนาคตกับ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ได้แก่ รายรับไม่พอกับรายจ่ายการให้บริการสาธารณะ งานบริการสาธารณะประเภทรักษาความปลอดภัยจะขาดประสิทธิภาพ  ระบบภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมโครงการอาจส่งผลเสียต่อมูลค่าทรัพย์สินส่วน บุคคลและส่วนกลาง

 

เมื่อรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย ผู้จัดสรรที่ดินมักจะเรียกเก็บค่าบริการสาธารณะเพิ่มเติมกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในอนาคต

 

ประเภทที่สอง : เรียกเก็บตามขนาดพื้นที่ดินและจัดเก็บในอัตราปานกลางและนำมาเป็นค่าใช้จ่าย

 

ผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินส่วนใหญ่เลือกใช้ประเภทนี้ เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายบริการสาธารณะทั้งโครงการแล้ว พบว่าค่าบริการสาธารณะที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรอาจไม่เพียงพอกับ รายจ่ายแต่ผู้จัดสรรที่ดินยินยอมควักกระเป๋า "จ่ายเงินสมทบ" ส่วนที่ "ขาดทุน" ให้เพื่อให้บริการสาธารณะภายในโครงการเป็นไปอย่างเหมาะสม

 

ในขณะเดียวกัน เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร่วมกันจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ขึ้นมาอาจมีเงิน "ค่าบริการสาธารณะ" คงเหลือไม่มากก็น้อย แต่ไม่ขาดทุนด้านการบริหารจัดการและไม่เป็นภาระต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมากจน เกินไป
 
ประเภทที่สาม : เรียกเก็บตามขนาดพื้นที่ดินและจัดเก็บในอัตราสูงและนำมาเป็นค่าใช้จ่าย

 

มีผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดิน "จำนวนน้อย" เลือกใช้ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร "มีกำลังซื้อสูง" และต้องการ "คุณภาพ" จากการให้บริการสาธารณะของผู้จัดสรรที่ดิน

 

ในขณะเดียวกัน แปลงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมขาย พร้อมโอนของผู้ประกอบการโครงการพร้อมให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมการจ่าย "ค่าบริการสาธารณะ" เฉกเช่นเดียวกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร

ผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินประเภทนี้ "มีวิสัยทัศน์ที่ดี" และ "ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบ" ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร โดยบริหารจัดการค่าใช่จ่ายบริการสาธารณะอย่าง "ตรงไปตรงมา" พร้อมแจกแจงรายละเอียดบัญชีรายรับและรายจ่ายที่ผ่านมาให้ผู้ซื้อที่ดินจัด สรรรับทราบหรือตามระยะเวลาอันเหมาะสม

 

โครงการจัดสรรที่ดินซึ่งอาศัยการจัดเก็บค่าบริการสาธารณะประเภทนี้ มักพบว่าผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมักไม่ "อิดออด" พร้อมให้ความร่วมมือผู้จัดสรรที่ดินในการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"

 

ประเภทที่สี่ : เรียกเก็บตามขนาดพื้นที่ดินและจัดเก็บในอัตราปานกลางและนำมาเป็นค่าใช้ จ่าย เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

 

มีผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดินบางรายไม่ประสงค์จะมีปัญหาจุกๆ จิกๆ กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จึงเลือกใช้ยุทธวิธีนี้ ซึ่งในระหว่างจดทะเบียนโอนที่ดินจัดสรรพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับผู้ซื้อที่ดิน จัดสรร จะเรียกเก็บ "ค่าบริการสาธารณะ" กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรล่วงหน้า อาจเป็น 1 ปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปี

 

ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ประกอบการจะ "ไม่นำค่าบริการสาธารณะ" ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมาใช้จ่าย แต่จะจัดเก็บไว้กับผู้จัดสรรที่ดินเป็นเวลาหนึ่ง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณะของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตั้งแต่วันจด ทะเบียนโอน

กรรมสิทธิ์ที่ดินจนถึงวันที่ครบกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ตามคำขอและวิธีการจัดสรรที่ดิน ผู้จัดสรรที่ดิน "แบกรับ" ค่าใช้จ่ายแทนผู้ซื้อทั้งหมด

 

ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ประกอบการโครงการจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร "รับทราบ" เรื่องดังกล่าว

 

ผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ประกอบการโครงการจะคืน "ค่าบริการสาธารณะ" ที่เรียกเก็บกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรภายหลังการหักค่าใช้จ่ายบริการสาธารณะ  เมื่อโครงการได้รับการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามกฎหมาย

 

ประเภทสุดท้าย : ไม่เรียกเก็บตามขนาดพื้นที่ดินและจัดเก็บในอัตราปานกลางและไม่นำมาเป็นค่าใช้จ่าย

 

มีผู้ประกอบการโครงการหรือผู้จัดสรรที่ดิน "จำนวนน้อย" ที่เลือกใช้ประเภทสุดท้าย เพราะผู้ประกอบการโครงการต้อง "แบกรับ" ค่าใช้จ่ายบริการสาธารณะแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทั้งหมดจนกว่าโครงการได้รับ การจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามกฎหมาย

 

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการโครงการได้แจ้งหรือบอกกล่าวให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบโดยการ เรียกเก็บค่าบริการสาธารณะในอัตราปานกลางที่ไม่สูงมากจนเกินไป จะเป็นยุทธวิธีการขายและแผนการตลาด เพื่อให้โครงการสามารถขายกรรมสิทธิ์หมดโดยเร็ว

 

ปัญหาข้อหนึ่งซึ่งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะพบ ได้แก่ อัตราค่าบริการสาธารณะตามที่ผู้จัดสรรที่ดินเรียกเก็บ (แต่ไม่เรียกเก็บ) อาจไม่สมดุลกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงกับการให้บริการสาธารณะทั้งโครงการ

 

ข้อดีของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ได้แก่ ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าบริการสาธารณะให้แก่ผู้จัดสรรที่ดินตั้งแต่วันที่ รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจัดสรรจนถึงวันที่โครงการได้รับการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"

 

ข้อเสีย ได้แก่ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรอาจต้องรับภาระ "อัตราค่าบริการสาธารณะ" เป็นเงินจำนวนสูงกว่าคราวที่ผู้จัดสรรที่ดินโฆษณาหรือทำสัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่างกันในคราวแรก เมื่อโครงการได้รับการจดทะเบียน "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"

 

ส่วนว่าผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหรือท่านผู้อ่านท่านใด จะเลือกประเภทการเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บและใช้หรือไม่ใช้ "ค่าบริการสาธารณะ" มาเป็นค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณะ  ฝากส่งข่าวบอกให้ผมทราบด้วย  จะขอบคุณยิ่ง


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ค่าบริการสาธารณะ อนาคตของผู้ซื้อบ้านจัดสรร

view